|
 |
 |
|
 |
|
 |
|
|
|
III.หมวกเล็ก (Pileolus, Calotte, Zuchetta)
หมวกเล็กเครื่องยศพระสังฆราชนี้ เป็นหมวกกลมๆ ใบเล็กๆ ไม่มีปีกซึ่งพระสันตะปาปา พระ คาร์ดินัล พระสังฆราช และพระสมณะผ
ู้ใหญ่ที่ได้รับอนุญาตแล้ว เป็นผู้ใช้
ที่มา เนื่องจากในสมัยโบราณ นักบวชชายในยุโรปต้องโกนผมเป็นวงกลมที่ขวัญ เพราะฉะนั้นเพื่อความอบอุ่นบนศีรษะ จึงจำเป็นต้
องสวมหมวกกลมเล็กๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเครื่องยศไป
ลักษณะ ในศตวรรษที่ 16 หมวกเล็กที่กล่าวนี้มีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบันเพราะคลุมทั้งหูและต้นคอด้วยเหมือนกับหมวกที่พระสันตะปาป
าในสมัยโบราณใช้เป็นประจำ ต่อมาในศตวรรษที่ 17 ก็ค่อยๆ ลดขนาดลงจนเหลือขนาดเล็กพอครอบศีรษะแบบปัจจุบันนี้ ตรงกลางหมวกมีที่จับทำด้วยด้ายหรือไหมถัก บางครั้งยังมีผ้าหบายๆ ทำเป็นซับในเพื่อช่วยให้เกาะศีรษะดียิ่งขึ้น
สี หมวกเล็กของพระสันตะปาปามีสีขาว ของพระคาร์ดินัลมีสีแดงเลือดนก ของพระสังฆราชมีสีม่วง ของอธิการฤาษีมีสีดำ แต่บางองค์ก็มีสิทธิ์ใช้สีม่วงเช่นเดียวกับพระสังฆราช
พระสังฆราชมีสิทธิ์ใช้หมวกนี้หลังจากได้รับการแต่งตั้งแล้ว คือก่อนได้รับการอภิเษก ท่านสวมหมวกนี้ในพิธีทุกอย่างที่ท่านเป็นผู้ประกอบหรืออยู่ในที่นั้น ท่านสวมหมวกเล็กนี้ภายใต้หมวกสูงอีกทีหนึ่ง
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
IV.กางเขนห้อยคอ
กางเขนห้อยคอของพระสังฆราช ทำด้วยโลหะมีค่า พระสังฆราชหรืออธิการฤาษีใช้ห้อยที่คอ ส่วนสายที่ใช้ทำด้
วยเชือก ริบบิ้น หรือทำเป็นสายสร้อย
ก่อนที่จะเป็นเครื่องยศของพระสังฆราช กางเขนนี้เคยใช้เป็นเครื่องแสดงความศรัทธาของบุคคลทั่วไป ฉะนั้นในสมัยโบราณ มิใช่เฉพาะพระมหาจักรพรรดิหรือพระสังฆราชเท่านั้น
ที่ใช้กางเขนห้อยคอ แม้แต่สัตบุรุษธรรมดาก็ใช้ด้วย ส่วนกางเขนจะเป็นวัตถุมีค่ามากน้อยแค่ไหนนั้นก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ของแต่ละคน
กางเขนของพระสังฆราชนี้ เคยมีรูปร่างแตกต่างกันมากมาย
แล้วแต่สมัยและสถานที่ บางสมัยก็ทำเรียบๆ บางสมัยก็ทำแพรวพราวด้วยเพชรนิลจินดา หรือลงยาตามความนิยม สมัยก่อนตรงกลางของกางเขนจะทำเป็นช่องว่างสำหรับบรรจุพระธาตุนัก
บุญหรือพระธาตุไม้กางเขนแท้ ฉะนั้นจึงเรียกเป็น ผอบบรรจุพระธาตุ
พระสันตะปาปาเป็นผู้ใช้กางเขนห้อยคอเป็นเครื่องยศก่อน ต่อมาในศตวรรษที่ 12 และ 13 จึงปรากฏเป็นเครื่องยศส่วนหนึ่งข
องพระสังฆราช แต่เป็นเครื่องใช้นอกพิธีกรรม แม้ในปัจจุบันนี้กางเขนของพระสังฆราชก็ไม่ได้รับการเสกแต่อย่างใด และไม่นับรวมอยู่ในจำพวก มรดก ที่พระสังฆราชต้องทิ้งไว้ให้โบสถ์พระสังฆราช (อาสนวิหาร) ของตนด้วย
ลักษณะ สมัยนี้กางเขนห้องคอพระสังฆราชทำด้วยทองคำหรือเงิน หรือโลหะชุบทอง ประดับด้วยเพชรพลอยและของมีค่า บางครั้งก็บรรจุพระธาตุนักบุญหรือพระธาตุไม้กางเขนแท้ของพระเยซูเจ้า
สายที่ใช้ผูกกางเขนนี้ สำหรับพระสันตะปาปาเป็นเชือกทอง สำหรับพระคาร์ดินัลเป็นเชือกสีแดง ส่วนพระสังฆราชเป็นเชือกสีเขียว แต่อนุญาตให้ใช้สร้อยคอทองคำ หรือโลหะชุบทองแทนเชือกได้
ผู้มีอภิสิทธิ์ใช้กางเขนห้อยคอนี้อาจใช้ได้ทุกแห่งแม้เมื่ออยู่ต่อหน้าพระสันตะปาปา ส่วนพระสังฆราชมีอภิสิทธิ์ใช้ได้ตั้งแต่ได้รับการอภิเษกแล้ว
กางเขนนี้ใช้ห้อยคอไว้นอกเสื้อหล่อ เสื้อขาวยาวสำหรับทำพิธี
(alba) เสื้อคลุมสั้นทั้งชนิดคลุมหมด (mozetta) หรือชนิดไม่มีแขน (mantelletta) แต่ห้ามสวมทับบนเสื้อถวายมิสซา (casula) หรือเสื้อคลุมอวยพร (cappa)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
V.บัลลังก์พระสังฆราช (Cathedra, Throne, Trone)
บัลลังก์พระสังฆราชเป็นที่นั่งเฉพาะสำหรับพระสังฆราชในศาสนพิธี การใช้บัลลังก์เป็น
อภิสิทธิ์ส่วนตัวของพระสังฆราช และใช้ได้ทุกหนทุกแห่งในเขตสังฆมณฑลของตน บัลลังก์ยังเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและสิทธิ์ของพระสังฆราชที่จะสั่งสอนสัตบุรุษคริสตัง
ลักษณะ
บัลลังก์พระสังฆราชเป็นเก้าอี้ มีที่ท้าวแขนและพนักสูง สูงกว่ามาลาของพระสังฆราชขณะที่ท่านนั่งบนบัลลังก์นี้ บัลลังก์ตั้งอยู่บนพื้น 3 ชั้น ชั้นสูงสุดกว้างพอตั้งบัลลังก์ แล
ะยังมีที่เหลือพอให้พระสงฆ์ผู้ช่วยในพิธียืนข้างซ้ายและขวาได้อย่างสบาย ด้านหน้ากว้างพอให้เด็กช่วยมิสซาที่ถือหนังสือและเทียน คุกเข่าต่อหน้าพระสังฆราชได้ ยกพื้นนี้ไม่ควรทำให้สูงกว่าพื้นของพระแท่นใหญ่ในวัด
ข้างๆ บัลลังก์พระสังฆราช มีม้านั่งเล็กๆ ไม่มีพนัก 3 ตัว สำหรับให้พระสงฆ์ผู้ช่วยพระสังฆราช ดีอาโกโน และซุบดีอาโกโนนั่ง เหนือบัลลังก์ขึ้นไปทำเป็นหลังคา (Baldachino) และมีผ้าปิ
ดเบื้องหลังลงมาถึงพื้น ขั้นบันไดของยกพื้นบัลลังก์ปูด้วยพรม แต่เป็นพรมชนิดที่มีค่าน้อยกว่าพรมปูพระแท่นใหญ่ ตัวที่นั่งของพระสังฆราชคลุมด้วยแพรสี ตามสีวันฉลองผ้าปิดเบื้องหลังบัล
ลังก์ที่ห้อยจากหลังคาลงมาถึงพื้นก็ใช้สีเดียวกัน ตามธรรมเนียมที่กรุงโรม ไม่ติดตราอาร์มของพระสังฆราชไว้ที่ผ้าปิดเบื้องหลังของบัลลังก์ แต่มักติดอยู่ที่ตัวหลังคาหรือส่วนที่ห้อย ออกมาข้
างๆ บัลลังก์พระสังฆราชนี้ตั้งตายตัวอยู่ในวัดพระสังฆราช ส่วนที่วัดอื่น จัดตั้งขึ้นเฉพาะเมื่อพระสังฆราชมาทำพิธีเท่านั้น
ที่ตั้ง บัลลังก์พระสังฆราชอาจตั้งได้ 2 แห่ง แล้วแต่ตำแหน่งของพร
ะแท่นใหญ่ในวัด หากพระแท่นใหญ่อยู่กลางวัด เช่น ตามมหาวิหารใหญ่ๆ ในกรุงโรม บัลลังก์อยู่ที่ปลายสุดของวัด ติดผนังด้านหลัง และหันออกมาทางสัตบุรุษ แสดงว่าพระสังฆราชเป็นผู้ค
วบคุมแท้จริงของคณะสงฆ์ที่นั่งเป็นรูปครึ่งวงกลมอยู่ใกล้ๆ และของสัตบุรุษทั้งวัดที่อยู่ไกลออกไป (ความหมายดั้งเดิมของคำ Episcopus คือ ผู้ควบคุม)
หากพระแท่นใหญ่อยู่ติดกับฝาผนังด้านหลัง เมื่อนั้นบัลลังก์พระ
สังฆราชก็ตั้งอยู่ข้างพระวรสารโดยหันข้างให้สัตบุรุษ และห่างจากพระแท่นใหญ่พอที่จะสามารถทำพิธีได้สะดวก - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - --
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
VI.ฟัลดิสตอรีอูม (Faldistorium) นอกจากบัลลังก์ที่ตั้งตายตัวแล้ว บางครั้งพระสังฆราชยังใช้ม้า
นั่งอีกชนิดหนึ่งในพิธี เรียกว่า ฟัลดิสตอรีอูม ม้านั่งชนิดนี้แต่เดิมทำแบบพับได้ ขาเป็นรูปตัว X มีที่ท้าวแขน แต่ไม่มีพนักพิงหลัง เป็นม้าที่ยกเปลี่ยนที่ได้สะดวก บางครั้งก็อยู่บนพื้นวัดหน้าพ
ระแท่นใหญ่ ทางด้านซ้ายมือเวลามองเข้าไปทางพระแท่น บางครั้งก็ตั้งไว้กลางพระแท่น บนยกพื้นของพระแท่นที่พระสงฆ์ถวายมิสซา พระสังฆราชนั่งบนม้านี้ หันหน้าออกมาทางสัตบุรุษ บ
างครั้งก็กลับตั้งไว้ต่อหน้าพระสังฆราชเพื่อให้ท่านใช้เป็นที่ท้าวแขน ม้านั่งพระสังฆราชแบบนี้ คลุมด้วยแพรสีตามวันฉลองด้วย - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - --
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
VII.เสื้อคลุมเล็ก
เสื้อคลุมเล็กของพระสังฆราชมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดคลุมแค่บ่า ยาวถึงเอว เรียกว่า Mozzetta และชนิดไม่มีแขน แต่ยาวถึงเข่า เรียกว่า Manteletta ยังมีเสื้อคลุมยาวถึงข้อเท้า แต่ไม่มีแขน เรียกว่า
Mantellone เป็นเสื้อของพระสมณะชั้นผู้ใหญ่ แต่มียศต่ำกว่าพระสังฆราช
เสื้อคลุมเล็กทั้ง 2 ชนิดนี้ มีสีม่วง เสื้อคลุมชนิดคลุมแค่บ่า (Mozzetta) เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจหน้าที่ พระสังฆราชใช้ใ
นเขตสังฆมณฑลของตน ส่วนเสื้อคลุมชนิดไม่มีแขน (Manteletta) พระสังฆราชใช้นอกสังฆมณฑลของตน
(คัดจากหนังสือ สารสาสน์ ฉบับที่ 11, 13, 15, 16 ปีที่ 45, 1965, หน้า 342, 395, 471, 493)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - |
|