หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

โดย...แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

<<<<<<< สัมภาษณ์คุณพ่อยัง มารี ดังโตแนล
โอกาสครบครอบ350 ปีคณะMEP

<<<<<<< สัมภาษณ์คุณพ่อยัง มารี ดังโตแนล
อกาสครบครอบ350 ปีคณะMEP

สัมภาษณ์คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
 ความสัมพันธ์ระหว่างคณะMEPกับมิสซังกรุงเทพฯ  >>>>>>
 

สัมภาษณ์คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
 ความสัมพันธ์ระหว่างคณะMEPกับมิสซังกรุงเทพฯ>>>>>>>

“คณะ MEP จะอยู่ต่อ ไม่อยู่ต่อไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญให้พระศาสนจักรพื้นเมืองในประเทศไทยก้าวหน้า คณะ MEPเป็น เพียงแค่ เครื่องมือเท่านั้น”

ในโอกาสที่คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ( MEP) ฉลอง 350 ปี วันที่ 8 มิถุนายน  ค.ศ. 2008 ที่มหาวิหารนอเตรอ-ตาม ปารีส ประเทศไทยขอร่วมแสดงความยินดีกับกระแสรียกพิเศษ ในภารกิจสำคัญ เรียบง่าย แต่ยิ่งใหญ่ สงฆ์มิสซังต่างประเทศมิสชันนารีผู้เสียสละตนทั้งชีวิตเพื่อสร้างสงฆ์ สร้างงานแพร่ธรรม โอกาสนี้ทางสารสังฆมณฑลได้สัมภาษณ์

คุณพ่อยัง ดังโตแนล อธิการเจ้าคณะแขวงในประเทศไทย และคุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ เลขานุการพระคาร์ดินัล     เกี่ยวกับการร่วมฉลองของคณะ MEP ที่ประเทศปารีส และการจัดงานร่วมแสดงความยินดีของประเทศไทย กับคณะ MEP

ถามถึงจุดเริ่มต้นที่มีคณะ M.E.P  ในประเทศไทยค่ะ   คุณพ่อยัง ดัง โตแนล  อธิการเจ้าคณะแขวงในประเทศไทย  เล่าให้ฟังว่า     “สมัยก่อนนี้มีความตั้ง ใจจะเดินทาง ไปยังประเทศเวียดนาม แต่เกิดการเบียดเบียนศาสนา ประกอบกับประเทศสยาม  ในสมัยนั้น ให้การตอบรับต่อ คณะสงฆ์จึงทำให้  “พระสังฆราชลังแบร์  กับพระสงฆ์ 3-4 องค์เข้ามาและ ได้เข้าพบชาวเวียดนามที่อยู่ในเขตอยุธยาและมีคาทอลิกด้วยนั้นเริ่มสร้างพระศาสนจักรขึ้น”ระยะเวลา 2 ปีที่อยู่ที่อยุธยา  ในปี ค.ศ 1662 พระคุณเจ้าลังแบร์ ได้สร้างวัดอยุธยาขึ้น   รวมถึงการสร้างบ้าน เณรเพื่อเตรียมพระสงฆ์พื้นเมือง และเห็นว่าน่าจะมีพระสังฆราชสักองค์ที่ประจำอยู่ในประเทศ ไทย  จึงขอให้คุณพ่อลาโน ที่เดินทางมาพร้อมกับท่านบวชเป็นพระสังฆราช     จึงถือว่าพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน บวชเป็นพระสังฆราชองค์แรกในประเทศไทย มีสมาชิกสมัยเริ่มแรก ประมาณ 15-20 คน ระยะ  แรกได้ใช้อยุธยาเป็นศูนย์กลางในเอเชีย ต่อไปยังเวียดนาม จีน     และมีความตั้งใจจะไปประเทศญี่ปุ่นด้วย แต่ไปไม่ถึงเพราะคนไม่พอและการเดินทางลำบากด้วย

ปัจจุบันคณะ MEP มีสมาชิกทั่วโลก ประมาณ 300 คน เป้าหมายของคณะคือการสร้างพระศาสนจักรท้องถิ่น     เพื่อให้มีพระสังฆราชและพระสงฆ์พื้นเมือง  ไม่มีงานเฉพาะของคณะ จุดหมายเพื่อช่วยให้พระศาสนจักรท้องถิ่น สังฆมณฑล เติบโต   และก้าวหน้า พระสงฆ์ MEP ทำงาน  ในบ้านเณร เพื่ออบรมให้เป็นพระสงฆ์  สำหรับประเทศไทยมี สมาชิกจำนวน 23 คน  ทำงานร่วมสังฆมณฑลต่างๆ เช่น อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  มี 2 คน สังฆมณฑลนครราชสีมา 2 คน    สังฆมณฑลอุบลราชธานี  8  คน  สังฆมณฑลนครสวรรค์ 9  คน  และเพื่อสร้างงานแพร่ธรรมทางสภาพระสังฆราชไทย ได้เสนอให้มี คณะธรรมทูตไทย ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1990 มีคณะ MEP คอยช่วยเหลือดูแลคณะสงฆ์เหล่านี้

ฉลอง 350 ปี คณะ MEP ในประเทศไทย จะมีอะไรบ้าง ?

 ปีนี้ฉลองครบ 350  ปีที่ฝรั่งเศส     คือการฉลองบวชของพระสังฆราชลังแบร์  แต่ในประเทศไทย พระคุณเจ้าลังแบร์ เข้ามาในประเทศไทย หลังจากบวชแล้ว 4 ปี คือในปีค.ศ 1662 ซึ่งประเทศไทยควรจะมี 350 ปี ของการเข้ามาในประเทศไทย ในปี 2012  สำหรับปีนี้ทำอะไรที่เมืองไทยจะลำบากหน่อย   เพราะผู้ใหญ่ของคณะที่อยู่ฝรั่งเศสจะยุ่งกับงานฉลองที่ฝรั่งเศส ผมคิดว่าจะเสนองานฉลองในประเทศไทยปีค.ศ. 2009 อาจจะฉลองที่อยุธยา  ผมจะกลับไปประชุมที่ฝรั่งเศสก่อน ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้กำหนดเวลาที่ชัดเจน  ผมคิดว่า “คณะ MEP  จะอยู่ต่อ ไม่อยู่ต่อไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญให้พระศาสนจักรพื้นเมืองในประเทศไทยก้าวหน้า คณะ MEP เป็นเพียงแค่เครื่องมือเท่านั้น”คุณพ่อกล่าวปิดท้ายไว้อย่างน่าประทับใจ

สำหรับในส่วนของประเทศไทย คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ เลขานุการพระคาร์ดินัล ได้เป็นตัวแทนพูดเกี่ยวกับการร่วมฉลองของคณะที่ประเทศปารีส และการจัดงานฉลองร่วมแสดงความยินดีของประเทศไทย กับคณะ MEP ในครั้งนี้ว่า   “เป็นความประสงค์ขอ พระคาร์ดินัล ที่อยากจะไปร่วมงาน  เพื่อตอบแทนพระคุณ สำนึกในพระคุณของคณะสงฆ์มิสชันนารี คณะนี้”   การฉลอง 350 ปี เป็นความภาคภูมิใจมากของพวกเขา    เพราะท่านเหล่านี้มีส่วนในความเจริญก้าวหน้าของพระศาสนจักรหลายต่อหลายแห่ง    ทั่วโลก มิสซังสยาม เป็นมิสซังแรกที่พวกเขาตั้งขึ้น  มีความคิดริเริ่มหลายอย่าง ที่มาสร้างในประเทศของเรา  จนในปัจจุบัน แม้ว่าพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย จะเจริญไม่มากเพื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ก็ถือว่ามีความเจริญเติบโต เข้มแข็ง ไม่ใช่น้อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดมาจากพวกเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระคุณเจ้าจึงเห็นว่า     “เมื่อเขาจัดแบบนี้เราจึงควรไปร่วมความยินดีกับพวกเขา”   และเชิญชวนให้คณะกรรมการบริหารของสังฆมณฑลทุกท่าน รวมถึงคณะนักบวชต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปร่วมงาน เช่น ซิสเตอร์คณะรักกางเขน  ซึ่งพระคุณเจ้าลังแบร์เดอลาม็อต ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย ที่กรุงศรีอยุธยา    เป็นซิสเตอร์พื้นเมืองคณะแรกที่เกิดขึ้นในพระศาสนจักร และมาจากคณะสงฆ์ MEP ซึ่งคณะนักบวชต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผู้แทนไปร่วมกับกลุ่มของพระสงฆ์ และ  ฆราวาสบางส่วนจะไปร่วมงาน และโอกาสอันดีนี้ พระคุณเจ้าก็จะพาไปแสวงบุญที่ลูร์ด พร้อมกับฉลอง 350 ปีของคณะ MEP ด้วย

สิ่งสำคัญ  พ่อขอฝาก คริสตชนพระศาสนจักรในประเทศไทย    จะได้ร่วมจิต ร่วมใจ ภาวนา  เป็นพิเศษ และสำนึกถึงบุญคุณพระสงฆ์มิสชันนารี เหล่านี้   ผู้ก่อสร้างพระศาสนจักรท้องถิ่น คณะสงฆ์พื้นเมือง ให้กับประเทศไทยของเรา ความสำคัญและบุญคุณที่คณะ MEP มีต่อพวกเรา  แม้ว่าน้อยคนนักที่จะเรียนรู้จักประวัติศาสตร์ ว่า คณะ MEP     สำคัญกับเราขนาดไหน ? เราอาจเคย ได้ยินชื่อเหล่านี้ ท่านเวร์  ท่านโชแรง  ท่านแปร์รอส ท่านเหล่านี้ เป็น MEP และยังมีคุณพ่อหลายท่านได้มาเสียชีวิตในประเทศไทยของเรา  ดังนั้นอะไรที่เราจะทำเพื่อพวกเขาได้ ก็ควรจะทำ   พ่อคิดว่า คริสตชนควรจะเรียนรู้จักคณะ MEP  มากขึ้น การกระทำใดที่เราให้เกียรติเขาได้ ก็ควร   ให้เกียรติเขา     มีบุคคลสำคัญเช่นพระคุณเจ้าปัลเลอร์กัวร์    วัดคอนเซ็ปชัญ  ที่ตอนนี้ทางอัครสังฆมณฑลให้เกียติพวกเขา ได้ดำเนินการขุดศพมาเพื่อทำการบูรณะ     และค้นหาท่าน  วัดอยุธยาก็เป็นตัวอย่างที่ดี ในการนำศพพระสังฆราชลาโน และพระสังฆราช ลังแบร์มาวางในวัด   

ทุกคนจะได้ทราบว่า เป็นบุคคลเริ่มแรกที่เข้ามาก่อสร้างมิสซังสยามขึ้นมา และยังมีศพอีกกว่า 30 ศพที่นำขึ้นมาไว้ที่สุสาน ไว้ ในที่ที่เหมาะสมกับพวกท่าน    และอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  มีความพยายามที่จะค้นหาทุกที่ที่มิสชันนารีเหล่านี้ไปทำงาน เป็นต้น ในช่วงเสกสุสานของแต่ละวัด      ก็อย่าลืมสวดภาวนา ระลึกถึงพวกเขา ทางวัดต่าง ๆ   ก็ควรให้ความสำคัญกับมิสชันนารีเหล่านี้ด้วย สวดภาวนาให้กับพวกเขาเป็นพิเศษ ไม่ใช่ลืมไปกับประวัติศาสตร์  ในเรื่องนี้   พระคุณเจ้า ให้ความสำคัญและให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ที่จะพยายามค้นหาบรรดามิสชันนารี   และนำท่านเหล่านั้นมาให้ได้รับเกียรติที่เหมาะสม  ขอฝากพี่น้องให้ช่วยกันภาวนาให้กับคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ( MEP) โอกาสที่จะฉลอง 350 ปี วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2008

และในปี 2009 นี้จะมีการฉลองครบรอบ 350 ปีคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ( MEP) ในประเทศไทย ก็ขอเชิญชวนพี่น้องทุกท่านมาร่วมฉลองในวันเสาร์ที่7 กุมภาพันธ์ 2009 ณ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา ตั้งแต่เวลา09.00น.-12.30น.โดยมีกำหนดการดังนี้

กำหนดการ

09.00น.

เปิดนิทรรศการ

09.30น.

“350ปี เอ็มอีพี.ผู้ก่อตั้งพระศาสนจักรท้องถิ่น”

 

-  คุณพ่อยัง ดังโตแนล อธิการเจ้าคณะเอ็มอีพี

 

-  คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ (อาจารย์ประวัติศาสตร์พระศาสนจักร)

 

-  คุณพ่อธีรพล กอบวิทยากุล (อาจารย์ประวัติศาสตร์พระศาสนจักร)

 

-  คุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ ผู้ดำเนินรายการ

11.00น.

สหบูชามิสซาฯ โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน

12.30น.

อาหารเที่ยง

ท่านสามารถรับชมการถ่ายทอดสดพิธีฉลอง 350 ปี MEP ผู้ก่อตั้งพระศาสนจักรสากล ได้ทาง www.catholic.or.th ในวันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2009 ได้ตั้งแต่เวลา 09.00น.เป็นต้นไป