หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

วิทยาลัยแสงธรรม ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมและพัฒนาคนหูหนวกไทย และชมรมคนหูหนวกคาทอลิกแห่งประเทศไทย เปิดหลักสูตรอบรมภาษามือไทยขั้นพื้นฐาน 1 ( 30 ชั่วโมง ) และทักษะการใช้ภาษามือสื่อสารเพื่อการอภิบาล โดยอาจารย์สอนภาษามือ ประกาศนียบัตรครูสอนภาษามือไทย วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับนักศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยมีอาจารย์ กำพล สุวรรณรัต ผู้ให้การอบรม และอาจารย์ทฤษฎี เบญจาศิริวัฒน์ อาจารย์ผู้ช่วยสอน และคุณณรงค์ ถนอมเล็ก ผู้ประสานงาน

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศิจกายน  ค.ศ. 2008 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. มีผู้ให้ความสนใจ “การใช้ทักษะภาษามือสื่อสารเพื่อการอภิบาล “ จากหน่วยงานต่าง ๆ ในพระศาสนจักร จำนวน 24 ท่าน เข้ารับการอบรม ณ ห้องโสตศึกษา  วิทยาลัยแสงธรรม จ.นครปฐม

การจัดอบรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์
เพื่อ ให้ผู้รับการอบรมมีทักษะการใช้ภาษามือไทยโดยมีความรู้ความเข้าใจ หลักเกณฑ์อันเป็นพื้นฐานของการเรียนภาษามือ สามารถใช้ภาษามือติดต่อสื่อสารกับคนหูหนวกในชีวิตประจำวัน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเจคคติที่ถูกต้องต่อการเรียนภาษามือไทย  สามารถใช้ภาษามือในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมและเรียนรู้ภาษามือไทยเพื่อล่ามภาษามือต่อไปในอนาคต

ส่วนจุดมุ่งหมายในการอบรมเพื่อการประยุกต์ใช้ในงานอภิบาล คุณณรงค์ ถนอมเล็ก จะใช้ภาคปฏิบ้ติในช่วงบ่าย บอกถึงจุดประสงค์ดังกล่าวว่า “ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถแปลภาษามือรูปแบบต่าง ๆ ในสถานการณ์หรือโอกาสต่าง  ๆ โดยเฉพาะการใช้ภาษามือเพื่อการอภิบาล ในรูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งยังตระหนักถึงปัญหาของการขาดแคลนล่าม บุคลลากร และพระสงฆ์ที่สามารถใช้ภาษามือเพื่อให้การอภิบาลผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน รวมถึง เราคริสตชนจะได้เรียนรู้ และเข้าใจประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนหูหนวกได้เป็นอย่างดี”

สำหรับเนื้อหาที่สอนส่วนใหญ่ มุ่งเน้น คำศัพท์คริสตศาสนา การแปลภาษามือจากบทความต่าง ๆ รวมถึงบทภาวนาต่าง ๆ อีกทั้งยังให้เข้าใจ บทประจำมิสซา เพลงภาษามือ เพื่อสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงได้

สำหรับการสอนในวันแรก อาจารย์ผู้ให้การอบรม มีการสอบถามเป็นรายบุคคลว่า “ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติอย่างไรต่อคนหูหนวก และคิดว่าจะนำสิ่งที่ได้เรียนจะนำไปใช้ในงานอภิบาลได้อย่างไรบ้าง  ตลอดจน จะอธิบายรูปภาพที่ได้เห็นนี้อย่างไรเพื่อให้คนหูหนวกเข้าใจได้ ”  ทำให้ผู้เข้ารับการอบรม ใจจดใจจ่อว่า จะผ่านการสัมภาษณ์ครั้งนี้ได้หรือไม่ ซึ่งทุกคนทำให้ดี จนอาจารย์ให้คำชม




การจัดการอบรมภาษามือไทย เพื่อการอภิบาล ดังกล่าว จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 จนถึง 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009