![]() |
||||
|
![]() |
![]() |
|||
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
![]() |
![]() |
|||
![]() |
||||
![]() |
||||
![]() |
||||
![]() |
||||
![]() |
![]() |
งานพระแม่ไถ่ทาส ที่ฉลองวันนี้ 24 กันยายน มีคริสตชนต่างๆมาร่วมด้วยมากมาย การบูรณวัดเสร็จสิ้น และตามคำบอกเล่าของท่านผู้อำนวยการ น.อ. ศราวุธ วงค์เงินยวง ได้กล่าวว่า หมู่บ้านนี้มีมาประมาณ 334 ปี แล้ว และจะมีการฉลองวัดอย่างยิ่งใหญ่ โดยจะแจ้งให้ทุกท่านทราบภายหลัง ตามที่ทราบแล้วว่า เมื่อที่ 1785 คุณพ่อ ดังเยอนัวส์ ได้นำชาวโปรตุเกตุและชาวเขมรกลับเข้ามาอยู่ในแดนสยาม และได้มาพักที่วัดคอนเซ็ปชัญ นั้น ได้นำพระรูปแม่พระแกะสลักด้วยไม้มาด้วย คริสตชนต่างๆมีความเคารพพระแม่รูปนี้มาก และจะอัญเชิญมาร่วมแห่ในพิธีฉลองใหญ่ๆ เสมอมา เมื่อปี 1793 คุณพ่อ ดังเยอนัวส์ จะกลับประเทศเขมร จึงได้อัญเชิญพระรูปแม่พระกลับด้วย แต่เมื่อพระรูปอยู่ในเรือที่จะนำกลับ ไม่ว่าฝีพายจะพายอย่างไรเรือก็ไม่เคลื่อนที่ คริสตชนทั้งหลายจึงอัญเชิญพระรูปแม่พระกลับสู่วัด หลังจากนั้นเรือก็สามารถเคลื่อนที่ไปได้ ชื่อเรียก พระแม่ไถ่ทาส ตามหาข้อมูลไม่พบ เพียงแต่มีข้อมูลว่าในปี 1218 นั้น พระแม่ได้ประจักษ์ต่อท่านนักบุญเปโตร นอลาสโก้ ที่เมืองบาเซโลนา เสปน และให้ท่านตั้ง คณะนักบวช คือคณะไถ่ทาส หรือ Virgin Mary Of Mercy of Redemption of Captives ซึ่งเพื่อ พลีตนเป็นตัวประกัน เพื่อไถ่พวกคริสตังค์ จากพวกศาสนาอื่นที่มีสงครามกัน ส่วนที่จะมาเกี่ยวโยงกันนั้น อาจจะสันนิฐานได้ว่าใกล้เคียงกัน เพราะขณะ นั้นมีการเบียดเบียนคริสตังกันมากในพื้นที่ อาจจะเป็นว่า เมื่อพระแม่อยู่กับคริสตชนกลุ่มนี้ ทำให้เกิดความร่มเย็นตามมา แต่ถ้าให้เดาว่า แม่พระขนมจีนมาจากไหน ก็คงไม่ยาก เพราะมีการเลี้ยงขนมจีนกันในงานทุกครั้ง จึงติดปากเป็นชื่อ แม่พระขนมจีน |
![]() |
![]() |
|||
![]() |
![]() |
![]() |
|
|
![]() |
![]() |
ซึ่งถือเป็นวันพบญาติของลูกวัดคอนเซ็ปชัญ และคริสตชนผู้มีความศรัทธาต่อแม่พระไถ่ทาสอย่างพร้อมเพรียงกัน จากบท เทศน์ในวันนี้ คุณพ่อได้กล่าวถึงการดำเนินชีวิตที่ดี ของผู้ที่เป็นพ่อและแม่ กับหน้าที่ของลูก อีกทั้งความหมายของคำว่า แม่พระไถ่ทาส |
![]() |
![]() |
|||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
มิสซาฉลองแม่พระไถ่ทาสในวันนี้ เป็นมิสซาเฉลิมฉลองแรกของวัดแม่พระปฏิสนธินิรมลหลังจากการบูรณะใหญ่ ที่ใช้เวลาปีเศษ โบสถ์หลังนี้ได้สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.๑๘๓๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๘ หรือเมื่อ ๑๗๓ ปีก่อน การบูรณะใหญ่ครั้งนี้ ได้มีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ถูกต้อง และมีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากทุกฝ่าย เพื่อให้มีความสวยงาม และสง่างามอย่างสมพระเกียรติ โดยการบูรณะใหญ่ในครั้งนี้ได้มีการขุดสำรวจที่บรรจุศพของ อดีตพระสังฆราชแห่งสำนักมิสซังสยาม ๒ องค์ และบาทหลวงเจ้าวัดอีก ๑ องค์ ประกอบด้วย พระสังฆราชยอห์นบัปติสตา ปัลเลอกัวซ์ ท่านเป็นผู้ที่สร้างวัดคอนซ็ปชัญหลังปัจจุบัน และท่านได้แสดงความจำนงที่จะให้นำร่าง ของท่านมาฝังยังวัดคอนเซ็ปชัญแห่งนี้หลังจากมรณะภาพที่วัดอัสสัมชัญ ท่านที่สองเป็นพระสังฆราชแฟร์ดินัง เอมเม ออกัสติน ยอแซฟ ดือปองท์ เป็นสังฆราชแห่งสำนักมิสซังสยามองค์ถัดมา และท่านที่สามเป็นคุณพ่อมาร์แซล จงสวัสดิ์ อารีอร่าม ซึ่งการขุดสำรวจได้ทำการอนุรักษ์กระดูกและจัดตำแหน่งที่ประดิษฐานใหม่อย่างเหมาะสม และสมเกียรติ นับเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของศาสนาจักรคาทอลิกในประเทศไทย ที่มีความเป็นมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ได้ทรงพระราชทานที่ดินของหมู่บ้านแห่งนี้ มาเป็นเวลากว่า ๓๓๓ ปี |
|
|
![]() |
![]() |
ด้วยความเคารพและขอบพระคุณอย่างยิ่ง |
![]() |