|
![]() |
![]() |
![]() |
|
![]() |
|||
![]() |
![]() |
|||||
|
![]() |
|
มีการกล่าวถึงเรื่องวัดโคราช ในปี 2419/1876 คุณพ่อโปรดมได้มีโอกาสสอนคำสอนรุกจากอยุธยาเข้าสู่แก่งคอย และขยายเข้าตั้งที่พักบนที่ราบสูงโคราช ซึ่งเป็นที่พ่อค้ามักหยุดเดินทางพักแรมระหว่างสระบุรีกับโคราช ในไม่ช้าคุณพ่อก็ได้ตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นที่แก่งคอยนี้เอง ซึ่งบางพวกเป็นคนมาจากภาคอีสาน ต่อมา คุณพ่อ โปรดม ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นั่นพร้อมเณรคนหนึ่งซึ่งเป็นครูคำสอนด้วย ปรากฏว่าในปลายปี 2423/1880 ที่แก่งคอยมีคริสตชนสำรองประมาณ 250 300 คน ที่แก่งคอย คุณพ่อ โปรดม ต้องประสบปัญหามากมายที่น่าท้อใจ แรกสุดคือท่านเป็นไข้ป่าเนื่องจากอากาศชื้นเกินไป ปัญหาเรื่องโจรเรื่องขโมย ทั้งมีคนลอบวางยาพิษท่านอีกด้วย ท่านได้สร้างโรงสวดทำด้วยไม้ไผ่มุงหญ้าแฝก แต่ก่อนที่จะเสกโรงสวดนี้ก็มีคนมาลอบวางเพลิงไหม้เสียก่อน แม้เจอปัญหามากมาย คุณพ่อโปรดมก็ไม่ลดละที่จะปรับปรุงพัฒนากลุ่มคริสตชนที่แก่งคอยของท่าน และไม่ลืมคำแนะนำที่ท่านสังฆราชเวย์ได้ให้ไว้ ท่านจึงขยายงานโดยเดินทางต่อไปสู่ภาคอีสาน และกล้าพอที่จะเสี่ยงอันตรายอันน่ากลัวผ่านป่าดงพญาไฟ(ดงพญาเย็น) แล้วก็มาถึงป่าละเมาะ อันเป็นบริเวณของมวกเหล็กกับโคกอีทุ่น ท่านได้หยุดที่นั่นและได้ประกาศพระวรสารไปด้วย แล้วจึงเดินทางต่อไปถึงโคราช ในเมืองโคราชท่านได้รับการต้อนรับจากพ่อค้าชาวจีนเป็นอย่างดี ( ความจริงท่านไม่ใช่ธรรมฑูตคณะแรกที่ได้มาถึงโคราช กล่าวคือในปี 2409/1866 หรือเมื่อ 15 ปีก่อนนี้ คุณพ่อมาร์แตง(MARTIN) พร้อมกับ คุณพ่อดาเนียล(DANIAL) และครูคำสอนได้เดินทางจากหาดสะแกซึ่งอยู่ในปราจีนบุรีมาถึงโคราชโดยใช้เวลา 8 วัน พักที่ศาลาของวัดนอกเมืองเป็นเวลา 1 สัปดาห์แล้วก็กลับไป ท่านมาเพียงเพื่อจะทราบว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่หากจะมีธรรมฑูตเข้ามาทำงานในภาคอีสาน) มาถึงปี 2424/1881 เป็นปีแห่งการเริ่มก้าวใหม่ของการแพร่ธรรมที่ภาคอีสาน พระคุณเจ้าเวย์ มีความเห็นว่า การที่จะไปแพร่ธรรมที่ภาคอีสานโดยเริ่มจากแขวงใกล้เคียงที่ไม่มีคนอาศัยและเป็นเขตที่ชื้นแฉะ เป็นการเสี่ยงต่อชีวิตมิชชันนารี่มาก และคงไม่ได้ผลคุ้มกับการลงแรง แต่เห็นแววว่าจะเป็นสิ่งดีคือต้องมีศูนย์แพร่ธรรมที่ภาคอีสานเป็นการถาวร วันที่ 2 ม.ค. 2424/1881 พระคุณเจ้าเวย์ได้แต่งตั้งคุณพ่อโปรดม และคุณพ่อซาเวียร์ เกโก เป็นทางการให้เดินทางไปสำรวจถึงเมืองอุบลฯ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของการแพร่ธรรมในอนาคตของอีสาน คุณพ่อทั้งสองจะเป็นผู้ก่อตั้งมิสซังซึ่งเรียกว่า มิสซังลาว โดย คุณพ่อ โปรดมจะเป็นอธิการวางแผน ส่วน คุณพ่อ ซาเวียร์ เป็นผู้สอนคำสอน เมื่อ มิสซังใหม่ กำลังจะก่อตัวขึ้น คุณพ่อโปรดม จึงได้รับแต่งตั้งเป็นอุปสังฆราชประจำภาคอีสาน วันที่ 12 ม.ค. 2424/1881 คุณพ่อ กอสตังค์ ยัง บัปติสต์ โปรดม ผู้เป็นหัวหน้าคณะเดินทางครั้งนี้ อายุ 32 ปี และ คุณพ่อ ซาเวียร์ เกโกร ซึ่งเป็นผู้ช่วย อายุ 26 ปี ครูเณรทอง ผู้เป็นสัตตบุรุษวัดสามเสน กำลังฝึกงานอภิบาลก่อนที่จะบวชเป็นพระสงฆ์ และผู้ช่วยอีกจำนวนหนึ่งได้ไปกราบลาท่านเวย์ แล้วออกเดินทางโดยทางเรือไปจนถึงแก่งคอย ใช้เวลาเดินทางรวม 4 วัน ขณะหยุดพักที่แก่งคอย
คณะได้วางแผนเดินทางข้ามป่าดงดิบ ได้ซื้อม้า 3-4 ตัว และเช่าวัวบรรทุกของ(งัวต่าง) พร้อมกับคนขับสำหรับบรรทุกสัมภาระ ได้เริ่มออกเดินทางจากแก่งคอย 29 ม.ค. มาพักค้างคืนแรกที่คลองตะเคียนซึ่งเป็นหมู่บ้านคริสตังจำนวนราว
30-40 คน
แล้วเดินทางมาถึงโคราช เมื่อ 10 ก.พ. ผ่านไปชนบท ขอนแก่น กาฬสินธุ์ กมลาไสย ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และถึงอุบลฯเมื่อ 24 เม.ย. เป็นการเดินทางไกลกินเวลา 102 วัน (อ่านในประวัติการเผยแพร่พระศาสนาในภาคอีสานฯ ของท่านบาเย ถอดความโดยท่านอัครสังฆราชเกี้ยน เสมอพิทักษ์ )
เนื่องจากความยากลำบากในการเดินทางไปกรุงเทพฯ
เพราะต้องไปรายงานกิจการต่างๆให้พระสังฆราชเวย์ที่กรุงเทพฯรับทราบความเจริญ ที่สุดวันที่ 24 พ.ค. 2442/1899 พระสันตะปาปาเลโอที่ 3 ได้ลงพระนามในหนังสือประกาศสถาปนา มิสซังลาว และได้แต่งตั้งพระคุณเจ้า ยอแซฟ มารี กืออ๊าส เป็นพระสังฆราชปกครององค์แรก
การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการตั้งกลุ่มคริสตชนที่โคราช มีการบันทึกว่า ในปี 2448/1905 พระคุณเจ้ากืออัสมีความประสงค์ที่จะเปิดวัดอย่างถาวรที่โคราช ท่านได้แต่งตั้งให้ คุณพ่อ อัลแทล์ม แอ๊กซ์โกฟฟอง(ANTHELME EXCOFFON) เป็นผู้เปิดวัดที่นั่น ซึ่งก่อนหน้านั้นคุณพ่อเคยคิดว่าจะใช้ชีวิตที่สงบสุขที่วัดเชียงยืน เมื่อพระคุณเจ้าได้บอกให้ท่านเตรียมตัวออก จากเชียงยืน ในจดหมายฉบับหนึ่งของท่าน ท่านได้ระบายความรู้สึกลำบากใจในการที่ท่านจะต้องปรับตัวให้กลับไปเป็นธรรมฑูตจาริกเช่นเดิมอีก ท่านเขียนเอาไว้ว่า ถึงแม้นผมจะได้อ้อนว อนพระคุณเจ้าไม่ให้ส่งผมไปนครราชสีมา ท่านก็ไม่ยอมฟัง ท่านตั้งใจจะส่งผมไปเปิดวัดใหม่ที่นั่น นี่เป็นยาขมที่กลืนยาก .ลาก่อนเชียงยืน ลาก่อนวัดที่ผมได้สร้างด้วยความ ยากลำบากและยังไม่เสร็จ ลาก่อนคริสตชนที่ผมรัก ผมได้สร้างสิ่งเหล่านี้ให้ผู้อื่นใช้ ต่อไปผมจะไม่มีวัด ผมไม่ทราบว่าต่อไปนี้ผมจะมีวัดหรือเปล่าและจะมีคริสตชนหรือไม่ ผมจะต้องเป็นนายชุมพาบาลที่ปราศจากฝูงชุมพา จะเป็นธรรมฑูตที่ไม่มีวัด ผมต้องเสียสละโดยเห็นแก่ความรักของพระเป็นเจ้า เพราะผมได้มาก็เพื่อการนี้ ในการรายงานประจำปี 2448/1905 พระคุณเจ้ากืออัสได้รายงานเกี่ยวกับการเปิดวัดที่โคราชดังนี้ จากอุบลฯไปโคราชทางเ รือต้องใช้เวลา 8 วัน ทั้งนี้เมื่อมีน้ำเต็มฝั่ง แต่จากกรุงเทพฯไปโคราชโดยรถไฟใช้เวลาเพียง 13 ช.ม.เท่านั้น ข้าพเจ้าจึงคิดอยา กจะตั้งศูนย์ที่พัก(ปรอกืร์) สำหรับพวกคุณพ่อที่อยู่ทางภาคใต้(แขวงอุบลฯและศีรษะเกษ) เพื่อท่านจะได้วัตถุปัจจัยที่ต้องการง่ายขึ้นและถูกกว่า กองเกวียน 3 เล่มออกเดินทางจากหนองแสง 5 ก.พ. โดยมี คุณพ่อโปรดมเป็นผู้นำทาง มี คุณพ่อ อัลแทล์ม แอ๊กซ์โกฟฟอง และ คุณพ่อ เปรูดองเป็นผู้ช่วย ทั้งสองได้รับภาระมอบหมายให้เป็นผู้บุกเบิกตั้งศูนย์ศาสนาคริสต์ในจุดปลายเขตของมิสซังนี้(มิสซังลาว) การเดินทางครั้งนี้ประสบความลำบากยิ่งนัก ก่อนถึงโคราชเพียง 20 กิโลเมตร วัว 2 ตัวหมดแรง ต้องฝากเกวียนเล่มหนึ่งไว้กับ ชาวบ้าน แต่ในที่สุดก็มาถึงโคราชเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2448/1905 การเดินทางจากหนองแสงถึงโคราชใช้เวลาถึง 41 วัน (เล่าว่าก่อนการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯโคราช ธรรมฑูตคณะแรกๆได้เดินทางจากอุบลฯ โดยใช้ทางเกวียนเป็นพาหนะ ผ่ านทางที่ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อและโคลนตม ท่ามกลางป่าเปลี่ยวด้วยความยากลำบากเป็นเวลาถึง 16 วัน ระหว่างการเดินทางได้ พบอุปสรรคต่างๆ เป็นต้น ควายของคณะธรรมฑูตถูกขโมย ฉะนั้นทุกคืนต่อมา เมื่อได้ยินเสียงผิดปกติ ท่านเหล่านั้นจะร้องว่า ขโมย ๆ โดยที่ยังไม่รู้ว่าขโมยหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะให้ขโมยซึ่งอาจจะมีจริงตกใจ เพื่อทำให้เกิดความอบอุ่นใจแก่คณะธรรมฑูตเอง) ในระยะแรกๆธรรมฑูตขอที่พักที่บ้านกงสุลฝรั่งเศส(ปัจจุบันเป็นสำนักพระสังฆราช) ท่านได้พักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 เดือน ฝ่า
ยผู้ปกครองบ้านเมืองได้ต่อต้านธรรมฑูตอย่างรุนแรง มีการห้ามชาวบ้านขายที่ดินให้ธรรมฑูต มีการขู่ว่าจะฆ่าผู้ที่ฝ่าฝืน จนถึงเวลาที่
พระสังฆราชเวย์ได้รับอนุญาตให้ซื้อที่ดินสำหรับท่านทั้งสอง จึงได้ปลูกที่พักสำหรับตนเอง พระคุณเจ้ากืออัสได้บันทึกรายงานว่า ในวันที่ 14 มิ.ย. 2448/1905 คุณพ่อแอ๊กซ์โกฟฟอง ได้ถวายมิสซาเป็นครั้งแรกที่โ คราช คุณพ่อ แอ๊กซ์โกฟฟองเขียนบันทึกลงวันที่ 11 ส.ค. ว่า .ผู้มาฟังคำสอนกับข้าพเจ้ามี 3 คน ข้าพเจ้าได้พยายามสอนข้อคำ สอนสำคัญๆขั้นต้นแก่พวกเขา มีคริสตังชาวอยุธยาคนหนึ่งมาตั้งหลักแหล่งที่โคกกรวดซึ่งอยู่ใกล้กับโคราช เขามาขอแก้บาปรับศีลดังเ ดิม และได้แจ้งคุณพ่อว่าเขาได้ล้างบาปเด็กคนต่างศาสนา 4 คน .กลุ่มคริสตชนสำรองกลุ่มแรกมี 10 คน ซึ่งมีเด็กรวมอยู่ด้วย 2 คน ได้รับศีลล้างบาปอย่างสง่าในโรงสวดของเมืองโคราชในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ 14 เมษายน 2449/1906 (ตามทะเบียนล้างบาปของวัดโคราชมีบันทึกว่า มีการประกอบพิธีศีลล้างบาปแก่คริสตชนคนแรกเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2448/1905 และต่อมาก็มีคริสตชนเพิ่มขึ้นเป็น 20 คนจาก 4 ครอบครัว ในปี 2451/1908 มีคาทอลิก 36 คน ได้รับศีลกำลัง) เวลาเข้าเงียบประจำปีของมิสซังลาวที่หนองแสง เดือนพฤศจิกายน 2449/1906 ได้ทำการฉลอง 25 ปีที่มีการมาแพร่ธรร
มที่อีสาน ( 2424-2449/1881-1906 ) มีการสำรวจคริสตชน และมีรายงานว่าที่เขตโคราชมีคริสตัง 67 คน เป็นคนไทย ลาว จีน และคริสตังสำรอง 19 คน ในปี 2452/1909 ได้มีการตกลงระหว่างมิสซังบางกอกกับมิสซังลาว ให้ผู้ปกครองมิสซังบางกอกมีอำนาจปกครองแขวงโครา
ชแทนชั่วคราว แขวงโคราชมีจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์และชัยภูมิ เหตุที่ต้องทำดังนี้เพราะ สมัยนั้นการเดินทางโดยรถไฟจากกรุ
งเทพฯไปโคราชใช้เวลาไม่ถึงวัน แต่จากหนองแสงต้องกินเวลาถึง 3-4 อาทิตย์โดยทางเกวียน ( ข้อตกลงชั่วคราวนี้อยู่นานถึง 50
ปี คือจนถึงเวลาที่ท่านบาเย ได้รับเอาโคราชคืนมารวมกับมิสซังอุบลฯ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2502/1959 ) ปี 2497/1954 มีคาทอลิกกว่า 200 คน เมื่อ พ. ซีริล ถึงแก่กรรม คุณพ่อ เรอเน บริสซอง คุณพ่อถาวร กิจสกุล ได้มาช่วยดูแลชั่ว
คราว จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2497/1954 คุณพ่อ มารีอุส เบรย์ ได้มารับตำแหน่งเจ้าวัดที่โคราช ขอเขียนแทรกช่วงนี้เพราะ คุณพ่อ เบรย์ อยู่ในช่วงที่โคราชขึ้นกับมิสซังอุบลฯ และที่
สุดได้รับสถาปนาแยกเป็นมิสซังต่างหาก อธิบายย้อนหลังเพื่อให้ไม่สับสนดังนี้ มิสซังโคราชประกอบด้วย 3 จังหวัดคือ นครราชสีมา บุรีรัมย์และชัยภูมิ แบ่งให้เรารู้คร่าวๆเกี่ยวกับ
การปกครองคือ
.
วัดในเขตสังฆมณฑลนครราชสีมามีทั้งสิ้น 34 วัด เขตจังหวัดนครราชสีมา 1.อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด โคราช 2.วัดนักบุญยอแซฟ บ้านหัน 3.วัดมารีย์สมภพ วัดน้อย รพ. เซนต์แมรี่ 4.วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล ปากช่อง 5.วัดแม่พระ กลางดง 6.วัดแม่พระถวายองค์ในพระวิหาร หนองพลวง 7.วัดนักบุญยอแซฟ บ้านหนองไม้ตาย 8.วัดพระคริสตกษัตริย์ เมืองคง 9.วัดนักบุญเทเรซา บ้านโนนแก้ว 10.วัดนักบุญเปโตร บ้านโนนแฝก 11.วัดนักบุญยอแซฟ บ้านโนนงิ้ว 12.ศูนย์คาทอลิก บัวใหญ่ 13.วัดนักบุญยอแซฟ บ้านหนองห่าง(หนองบัวลาย) 14.วัดนักบุญอิสิโดร์ บ้านบุไท 15.วัดพระมารดามารีอา โคกสี 16. วัดแม่พระฟาติมา บ้านบุญนิมิตร เขตจังหวัดบุรีรัมย์ 1.วัดแม่พระคนกลางแจกจ่ายพระหรรษทาน โคกปราสาท 2.วัดนักบุญยอแซฟ ไทรทม 3.วัดพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า พุทไธสง 4.วัดพระมารดานิจานุเคราะห์ นางรอง 5.วัดแม่พระแห่งสายประคำศักดิ์สิทธิ์ บุรีรัมย์ เขตจังหวัดชัยภูมิ 1.วัดพระเยซูเจ้ากลับคืนชีพ ชัยภูมิ 2.วัดนักบุญยอแซฟ หนองไม้งาม 3.วัดนักบุญเปาโลกลับใจ แก้งคร้อ 4.วัดแม่พระผู้ปฏิสนธินิรมล หนองหญ้าปล้อง 5.วัดพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า หนองบัวแดง 6.วัดบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย คลองเจริญ 7.วัดมารดาพระศาสนจักร หนองกุง 8.ศูนย์คาทอลิกหนองบัวโคก 9.วัดพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ โคกไค 10.วัดพระกุมารเยซู โป่งนคร 11.วัดนักบุญเบเนดิ๊ก ภักดีชุมพล 12.วัดมารดาพระผู้ไถ่ ท่าหินโงม 13.วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ หนองหญ้าปล้อง อาชีพหลักของสัตตบุรุษ คริสตชนโดยประมาณ 5,000 คน โดยส่วนมากเป็นเกษตรกร |
|