ประวัติอาสนวิหารแม่พระนิรมล ( วัดบุ่งกะแทว )
------------------------------------------------------------------------------------
604 ถ.พรหมราช อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โืทร. 0-45262-656-8,0-1878-7376

เป็นวัดคาทอลิกวัดแรกของภาคอีสาน คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดโรมัน” พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1881

เดิมเป็นวัดเล็ก ๆ  มีสัตบุุรุษประมาณ 30 คน ต่อมาเป็นศูนย์กลางของานแพร่ธรรมในภาคอีสานอยู่เป็นเวลายาวนานในอดีต จนกลายเป็นวัดขนาดใหญ่และเป็นวัดศูนย์กลางของสังฆมณฑลอุบลราชธานี ปัจจุบัน มีสัตบุรุษประมาณ 3700 คน

ก่อตั้งโดย พระคุณเจ้า หลุยส์ เวย์ ซึ่งเป็นพระสังฆราชปกครองมิสซังคาทอลิกทั้งในประเทศไทย และลาว ได้แต่งตึ้งคุณพ่อยวง บัปติสต์โปรดม และคุณพ่อซาเวียร์ เกโก พระสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ให้เดินทางจากกรุงเทพฯ มายังเมืองอุบลฯ เพื่อเิริ่มงานแพร่ธรรมในภาคอีสาน

สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจมาเแพร่ธรรมที่เมืองอุบล ฯ สืบเนื่องมาจากพระคุณเจ้าหลุยส์ เวย์ ได้รู้จักกับเจ้าพรหมเทวาเสด็จหน่อคำ ข้าหลวงเมืองอุบลฯ เมื่อเจ้าพรหมเทวา กลับไปกรุงเทพฯ มักจะพบปะกับคณะธรรมทูตที่จะไปแพร่ธรรมอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของท่าน ดังนั้นคณะคุณพ่อพร้อมด้วยครูคำสอน 1 คน และผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง จึงได้เดินทางมาถึงเมืองอุบล ฯ เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1881 คณะของคุณพ่อได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองเป็นอย่างดี โดยจัดให้คณะคุณพ่อที่พักอยู่ห้องด้านหนึ่งของศาลากลางจังหวัดเป็นการชั่วคราว  ขณะที่พักอยู่ที่ศาลากลาง คณะคุณพ่อก็ได้ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกพวกกุลาจับตัวมาจากเมืองพรวน ในแค้วนลาว จำนวน 18 คน เพื่อขายเป็นทาสจนได้รับอิสระ บรรดาทาสเหล่านี้ได้ขออยู่ในความคุ้มครองของคุณพ่อและได้สมัครเรียนคำสอนเป็นคาทอลิกรุ่นแรกของเมืองอุบล ฯ

คณะคุณพ่อได้ขอร้องให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองช่วยจัดหาที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เจ้าหน้าที่บ้านเมืองได้มอบที่ดินทางทิศตะวันตกของเมืองอุบลฯ ให้ เป็นบริเวณบึง ( บุ่ง ) ตามลุ่มฝั่งแม่น้ำมูล เคยมีคนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่มาก่อน แต่ได้ละิทิ้งไปเพราะอยู่ท่ามกลางป่าดงดิบ มีไข้ป่าและโรคระบาด คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่า “บุ่งกะแทว” เมื่อคุณพ่อสำรวจดูแล้วก็มีความพอใจและยังไ้ด้พบสวนแห่งหนึ่งซึ่งเจ้าของทำการเพาะปลูก เพียงครึ่งเดียว คุณพ่อโปรดม จึงซื้อไว้ แล้วคุณพ่อก็ได้ย้ายเข้าไปอยู่ในสวนนั้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1881 ต่อมาคุณพ่อได้ซื้อบ้านทรงลาว เป็นบ้านมีใต้ถุนสูงหลังเลก็ ๆ บ้านหลังนี้ใช้เป็นโรงสวดและวัดน้อยหลังแรกอีกทั้งยังเป็นที่พักของคุณพ่อด้วย ส่วนคณะผู้ติดตาม พวกทาสที่คุณพ่อได้ช่วยให้ได้รับอิสระ และคนเจ็บป่วยพิการที่ขอให้ความคุ้มครองของคุณพ่อ ก็พากันสร้างกระท่อมอยู่ใกล้ ๆ กับคุณพ่อ เป็นกลุ่มคริสตชนกลุ่มแรกของเมืองอุบล ฯ มีจำนวนประมาณ 30 คน คณะคุณ่พอและคริสตชนกลุ่มแรกนี้มีความศรัทธาต่อแม่พระมาก จึงได้เลือกแม่พระเป็นองค์อุปถัมภ์ของวัดน้อยของพวกเขา โดยตั้งชื่อวัดว่า “แม่พระนฤมลทิน”

การเติบโตของคริสตชนบุ่งกะแทว ด้วยความปรารถนาที่จะช่วยวิญญาณให้รอด บรรดาพระสงฆ์และนักบวชที่มาอยู่บุ่งกะแทวได้เป็นผู้ำนำในการสืบต่อมาเรื่อย ๆ ทำให้จำนวนสัตบุรุษค่อย ๆ เพิ่มขึ้น สัตบุรุษรุ่นแรก ๆ ประกอบด้วยทาสเชลยที่คุณพ่อได้ช่วยให้ได้รับอิสระ คนเจ็บป่วย คนที่มาเข้าศาสนาเพราะกลัวอำนาจผี และชาวเวียดนาม ซึ่งชาวเวียดนามที่มาอยู่ที่อุบลนี้ ฯ พวกแรกเป็นชาวเวียดนามที่มาค้าขายและตั้งหลักแหล่งอยู่ที่อุบลฯก่อน ต่อมาภายหลังจึงมีชาวเวียดนามหนีการเบียดเบียนศาสนาและภัยการเมืองอพยพตามมามากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1946 และปีต่อ ๆ มาได้มีชาวเวียดนามอพยพมาอยู่ที่เมืองอุบลเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดีขณะเดียวกันก็ได้มีสัตบุรุษอีกส่วนหนึ่งอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น เพราะพื้นที่ทำนาบริเวณบุ่งกะแทวมีน้อย  และการทำนาไม่ค่อยได้ผล เช่น ในปี ค.ศ. 1885 และปีต่อ ๆ มา สัตบุรุษหลายครอบครัวได้อพยพมาอยู่ที่บ้านคำเกิ้ม จ.สกลนคร บ้านบัวท่า บ้านวังกางฮุง บ้านคำกลาง และที่ใกล้เคียง สัตบุรุษเหล่านี้ ได้กลายเป็นผู้บุกเ้บิก จัดตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นใหม่ในหมู่บ้านเหล่านั้น ในรายงานโอกาสฉลองครบรอบ 25 ปี ของวัดบุ่งกะแทว เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1906 ปรากฎว่าที่วัดบุ่งกะแทว บัวท่า และวังกางฮุง ซึ่งสมัยนั้นใช้บัญชีวัดเล่มเดียวกัน มีสัตบุรุษ จำนวน 1,008 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนลาวภูเทิงและเวียดนาม

อนึ่ง เหตุการณ์ทางการเมือง ในช่วงหลังสงครามอินโดจีน บังคับให้ชาวเวียดนามต้องอพยพออกจากตัวจังหวัดไปอยู่ที่บ้านปากเซน้อยบ้าง ที่พิบูลมังสาหารบ้าง และที่อื่น จนกระทั่งถึงช่วงปี ค.ศ. 1961- 1962 สัตบุรุษชาวเวียดนามจำนวนมาก จึงได้พาครอบครัวอพยพกลับไปอยู่ประเทศเวียดนามหรือที่อื่่น กลุ่มคริสตชนวัดบุ่งกะแทวได้เติบโตขึ้นบ้าง ถดถอยลงบ้างอย่างนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  มีผู้รับศีลล้างบาปที่วัดนี้จำนวน 9,750 คน นอกจากงานอภิบาลและงานแพร่ธรรมแล้ว บรรดาคุณพ่อยังต้องเอาใจใส่จัดให้ชาวบ้านอยู่อาศัยในที่ดินที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองมอบให้บริเวณบุ่งกะแทว ที่ดินที่จัดให้ชาวบ้านอยู่อาศัยนั้นเป็นที่ดิน เพื่อทำประโยชน์ของวัด มีพื่นที่ประมาณ 300 ไร่

ต่อมาจัดให้ชาวบ้านอยู่ในที่ดินวัดได้เกิดมีปัญหายุ่งยากมากจนกระุทั่งถึงปี 1958 พระคุณเจ้า เกลาดิอุส บาเย จึงได้บอกเลิกกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน  270 ไร่ ทางวัดจึงมีที่ดินที่เหลืออยู่เฉพาะส่วน ส่วนที่เป็นพื้นที่ตั้งวัด อาราม สุสานและโรงเรียน ซึ่งอยู่ท่ามกลางชุมชนบุ่งกะแทว จนทุกวันนี้ สำหรับสถานที่ตั้งวัดและโรงเรียนของวัดในปัจจุบันมีพื่ีนที่ีประมาณ 16 ไร่เศษ

การก่อสร้างวัดหลังใหม่ ดังได้กล่าวแล้วว่าตั้งแต่เริ่มแรกที่คณะของคุณพ่อได้ย้ายเ้ข้ามาอยู่ที่บุ่งกะแทว เมื่อปี ค.ศ. 1881 นั้น คณะคุณพ่อได้ซื้อบ้านมาปลูกเป็ฯที่อยู่อาศัย และเป็นวัดน้อยหลังแรกด้วย ต่อมาจึงจำเป็นต้องสร้างวัดหลังใหม่ดังที่ คุณพ่อดาแบง ได้บันทึ่กไว้เมื่อปี ค.ศ. 1884 ว่า “ที่อยู่และวัดมีสภาพแย่มาก พอแต่ใช้เป็นที่หลบแดดหลบฝนเท่านั้น ไม่มีอะไร ประดับนอกจากเศษผ้ารอบแท่น”

จำนวนคริสตังเพิ่มขึ้น ต้องต่อเติม 1 หรือ 2 ห้อง ออกไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1894 คุณพ่อเจ้าวัดและสัตบุรุษจึีงได้เริ่มลงมือก่อสร้างวัดอย่างจริงจัง โดยชาวบ้านบุ่งกะแทว ได้ช่วยกันเท่าที่จะทำได้ เช่นไปตัดต้นไม้ในป่าดงดิบด้านทิศตะวันตกของบ้านสีฐานเพื่อใช้เป็นเสา และสามารถตั้งเสาวัดใหม่ได้ในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1895 เสามีความสูง 10 เมตร ใช้ เวลาในการตั้งเสา 10 วัน บริเวณบุ่งกะแทว มีโรงเตาเผาอิฐและโรงเผากระเบื้อง ผนังของวัดจึงทำด้วยอิฐและหลังคา ก็มุงด้วยกระเบื้องการก่อสร้างเป็นไปด้วยความล่าช้าเนื่องจากช่างไม้ และช่างปุนฝีมือดี มีเพียงอย่างละคน แต่ชาวบ้านก็จับกลุ่ม ๆ ละ 10 คน ผลัดเปลี่ยนกันมาช่วยช่างในการก่อสร้าง

ที่สุดคุณพ่อโปรดม ก็ได้ทำพิธีเสกวัดแรกหลังใหม่ของภาคอิสาน อย่างสง่าเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1898 วัดแรกหลังใหม่นี้กว้าง 12 เมตร ยาว 28 เมตร และใช้อยู่ประมาณ 70 ปี วัดแม่พระนฤมลทิน ได้เป็นศูนย์กลางของงานแพร่ธรรมในภาคอิสานตลอดมาจนถึงปี ค.ศ. 1953 เมื่อทางกรุงโรมประกาศแยกมิสซาภาคอิสานออกเป็น 3 มิสซัง คือ มิสซังท่าแร่ - หนองแสง มิสซังอุดรธานี และมิสซังอุบลราชธานี

ครั้นถึงสมัยคุณพ่อมอรีส บริสซอง เป็นเจ้าวัดระหว่างปี ค.ศ. 1959 -1968 ปรากฎว่าวัดอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก คุณพ่อจึงตัดสินใจสร้างวัดหลังใหม่ ห่างจากวัดหลังเก่าทางทิศตะวันตกประมาณ 30 เมตร เริ่มวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 วัดใหม่นี้สร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง ลักษณะเกือบเป็นวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 เมตร ไม่มีเสากลางวัดเลย จุดคนได้ประมาณ 1,000 คน ผนังทำเป็นเสาตั้งเรียงซ้อนกัน มีช่องให้ลมผ่านได้ หลังคาเป็นแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กคล้ายกลีบดอกบัวขนาดใหญ่ 3 กลีบ มีช่องแสงปิดด้วยกระจกพลาสติกพาดจากยอดสูงตรงกลางยาวลงไปตามรอยเชื่อมของแผ่นหลังคาทั้ง 3 ด้าน เพื่อให้แสงสว่างภายในวัดและตรงยอดศุนย์กลางของหลังคาของหลังคานั้นได้คิดตั้งไม้กางเขนสีทอง สูงจากพื้นดินประมาณ 30 เมตร และพระคุณเจ้าเกลาดิอุส บาเย ได้ทำพิธีเสกเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1967 วัดหลังนี้ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี ของการแพร่ธรรมในภาคอิสานและของวัดบุ่งกะแทว ในปี ค.ศ. 1981 คุณพ่อโจเซฟ เตรบาออล เจ้าวัดและสัตบุรุษได้สร้างซุ้มประตูวัดเป็นอนุสรณ์และติดป้ายชื่อวัดว่า “อาสนวิหารแม่พระนิรมล”

ที่มา : หนังสือทำเนียบวัดคาทอลิกในประเทศไทย