การเบียดเบียนศาสนา

ในมิสซังกรุงเทพฯ

ในมิสซังกรุงเทพฯ    การเบียดเบียนรุนแรงมากเช่นเดียวกันและดำเนินเป็นขั้นตอนเหมือนทางภาคอีสาน เว้นแต่พวกมรณสักขีของหมู่บ้านสองคอน

 เกี่ยวกับการบีบบังคับ ในตอนต้นพวกพระสงฆ์ไม่ว่าใครก็ตาม      ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกแนวที่ 5 พระสงฆ์ไทย 4 องค์ ถูกจับจำคุกและถูกส่งมาขังที่บางขวางรวมกับคุณพ่อเอดัวรด์จากนครพนม ฝ่ายพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศส รัฐบาลดำเนินการตามคำสั่งลงวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940       และคำสั่งลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941

 และด้วยการกำจัดศาสนาคริสต์ทุกวิถีทางด้วยการทำให้พวกคริสตังทั้งผู้ใหญ่และเด็กๆ ในโรงเรียน ละทิ้งศาสนาด้วยการทำให้กลัว เขาไล่พวกข้าราชการและพวกครูคาทอลิกออกจากราชการ    เว้นแต่พวก เขาจะยอมละทิ้งศาสนาพวกเลือดไทยเผาวัด 4แห่งพร้อมทั้งทำลายหรือสร้างความเสียหายให้แก่วัดหลาย แห่ง วัด 17 แห่ง ถูกปิดเช่นเดียวกับโรงเรียนเล็กๆ ของวัดทุกแห่ง


กรุงเทพฯ

 คำสั่งของหลวงพิบูล ซึ่งพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือนายกรัฐมนตรีคนใหม่  ภายหลังการปฏิวัติได้บอกแก่ ข้าราชการทุกคนและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทุกคนทั้งพุทธและคาทอลิก ให้แจ้งการนับถือศาสนาของตน และ ดังนั้น จึงได้ดำเนินการจัดทำรายชื่อข้าราชการคาทอลิกทุกคน

 นายมั่นและนายคงจากสถานีวิทยุกระจายเสียง รวมทั้งคณะเลือดไทย    ทำการกดดันพวกคริสตัง เพื่อจะให้เกิดเอกภาพทางศาสนาในศาสนาพุทธ

 พิธีใหญ่โตในการละทิ้งศาสนาจัดขึ้นที่วัดพระมหาธาตุเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ดู       จดหมายของพระสังฆราชแปร์รอสถึงเพื่อนมิชชันนารีที่ไปอยู่ในมิสซังไซ่ง่อนตั้งแต่วันที่ 2กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 จดหมายฉบับนี้ลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 ดังนี้

เอกสารหมายเลข 24

 ดังนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่ละทิ้งศาสนา

 พระสังฆราชแปร์รอสยกตัวอย่างของพระวิชัย

พระวิชัยเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ หลังจากได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ หลวง อดุลผู้บังคับบัญชาของเขาได้กล่าวชมเชยและไม่ยอมรับใบลาออกของเขา

 เช่นเดียวกัน พระอชิรกิต รองอธิบดีกรมไปรษณีย์กลาง ได้กล่าวว่า   ท่านรับราชการมา30 ปี ด้วย ความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เงินเดือนที่ได้รับพอเป็นค่าอาหารและเลี้ยงดูลูกๆ หลายคน   ต่อมาท่านประ กาศอย่างเปิดเผยว่า ครอบครัวของท่านไว้ใจในพระญาณสอดส่อง และท่านยื่นใบลาออกจากหน้าที่ราชการ ต่อเจ้านายของท่านทันที อธิบดีกรมไปรษณีย์กลางไม่ยอมรับใบลาออกของท่าน ได้เห็นความกล้าหาญและ ความซื่อสัตย์ของท่านในการรับใช้พระเจ้าและประเทศชาติ

 จำนวนรวมของผู้ที่ละทิ้งศาสนาในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เพียงวันเดียวมากกว่า 300 คน

 ในจดหมายฉบับวันที่ 24 มีนาคม พระสังฆราชแปร์รอสเขียนว่า “พวกพระสงฆ์พื้นเมืองตัวสั่นด้วย ความกลัว” ส่วนในจดหมายอีกฉบับหนึ่ง  คุณพ่อโชแรงหลังจากได้เห็นกับตาว่าอาสนวิหารอัสสัมชัญเกือบ ว่างเปล่าในวันอาทิตย์ ท่านเสริมว่า “พวกคริสตังตัวสั่นด้วยความตกใจ พวกเขาซ่อนตัวอยู่"


จังหวัดนครปฐม

 ในจังหวัดนี้ในเวลานั้นมีวัด 3 แห่ง แห่งหนึ่งคือวัดนักบุญเปโตร  นครชัยศรี ในปี ค.ศ. 1941มีอายุ ได้ 100 ปี มีคริสตังเกือบ 2,000 คน มีโรงเรียน 2 หลัง แห่งที่ 2 คือ วัดหนองหินเพิ่งสร้างได้ไม่นาน     มี คริสตัง 300 คน โรงเรียน 1 หลัง ขึ้นไปทางนครชัยศรีเป็นวัดแห่งที่ 3 คือ วัดนักบุญอันเดร บางภาษี ตั้งอ ยู่บนฝั่งแม่น้ำนครชัยศรีไปทางเหนือ เพิ่งสร้างวัดหลังใหม่ในปี ค.ศ. 1930 ใช้เป็นทั้งวัดและโรงเรียน     มี คริสตังไม่มาก ไม่มีพระสงฆ์ประจำ

 ที่นครชัยศรี พวกเลือดไทยไม่สามารถก่อเรื่องใหญ่โตได้ เพราะในหมู่พวกคริสตังมีนักเลงโตบางคน เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคุณพ่อเจ้าอาวาส    นอกจากกิตติศัพท์ของพวกเขาในเรื่องเกี่ยวกับพวกหัวขโมย คนเหล่านี้เป็นพวกคริสตังเลวที่รวมตัวกันเพื่อป้องกันวัดของพวกเขา และเมื่อพวกเลือดไทยโผล่เข้ามาเพื่อ ทำลาย ปล้นสะดม พวกคนอื่นๆ ที่อยู่ที่นั่นซึ่งเฝ้าคอยระวังเหตุการณ์อยู่ก็ถือกระบองสั้น มีดอีโต้ เพื่อไม่ต้อ งถูกเรียกว่าใช้อาวุธปืน (ไม่มีคำสั่ง) พวกเลือดไทยคิดว่าไม่ควรเสี่ยงอันตรายและกลับไปยังที่ว่าการอำเภอ สามพรานโดยปราศจากรายชื่อผู้ชนะ

 ที่หนองหิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1941พระสังฆราชแปร์รอสขอร้องให้พระสงฆ์ซาเลเซียนช่วย ดูแล เพราะวัดนี้อยู่ในเขตติดต่อกับมิสซังซาเลเซียน (ราชบุรี) ได้มีพระสงฆ์ซาเลเซียนองค์หนึ่งประจำอยู่ที่ นั่น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมเคารพสัญชาติอิตาเลียนของพระสงฆ์ ปล่อยให้อยู่อย่างสงบ

 ส่วนพวกคริสตัง  ผู้ว่าราชการจังหวัดขอร้องนายอำเภอให้ใช้อิทธิพลทุกอย่างเพื่อทำให้พวกคริสตัง ละทิ้งศาสนาในเขตวัดเหล่านี้

 ครูคนหนึ่งสอนอยู่ที่โรงเรียนวัดบางภาษีชื่อ นายประเวท ภารนันต์เล่าเรื่องว่าพวกคริสตังถูกเรียก ไปประชุมเพื่อทำพิธีละทิ้งศาสนาอย่างไร รายงานของเขามีดังต่อไปนี้

เอกสารหมายเลข 25

 ซึ่งเขาเล่าโดยสรุป

 นายอำเภอบางเลนมาพบผมที่บ้าน ที่บางภาษี เพื่อขอร้องผมให้ทิ้งศาสนา และทำให้พวกคริสตังละ ทิ้งศาสนาตาม โดยเฉพาะรองผู้ว่าราชจังหวัดกล่าวว่า    "ผมไม่มีปัญหาอะไรกับพวกคาทอลิก แต่ผมได้รับ คำสั่งอย่างเป็นทางการให้ทำให้พวกท่านละทิ้งศาสนาให้ได้"    พิธีกรรมอย่างหนึ่งถูกจัดเตรียมไว้ที่จังหวัด นครปฐมในวันมาฆะบูชา"

 2-3 วันก่อนวันที่กำหนด นายอำเภอกลับมาพบผมที่บางภาษี          และขอทราบผลผมตอบเขาว่า ล้มเหลวทั้งเพ ในที่สุด       นายอำเภอให้ผมสัญญาว่าผมจะแนะนำกับพวกคริสตังเวลา 9 โมงเช้า ตามวันที่ กำหนด ด้านหน้าโบสถ์หลังใหญ่        พวกเราไปที่นั่นและพวกเราได้เผชิญหน้ากับพวกคริสตังจากบางเลน คริสตังบางคนจากหนองหิน และโดยเฉพาะคริสตังกลุ่มใหญ่จากนครชัยศรี

 ในทันทีทันใด พวกเจ้าหน้าที่ที่แสนน่ารักได้ล่วงหน้ามาก่อน แต่ละคนได้แจกดอกไม้แก่พวกเราคนล ะหนึ่งช่อและเทียน พวกเขาบอกว่า "พวกเราจะพาพวกท่านเข้าไปภายในโบสถ์ มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะ ปราศรัยกับพวกท่านด้วยตนเอง พวกเราจะบอกพวกท่านว่า ต่อไปพวกท่านจะต้องทำอะไร ให้นั่งลง ให้ลุก ขึ้น ให้คุกเข่า ฯลฯ ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น"

 เมื่อเข้าไปภายใน พวกเราเห็นอะไร! พระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่ มีดอกไม้ประดับ   จุดเทียนสว่าง ไสว ด้านหน้าพระพุทธรูป ท่านสมภารของนครปฐมนั่งอยู่ในที่นั่งของท่าน   ห้อมล้อมด้วยพระภิกษุจำนวน หนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนั่งอยู่กลางพระอุโบสถ

 เมื่อทุกคนได้เข้ามาแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดเริ่มปราศรัยว่า   พวกท่านเป็นคนไทย  พวกท่านต้อง ปฏิบัติตามศาสนาของคนไทยคือศาสนาพุทธ แล้วเขาด่าแช่งพวกคาทอลิก  ด่าศาสนาคาทอลิกด้วยคำพูด ที่แสนหยาบคาย สำหรับเรื่องนี้ข้าพเจ้าไม่เขียนรายงานไว้ ณ ที่นี้  หลังจากนั้นเขาเชิญพวกเราให้คุกเข่า คลานเข้าไปถึงหน้าพระพุทธรูปตามประเพณีไทย  ให้กราบไหว้นมัสการถวายพุ่มดอกไม้และจุดเทียนเป็น การสักการะ

 พวกคริสตังเหล่านี้ได้คุกเข่า เมื่อเห็นเช่นนั้น พวกเราคริสตังจากบางภาษีรู้สึกขนลุก!พวกเขาอยาก ทำให้พวกเราละทิ้งศาสนาจริงหรือ? พวกเราจะทำอย่างไรดี?   ผมพูดกับพวกเขาว่า “ให้พวกท่านทำตาม ผม” และพวกเราลุกขึ้นยืน ขณะที่คนอื่นคลานเข้าไปหาพระพุทธรูปและกราบต่อหน้า

เมื่อพวกเขาได้ปฏิเสธความเชื่อของพวกเขาอย่างสิ้นเชิงผู้ว่าราชการจังหวัดและพวกเจ้าหน้าที่เชิญ ชวนพวกเราให้ทำตามพวกเขา พวกเราปฏิเสธเด็ดขาด   พวกเขาจึงด่าพวกเราเหมือนห่าฝนที่กระหน่ำใส่ พวกเรา พวกเราออกมาจากห้องประชุม ทุกคนชื่นชม

 ทันทีที่ออกมาข้างนอก พวกตำรวจและฝูงชนตะโดนด่าและข่มขู่พวกเราเสียงเอ็ดอึงเมื่อเห็นเช่นนั้น พวกเรารีบมองหารถของพวกเราและออกรถไปเพื่อไปหลบภัยที่หนองหิน

 ข้าพเจ้าถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นครู ส่วนนายอำเภอบางเลนหน้าแตกไปตามระเบียบเพราะ ทำงานล้มเหลว

ข้าพเจ้าตกอยู่ในสภาพเรือไม่มีหางเสือ


จังหวัดอยุธยา

 โดยผลของคำสั่งที่ให้เรียกตัวพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสทุกองค์โดยรัฐบาล ลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อบรัวซาต์เจ้าอาวาสวัดบ้านปลายนาและเป็นหัวหน้าในเขตอยุธยา   ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ คุณพ่อเอากุสติโนผู้ช่วยเจ้าอาวาสของท่าน   ซึ่งผลัดกันกับคุณพ่อบรัวซาต์ดูแลวัดเจ้าเจ็ดและวัดบ้านหน้า โคก ได้หลบภัยเข้ากรุงเทพฯ อย่างรีบด่วน ไม่ขึ้นไปที่บ้านปลายนาในระหว่างเดือนมีนาคม ส่วนคุณพ่อมา ร์แซลออกจากวัดอยุธยาชั่วคราว

 ในทันที ก็เริ่มการเบียดเบียนพวกคริสตังพวกคนหนุ่มสาวและพวกเด็กๆ ด้วยการบีบบังคับ ขู่เข็ญ พวกเราสังเกตในขณะนั้นว่าในจำนวนพวกคริสตัง   นายอำเภอได้พยายามชักจูงคริสตังเลวให้ละทิ้งศาสนา คนพวกนี้มีชื่อเสียงเป็นพวกหัวขโมย  กล้าหาญกว่าคริสตังคนอื่นๆและพวกเขาเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวต่อ ต้านพวกเลือดไทยเพื่อป้องกันวัด พวกเขามีไม้กระบองหรือมีดดาบเป็นอาวุธประจำกาย  ทำให้พวกเลือด ไทยต้องใคร่ครวญก่อนจะทำอะไร

 ที่วัดเจ้าเจ็ด นายอำเภอตั้งความหวังไว้มาก  เพราะในกลุ่มคริสตังมีคนหนึ่งร่ำรวยมากเป็นเจ้าของ โรงสีขนาดใหญ่ เป็นคนมีหน้ามีตาเป็นที่รู้จักดีทั้งในหมู่บ้านและไกลไปจนถึงลำคลองต่างๆ   และเขามีเมีย น้อยหนึ่งคนหรือมากกว่าในหมู่บ้านนี้ แต่ชายคนนี้ไม่ค่อยจะสนใจปฏิบัติศาสนกิจ เขาไม่มาวัดนอกจากวัน ฉลองวัด พวกคริสตังเสียใจที่เขาไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา  เพราะเขาเป็นคนมีอิทธิพลและเป็นที่นิยมชม ชอบในแถบนั้น

 นายอำเภอหมายตาให้เขาละทิ้งศาสนาเป็นคนแรกเป็นคนนำร่องชักจูงชาวบ้านให้ละทิ้งศาสนาด้วย ในวันนัดหมายตามที่นายอำเภอกำหนดพิธีประกาศละทิ้งศาสนา     และหลังจากปราศรัยเตรียมแล้ว นาย อำเภอเข้ามายืนต่อหน้ากลุ่มคริสตัง และขอให้เขากล่าวหยาบคายต่อศาสนาคาทอลิก ในเวลานั้นท่ามกลาง ความเงียบแห่งความตาย ชายคนนั้นหันหน้าอย่างช้าๆ ไปทางพวกคริสตัง  มองดูพวกเขาซึ่งกำลังกระวน กระวาย พวกผู้หญิงกำลังสวดสายประคำ  ต่อมาเขาหันมาทางนายอำเภอพร้อมกับยิ้มและพูดเสียงดังและ หนักแน่นว่า “จริงอยู่ ผมไม่ได้ประพฤติตนเป็นคาทอลิกที่ดี ทั้งไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ผมขอสารภาพ อย่างไม่ละอายต่อหน้าทุกคนผมเป็นคริสตัง ผมยังคงเป็นคริสตัง และจะขอตายอย่างคริสตัง ไม่มีประโยชน์ อะไรที่พยายามทำให้ผมเปลี่ยนศาสนา” (ดู รายงานประจำปี กรุงเทพฯ ปี ค.ศ. 1941-1947) เสียงร้องด้วย ความยินดีของพวกคริสตังที่มาประชุมว่า   “พวกเราเป็นคริสตัง พวกเราจะตายเป็นคริสตัง!” ข่าวนี้ของเจ้า เจ็ดรู้กันไปทั่วในวัดอื่นๆ และในเขตนี้มีคนละทิ้งศาสนาน้อยมาก


เขตแปดริ้ว (ฉะเชิงเทรา)

ในเวลาเดียวกันพวกพระสงฆ์ทางภาคอีสานถูกเรียกมารวมตัวกันและถูกขับไล่วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 พวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสจากจังหวัดอื่นๆ เช่น แปดริ้ว, ปราจีน, จันทบุรี,เป็นต้น   ถูกบังคับให้ไป รวมกันที่กรุงเทพฯ ภายในเวลา 48 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตำรวจและพวกเลือดไทยควบคุมพระสงฆ์บางองค์ใน จำนวนเหล่านี้ ปลุกระดมพระสงฆ์องค์อื่นๆ ข่มเหงทารุณพระสงฆ์บางองค์และบางองค์ถูกนำตัวไปกรุงเทพ ฯ มีตำรวจควบคุมไปด้วย วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941ชาวฝรั่งเศสทุกคนที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทยต้อง มารวมกันที่กรุงเทพฯ นี่คือเครื่องหมายถึงการเบียดเบียนในมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ

 ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต พระสังฆราชแปร์รอสจึงแต่งตั้งคุณพ่อยออากิม(เทพวันท์ ประ กอบกิจ) ให้เป็นอุปสังฆราชดูแลมิสซังกรุงเทพฯ ตลอดเวลาที่พระคุณเจ้าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

 คุณพ่อเทพวันท์ไม่สามารถจัดการอะไรได้เลย เพราะพวกพระสงฆ์ไทยกลัวจนตัวสั่นขวัญหนี ดังนั้น จึงเสนอพระสังฆราชปาซอตตีผู้ปกครองมิสซังราชบุรี ให้ส่งพระสงฆ์ซาเลเซียน 2 องค์ คือ คุณพ่อกาวัลลา และคุณพ่อแกรสปี ซึ่งรับผิดชอบในตำแหน่งอุปสังฆราช  อนุญาตให้ไปดูแลที่ปากคลองท่าลาดองค์หนึ่ง ที่ ท่าเกวียนอีกองค์หนึ่ง เพื่อเป็นกำลังใจแก่พวกคริสตัง

หมายเหต วันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1940  พระสังฆราชแปร์รอสได้ส่งคุณพ่ออังแซลม์และคุณพ่อวินเซนเต (คุณพ่อทั้งสองเกิดในเมืองไทย ถือสัญชาติไทย) ให้ไปดูแลพวกคริสตังที่ปากคลองท่าลาด คุณพ่อทั้งสองไม่ สามารถอยู่ได้นาน สาเหตุมาจากถูกคุกคามอย่างหนัก คุณพ่อทั้งสองจึงไปอยู่ที่กรุงเทพฯ พร้อมกับซิสเตอร์ 2 รูปจากทั้งสองวัด

    1. วัดท่าเกวียน

     ที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม

    ก) คุณพ่อกาวัลลาถูกซ้อม วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1941

 คุณพ่อ 2 องค์ เดินทางจากกรุงเทพฯ วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1941 มาถึงปากคลองท่าลาดในเวลา เย็น และค้างคืนที่นั่น เช้าวันรุ่งขึ้น  คุณพ่อทั้งสองไปพบนายอำเภอบางคล้าเพื่อลงชื่อเหมือนชาวอิตาเลียน คนอื่น ต่อจากนั้น คุณพ่อแกรสปีเตรียมตัวโดยสารเรือจากแปดริ้วไปท่าเกวียนเพื่อไปที่หมู่บ้านคริสตังเรือม าจอดที่ท่า นอกจากผู้โดยสารประจำแล้ว ยังมีซิสเตอร์เทคลาพร้อมกับเพื่อน   (แต่งตัวแบบฆราวาส)   ไป วัดท่าเกวียนเพื่อช่วยคุณพ่อกาวัลลา เลขาฯ นายอำเภอพนมชื่อ นายแสวง และครูใหญ่โรงเรียนของอำเภอ ชื่อ นายสงัด โดยสารในเรือลำเดียวกันด้วยเช่นกัน

 เมื่อนายแสวงเห็นคุณพ่อกาวัลลาลงจากบ้านพักพระสงฆ์ที่ปากคลองท่าลาดเพื่อโดยสารเรือไปที่วัด ท่าเกวียน เขาพูดกับนายสงัดว่า “คืนนี้ ไม่มีอะไรทำ ผมจะบีบคอเขา” และเขาเริ่มด่าว่าศาสนา   ซิสเตอร์  เทคลาจดข้อความไว้โดยไม่พูดอะไร หลังจากนั้นซิสเตอร์จะเขียนรายงานถึงพระสังฆราชแปร์รอส นี่คือ

  เอกสารหมายเลข 26 ลงวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1941

 ในเอกสารดังกล่าว ซิสเตอร์เทคลาเล่าเรื่องที่เธอได้เห็นและได้ยินต่อไปว่า หลังเวลา 23 นาฬิกาเล็ก น้อย พวกโจรจำนวนประมาณ 100 คน พร้อมอาวุธปืนและมีด    เข้ามาปล้นของทุกอย่างที่มีในบ้านพักพระ สงฆ์ และที่บ้านซิสเตอร์ เราเห็นพวกเขามาตะโกนอึกทึก เรารีบหนีหาที่ซ่อนตัว   ดิฉันได้ยินพวกโจรพูดว่า “พวกชีอยู่ที่ไหน เราจะฆ่ามัน?”

 พวกโจรไม่พบซิสเตอร์สักคน พวกเขาวิ่งไปที่บ้านพักพระสงฆ์       ขโมยของทุกอย่างติดมือไปด้วย พวกเขาค้นข้าวของและทำลายของที่เหลือ      พวกคริสตังไปแจ้งความที่สถานีตำรวจของอำเภอที่อยู่ใกล้ๆ    และขอความช่วยเหลือ แต่ตำรวจไม่สนใจ

ดิฉันได้เขียนรายการสิ่งของที่ถูกขโมยไปหรือถูกทำลาย

      ลงชื่อ เทคลา

    ขอย้อนไปพูดเรื่องคุณพ่อกาวัลลา

 เมื่อมาถึงท่าเกวียน คุณพ่อกาวัลลาก็ไปที่วัด ขณะนั้นเป็นเวลา 17.30 น. ที่นี่ผมฝากคำพูดของคุณ พ่อกาวัลลาในรายงานที่เขียนด้วยตนเอง   ส่งจากโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์  กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1941 ถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ นี่คือ

     เอกสารหมายเลข 27

เวลาประมาณ 23.30 น. ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังนอนหลับ มีคนประมาณ 20 กว่าคน ได้พากันมาที่บ้าน เอาก้อนอิฐ ไม้ฟืน ขว้างปาฝาและหลังคาบ้าน   แล้วได้เอาขวานฟันประตูพัง    บุกรุกเข้ามาในบ้าน ได้ใช้มีด ขวาน ไม้ ที่ติดมือมา ทำลายสิ่งของที่อยู่ในบ้านเสียหายไม่มีชิ้นดี เมื่อข้าพเจ้ารู้สึกตัวตื่น ก็หนีเพราะเห็นว่า สู้ผู้ร้ายไม่ไหว ข้าพเจ้าจึงวิ่งหนีไปที่ตลาดที่อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 30 เมตร ผู้ร้ายเหล่านั้นได้ตรงเข้ามา จับข้าพเจ้า กระชากเสื้อผ้าจนขาด แย่งเอาเงินในกระเป๋าซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 บาทตั๋วเดินทางกลับใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าวของข้าพเจ้าและเอกสารอื่นๆ อีก 2-3 ชิ้น แล้วพวกผู้ร้ายได้ฉุดข้าพเจ้าข้างละคน    คน หนึ่งทางขวา อีกคนหนึ่งทางซ้าย แล้วขู่ไม่ให้ข้าพเจ้าเหลียวหลัง ถ้าขัดขืนจะตีให้ตาย    ส่วนพวกที่เหลือก็ ชก เตะ ตี ต่อยข้าพเจ้าทีละคนสองคน คนหนึ่งใช้ไม้พลองตีศีรษะข้าพเจ้า     เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าสลบไปครู่ หนึ่ง พอฟื้นขึ้น ปรากฏว่ามีชายคนหนึ่งเดินผ่านมา ข้าพเจ้าได้ขอร้องให้ช่วยแก้ข้าพเจ้าออก แต่เขาปฏิเสธ ว่าช่วยไม่ได้เพราะจะถูกทำร้าย ข้าพเจ้าได้ดิ้นรนจนที่สุดก็หลุดออกมาได้เอง

 ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อมา มีคนประมาณ 10 กว่าคน    ได้เข้ามาในบ้านที่ข้าพเจ้าพักอยู่ผู้หนึ่งแจ้งว่า เป็นนายตำรวจ แล้วบอกว่าอีกคนหนึ่งเป็นนายอำเภอพนม (สารคาม)   จะมาทำการไต่สวน กลัวว่าข้าพเจ้า จะประกอบจารกรรม แล้วได้เข้าค้นบ้านข้าพเจ้า เห็นเครื่องใช้แตกเสียหายหมด แต่ก็ไม่ได้เอาใจใส่ในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ได้พูดกับข้าพเจ้าว่าที่ได้มาทำการไต่สวนในเวลากลางคืน ก็เพราะได้ยินเสียงโครมคราม ข้าพเจ้า จึงรายงานให้รู้ว่ามีผู้ร้ายบุกรุกในบ้านข้าพเจ้า และได้ทำความเสียหายต่อสิ่งของในบ้านพร้อมทั้งทำร้ายตัว ข้าพเจ้าด้วย แต่เจ้าหน้าที่หาได้เอาธุระในเรื่องนี้ไม่ กลับพูดว่ามาเพื่อไต่สวนเรื่องจารกรรมเท่านั้น

 วันที่ 15 มีนาคม เวลา 7.30 น. ข้าพเจ้าได้ลงเรือกลับกรุงเทพฯ    ได้แวะที่สถานีตำรวจแปดริ้วเพื่อ แจ้งเหตุการณ์ที่ได้เกิดแก่ข้าพเจ้า แล้วกลับถึงกรุงเทพฯ    เวลานี้ได้มาพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเซนต์ หลุยส์

 ส่วนคุณพ่อแกรสปีที่ไปพร้อมกับข้าพเจ้าเมื่อวันที่ 13ขณะนี้ยังพักอยู่ที่วัดคาทอลิกปากคลองท่าลาด ขอความกรุณาให้ทางการจัดการเพื่อความปลอดภัยของคุณพ่อองค์นี้ด้วย     ข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายงาน เหตุการณ์อันนี้ได้เป็นไปตามความจริงทุกประการ และขอให้ทางการพิจารณาจัดการต่อไปด้วย

                                          ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

ข. ผลของการสำรวจ การบังคับพวกคริสตังให้ละทิ้งศาสนา

วัดถูกทำลายจนราบเป็นหน้ากลอง

รวมทั้งบ้านพักพระสงฆ์และคอนแวนต์

 หลวงอดุล อดุลเดชจรัส ได้ตีพิมพ์คำสั่งต่างๆ          และห้ามเรื่องการเบียดเบียนศาสนาในหัวข้อ "เสรีภาพทางศาสนา" ประกาศโดยรัฐธรรมนูญ ท่านมีภารกิจสำคัญกว่านั้น ท่านเป็นเพียงอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งขึ้นต่อรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ท่านผู้นี้และหลวงพิบูลส่งคำสั่งลับไปถึงพวกผู้ว่าราชการจังหวัดและ พวกนายอำเภอ

 พวกนายอำเภอพนมและบางคล้าตกลงกันไว้เรียบร้อย ตั้งแต่เดือนมกราคม   พวกเขาได้บังคับให้ พวกคริสตังจำนวนมากละทิ้งศาสนา เป็นต้นคนอ่อนแอ แต่ยังเหลือพวกหัวดื้อ เรื่องราวที่ท่าเกวียนจะเปิด โอกาสให้พวกเขา

  ตำรวจท้องที่และนายอำเภอพนมสารคามตอบว่า พวกนี้เป็นพวกคริสตังของวัดท่าเกวียนและปาก คลองท่าลาดเอง   ซึ่งเมื่อเห็นมิชชันนารีชาวอิตาเลียนย้ายมาอยู่ ก็ก่อความวุ่นวาย พวกเขากลัวว่าคุณพ่อ ชาวอิตาเลียนจะเอาข้าวของของเจ้าอาวาสองค์ก่อนคือคุณพ่อริชารด์สัญชาติฝรั่งเศสไป เราจะลงโทษผู้กระ ทำผิด

 เพื่อไม่เป็นการเน้นเรื่องนี้จนเกินไป ข้าพเจ้าได้ส่งรายงานของพวกคริสตังวัดปากคลองท่าลาดมาให้ ท่าน ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการบังคับพวกคริสตังอย่างไร? โดยการข่มขู่ให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนาคาทอลิก และให้พวกเขาเซ็นชื่อรับรองว่าสมัครใจจะซื่อสัตย์ต่อศาสนาพุทธ

หลังจากที่ได้ทำลายอาคารทั้งหมดของวัดคาทอลิกปากคลองแล้ว พวกเลือดไทยไปปล้นและทำลาย วัด, บ้านพักพระสงฆ์ คอนแวนต์ และบ้านพักซิสเตอร์ และสถานที่อื่นๆ ของวัดท่าเกวียน จนราบเป็นหน้า กลอง

2. เขตวัดปากคลองท่าลาด

 นายอำเภอบางคล้า

  หลังจากคุณพ่อกาวัลลามาถึงกรุงเทพฯ ไม่นาน  คุณพ่อแกรสปีได้ถูกเรียกอย่างเร่งด่วนให้กลับไป กรุงเทพฯ เพราะเกรงว่าคุณพ่อ 2 องค์ จะเผชิญชะตากรรมเลวร้ายยิ่งกว่าเพื่อนๆ หลังจากที่คุณพ่อทั้งสอง ออกจากวัดได้ไม่กี่วัน วัด, บ้านพักพระสงฆ์ บ้านพักซิสเตอร์ โรงเรียน     ทุกอย่างถูกทำลายหมด และไม้ ต่างๆ (ของอาคารที่ถูกทำลาย) ถูกขายไปในราคาถูกๆ โดยการจัดการของนายอำเภอ    ไม่เหลือร่องรอย ของมิสซังคาทอลิก สุสานถูกทำลายและนายอำเภอได้สร้างถนนผ่านกลาง    ที่นาของวัดถูกคนมายึดครอง เป็นเจ้าของ

 ในปี ค.ศ. 1942 คุณพ่อการิเอเจ้าอาวาสวัดแปดริ้ว ได้เดินทางกลับจากอินโดจีน ตามคำสั่งที่ 9 ลง วันวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ของอธิบดีกรมตำรวจ คุณพ่อกลับมาที่แปดริ้ว  หลังจากนั้นได้ไปเยี่ยม วัดสาขาคือ ปากคลองท่าลาดและท่าเกวียน ทันทีทันใดพวกคริสตังที่ละทิ้งศาสนามาขอโทษ    และคุณพ่อ ขอให้บางคนเขียนรายงานเรื่องที่ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1941 คุณพ่อได้รับรายงาน 3 ฉบับ   ที่มีเนื้อหาสอด คล้องกันดีมาก แต่ละคนให้รายละเอียดเพิ่มเติมและรายละเอียดพิเศษเรื่องราวทั่วๆไปของการเบียดเบียน ไม่แตกต่างกัน ข้าพเจ้าขอยกเอาเนื้อหารายงานของนางซ่อนกลิ่น ผลประเสริฐมาก ซึ่งจะเป็น

เอกสารหมายเลข 28

 ซึ่งข้าพเจ้าเพิ่มเติมไว้ เป็นบันทึกพิเศษของรายงาน 2 ชิ้น   รายงานเหล่านี้ได้บรรยายถึงวิธีการซึ่ง นายอำเภอบางคล้าและนายอำเภอพนมตกลงกันเพื่อทำให้พวกคริสตังละทิ้งศาสนา รวมทั้งพวกหัวดื้อด้วย

"วันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1941(ความจริงเป็นวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1941) กำนันขอให้หัวหน้าครอบ ครัวคริสตังทุกคนไปประชุมกัน นายอำเภอได้เรียกประชุมในวันอาทิตย์       หลังจากสวดภาวนาประจำวัน อาทิตย์ในวัดแล้ว ประมาณ 10 นาฬิกา พวกคริสตังทุกคนก็ไปตามนัดในรายงานของเขา"

 

เอกสารหมายเลข 29

นายทองมา ผลประเสริญมาก กล่าวว่า "พวกคริสตังประมาณ 60-70 คน เดินทางไปประชุมในศาลา การเปรียญของวัดแจ้ง"

ก. การประชุมครั้งแรก

 ในรายงานของเขา

เอกสารหมายเลข 30

 นายสนั่น เอี่ยวสิริ กล่าวว่า “นายมหาบุญชู คนสำคัญของศาสนาพุทธ  เรียกพวกคริสตังทุกคนตาม รายชื่อที่เขามี เขาจัดทำรายชื่อนี้ซึ่งมีอยู่ในมือเขาได้อย่างไร? ข้าพเจ้าไม่ทราบเลย"

 นายอำเภอมาพร้อมกับนายร้อยตำรวจเอกเดินเข้ามาในที่ประชุม       ต่อจากนั้นก็กล่าวกับพวกเรา หลายเรื่อง “รัฐบาลไม่ต้องการศาสนาคาทอลิกคนไทยแท้ต้องนับถือศาสนาพุทธพวกคาทอลิกเป็นพวกฝรั่ง เศส” คริสตังบางคนประท้วงคำพูดของเขา นายอำเภอแย้งว่า “พวกคริสตังไม่ได้เป็นพวกฝรั่งเศสทุกคนแต่ ศาสนาของพวกเขาเป็นศาสนาของฝรั่งเศส และพวกที่คัดค้านเป็นพวกแนวที่ 5 ฯลฯ” คริสตัง 3 คน   ละทิ้ง ศาสนาในการประชุมครั้งแรกนี้ มีนางแฉล้ม,นางปิ่น, นางถนอม       นายอำเภอให้พวกเขาขึ้นไปนั่งบนเวที (ของพวกพระภิกษุ) รอเวลานำเข้าไปในโบสถ์เพื่อทำพิธี ส่วนคนอื่นๆ ให้นั่งที่พื้น... การประชุมครั้งใหม่เป็น วันที่ 3 กุมภาพันธ์

    ข. การประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 3 เมษายน

    (ประชุมจริงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941)

 นายอำเภอดูเหมือนขึงขังน้อยลง เพราะเพิ่งมีคำสั่งของอธิบดีกรมตำรวจออกมา(วันที่1 กุมภาพันธ์) ในนามของรัฐธรรมนูญ ห้ามการเบียดเบียนประชาชนเรื่องการนับถือศาสนานายอำเภอกล่าวกับพวกเราว่า “เจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทยทุกคนคือ    อยากให้ในประเทศไทยมีเพียงศาสนาเดียวคือศาสนาพุทธ ไม่ใช่ศาสนาคาทอลิก เมื่อมีต้นกาฝากอยู่บนต้นมะม่วง เขาทำอย่างไร? พวกคริสตังบางคนตอบว่า "ตัดมัน ทิ้งเสีย โค่นทิ้งเสีย" "ใช่แล้ว นี่เป็นเรื่องถูกต้อง!   พวกคริสตังเป็นพวกกาฝากที่ต้องกำจัด!” ที่นี่ คริสตังบาง คนเซ็นชื่อเป็นพุทธ "ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พวกท่านจะมารับการอบรมทุกวัน"

ค. การประชุมทุกวันเพื่อรับการอบรม

 การอบรมดำเนินไปนานกว่า 1 เดือน      พวกคริสตังที่ยังไม่ได้ละทิ้งศาสนาต้องมาแสดงตัวทุกวัน ตั้งแต่บ่ายโมงถึงห้าโมงเย็น พวกคริสตังที่อยู่ห่างไกลต้องมาเร็วขึ้น      พวกเขาเสียเวลาทั้งวันในการเดิน ทางและการอบรม พวกเขาลงทะเบียนเป็นพุทธ และไปทำพิธีภายในโบสถ์ นับตั้งแต่เวลานั้น  พวกเขาไม่ ต้องไปแสดงตัวในการประชุมอบรมอีกเลย พวกเขาได้ชื่อว่าเป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์

 นายอำเภอจบการอบรมด้วยการกล่าวกับพวกที่ยังหัวดื้ออยู่ว่า      "พวกท่านไม่รู้หรอกว่าข้าพเจ้า ลำบากทุกอย่างเพื่อพวกท่าน    เพื่อปกป้องพวกท่านและปกป้องวัดของพวกท่านเพราะพวกท่านไม่มีอาวุธ พวกท่านไปสวดภาวนาในวัดของพวกท่านโดยปราศจากอาวุธในมือ พวกท่านก็ไม่สามารถจะป้องกันตัวเอง ถ้าพวกท่านถูกโจมตี เพราะฉะนั้น    ข้าพเจ้าเพิ่งนึกได้ว่าได้พาคนจำนวนหนึ่งมากับข้าพเจ้าด้วย เพื่อจะได้ สามารถคุ้มครองพวกท่าน ในกรณีล้มเหลว" จริงๆ แล้ว พวกเขามาเพื่อสำรวจพื้นที่มากกว่า

 ไม่มีใครกล้าเปิดปากในที่ประชุม เพราะคำแรกๆ ของการคัดค้าน ก็ถูกจับข้อหาเป็นแนวที่ 5 คำๆ เดียวที่พวกเราสามารถพูดได้ก็คือ ขอบคุณนายอำเภอที่ท่านเอาใจใส่ดูแลพวกเรา

    ง. การเฝ้าสังเกตการณ์ในเวลากลางคืน

 - นายทองมา เอกสารหมายเลข 29 เล่าว่า “หลายวันก่อนที่วัดจะถูกทำลาย มีข่าวลือว่าประชาชน จะมาทำลายวัดของพวกเรา ดังนั้น  พวกเราจึงตกลงกันเพื่อช่วยเหลือกัน และเฝ้ายามกลางคืน ข้าพเจ้าอยู่ กับพวกเขาด้วย คนส่วนมากอยู่เฝ้ายามในที่ของตนตลอดคืน

 ในขณะนั้น (วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1941)   พระสงฆ์อิตาเลียน 2 องค์ ได้เดินทางมาที่วัดปากคลอง ท่าลาด และวันรุ่งขึ้น คุณพ่อองค์หนึ่งได้ไปที่วัดท่าเกวียนพร้อมกับนายรอด   คืนนั้นเอง คุณพ่อองค์นี้ได้ถูก ทุบตีและถูกปล้น

 ระหว่างที่มีการประชุมอบรมกันในวันพุธ ยามกลางคืน พวกที่ยังหัวดื้ออยู่ได้ถูกจับและถูกกล่าวหา เป็นโจรปล้นและทำร้ายพระสงฆ์อิตาเลียนที่ท่าเกวียน ในการจับกุมนี้ พวกที่ถูกจับมี8 คน      (ซึ่งนางซ่อน กลิ่นได้บอกรายชื่อ) 2 คนโชคดีหลบหนีไปได้ อีก 2 คนคือนายล้วนและนายสนั่นไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ เพราะมี ธุระต้องย้ายข้าวของไปที่แปดริ้ว”

 - นายสนั่น เอกสารหมายเลข 30 เล่าว่า “วันพฤหัสบดี   ตำรวจมาจับพวกเรา นายล้วนถูกจับตอน เช้า ส่วนข้าพเจ้าถูกจับตอนบ่าย เมื่อข้าพเจ้ามาหานายอำเภอ พวกที่ถูกจับครั้งแรกและนายล้วนรวมเป็น 9 คน เพิ่งถูกส่งตัวมาที่ที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม   ข้าพเจ้าถูกขังคนเดียวในห้องขังของโรงพัก เพื่อรอย้าย  ไปที่อำเภอพนมสารคามในเช้าวันรุ่งขึ้น จริงๆ แล้วข้าพเจ้าไม่ทราบว่าทำไมจึงถูกจับ? เช้าวันรุ่งขึ้นขณะถูก ย้าย ข้าพเจ้าจึงทราบเหตุผล คนแจวเรือจ้างถามตำรวจคนหนึ่งว่า "ทำไมจึงจับชายผู้นั้น?"    "ผมไม่ทราบ อะไร        มากอาจเป็นอย่างที่ผมคิดคือเข้าทำร้ายด้วยอาวุธมือที่พนมสารคาม!    "ในเวลากลางคืนของวัน พฤหัสบดีนี้ ขณะอยู่ในห้องขัง ข้าพเจ้าได้ยินเสียงร้องตะโกนอึกทึกเหมือนคนบ้า   วัดของข้าพเจ้ากำลังถูก ทำลาย

 ครั้นวันศุกร์ ข้าพเจ้าถูกย้ายไปที่พนม และถูกขังรวมกับคนอื่นๆ อีก 9 คน       ในเวลาเย็นนายร้อย ตำรวจเอกและนายอำเภอ เรียกนายล้วนและนายแดงมารับประทานอาหารด้วยกันในห้องขัง  ข้าพเจ้าเห็น พวกเขาพูดคุยกัน แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถได้ยิน ข้าพเจ้าคิดว่าเวลาประมาณ 8 นาฬิกา    พวกเขาได้กลับมา ด้วยอาการค่อนข้างเมา ข้าพเจ้าถามพวกเขาว่านายอำเภอเรียกพวกท่านไปทำไม?  นายล้วนตอบข้าพเจ้า ว่า "ต่อไปพวกเราจะปลอดภัยทั้ง 9 คน แต่พวกเราต้องไม่หนี มิฉะนั้นจะต้องถูกยิงภายหลัง พวกเรารับรอ งแทนคนอื่นๆ" "พวกท่านจะปลอดภัยหรือ? ต้องทำอย่างไร?" นายล้วนตอบข้าพเจ้าว่า  "ต้องละทิ้งศาสนา แน่ๆ" และเขาเสริมว่า "นักบุญเปโตรได้ปฏิเสธพระองค์สามครั้ง!   พวกเราปฏิเสธเพียงครั้งเดียว!" ข้าพเจ้า  ไม่ได้ตอบอะไรสักคำ"

    จ. การละทิ้งศาสนาของพวกหัวดื้อ

 เย็นนั้น ทั้ง 9 คนก็สามารถนอนนอกห้องขังได้พวกเขามีเสื่อและหมอนเช้าวันรุ่งขึ้นนายร้อยตำรวจ เอกทำการสอบสวนเพิ่มเติมเล็กน้อย ตำรวจถามพวกเขาว่า   "พวกท่านทั้ง 9 คนนี้ พวกท่านจะเอาใครเป็น คนประกัน?" และพวกเขาได้ชี้กันและกัน เรื่องยืดเยื้อจนถึงเวลา 4 หรือ 5 โมงเย็น   ข้าพเจ้าถูกสอบสวน เช่นกัน และนายช่วยก็มาประกันตัวข้าพเจ้า และพวกเราก็เป็นอิสระจากการประกันตัวในเย็นวันเดียวกัน  นั้นเอง และพวกเราก็กลับบ้าน

 2-3 วันต่อมา พวกเราได้ไปที่วัดพุทธตามที่พวกเราได้สัญญาไว้       และพวกเราได้ปฏิเสธศาสนา คาทอลิกเพื่อเปลี่ยนเป็นคนพุทธ ถ้าพวกเราไม่ไปตามนัด พวกเราต้องถูกจับและถูกฟ้องเหมือนเดิมว่าเข้า โจมตีด้วยอาวุธมือ ปล้น และทำร้ายร่างกายพระสงฆ์ชาวอิตาเลียน

    ตั้งแต่นั้นมา ข้าพเจ้าได้พักอยู่ที่บางคล้าจนถึงปัจจุบันนี้

    ฉ. วัดปากคลองท่าลาดถูกทำลายจนหมด

 คืนวันเดียวกันนี้ซึ่งพวกคริสตังที่ถูกจับได้ถูกส่งตัวไปที่พนมสารคามข้าพเจ้าอยู่ในเรือพร้อมกับลูกๆ ซึ่งจอดห่างตลิ่งเล็กน้อยเพราะข้าพเจ้ากลัว   ข้าพเจ้าได้ยินเสียงคนจำนวนมากเปล่งเสียงโห่ร้องไชโยแสดง ความยินดี พวกเขาเพิ่งทำลายวัด, บ้านพักพระสงฆ์, บ้านพักซิสเตอร์    โรงเรียนสำหรับนักเรียนชายและ หญิง 2 แห่ง และเสียงอื่นๆ คือ เสียงของพวกสัตว์นรก, เสียงฆ้อนตอก, เสียงไม้กระดาน เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1941

 ข้าพเจ้ารู้สึกกลัว วันรุ่งขึ้น ข้าพเจ้าจะประกาศตัวเป็นพุทธ นายอำเภอพูดกับข้าพเจ้าว่า "ผมทราบ ว่าพวกเลือดไทยจำนวนมากได้ไปทำลายวัด ดีมาก นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป    ท่านไม่ต้องมารับการอบรม อีก" ทุกอย่างจบแล้ว (เอกสารหมายเลข 28)

 หลังจากได้ทำลายป่าช้าจนหมด และทุบไม้กางเขนทั้งหมดทิ้ง    นายอำเภอได้จัดการทำลายพวก หลุมฝังศพและสร้างถนนผ่าน พวกไม้กระดานทั้งหมด, พวกไม้รอด เป็นต้น ถูกขายไปในราคาถูกๆ โดยผู้ ช่วยนายอำเภอที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในการขายซึ่งสมาชิกประกอบด้วย    นายประกอบ สุนทร ดิลก, นายโป และนายน้อย

 พวกไม้ของวัดและบ้านพักพระสงฆ์ถูกนำไปที่วัดพุทธชื่อ วัดปากน้ำ ไม้อื่นๆ ทั้งหมดของคอนแวน ต์นักบวชหญิง, ของโรงเรียน 2 แห่ง, พวกพระแท่นบูชาทั้งหมด, พวกตู้ต่างๆ เป็นต้น... สังกะสีทั้งหมดที่ มุงหลังคาถูกขายในราคาถูกๆ ให้นายน้อยซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่ง  ที่ดินของวัดและที่ดินแปลงต่างๆ ตาม รายงานถูกยึดโดยนายประกอบ