พอถึงปี ค.ศ. 1894 หกปีต่อมาการรวมกลุ่มของคริสตชนเข้มแข็งขึ้น
คุณพ่อจึงได้ซื้อที่ดินที่ริมฝั่งต้นแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่แม่น้ำปิงและน่านบรรจบกัน
และต่อมาเนื่องจากกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราดมากในฤดูฝน ทำให้น้ำตัดขาดบริเวณที่ดินนี้กลายเป็นเกาะกลางน้ำ ซึ่งเรียกกันมาติดปากชาวปากน้ำโพว่า เกาะญวน และเกาะญวนนี้เองถูกสายน้ำพัดหายไปในที่สุด แต่ได้มีที่ดินงอกมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้สร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก แต่น่าเสียดายที่ที่ดินผืนนี้ได้ยกให้สาธารณะประโยชน์ไปแล้ว ในสมัยพระคุณเจ้าหลุยส์ โชแรง
ในปีต่อมาปี ค.ศ. 1895
คุณพ่อแก็งตริก ผู้ที่มีความสามารถในการสร้างวัด (ในประวัติของท่าน ท่านได้สร้างวัดบ้านแป้งหลังที่สองขึ้นด้วย) ก็ได้สร้างวัดน้อยที่บนเกาะญวนขึ้นพร้อมกับโรงเรียนขึ้นอีก 2 หลัง ทั้งหมดทำด้วยไม้ คุณพ่อได้เป็นเจ้าอาวาส 2 วัดคือทั้งบ้านแป้งและปากน้ำโพพร้อมกัน จนถึงปี 1907 พระก็เรียกท่านกลับไปหาพระองค์ ร่างของท่านถูกฝังไว้ที่วัดอยุธยานับเป็นผู้ที่คริสตชนปากน้ำโพควรคิดถึงท่านมาก ๆ ในฐานะผู้นำคนแรกของพระศาสนจักรปากน้ำโพ
คุณพ่อ มอริส การ์ตอง เจ้าอาวาสองค์ที่ 2
ปี 1907 หลังจากคุณพ่อแก็งตริกได้จากไปแล้ว พระสังฆราชได้ส่งคุณพ่อ มอริส การ์ตอง มาเป็นเจ้าวัดที่บ้านแป้งและดูแลวัดน้อยที่ปากน้ำโพ ดังนั้นคงไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำแต่คุณพ่อคงมาค้างและประจำเป็นช่วง ๆ สลับกับที่วัดบ้านแป้ง ในสมัยของท่านได้เกิดโรคระบาดร้ายแรง (กาฬโรคและอหิวาต์ติดต่อกัน) ทำให้ครูใหญ่ที่ดีที่สุดในสมัยนั้น พร้อมกับซิสเตอร์พื้นเมืองต้องเสียชีวิตเพราะโรคระบาดนั้นด้วย คุณพ่อและปลัดคุณพ่อกาสตัล จึงเข้าทำการสอนแทน ซึ่งมีบันทึกว่าท่านเสียดายผู้จากไป การจากไปของครูใหญ่และซิสเตอร์พื้นเมือง ทำให้การแพร่ธรรมต้องหยุดชงักลง
และในสมัยคุณพ่อ มอริส การ์ตอง นี้เองวัดนักบุญอันนาก็มีสมุดบันทึกศีลล้างบาปเล่มแรกของวัด โดยบันทึกการล้างบาปของคุณพ่อ เรย์มอนด์ ลงวันที่ 13 เมษายน ปี ค.ศ. 1907 ชื่อคริสตังที่บันทึกมีนามนักบุญอันนา บุตรนายดองและนางใจ เป็นเลขที่หนึ่ง
- คุณพ่อเปรองโด (เปรูดอง) เจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ปี 1912
คุณพ่อ มอริส การ์ตอง กลับกรุงเทพทำหน้าที่เหรัญญิกให้กับมิสซัง คุณพ่อเปรองโด (บางท่านเรียกว่า เปรูดอง) เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน จนถึงปี 1914 คุณพ่อก็กลับประเทศฝรั่งเศส เพราะเกิดสงครามในทวีปยุโรป จึงทำให้ชายทุกคนถูกเรียกให้เข้ารับราชการทหาร ในช่วงที่พระสงฆ์ฝรั่งเศสกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนนี้เอง ทำให้ขาดพระสงฆ์ในการทำงาน ดังนั้น วัดปากน้ำโพจึงขึ้นอยู่กับเจ้าวัดที่บ้านแป้งอีกครั้งหนึ่ง คุณพ่อไทย 2 ท่านที่มารับผิดชอบต่อกลุ่มคริสตชนที่ปากน้ำโพ เป็นช่วงสั้น ๆ ปี ค.ศ. 1914 ถึง 1916
- คุณพ่ออันเดร โรจนเสน เจ้าอาวาสองค์ที่ 4 คุณพ่อ ยาโกเบ แจง เกิดสว่าง (ต่อมาได้เป็นพระสังฆราช) เจ้าอาวาสบ้านแป้ง คุณพ่อ ซีมอน เว้ ปลัด
ต้นปี 1916 คุณพ่อไทยอีกท่านหนึ่ง นามว่าคุณพ่ออันเดร โรจนเสน ก็เข้ามาเป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี 1927 รวมเป็นเจ้าอาวาส 11 ปี ในสมัยของคุณพ่ออันเดรนี้เองคุณพ่อมิได้อยู่ที่นครสวรรค์เท่านั้นแต่ยังได้เดินทางขึ้นเหนือ ไปที่พิษณุโลกอีกด้วย ในสมัยของท่านได้ทำการจับจองที่ดินมากมายหลายแห่ง แต่เนื่องไม่มีใครดูแลทำให้เสียสิทธิมีผู้อื่นเข้าไปอยู่และยึดครองไปที่สุดจำนวนมากเช่น บริเวณเขากบ
- คุณพ่อเฮนรี่ เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ปี ค.ศ. 1928 คุณพ่อเฮนรี่ ได้มารับผิดชอบ 1 ปี
- คุณพ่อเรมองโด เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 ปี ค.ศ. 1929 คุณพ่อ เรมองโด ในยุคของท่านค่อนข้างมีปัญหามากในเรื่องที่ดิน เพราะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเรื่องที่ดินของวัดที่ชาวบ้านบุกรุก
ปี ค.ศ. 1934 มีคุณพ่อปลัด พ่อ กาสตอง มาทำงานช่วยพ่อเรมองโด
- คุณพ่อวินเซนเต เจ้าอาวาสองค์ที่ 7
ปี ค.ศ. 1941 คุณพ่อเรมองโด ได้พ้นจากหน้าที่ คุณพ่อวินเซนเต เข้ารับหน้าที่แทน
- คุณพ่อ เทโอฟาน หลง มีเฟื่องศาสตร์ เจ้าอาวาสองค์ที่ 8 ปี ค.ศ. 1945 มีนาคม คุณพ่อเทโอฟาน หลงมีเฟื่องศาสตร์ ได้เข้ารับหน้าที่เจ้าอาวาส ซึ่งในสมัยนั้นยังอยู่ที่เกาะญวนอยู่
แต่มีสภาพทรุดโทรมมากเพราะน้ำกัดเซาะตลิ่งพังทุกปี ดังนั้นคุณพ่อและคริสตชนเห็นว่าอยู่ไม่ได้แล้ว จึงทำการย้ายวัดขึ้นมาบนฝั่งทางด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ตำบลบางปล
อง ซึ่งปัจจุบันเป็นบริเวณบริษัทเสริมแสงเก่าถนนสวรรค์วิถี แต่ก็ไม่วายที่จะถูกน้ำเซาะทำลายอีก
ในสมัยคุณพ่อเทโอฟานนี้มีหลายท่านได้เคยเห็นท่าน ในสมัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งทุกคนเล่าว่าเ
ธอดุมาก มีการใช้ระบบไม้เรียวกับลูกวัดอยู่ ซึ่งลูกวัดที่เกเรก็ได้รับบทเรียนกันทุกคน คุณพ่อเองในสมัยนั้นยังเคร่งครัดในการอื่นด้วย
ในที่สุดคุณพ่อเทโอฟานและคริสตชนเห็นว่าจะอยู่ริมแม่น้ำอย่างนั้นไม่เหมาะ จึงได้ทำการย้ายวัดมาอยู่ในที่ดินปัจจุบัน ซึ่งได้ซื้อมาบ้างและมีชาวบ้านได้ถวายบ้างรวมเนื้อที่ประมาณ
40 ไร่เศษ โดยครั้งนั้นได้รื้อวัดเก่ามา ช่วยกันขนมาแบกมาใช้ลากใช้เลื่อนกันมา ตามแบบเครื่องมือยานพาหนะสมัยนั้นจะหาได้ และได้สร้างวัดหลังแรกในที่ดินใหม่ แต่เป็นวัดหลังที่สาม โดยสร้างอยู่บนถนนปัจ
จุบันหน้าบ้านของคุณพเยาว์ ช้อยพลอย ด้านหน้าวัดหันไปยังถนนสวรรค์วิถี วัดสร้างด้วยไม้ที่ย้ายจากวัดเก่ามา มีระเบียง
ข้างหน้าสำหรับให้หญิงที่มีเด็กอ่อนนั่งเลี้ยงเด็กพร้อมร่วมมิสซาได้ ส่วนบรรดาสัตบุรุษนั้นมีไม่กี่ครอบครัวที่มาอยู่ด้วย
ในสมัยนั้นยังมีซิสเตอร์คลองเตยมาประจำวัดด้วย ซิสเตอร์ทำหน้าที่ช่วยพ่อในเรื่องอาหาร หารายได้เข้าวัดด้วยการเลี้ยง
หมู ทำขนม ซึ่งมีเด็กหญิงหลายคนได้ความรู้ทำขนมอร่อย ๆ คุณพ่อเทโอฟานได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์บริเวณโรงรถโร
งเรียนเซนต์โยเซฟนครสวรรค์ในปัจจุบัน เป็นบริเวณที่ใครเดินผ่านไปมาก็เห็นหมด ดังนั้นในช่วงนั้นใครไปไหนคุณพ่อจะคอยถามไถ่เสมอ คุณพ่อได้ดูแลปกครองคริสตังจนท่านป่วยเป็นมะเร็งที่ท้องท่านได้ไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯที่โรงพยาบาลเ
ซนต์หลุยส์ แต่ถูกนำตัวไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ไม่สามารถเยียวยาได้จึงได้สิ้นใจที่กรุงเทพฯ วันที่ 22 พฤษภาคม 1958 ศพท่านได้ฝังไว้ที่วัดอัสสัมชัญ
ท่านได้เป็นเจ้าอาวาส ถึงเดือนมีนาคม ปี 1958 รวมเวลาการเป็นเจ้าอาวาส 13 ปี หลังจากที่คุณพ่อเทโอฟานได้รับการ
ยกจากพระเป็นเจ้าไปแล้ว ในระหว่างท่านไม่อยู่ไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯ ได้มีคุณพ่อ ยอแซฟราฟาแอล มารับหน้าที่แทนชั่วคราว 2 เดือน
- คุณพ่อกาเบรียล แวร์นิแอร์ เจ้าอาวาสองค์ที่ 9
เดือนพฤษภาคม ปี 1958 หลังจากที่ทราบแน่นอนแล้วว่า คุณพ่อเทโอฟานคงไม่หายจากการป่วยเป็นมะเร็ง พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง จึงได้แต่งตั้งให้ คุณพ่อกาเบรียล แวร์นิแอร์ เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน
คุณพ่อแวร์นิแอร์ เป็นคนไม่พูดมากแต่ใจร้อนค่อนข้างดุ ในช่วงที่คุณพ่อแวร์นิแอร์เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาส คุณพ่
อก็มีโครงการที่จะสร้างวัดหลังใหม่แต่ไม่สำเร็จ แต่คุณพ่อได้ทำการวางท่อประปาจากถนนใหญ่มาในหมู่บ้าน ซึ่งก็ได้ใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน และเพราะมาทำท่อน้ำให้ชาวบ้านนี้เองก็เกิดหกล้ม ขาจึงไม่แข็งแรงในเวลาต่อมา
สำหรับซิสเตอร์คณะนักบวชของอารามคลองเตยได้กลับคณะเลิกทำงานในสมัยคุณพ่อแวร์นิแอร์ ด้วยเหตุผลหลายประการ
ในช่วงระยะเวลาที่คุณพ่อเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนักบุญอันนาก็กลายเป็นศูนย์กลางของมิสซัง ได้มีคุณพ่อหลายท่านได้เข้
ามาเพื่อช่วยงาน เช่น คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ คุณพ่อทัศนัย คมกฤษ คุณพ่อปีแอร์ ลาบอรี คุณพ่อโรแบร์ ฮาสอ์ คุณพ่อมิแชล กูตังค์
ส่วนบ้านพักพระสงฆ์นั้นก็เป็นบ้านหลังปัจจุบันที่มีอยู่ เป็นบ้านที่พระสังฆราชในสมัยพระคุณเจ้าหลุยส์ โชแลง ได้มีการ
ตกลงในเรื่องการแลกเปลี่ยนระหว่างซิสเตอร์คณะเซนต์ปอลเดอร์ชาร์ตร ทางซิสเตอร์ได้สร้างบ้านพักให้เพื่อแลกเปลี่ยนกับ
ที่ดินโรงเรียนเซนต์โยเซฟฯบางส่วน ส่วนที่ดินก่อสร้างโรงเรียนเซนต์โยเซฟฯในปัจจุบันได้มีการซื้อขาย ระหว่างพระสังฆ
ราชกับทางคณะในสมัยนั้น โดยตัดจากที่ดินประมาณ 40 ไร่ ที่คุณพ่อเทโอฟานได้จัดหาในสมัยของท่าน คุณพ่อปีแอร์ ลาบอรี
- คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ เจ้าอาวาสองค์ที่ 10
คุณพ่อแวร์ดิแอร์ ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาสจนถึงต้นปี 1963 คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ จึงเข้ามารับตำแหน่งแทน คุณพ่อเพิ่
งเรียนที่บ้านเณรปีนังจบ จึงเป็นพระสงฆ์หนุ่มที่ร่าเริง ชอบยิงนกตกปลาเป็นชีวิต และชอบไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านกินข้าวกินปลากับชาวบ้าน จึงเป็นที่สนิทสนมกับชาวบ้านมากในสมัยนั้น
- คุณพ่อเรอเน บริสซอง เจ้าอาวาสองค์ที่ 11 พอเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1965 คุณพ่อเสวียงก็พ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส คุณพ่อเรอเน บริสซอง ก็เข้ามารับตำแหน่งเจ้
าอาวาสวัดนครสวรรค์ ในระยะนี้โครงการที่เคยคิดกันว่าจะสร้างวัดใหม่ ให้เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังคุณพ่อก็ได้เห็นเค้
ากัน คุณพ่อบริสซอง ได้สั่งให้สัตบุรุษที่อยู่ในบริเวณที่วัดจะสร้างได้ย้ายบ้านออกในเนื้อที่ปลูกวัดปัจจุบัน ทำการปรับเนื้อที่
ได้หาช่างออกแบบวัด และได้ตระเตรียมวัสดุก่อสร้างเพื่อก่อสร้างอย่างเต็มที่ แต่ไม่ทราบด้วยเหตุผลประการใด วันหนึ่งคุ
ณพ่อได้ออกจากวัดแต่เช้ามืดเดือนตุลาคม ปี 1968 และมาประจำที่มิสซังกรุงเทพ และคงอยู่ที่มิสซังกรุงเทพวัดสามเสนจนถึงปัจจุบัน
-
พระคุณเจ้ามิแชล ลังเยร์ พระสังฆราชสังฆมณฑลนครสวรรค์องค์แรก และเจ้าอาวาสองค์ที่ 12

เดือนพฤศจิกายน 1968 เจ้าวัดใหม่ซึ่งเป็นทั้งพระสังฆราชและเจ้าวัด ก็คือ พระคุณเจ้ามิแชล ลังเยร์ พระคุณเจ้าลังเยร์เกิดที่เขตจังหวัดนอร์มังดี ฝรั่งเศส เข้าสมัครเป็นมิชชันนา
รีในบ้านเณรของคณะ เอ็ม อี พี ในปี 1944 บวชเป็นพระสงฆ์เมื่อ 21 ธันวาคม 1946 หลังจากนั้นได้เป็นมิชชันนารีที่เมืองจีน จนมีการเปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ พระคุณเ
จ้าพร้อมกับชาวต่างประเทศทุกคนจึงถูกรัฐบาลจีนบังคับให้ออกนอกประเทศ คุณพ่อได้พักรักษาตัวที่ฮ่องกงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง จากนั้นจึงเดินทางมาที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 1951
เนื่องจากคุณพ่อมีความรู้จักมักคุ้นกับคนจีนมากและมีความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน ดังนั้นจึงเข้าป
ระจำวัดที่มีคริสตังเป็นชาวจีน เช่น วัดบ้านนาหนองรี กัลหว่าร์ รวมทั้งวัดหลังใหม่ในสมัยนั้นคือวัดเซนต์หลุยส์ด้วย
หลังจากนั้นคุณพ่อได้มาประจำวัดที่วัดนักบุญอันนานครสวรรค์ และรับตำแหน่งพระสังฆราชองค์แรกของมิสซังนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1967
สิ่งที่เป็นอนุสรณ์ที่คริสตังนครสวรรค์ได้รับคือ วัดหลังใหญ่ปัจจุบันที่ใช้อยู่นี่เอง ในสมัยท่าน ท่านได้ขยายการแพร่ธร
รมไปทั่วสังฆมณฑลกับชาวเขาทางตะวันตกกับชาวอีสานทางเพชรบูรณ์ ส่วนทางใต้ก็ได้ปรับปรุงโรงเรียน การแพร่ธรรมกับคนไทยภาคกลางด้วยการปรับปรุงบ้านพักพระสงฆ์ วัด และโรงเรียน ในทุกจังหวัด
คุณพ่อได้ย้ายออกจากวัดนักบุญอันนาไปอยู่วัดเพชรบูรณ์ในปี 1977 และเข้าบ้านพระสงฆ์ชราที่สระบุรี ในเวลาต่อมา แ
ละมรณะเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1989 ด้วยโรคหลายโรคในช่องท้อง และร่างของท่านฝั่งที่สุสานวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์
สมัยพระคุณเจ้าลังเยร์ได้เริ่มมีคริสตชนจากบางพระหลวง จากหัวดง เริ่มอพยพมาเช่าที่ดินของวัดบ้างแล้วโดยมายึดอาชีพจับปลา หอย และฆ่าไก่ขาย
- พระคุณเจ้า ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค พระสังฆราชสังฆมณฑลนครสวรรค์ องค์ที่ 2
วันที่ 24 พฤษภาคม 1976 พระคุณเจ้าบรรจง อารีพรรค ได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆราชประจำสังฆมณฑลนครสวรร
ค์ 22 กรกฎาคม 1976 ได้ทำพิธีรับตำแหน่งที่วัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ ซึ่งก่อนนั้นท่านเป็นอธิการบ้านเณรใหญ่สามพราน โดยความเห็นชอบจากคณะสงฆ์และพระสันตะปาปา ในช่วงนี้พระคุณเจ้าบรรจงได้มาทำหน้าที่เจ้าวัดบ้างแทนพระคุ
ณเจ้าลังเยร์ เพราะยังหาคุณพ่อมาแทนพระคุณเจ้าลังเยร์ไม่ได้ จึงมีคุณพ่อเฉลิม กิจมงคล มารับหน้าที่ช่วยทำงาน - คุณพ่อชัยศักดิ์ ศรีทิพย์อาสน์ เจ้าอาวาสองค์ที่ 13  ในปี 1977 คุณพ่อชัยศักดิ์ ศรีทิพย์อาสน์ ได้เข้ารับตำแหน่ง ทำให้หมดปัญหาพ่อเจ้าวั
ดไป คุณพ่อได้ย้ายมาจากสังฆมณฑลราชบุรี คุณพ่อชัยศักดิ์ เป็นชาวสังฆมณฑลราชบุรี เข้าบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง มาเลเซีย และบ้านเณรปูนามัลลี ประเทศอินเดีย หลังจากได้บวชเป็
นพระสงฆ์แล้วได้ประจำที่อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก สมุทรสงคราม และมาที่สังฆมณฑลนครสวรรค์ ด้วยความสมัครใจ คุณพ่อเป็นคนใจร้อนรนชอบทำงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านการกินก
ารอยู่ โดยมีความคิดว่าการพัฒนาให้ชาวบ้านมีการกินดีอยู่ดี จะทำให้เขามีเวลาเข้าวัดเข้าวามากขึ้น เป็นคริสตชนที่ดีต่อไป และสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นความดีของการเป็นคริสตชนได้ ในช่วงนั้นนับว่าประสบผลทันตาเ
ห็น คริสตชนจาก ตำบลเขาดิน ตำบลบางพระหลวง ซึ่งปกติมีอาชีพจากการจับปลา เลี้ยงหมู ทำเกษตรกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ขาดความรู้การศึกษาที่ทำมาหากินแบบคนเมือง ก็ได้โยก
ย้ายเข้ามาทำมาหากินกับไก่ เพราะมีรายได้ดีกว่า จึงทำให้เกิดการโยกย้ายอย่างใหญ่จากตำบลบางพระหลวง มาขอเช่าอยู่ในเขตที่ดินของวัด ทำให้ที่ของวัดที่มีประมาณ 30 ไร่ ใจกลางเมืองแน่นขึ้นอย่างถนัดใจ แ
ละทำอาชีพฆ่าไก่ตั้งแต่เวลานั้นจนถึงปัจจุบัน - คุณพ่อประเสริฐ สิทธิ เจ้าอาวาสองค์ที่ 14
ปี 1984 ได้มีคุณพ่อหนุ่มจากปักษ์ใต้ คุณพ่อประเสริฐ สิทธิ ได้ขอสมัครมาทำงานในสังฆมณฑลนครสวรรค์ คุณพ่อประเสริฐ เป็นคนพื้นเพวัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ สามเสน กรุงเ
ทพฯ ได้สมัครเข้าเป็นสามเณรนักบวชคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ ได้รับการศึกษาที่บ้านเณรปีนัง เคยเป็นครูอยู่พักหนึ่งที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ และสมัครเข้าเรียนเป็นพระสง
ฆ์ต่อที่บ้านเณรใหญ่แสงธรรม สามพราน และที่สุดได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ในปี 1980
หลังจากได้รับบวชแล้วได้ทำงานในเขตมิสซังสุราษฎร์ธานี ที่วัดแม่พระได้รับเกียรติย
กขึ้นสวรรค์ จ.ภูเก็ต และได้ขอย้ายการทำงานมาที่มิสซังนครสวรรค์ ในช่วงนั้นไม่มีพระสงฆ์ประจำวัดที่วัดนครสวรรค์ ดังนั้นคุณพ่อจึงเข้ามาทำงานในช่วงเวลานี้พอดี
สิ่งแรกที่คุณพ่อได้รับการต้อนรับคือชาวบ้านมีความดีใจที่มีพระสงฆ์มาประจำวัด และเป็นกำลังใจแต่เวลาเดียวกันดูเหมือนคุณพ่อก็ต้องการกำลังใจเอามาก ๆ ด้วย เพราะสภาพวัดที่ขาดการเอาใจใส่ดูแลเป็
นเวลานาน มีสภาพเหมือนผ้าที่ถูกขยุ้มไว้ อยู่ในมุมบ้านช่องสกปรกทรุดโทรม บริเวณรอบวัดรกรุงรัง
ดังนั้นในช่วงแรกคุณพ่อจึงรับภาระหนักที่สุด แต่ด้วยความสามารถเฉพาะตัวในการพูดจา และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี คุณพ่อ
จึงเริ่มงานบูรณะอย่างใหญ่ ทางด้านจิตใจคุณพ่อได้ทำการเชิญชวนคนมาวัดมากขึ้น ปรับปรุงบริเวณวัดให้เป็นสถานที่ศัก
ดิ์สิทธิ์ให้น่าดูและเรียบร้อย ทำการถมดินปลูกต้นไม้ จัดทำถ้ำแม่พระ จัดการถมดิน มีระเบียบมากยิ่งขึ้น ส่วนบ้านพักก็ได้มีการดัดแปลง ทำให้ดูน่าอยู่ขึ้น
คุณพ่อประเสริฐ ได้พยายามทำงานซ่อมแซมพระวิหารของพระเจ้าด้วยความอุตสาหะ และซ่อมแซมสภาพจิตใจของคริสต
ชนนครสวรรค์ดีขึ้นตามลำดับ เดือนพฤษภาคม 1988 คุณพ่อได้ย้ายจากวัดนักบุญอันนานครสวรรค์ไปประจำอยู่ที่วัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ จ.ตาก
ในช่วงปี 1988 นั้นมีการโยกย้ายอย่างใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุจากพระสงฆ์มีไม่เพียง พอ ประมาณปลายเดือนพฤศจิกาย
น 1987 คุณพ่อยอแซฟ กลอริโอ ได้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตที่เพชรบูรณ์ ปลายเดือนเมษายน 1988 คุณพ่อวินัย วิเศษเ
ธียรกุล เจ้าอาวาสวัดพิษณุโลกเสียชีวิตในตอนกลางคืนในห้องโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่เข้าใจว่าเกิดจากโรคตับอักเ
สบและการทำงานหนักและเหนื่อยเกินไปจึงทำให้หัวใจล้มเหลว และพระสงฆ์ที่จากไปแต่ยังมีชีวิตอยู่ คือ คุณพ่อมิแชล บ
รูซ เจ้าอาวาสวัดตาก ซึ่งขอลากลับไปประเทสฝรั่งเศส คุณพ่อสมโภชน์ พูนโภคผล ย้ายกลับไปสังฆมณฑลกรุงเทพ ทำให้มีการขาดแคลนพระสงฆ์ที่มีความสามารถในสังฆมณฑลอย่างมาก
ดังนั้นจึงได้มีการสับเปลี่ยนพระสงฆ์ดังนี้ คุณพ่อประเสริฐ สิทธิ รับผิดชอบที่ตากแทนคุณพ่อมิแชล บรูซ คุณพ่
อไพฑูรย์ หอมจินดา ซึ่งกำหนดมาเพื่อวัดนักบุญอันนานครสวรรค์ มีอันต้องย้ายอย่างกระทันหัน ไปรับผิดชอบวัดพิษณุโล
ก คุณพ่อปรีชา รุจิพงษ์ เข้ารับผิดชอบวัดสันติสุข เพชรบูรณ์ ซึ่งได้มีการโยกย้ายอีกครั้งในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา - คุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา คุณพ่อเจ้าอาวาสรักษาการ
ส่วนวัดนักบุญอันนานครสวรรค์ ซึ่งไม่มีใครมารับผิดชอบ ทางผู้ใหญ่เห็นว่าแถบแม่สอดมีพระสงฆ์มาก จึงให้พระสงฆ์จา
กแม่สอดมารับผิดชอบวัดนักบุญอันนาฯ โดยแต่งตั้งให้คุณพ่อที่ทำงานกับชาวเขาเผ่าอาข่า คือ คุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญอันนาฯ ชั่วคราวหนึ่งปี ในปี 1988 จนกว่าจะได้มีการหาพระสงฆ์ใหม่ได้ในปีหน้า
คุณพ่อประจวบโชค มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากวัดบ้านแพน มารีสมภพ อยุธยา แต่พ่อแม่ได้ย้ายมาทำมาหากินในกรุงเทพ
ฯ ครอบครัวจึงอยู่ใกล้วัดแม่พระฟาติมา เมื่อคุณพ่อเรียนจบชั้นประถม 5 ที่โรงเรียนแม่พระฟาติมาแล้ว พ่อแม่จึงได้นำไป
หาคุณพ่อมอริส ยอรี เพื่อส่งเข้าบ้านเณรเล็กยอแซฟสามพราน เรียนจบหลักสูตรบ้านเล็ก และเณรใหญ่ในปี 1980 ได้รับการบวชเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1981 พร้อมกับเพื่อนอีก 10 องค์
หลังจากนั้นพระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู ได้ส่งมาทำงานที่มิสซังนครสวรรค์ทันที ดังนั้นจึงเป็นพระสงฆ์ที่ไม่เคยทำงานที่สังฆมณฑลกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการเลย แต่ยังสังกัดสังฆมณฑลกรุงเทพฯอยู่
คุณพ่อได้รับงานอยู่ อ.แม่สอด จ.ตาก ทำงานด้านชาวเขาเหมือนกับพระสงฆ์ที่อยู่แม่สอดทุกองค์ ตั้งแต่ปี 1981 1988 จึงได้มาอยู่กับชาววัดนักบุญอันนา ทำหน้าที่รักษาการ
- คุณพ่ออุดมศักดิ์ วงษ์วุฒิพงษ์ เจ้าอาวาสองค์ที่ 15
เดือนมิถุนายน 1989 คุณพ่ออุดมศักดิ์ วงษ์วุฒิพงษ์ เจ้าอาวาสเพชรบูรณ์ ได้รับการแต่งตั้งใ
ห้เป็นเจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ แทนคุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา ซึ่งกลับไปทำงานที่แม่สอดอย่างเดิม คุณพ่ออุดมศักดิ์ เป็นเชื้อสายชาวจีน บ้านเกิดอยู่ที่วัดลำลูกกา ปทุมธานี ได้สมัครเข้าอย
ู่ในสังฆมณฑลนครสวรรค์ ในสมัยเป็นเณรใหญ่แสงธรรม
หลังจากคุณพ่อได้รับการบวชแล้วคุณพ่อได้ทำงานแถบหล่มสัก เพชรบูรณ์มาตลอด เมื่อมาอ
ยู่ที่วัดนครสวรรค์ งานที่เด่นคือการหล่อพระรูปพระหฤทัย สำหรับประดิษฐานที่หน้าวัดโดยนางม่วย ราชกิจ และบุตรหลานได้ให้ทุนทรัพย์เป็นจำนวน 200,000 บาท เป็นค่าใช้จ่าย เพื่อเ
ป็นอนุสรณ์ให้กับเกลเมลเต จรูญ ราชกิจ ผู้ล่วงลับ และคุณพ่อยังได้ถมที่ดินที่ว่างเปล่าทั่วไป สร้างรั้วกันบริเวณที่วัด
วันที่ 30 เมษายน 1981 คุณพ่อได้ไปเข้าการอบรมพระคัมภีร์ที่กรุงเยรูซาเล็ม และพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส โดยสร้างสวนนักบุญอันนาที่ข้างตึกยอแซฟไว้เป็นที่ระลึก และต้นเดือนเมษายน 1992 คุณพ่อได้กลับมาจากการอบรม ได้รับการแ
ต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญยอแซฟกรรมการ อ.พบพระ จ.ตาก ดูแลคริสตชนชาวเขาเผ่าอาข่าแทนคุณพ่อมนัส ศุภลักษณ์
- คุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา เจ้าอาวาสองค์ที่ 16  คุณพ่อประจวบโชค ตรีโสภา ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์รอบสอง โดยมาเป็นเ
จ้าอาวาสเต็มตำแหน่งไม่เหมือนกับครั้งแรกที่มาชั่วคราว ดังนั้นหลายคนจึงพูดว่าไม่เหมือนเดิม คุณพ่อยึดนโยบายเดิมในการทำงาน คือ ไม่ยุ่งกับปัญหาปากท้องชาวบ้านมากนักเพราะ
ประสบการณ์ที่ผ่านมา จึงได้เน้นการทำให้ชาวบ้านแก้ปัญหาตนเองด้วยตนเองมากขึ้นในทุกด้าน แทนการที่ทางพ่อหรือวัดจะเข้าแก้ปัญหาให้ แต่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
นอกจากนี้ได้พยายามที่จะทำให้บริเวณวัดน่าอยู่ดีขึ้น ด้วยการรักษาดูแลสิ่งที่ดีเดิม ๆ ให้คงอ
ยู่ และปรับปรุงเท่าที่กำลังทรัพย์ของผู้บริจาคจะมีมา และที่สุดได้ร่วมกับชาวบ้านวัดนักบุญอันนานครสวรรค์ ร่วมกันรวบรวมทุนทรัพย์สำหรับการสร้างอนุสรณ์เตือนใจให้ระลึกถึง การเป็
นวัดนักบุญอันนาด้วยการสร้างหอระฆัง ซึ่งในวันที่ 23 24 ตุลาคม 1992 จึงเป็นเวลาที่คริสตชนวัดนักบุญอันนา นครสวรรค์ ได้มีความภาคภูมิใจที่ได้ฉลอง 100 ปี ร่วมกับการฉลอง
การสถาปนาสังฆมณฑลนครสวรรค์ครบ 25 ปี และการบวชพระสงฆ์ใหม่ 3 องค์ พร้อมกับคริสตชนทุกวัดของสังฆมณฑล
- คุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ เจ้าอาวาสองค์ที่ 17 คุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ ได้ย้ายมาจากวัดเซนต์นิโกลาส จ.พิษณุโลก มาเป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหาร
นักบุญอันนานครสวรรค์ ปี ค.ศ. 2001 เป็นเวลา 1 ปี และย้ายกลับไปอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปัจจุบัน ครบเกษียณ พักที่ บ้านพักพระสงฆ์สูงอายุ 2/4 ม.6 ถ.เพชรเกษม ต.ท่าข้าม อ.สาม
พราน จ.นครปฐม 73110 
- คุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา เจ้าอาวาสองค์ที่ 18
คุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา ได้ย้ายมาจากวัดเซนต์ฟรังซีลเซเวียร์ จ.
ตาก มาเป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหารนักบุญอันนานครสวรรค์ ปี ค.ศ. 2002 เป็นเวลา 1 ปี และย้ายกลับไปอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปัจจุบันตำแหน่ง
ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายการปกครองวัด, เจ้าอาวาสวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หัวตะเข้ พักประจำที่ "วัดแม่พระเมืองลูร์ด (หัวตะเข้) 53 ม.2 ถ.ประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง จ. กรุงเทพฯ 10520
- คุณพ่อพิทักษ์ ศิลาโคตร เจ้าอาวาสองค์ที่ 19

คุณพ่อพิทักษ์ ศิลาโคตร ได้ย้ายมาจากเขตแพร่ธรรมแม่ระมาด จ.ตาก มาเป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหารนักบุญอันนานครสวรรค์ ปี ค.ศ. 2003 - 2005 เป็นเวลา 2 ปี และได้ย้ายมาประจำที่สำ
นักมิสซังนครสวรรค์ ในตำแหน่งเลขาธิการสังฆมณฑลนครสวรรค์ รวมทั้งเป็นเจ้าอาวาส ดูแลวัดนักบุญเปโตร ท่าซุง จ.อุทัยธานี
- คุณพ่อศิริชาญ เอียงผาสุข เจ้าอาวาสองค์ที่ 20
คุณพ่อศิริชาญ เอียงผาสุข ได้ย้ายมาจากวัดนักบุญเปโตร ท่าซุง จ.อุทัย
ธานี มาเป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหารนักบุญอันนานครสวรรค์ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2005 จนถึงปัจจุบัน
|