สังฆมณฑลเชียงใหม่สังฆมณฑลเชียงใหม่

โดย...โทนี่ ไทยแลนด์

เพื่อพระ เพื่อปวงชน... “รักและรับใช้”
------------------------------------------------------------------------------------
พระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน เป็นชุมคนคริสตังเก่าแก่กว่า 170 ปี บริเวณรอบๆ วัดมีโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเซเวียร์ โรงเรียนโยนออฟอาร์ค ทั้งแผนกอนุบาล แผนกสามัญ จนถึงระดับเทคโนโลยี และยังมีโรงเรียนเอกชนที่เป็นของคาทอลิกอีกหลายแห่งติดกันไม่กี่ร้อยเมตรมีวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล (วัดคอนเซ็ปชัญ) อายุกว่า 333 ปี มีโรงเรียนคอนเซ็ปชัญ แรกเริ่ม เป็นชุมชนเชื้อสายชาวโปรตุเกสและเขมร

ครอบครัวนายยวง บัปติสตา หวล อาภรณ์รัตน์ จากวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล จันทบุรี และนางสาวเซซีลีอาแน่งน้อย เจียจวบศิลป์ สัตบุรุษวัดสามเสน ได้แต่งงานกันวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1954 และเริ่มสร้างครอบครัวในหมู่บ้านแห่งนี้ท่ามกลางบรรยากาศคริสตังที่ศรัทธา มีวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนสามเสน



ลูกชายคนโตเกิดวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1955 พ่อและแม่ตั้งชื่อให้ว่า วีระ อาภรณ์รัตน์ มีศาสนนามว่านักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ตามชื่อวัด เมื่อโตขึ้นได้เข้าเรียนชั้นอนุบาลโรงเรียนพันธะศึกษา ต่อมาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ย้ายไปเรียนที่โรงเ รียนมหาไถ่ศึกษา ซอยร่วมฤดี เพราะคุณพ่อหวลมีอาชีพขับรถตุ๊กๆ ไปส่งลูกของคนข้างบ้านไปเรียนที่โน่นและเอาลูกชายติดรถไปด้วย เพียง 2 ปี ก็ย้ายกลับมาเรียนต่อที่ชั้นประถมปีศึกษาที่ 3-4 ที่โรงเรียนโยนออฟอาร์ค การเรียนอยู่ในขั้ นดีและยังเป็นเด็กช่วยมิสซาด้วย หลังจากนั้น ก็มีน้องๆ เกิดตามมาทีละคนๆ

สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ
------------------------------------------------------------------------------------
สมัยนั้นคุณพ่อตาปีเป็นเจ้าอาวาส (ค.ศ.1926-1967) แต่ชรามากแล้ว คุณพ่อบุญเลิศ ธาราฉัตร เป็นผู้ช่วยอยู่ก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ าอาวาสแทน  ค.ศ.1965 (พ.ศ.2508) สามเณราลัยนักบุญยอแซฟเปิดใหม่ โดยแยกมาจากสามเณราลัยพระหฤทัยศรีราชา ชลบุรี
มีสามเณรทั้งหมด 146 คน ย้ายมาจากศรีราชา 85 คน เณรใหญ่อีก 61 คน



สมัยนั้นเปิดรับตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ.3) ในรุ่นเดียวกันที่เข้าสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ 12 ค น มีสามเณรวีระ อาภรณ์รัตน์ รุ่นเล็กสุดรวมอยู่ด้วย คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ ทองดี กฤษเจริญ ซึ่งเป็นอธิการ มรณภาพกะทันหัน ในเดือนกันยายน คุณพ่อมีคาแอล ฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู ย้ายจากวัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์ มาเป็นอธิการแทน

โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์เปิดสอนเป็นปีแรก คุณพ่อยอแซฟ เสวียง ศุระศรางค์ เป็นผู้จัดการ มีนักเรียนทั้งหมด 236 คน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครูที่สอนส่วนใหญ่เป็นสามเณรรุ่นพี่ที่จบชั้น ม.ศ.3 มาจากศรีราชา

วันเรียนก็ไปเรียนเหมือนนักเรียนทั่วไป เรียนคละกันทั้งสามเณรและนักเรียนไปกลับหรือนักเรียนหอพักซึ่งเปิดรับปีแรกอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

วันเปิดบ้านเณรและโรงเรียนนั้น ทุกอย่างพอให้มีกิน อยู่ได้ เรียนได้ นอนได้ และค่อยๆ เรียบร้อยขึ้น ก่อนไปโรงเรียนและหลังเลิกเรีย นเป็นเวลาที่อยู่บ้านเณร ก่อนไปโรงเรียนก็ทำการบ้าน จัดตารางสอน ทำความสะอาดบ้าน และกลับจากโรงเรียน มาบ้านเณรก็ทำงานบ้าน ทำความสะอาด ทำสวน งานประปา ทั้งซ่อมและต่อท่องานไฟฟ้า ทำตั้งแต่ซ่อมฟิวส์ขาด เปลี่ยนหลอด จนถึงเดินสายไฟทั้งอาคา รเรียนทั้งหลัง ฯลฯ

วันเสาร์อาทิตย์เรียนคำสอน ภาษาอังกฤษและภาษาละตินกับรุ่นพี่ๆ ส่วนรุ่นพี่ที่เรียกว่า “มาสเตอร์” รุ่นโตๆ ก็เรียนกับคุณพ่ออธิการหรื อคุณพ่อประจำบ้านเณร ชีวิตนักเรียนสมัยนั้นเป็นอย่างนี้นักเรียนแต่ละคน สามเณรแต่ละคน มักจะมีสมุดจดศัพท์ มีหนังสือเรียนติดมื อตลอด มีเวลาว่างเล็กน้อย ก็ต้องท่องศัพท์ ดูหนังสือ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ คิดดูแล้วเวลาว่างแต่ละวันแทบจะไม่มีเอาเลยเวลา สอบก็จะสอบพร้อมกันที่โรงยิมเนเซียม และเวลาประกาศผลสอบก็ใช้โรงยิมเช่นเดียวกัน โดยนักเรียนทั้งโรงเรียนจะนั่งเป็นชั้นๆ เรีย งกันไป เต็มทั้งโรงยิม มีคุณพ่ออธิการ คุณพ่อผู้จัดการ และคุณครูประจำชั้น จะเป็นผู้ประกาศผลสอบ อ่านดังๆ ทีละคน โดยอ่านตั้งแต่คนที่ได้คะแนนสูงสุด คืออันดับที่ 1 อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 เรียงไปเรื่อยๆ จนถึงคนสุดท้าย

สมัยก่อนผู้ที่ได้คะแนน 50 % ถือว่าผ่าน คนที่ได้คะแนนต่ำกว่าถือว่าสอบตก คนที่สอบได้คะแนนไม่ถึง 50 %
จะถูกเรียกชื่อและต้องออกไปยืนเรียงแถว โดยเว้นช่องไฟห่างกันเล็กน้อยให้รู้ว่าสอบไม่ผ่านแต่สำหรับทางบ้านเณรนั้น เกรดของสามเ ณรถ้าได้คะแนนไม่ถึง 60% ต้องซ้ำชั้น นี่เป็นเกณฑ์และเงื่อนไขการเรียนสมัยนั้น เสียงปรบมือจะอยู่ที่ 3 อันดับแรกเท่านั้นการประก าศผลสอบแต่ละครั้ง มันท้าทายให้แต่ละคนต้องออกแรง ทุ่มเท เอาจริงเอาจังกับการเรียนหนังสือมากๆ เพราะมีความอายเป็นแรงขั บเคลื่อน สมัยนั้นสามเณรแต่ละชั้นที่สอบได้อยู่ในอันดับที่ 1-10 จะเป็นสามเณร เป็นส่วนใหญ่ มีนักเรียนที่ไม่ใช่สามเณรแทรกเข้ามาบ้างก็เล็กน้อย

สามเณรวีระ อาภรณ์รัตน์ หมายเลขประจำตัว “ย.อ.159” จะเป็นคนที่ถูกเรียกชื่อให้ยืนหัวแถวอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่ชั้นประถมปีศึกษาที่ 5 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 !

ฟุตบอล เรื่องเล่นๆ แต่เอาจริงๆ
------------------------------------------------------------------------------------


เรื่องเล่นๆ แต่เอาจริงๆ ส่วนเรื่องจริงๆ เรื่องเป็นเรื่องตาย กลายเป็นเรื่องเล่นๆทุกสิ่งที่ทางบ้านเณรจัดให้ทำ แม้จะเป็นสิ่งเล็กๆ เรื่อ งเล่นๆ แต่ก็จะเป็นประโยชน์เมื่อเป็นผู้ใหญ่ เมื่อเป็นพระสงฆ์ เวลาจะทำงานกับเยาวชน เรื่องกีฬาจะช่วยเป็นเครื่องมือให้ได้ติดต่อท ำงานกับเยาวชนเมื่อเข้าบ้านเณรใหม่ๆ บ้านเณรสร้างอยู่กลางท้องนา มีตึก 4 ชั้น โผล่ขึ้นมากลางท้องนา ซังข้าว มีตึกโรงเรียนยอแซ ฟอุปถัมภ์ โรงยิมมีเพียงหลังคาพื้นซีเมนต์โล่งๆ ใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ ทั้งเป็นสนามบาส โรงละคร ที่ประชุม ที่จอดรถบัส ฯลฯจ ากซังข้าว ค่อยๆ กลายเป็นสนามฟุตบอลฯ อุปกรณ์กีฬา ลูกฟุตบอล ลูกบาส ตะกร้อ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์กีฬาราคาถูกและใช้เล่นกันได้ห ลายคน และฟุตบอลแต่ละลูก ขนาดหนังกลับ ต้องเลาะหนังที่เสียทิ้ง และเอามาเย็บเป็นลูกฟุตบอลใช้ใหม่ เพราะสมัยก่อนมียางใน

ทุกวันจะต้องมีสามเณรแผนกเย็บ ซ่อมลูกฟุตบอล ประมาณ 3-5 คน ซ่อมกันไปเรื่อยๆ คนที่มีหน้าที่เย็บฟุตบอล
ก็มีงานให้ทำตลอดทุกวัน ซ่อมเสร็จแล้วก็ต้องทดลอง ซ้อมเตะซ้อมเดาะดูว่ามันเบี้ยว มีสมดุลความเป็นลูกฟุตบอลหรือลูกลักบี้กันแน่ บางคนเล่นเตะอัดกัน ลูกบอลแตกคาเท้าก็มี! ส่วนลูกบาสก็เล่นจน “หัวล้านเลี่ยน” ลื่นมันวับจนเล่นไม่ได้นั่นแหละ จึงเอาไปทำอย่างอื่นเล่นต่อไป

สามเณรวีระมีหน้าที่อยู่แผนกซ่อมลูกฟุตบอลด้วย และมีโอกาสใกล้ชิดกับลูกฟุตบอลมากกว่าเพื่อนอีกหลายคน เวลาว่างแม้กลางวันแ ดดร้อนๆ หรือตอนเย็นๆ ก็จะเห็นสามเณรวีระและกับเพื่อนๆ เล่นฟุตบอล “ฟุตบอลติดเท้า” หรือเรียกว่าเป็นโรค “บ้าบอล”ทั้งโรงเรีย นและบ้านเณรมีการจัดตั้งทีมฟุตบอลขึ้นมาและมีการแข่งขันกันตลอด ทั้งกีฬาสีในโรงเรียน กีฬาอำเภอสามพราน กีฬาจังหวัดนครปฐ ม และสัญจรไปต่างจังหวัดช่วงปิดเทอม มีมาสเตอร์ชัยยุทธ กิจสวัสดิ์ มาสเตอร์ขจรฤทธิ์ เถลิงศักดานุวงศ์ มาสเตอร์สวัสดิ์ ตรีนิกร แล ะอีกหลายคน โอกาสฉลองวัดทั้งวัดนักบุญเปโตร สามพราน วัดนักบุญอันนาท่าจีน วัดพระวิสุทธิวงส์ ลำไทร วัดพระหฤทัย ขลุง วัดแม่พ ระฟาติมา ห้วยยาง สามเณรวีระจะเป็นคนที่เล่นฟุตบอลได้สวยงาม เป็นคนที่เล่นเซนเตอร์และศูนย์หน้า คอยแจกลูก ควบคุมเกม และพร้อมที่จะเป็นคนทำประตูเอง

นักฟุตบอลที่ดังที่สุดเวลานั้นคือเปเล่ เพื่อนๆ เคยตั้งฉายาให้สามเณรวีระว่า “เปเล่” ในด้านฝีเท้าและลีลาการเล่น ประเภทยากๆ ที่ไม่ มีใครกล้าเล่น นักฟุตบอลสมัยนี้อาจจะเห็นลูก “ลอยตัวและเตะกลับหลัง” ว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อ 30 ปีก่อนโน้นคนไทยยังไม่เค ยเห็นคนเล่นเท่าไหร่ เล่นตั้งแต่ระดับบ้านเณรเล็กจนถึงบ้านเณรใหญ่ และมหาวิทยาลัยที่กรุงโรม จากรุ่นเล็ก รุ่นกลาง รุ่นใหญ่ จนรุ่นอาวุโส

เมื่อเข้าบ้านเณรใหญ่แสงธรรม ก็เป็นนักฟุตบอล เป็นตัวหลักให้กับทีมวิทยาลัยแสงธรรม แม้แต่เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์แล้ว ได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่กรุงโรม ก็ยังเล่น ลีลาและลวดลายไม่ อายใคร ครั้งหนึ่งหลังจากยิงทำคะแน นได้ 2 ประตู โดนฝั่งตรงข้ามรวบ แต่เสียดายกระดูกคนละเบอร์ โดนรวบคราวนั้น “กระดูกขาขวาหักต้องเข้าเฝือก” ต้องใช้ไม้ค้ำยันอยู่ 3 เดือน!

เรื่องหนักเรื่องเบา เรื่องเล่นเอาจริงเอาจังทุกเรื่อง บาสเก็ตบอลก็เล่นได้ดี แต่หลายๆ ครั้ง ต้องเล่นในเวลาเดียวกัน จึงต้องเลือกฟุตบ อลมาก ที่ไม่เล่นคือกีฬาที่ต้องลงทุนใช้เงิน เช่น เทนนิส แบตมินตัน ฯลฯ

บ้านเล็ก กับครอบครัวใหญ่
------------------------------------------------------------------------------------

ในครอบครัวอาภรณ์รัตน์ คุณพ่อหวลและคุณแม่แน่งน้อยมีลูกทั้งหมด 12 คน ลูกคนแรกหัวปีชื่อ “วีระ” ครอบครัวไม่ได้มีมรดกคุณตา คุณยาย หรือ “มรดกเจ้าคุณปู่” แม่น้อยหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวด้วยฝีมือและน้ำพักน้ำแรงล้วนๆ คือทำขนมไทยๆ พื้นบ้านขายในหมู่บ้าน

ขายได้สตางค์และยังได้เลี้ยงลูกๆ ไปด้วย ไม่ต้องไปซื้อขนมอื่น “ขนมเจ๊น้อย” ชาวบ้านจึงรู้จักแม่ค้าคนนี้ดีทั้งฝีมือและน้ำใจ ลูกๆ แต่ล ะคนไม่ก็ไม่ได้สอนให้กินฟรีๆ ต้องออกแรง เป็นทั้งลูกมือแม่น้อย และเป็นลูกแม่ค้าไปด้วย“ผมเป็น ลูกแม่ค้า”เป็นคำพูดที่ผมได้ยินคุ ณพ่อวีระพูดหลายครั้งต่อหน้าผู้คนที่ประชุม เพื่อต้องการจะบอกอะไรอีกมากมายที่มีความหมายแฝงเร้นให้รู้มากกว่าคำพูดเพียงสองสามคำ ให้รู้ว่าแม่แน่งน้อยเป็นแม่ค้าทำขนมขาย

“ผมมาจากครอบครัวยากจนธรรมดาที่มีความศรัทธาไว้ใจในพระ แม้ลูกจะมากแต่ก็อบอุ่น ช่วยเหลือกัน รักกันดี”ในฐานะที่เป็นพี่ชายคนโต ทุกคนเรียก “พี่ระ” คำนี้ย่อมมีความหมายและปลุกจิตสำนึกของพี่คนโตของน้องๆ ภายใต้จิตสำนึ กคือ “ความเสียสละ หน้าที่ และความรับผิดชอบ” คนที่ไม่ได้เป็นพี่ชายคนโตจะไม่มีความสำนึก จะไม่มีวันเข้าใจคำนี้อย่างลึกซึ้ง “เสียสละเพื่อน้องๆ อีก 11 คน”

วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1986 แม่แน่งน้อยป่วยและเสียชีวิตด้วยอายุเพียง 55 ปีเท่านั้น เป็นเวลาที่เจ็บปวดที่สุด ถ้าบ้านมีเงินมากกว่า นี้ ก็คงมีโอกาสพาแม่ไปรักษาตัวได้ดีกว่านี้ แม่ต้องจากลูกๆ หลานๆ ไปเร็ว ไม่ใช่เงื่อนไขของอายุ แต่ขาดปัจจัยค่าใช้จ่ายในบ้าน ลูกๆ แต่ละคนก็เพิ่งเริ่มทำงานกัน แต่ละคนมีเงินเพียงเพื่อดูแลรับผิดชอบตัวเองและครอบครัวของตนเท่านั้น

พิธีมิสซาปลงศพแม่แน่งน้อยที่วัดสามเสน คุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นประธาน และน้องชาย คุณพ่อเดชา อาภรณ์รัตน์ ท่ามกลางพระ สงฆ์นักบวชพี่น้องสัตบุรุษที่มาร่วมแสดงความรัก ความอาลัย และบรรเทาใจ พร้อมทั้งให้กำลังใจกับครอบครัว “อาภรณ์รัตน์”

คุณพ่อวีระเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนคุณแม่เสียชีวิต ลูกสาวก็ช่วยกันแต่งตัวให้แม่ และก็เห็นที่เอวของแม่เป็นเนื้อด้านแข็งกว่าปกติ เป็นเพราะตอนที่ทำขนมขาย แม่จะกระเดียดกระจาดใส่ขนมข้างหนึ่ง ซึ่งมีขนมที่ใส่ถาดซ้อนสลับกันสามถาด แล ะอีกมือหนึ่งก็จะถือหม้อ หงายฝาขึ้นเพื่อใส่ของและมีฝาปิดอีกทีหนึ่ง เดินขายอย่างนี้ทุกวัน

ตอนที่ผมยังเป็นเด็กๆ เวลาสวดตอนค่ำๆ ก่อนนอน จำได้ว่าแม่จะสวดลงท้ายเสมอว่า “ขอพระเป็นเจ้าโปรดให้พ่อขับรถปลอดภัย และขอให้คนที่เอาเงินไป ได้นำมาใช้คืนด้วยเทอญ” ลูกก็ตอบว่า “อาแมน” ผมมาทราบภายหลังว่า มีคนที่ยืมเงินแม่ไปแล้วไม่คืน ไม่ทราบว่าจำนวนเท่าไหร่ และได้คืนหรือไม่

หลังจากที่แม่จากพวกเราไปแล้ว พวกลูกๆ ก็เป็นทุกข์กลัวว่า พ่อจะเป็นอะไรไปด้วย

“ผมต้องกลับไปดูพ่อหวลบ่อยหน่อย หรือโทรไปคุยบ่อยขึ้น” เพราะแม่ไม่อยู่แล้ว พ่อหวนก็คงคิดมาก เหงา ดีว่ายังมีน้องที่ยัง อยู่ในบ้านคอยดูแลและทำอาหารให้พ่อ และพ่อหวลก็พยายามเข้ากลุ่มผู้อาวุโสของวัด มีกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม เพื่อนๆ เพลินไปได้บ้าง พ่อหวลเป็นลูกวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล จังหวัดจันทบุรี สมัยยังหนุ่มมีอาชีพขับเรือส่งของระหว่างจันทบุรีและกรุงเทพฯ และได้มีโอกาส รู้จักกับแม่ที่สามเสน และแต่งงานกันที่วัดสามเสน แม่นามสกุลเดิม เจียจวบศิลป์หลังจากแต่งงานแล้ว พ่อก็ขับรถสามล้อตุ๊กๆ รับจ้าง และรับส่งนักเรียนอยู่ประมาณ 20 ปี ต่อมาเปลี่ยนเป็นรถปิ๊กอัพ และบรรทุกของและรับจ้างทั่วไป บางครั้งก็บรรทุกโลงศพเพราะที่วัดส ามเสนต่อโลงศพขายเพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ บางทีเขาต้องการให้ทางวัดหารถไปส่งให้ ขับอยู่อีกเกือบ 20 ปี สุขภาพไม่ค่อยดี ลูกๆ ก็ขอให้เลิก ก็อยู่บ้านดูแลลูกๆ หลานๆ

วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ.2008 พ่อหวลสิ้นใจที่โรงพยาบาล หลังจากป่วยอย่างกะทันหันด้วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือดเพียงวันสองวัน ซึ่ งปกติพ่อเป็นคนแข็งแรงดี ไม่ได้นอนป่วยมาก่อน อายุ 77 ปี ห่างจากแม่ 22 ปี วันนี้ “พ่อระ” ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตของน้องๆ ต้องคอยท ำหน้าที่แทนพ่อแม่ และเป็น “พ่อลุง” ของหลานๆ  แม้น้องๆ จะโตมีครอบครัวกันไปแล้ว เหลือน้องสาวเพียงคนเดียวที่ไม่มีครอบครัว ต้องคอยดูแลน้องๆ และหลานๆ แม้จะไม่มาก แม้จะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ในฐานะ “พี่ใหญ่” ความสำนึกรับผิดชอบต่อน้องๆ และน้ำใ จเสียสละที่เป็นธรรมชาติของคุณพ่อวีระ ก็คอยคิด ติดตาม และอยากให้น้องๆ และหลานๆ “เป็นคนดี มีความศรัทธา และมีความสุข” ในฐานะที่เป็นคริสตัง

“เป็นห่วง น้องคนนี้.... เพราะยังเป็นหนี้เป็นสินเขา...ลูกๆ ไม่ค่อยมีใครดูแล... เป็นห่วง... เพราะมีปัญหาครอบครัวกัน... ไม่รู้เรื่องอะไรกัน... เป็นห่วง... เพราะยังไม่มีงาน... โดนคนโกงเงินไป...! ฮัลโหล...พ่อลุงพูดนะ...หนู...ทำการบ้า นหรือยัง สวดหรือยัง...”

บางครั้งผมคุยกันอยู่ได้ยินเสียงโทรศัพท์ดังครั้งหนึ่ง คุณพ่อวีระก็ขออนุญาตรับโทรศัพท์ “หลานโทรมา หลานคนนี้...ฉลาด โทรมาแล้ว ก็กดทิ้ง ให้พ่อลุงโทรกลับไป จะได้ไม่ต้องเสียตังค์ค่าโทรศัพท์ ให้พ่อลุงจ่ายค่าโทร...”
“วันนี้ต้องกลับบ้าน ไปเยี่ยมหลานหน่อย...โทรมาขอให้พ่อลุงไปเยี่ยม เอาหนังสือไปให้...”
“ผมมีหลาน 20 คน!”

ความรับผิดชอบ
------------------------------------------------------------------------------------


เมื่อทำอะไรแล้วเป็นคนทุ่มเทเอาจริงเอาจัง เมื่อจบการศึกษาระดับชั้น ม.ศ.5 แล้ว ทางบ้านเณรก็ให้เรียนต่อเรื่องภาษา เป็นครูสอนห นังสือ และสอบวุฒิวิชาครูไปด้วย เรียกว่ารุ่น “มาสเตอร์” สวมกางเกงขายาวสีดำ เสื้อแขนยาวสีขาว ผูกเนคไทต์ ซึ่งเป็นเครื่องแบบขอ งรุ่นโต และจากรุ่นมาสเตอร์นี้ อธิการก็จะคัดเลือก 2-3 คน ในแต่ละรุ่น ให้เป็น “ครูเณร” เป็นผู้ช่วยของอธิการและพระสงฆ์ในบ้านเ ณร ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดงานแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ ได้มีโอกาสฝึกทำงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ เสียสละ เรียนรู้ “การ จัดการ” สมัยนั้นอธิการบ้านเณรคือคุณพ่อมีคาแอล ฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู  ต่อมา คือ พระอัครสังฆราช ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู วันนี้ คือ พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู

ช่วง 2 ปีที่เป็นมาสเตอร์และได้รับเลือกเป็นครูเณร ต้องรับผิดชอบหน้าที่มากกว่าเพื่อนคนอื่นๆ เวลาตื่นก็ต้องตื่นก่อน นอนก็ต้องนอน หลังน้องๆ หลับไปแล้ว ต้องคอยดูแลความเป็นระเบียบวินัย การจัดงาน มอบหมายงานในแต่ละวัน แต่ละเดือน หมุนเวียนกันตั้งแต่ห้องสุขา ไฟฟ้า ประปา ถอนหญ้า ห้องนอน ห้องอาบน้ำ ร้านขายของ จับตัวเรือด เอาที่นอนไปตากแดด

“วันหยุดยาวๆ เราต้องเตรียมงานหนักกว่าปกติ ต้องทำสวน ขุดดิน ลอกคูในสวน ปลูกกล้วย มะพร้าว มะนาว ฯลฯ” เรื่องการเรียนจาก ที่เคยอยู่หัวแถว ในช่วงสองปีที่เป็น “ครูเณร” การเรียนตกไปอยู่ปลายแถว หลับในห้องเรียน การบ้านไม่เสร็จและไม่ได้ทำ ไม่มีเวลาอ่ านทบทวน เป็นช่วงเวลาที่การเรียนแย่กว่าเพื่อนๆ ก็ตอนนี้แหละ ที่ผลการเรียนโดยเพื่อนที่เคยอยู่หลังๆ กลับแซงหน้าสลับกัน สมัยนั้น ก็คงเหมือนสมัยนี้ เมื่อทางสังฆมณฑลจัดงานประจำปี บวชพระสงฆ์ แห่ศีลมหาสนิท ฉลองคริสต์มาส และสำหรับในช่วงนั้นคือ พิธีอภ ิเษกอธิการของพวกเราเป็นพระอัครสังฆราช วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1973 ณ สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน แม้จะมีผู้ใหญ่ที่รั บผิดชอบเหนือเราอยู่แล้ว แต่สำหรับเราเวลานั้น กับความรับผิดชอบเมื่อมองย้อนไปถึงหน้าที่ความรับผิดชอบหลายอย่างก็ไม่น่าเชื่อว่า จะทำได้ และทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละอย่างๆ ได้ช่วยหล่อหลอมและฝึกให้สามเณรที่จะเป็นพระสงฆ์ในอนาคตแต่ละคนได้รับโอกาสใกล้เคียงกัน อาจจะแตกต่างกันบ้าง กับโอกาสที่เปิดกว้างให้พิสูจน์ตัวเอง

บ้านเณรใหญ่ เพียงข้ามถนน
------------------------------------------------------------------------------------
ค.ศ.1975 เข้าบ้านเณรใหญ่ วิทยาลัยแสงธรรม ความตื่นเต้นมีบ้างแต่ไม่มากนัก เพราะอยู่ห่างกันเพียงแค่ 1 กิโลเมตร อยู่ฝั่งตรงข้า มถนน ไม่ต้องทำหนังสือเดินทาง (Passport) และวีซ่าเข้าประเทศให้ยุ่งยากเหมือนสมัยก่อนโน้นที่ต้องไปปีนัง กรุงโรม อินเดีย ออ สเตรเลีย หรือเบลเยียม แต่ละคนต้องเตรียมตัวกันวุ่นวายไปหมด ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไป แต่นี่เพียง...ข้ามถนนเท่านั้น!

ค.ศ.1975 สภาพระสังฆราชฯ มีมติให้เปิดบ้านเณรกลาง เพื่อเตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมความพร้อมสำหรับสามเณรจากบ้านเณรเล็ กทั่วประเทศ เพราะวิทยาลัยแสงธรรมเปิดมาได้ 3 ปีแล้ว ได้ประเมินดูแล้วน่าจะเป็นการดีกว่า ถ้ามีบ้านเณรกลางและใช้เวลาอีก 1 ปี เพราะที่ผ่านมาบางแห่งพอจบชั้น ม.ศ.5 แล้วก็ส่งมาเลย บางแห่งก็ให้อยู่ 1-2 ปี ดังนั้น ผู้ใหญ่ของบ้านเณรยอแซฟจึงตัดสินใจให้สามเ ณรที่เรียนจบชั้น ม.ศ.5 แล้วสองรุ่นรวมกันเข้าบ้านเณรใหญ่ทั้งหมด 25 คน บ้านเณรกลางใช้อาคารส่วนหนึ่งของบ้านเณรยอแซฟที่สา มพราน มีคุณพ่อสุรินทร์ ประสมผล เป็นอธิการคนแรก สามเณรแสงธรรมรุ่นที่ 4 รวมจากทั่วประเทศมี 51 คน มีซิสเตอร์ 2 คน รวมทั้ งหมด 53 คน บราเดอร์วีระได้ผ่านขั้นตอนและได้โอกาสนี้เช่นเดียวกับเพื่อนๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดขึ้นและเป็นต้นทุนเดิมคือความเ อาจริงเอาจังกับชีวิตและหน้าที่รับผิดชอบ ความสนใจการสอนคำสอน และการอภิบาล บราเดอร์สนใจเรื่องสื่อสอนคำสอน ได้ไปศึกษาแ ละช่วยงานคุณพ่อยัง ฮาเบรสโตร ที่วัดพระตรีเอกภาพ หนองหิน สื่อคำสอนที่เป็นชุดภาพสไลด์ซึ่งถือว่าทันสมัยที่สุดแล้ว และอาสาหาค นช่วยแปลเป็นภาษาไทย คุณพ่อซันนา คณะซาเลเซียน ช่วยแปลจากภาษาอิตาเลียนเป็นภาษาไทย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ พิมพ์หนังสือภาวนา หนังสือพิธีกรรมต่างๆ ที่ยังคงเห็นได้จนถึงทุกวันนี้คือ วจนพิธีกรรมสำหรับผู้ล่วงลับ “โลกใหม่” และใช้มากว่า 30 ปีแล้ว

ทุกวันนี้ถือว่า โลกเก่า แล้ว!  วันเวลา 6 ปี ที่วิทยาลัยแสงธรรม ที่หล่อหลอมด้วยการอบรม การศึกษา ฝึกฝนตนเองให้เป็น “บาทหลวง” เป็น “พระสงฆ์” เป็นผู้รับใช้ ศาสนา สังคม และประเทศชาติ พร้อมเท่าที่ทำได้ พร้อมที่ใจมากกว่าความสามารถที่มี พร้อมที่จะเรียนรู้ก้าวใหม่ในชีวิต มากกว่าที่จะรู้จักชีวิตที่ผ่านมา พร้อมที่จะทุ่มเท อุทิศตนแม้กระทั่งชีวิต

ชีวิตและหน้าที่ พระสงฆ์
------------------------------------------------------------------------------------
วันแรกที่เข้าบ้านเณรยอแซฟ เพื่อนรุ่นเดียวกันมี 12 คน จนถึงวันบวช วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ.1981 เวลา 17 ปีที่ผ่านมา แต่ละปีมีเพื่ อนใหม่เพิ่มเข้ามาเรียนในชั้นเดียวกัน เพื่อนเก่าก็ตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตไปเรียนต่อที่อื่น เปลี่ยนหนทางชีวิตเป็นฆราวาสธรรมดาๆ ชี วิตพระสงฆ์นักบวชอาจจะไม่เหมาะกับตนเอง ที่เข้ามาพร้อมกันปีแรกเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกันมาตลอดมีเพียง 3 คน คือ คุณพ่อธนันชัย กิ จสมัคร และคุณพ่อไชโย กิจสกุล ค.ศ.1975 เพื่อนที่เข้าบ้านเณรแสงธรรมด้วยกันจากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 25 คน (บวช 16 คน) จากทั่วประเทศมีทั้งหมด 51 คน (บวช 30 คน)

เมื่อจบการศึกษาจากบ้านเณรแสงธรรม ถือว่าคณาจารย์ในบ้านเณรใหญ่ได้ส่งศิษย์ขึ้นฝั่งเรียบร้อยแล้ว การบวชเป็นพระสงฆ์ก็ขึ้นอยู่กั บความพร้อมของแต่ละคน และแต่ละสังฆมณฑล บางคนฝึกงานต่อหรือศึกษาอบรมเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของแต่ละคน เพื่อชีวิตสงฆ์ของตนและงานของพระที่จะทำ เป้าหมายก็คือเพื่อความดีของสัตบุรุษ

สำหรับวันบวชของคุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ นั้น มีเพื่อนๆ มาบวชในรุ่นเดียวกัน พระอัครสังฆราชไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นผู้บวช มีคุณ พ่อประจวบโชค ตรีโสภา คุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง คุณพ่อธนันชัย กิจสมัคร คุณพ่อไชโย กิจสกุล คุณพ่อประยุทธ ชลหาญ คุณพ่อสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธ์ คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์  คุณพ่อวิชัย บุญเผ่า คุณพ่อวิทยา แก้วแหวน คุณพ่อวิชา หิรัญญการ และคุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ เรียงตามลำดับอายุ รวม 11 องค์ เท่ากับทีมฟุตบอล 1 ทีมพอดี!

คุณพ่อและคุณแม่อยู่พร้อม และในวันบวชก็เป็นผู้ที่ถือเสื้อกาสุลาและกาลิกส์แห่ร่วมขบวนกับพ่อแม่ของเพื่อนๆ ที่บวชในวันนั้น ความ รู้สึกดีใจคงล้นอยู่ในใจลึกๆ “พ่อแม่...ไม่ได้สอนเตือนอะไร แม่เป็นคนไม่ชอบพูดคุยนัก แต่สิ่งที่เห็นคือ หลังจากวันบวชแล้ว แม่จะไปวั ด ทุกเย็นๆ ไปร่วมมิสซาและพาน้องๆ หลานๆ ไปด้วย” หลังจากบวชแล้วได้รับมอบหมายให้ไปทำงานตามวัดได้เพียงระยะสั้นๆ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการด้านคำสอนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งมีคุณพ่อยอแซฟ ประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย เป็นประธานแผนก ในเวลาเดียวกันก็ รับหน้าที่ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และในฐานะสงฆ์หนุ่ม ผู้ใหญ่ส่งไปศึกษาต่อด้านคำสอนที่กรุงโรม 3 ปี ภาษาอิตาเลียน แล ะเรียนพิเศษเองในยามว่าง เรื่องสื่อการสอน คำสอน เป็นหลักสูตรสั้นๆ ระหว่างที่อยู่กรุงโรม อะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตและหน้าที่ สงฆ์ คุณพ่อวีระพยายามใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด และยังมีหน้าที่เสริมคืออาสาสมัครรับแขกทั้งพระสงฆ์และฆราวาสที่ไปแสวงบุญที่กรุ งโรม ต้องช่วยรับหน้าที่เป็นไกด์น้ำใจดี จนบางคนคิดไปว่าเป็นหน้าที่ของพ่อวีระ ทั้งฝากซื้อของและออกตังค์ไปก่อนก็ยังมี “ช่วยเขีย นเรื่องทางกรุงโรมไปเล่าให้ฟังบ้าง ไหนๆ ได้มีโอกาสมาเรียน มารู้ มาเห็นแล้ว ช่วยเขียนเรื่องไปลง “น.ส.พ.อุดมสาร” รายสัปดาห์ให้หน่อย...”  “จะลองดูนะ แต่ไม่รู้จะมีใครอ่านหรือเปล่า?”

จากเรื่องแรกในวันนั้น สิงหาคม ค.ศ.1987 “พบจ๊อกกี้ ที่เวสลิ่ง” กลายเป็น “คำสอน 5 นาที” เมื่อต้องรับผิดชอบงานคำสอนเต็มตัว ต่ อเนื่องมาทุกฉบับ ต้นฉบับแต่ละครั้ง เขียนด้วยลายมือแท้ๆ ต้นทางที่ส่ง อาจจะทางโทรสาร จดหมาย จากศูนย์คำสอน เชียงใหม่ อีสา น บ้านผู้หว่าน ต่างประเทศ ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ฯลฯ แต่ปลายทางอยู่ที่กองบรรณาธิการ “น.ส.พ.อุดมสาร” ทุกสัปดาห์
รวมเวลา 22 ปี!

บทความเหล่านี้ ได้คัดเลือกและจัดพิมพ์เป็นหนังสือแล้ว 2 เล่ม
------------------------------------------------------------------------------------
การพัฒนางานด้านคำสอนต้องพัฒนาที่คน “ต้องเกาให้ถูกที่คัน” ต้องส่งเสริมให้ครูคำสอนมีความรู้ มีปริญญาตรี มีเกียรติ เป็นที่ยอมรั บสำหรับโรงเรียนและตามวัด ทั้งพระสงฆ์ ทั้งในเมือง และต่างจังหวัด เป็นงานระดับประเทศ โครงการอบรมครูคำสอนปกติ 2 ปี และ อบรมระยะสั้น 1 เดือน อบรมเพียง 2-3 วัน เพียงแค่ 1 วัน สำหรับพระสงฆ์ นักบวช ครู อาสาสมัคร นักศึกษา ทั้งจัดอบรม ทั้งประชาส มพันธ์ และหาทุนให้ เป็นเรื่องไม่ปกตินักที่ซิสเตอร์และนักศึกษาฆราวาสจะได้รับทุนไปเรียนคำสอนระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท ที่กรุงโรมอย่างต่อเนื่อง 2-4 ปี แต่ละปีมี 1-2 คน วันเวลาผ่านไปแต่ละปีๆ วันนี้หลายสิบคนแล้วจากสังฆมณฑลต่างๆ และคณะนักบวช ฯลฯ

ตลอดเวลาที่ผ่านมาภารกิจดั่งขุนเขาที่ขวางหน้า ถ้าใจไม่แกร่ง ความอดทนนานไม่มี การอุทิศตนไม่มาก ก็ไม่สามารถผลักดัน จูงมือ และลากสัมภาระทั้งหลายให้ผ่านมาได้ขนาดนี้ วันนี้มีครูคำสอนที่สามารถสอนเด็กนักเรียนที่เป็นคนต่างประเทศ ต้องสอนด้วยภาษาอั งกฤษ และภาษาอิตาเลียน สามารถติดต่อเรียนได้ และได้สอนมาแล้วหลายปี ทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่พูดภาษาไทยไม่ได้เลย แรงผลักดันแ ละติดตามอย่างต่อเนื่อง ค.ศ.2000 วิทยาลัยแสงธรรมได้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชา คริสตศาสนศึกษา เปิดรับนักศึกษ าที่จะเรียนเป็นครูสอนคำสอน เมื่อครบ 4 ปี ได้รับปริญญาตรี มีสิทธิ์เท่ากับผู้จบปริญญาตรีทุกประการ  จนเพื่อนๆ มอบฉายาให้คุณพ่ อวีระว่า “ครูฟิลิป สีฟอง” ซึ่งเป็นครูคำสอนในภาคอีสาน ถูกฆ่าตายสมัยการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ และต่อมาวันที่ 22 ตุลาคม ค. ศ.1989 ได้รับแต่งตั้งเป็น “บุญราศี” พร้อมคนอื่นๆ ที่ถูกฆ่าตายด้วย รวมเป็น 7 คน คุณพ่อต้องทำตั้งแต่จัดทำโครงการ หลักสูตร ปร ะชาสัมพันธ์ ติดตามโดยตรง รับสมัคร เป็นอาจารย์สอน และเมื่อฝึกสอน ต้องไปนิเทศน์การสอนของนักศึกษา ประเมินการสอน จนกร ะทั่งอนุมัติ แน่นอนว่าคงไม่ใช่ทั้งหมดหรือทุกเรื่องที่คุณพ่อทำอยู่เพียงคนเดียว แต่มีทีมงานที่เป็นทั้งพระสังฆราช พระสงฆ์ ซิสเตอร์ ครูคำสอน และเจ้าหน้าที่ ที่ร่วมงานกันอีกหลายคน ทั้งเต็มเวลาและอาสาสมัคร แต่ทั้งหมดนี้ต้องบอกว่าคุณพ่อเป็นผู้นำที่ลงมือทำอย่างใกล้ชิด

งานคำสอนเป็นเหมือนลมหายใจ!
------------------------------------------------------------------------------------
ถ้าจะพูดถึงคุณพ่อวีระ ภาพลักษณ์ที่ขึ้นมาทันทีคืองานคำสอน ถ้าจะพูดแล้วเชื่อมั่นว่าทุกคนคงเห็นด้วย “คุณพ่อวีระ คือ ผู้บุกเบิกงานค ำสอนไทยคนหนึ่ง”

พ่อระ...ช่วยหน่อย ความจริงงานคำสอนไม่ใช่งานโดดๆ แต่เกี่ยวข้องกับอีกหลายอย่าง ทั้งเรื่องพระคัมภีร์ เรื่องการศึกษา โรงเรียนคา ทอลิก ซึ่งต้องมีเรื่องงานคำสอน ต้องมีจริยศึกษา การมีเพื่อนก็เป็นสิ่งที่ดี ถ้าเป็นการช่วยเหลือกัน แต่บางคนดูเหมือนเอาภาระมาแบ่ งให้กัน “พ่อวีระ...ช่วยถวายมิสซาแทนทีซิ....ติดธุระ ติดประชุม ไปต่างจังหวัด ไปเที่ยว...” ทุกสายโทรศัพท์ที่เข้ามา หรือทุกคำขอร้อ งเชิงเปรยๆ “พ่อวีระ...ว่างไหม?” ก็จบลงด้วย “ได้...ไปได้...ไม่ต้องห่วง” บางคนอาจนึกว่าคุณพ่อไม่ต้องอยู่ตามวัด คงมีเวลาว่าง คงไ ม่มีงานมากนัก คงมีบ้าง แต่คงไม่เหนื่อย คงพอช่วยได้ “คุณพ่อวีระช่วยถวายมิสซาแทน...ช่วยเป็นนายจารีตฉลองวัดให้ได้ไหม?”
แต่หารู้ไหมว่าวันธรรมดาก็หนัก วันเสาร์วันอาทิตย์ก็ทำงานเหมือนวันธรรมดา และวันหยุดก็เป็นวันทำงาน ทั้งที่เป็นงานที่ต้องทำ ควร ทำ และคนอื่นๆ ขอให้ทำ งานบางอย่างที่เป็นน้ำใจ  อาสาช่วยทำ   หลายคนคิดว่าเป็นหน้าที่ต้องทำจนดูเหมือนเป็นคน “บ้างาน”

คำสั่งหมอ ย้ายที่ทำงาน
------------------------------------------------------------------------------------
รถขับไปนานก็ต้องเข้าอู่ซ่อม ตรวจสภาพ หรือต้องยกเครื่องสักที คนทำงานไปนานๆ ถ้าไม่พัก ก็ต้องน็อค ต้องล้มเข้าสักวัน คำสั่งหม อให้ต้องหยุดงาน และพักอย่างเอาจริงเอาจังเป็นเวลา 6 เดือน เพราะไวรัสบีที่รักษาตัวไม่ดี ดูแลตัวเอง ไม่พอ พักผ่อนไม่พอ อาจจะลุ กลามเป็นอะไรที่ร้ายแรงกว่าที่คาดเดาได้ “คุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์” และชื่อหมอที่รักษาติดอยู่หน้าห้องในโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ และ วันแรกมีป้ายปกติ ต่อมาต้องเปลี่ยนป้ายใหม่เป็น “ห้ามเยี่ยม” เพราะพรรคพวก ลูกศิษย์ คนที่รู้จัก พอทราบว่าคุณพ่อป่วย จากเพียงแ ค่ไม่กี่คน กลายเป็นสิบ เป็นร้อยในเวลาอันรวดเร็ว คงจะเหมือนประกาศแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชเหมือนกัน! แม้จะนอนอยู่บนเตียง หลั บตา แต่สมองก็ยังคิด แม้จะอยู่ในฐานะคนป่วยที่ต้องพักรักษาตัว แต่ก็ยังมีงานอยู่ บนโต๊ะ สมุดจดงาน โทรศัพท์ เจ้าหน้าที่มารับมอบ หมายงานกันเป็นประจำ กลายเป็นการเปลี่ยนที่ทำงานจากสำนักงานอาคารคาทอลิกแพร่ธรรม มาเป็นโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์เท่านั้น
แม้คุณหมอจะให้ออกจากโรงพยาบาล แต่ยังให้พักผ่อนเป็นหลัก หมายความว่ายังให้พักรักษาสุขภาพอยู่นอกโรงพยาบาล

ครั้งแรก เดือนมิถุนายน ประมาณ ค.ศ.2000 วันนั้นเป็นวันเข้าเงียบและตรงกับวันครบรอบวันบวช ก็นัดไปทานข้าวกันสักมื้อหนึ่ง พอไ ปถึงร้านอาหารก็ไม่ได้ทาน หมดแรง เพื่อนๆ ต้องพาส่งโรงพยาบาล อาการหนักขนาดต้องหยุดงานยาว มิฉะนั้น อาจจะนอนยาวตล  ดไป ครั้งที่สอง เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2006 โรคปวดหลัง หมอนรองกระดูกทับเส้น โอกาสฉลอง “25 ปี ชีวิตสงฆ์” พร้อมกับเพื่อนๆ ที่ วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง วันนั้นยังเดินหลังโกงๆ และถ่อสังขารไปร่วมงาน รอยยิ้มบนใบหน้า ความเจ็บปวดอยู่ที่สันหลัง ชีวิตสงฆ์เหมือนกับไม่มีที่ว่างให้กับตัวเอง

รับไม้...งานคำสอน
------------------------------------------------------------------------------------
เมื่อผมบวชใหม่ๆ คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย ได้ขอให้เป็นกรรมการคำสอนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้มีคุณ พ่อสังวาลย์ ศุระศรางค์ (ขณะนั้น) ได้เริ่มจัดทำเป็นรูปเป็นร่าง วางระบบและปูทางไว้ให้ ต่อมาได้วางมือเหมือนกับนักบุญยอห์น บัปติส ต์ และมอบให้คุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์เมื่อสร้างคนก็ต้องทำสิ่งที่คู่กันคือสร้างสื่อคำสอน เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นอุปกรณ์การสอน เป็นสื่อช่ว ยสอนคำสอน “ขณะที่เรียนวิชาคำสอนอยู่ที่กรุงโรม มีเวลาว่างสั้นๆ ช่วงปิดเทอม ก็ไปเข้าเรียนเรื่องสื่อมวลชนที่มหาวิทยาลัยของคณะ ซาเลเซียน เพราะคิดว่าสามารถช่วยและมีประโยชน์ต่องานด้านคำสอน” เริ่มแรกมีภาพโปสเตอร์เพียงไม่กี่ภาพ อาจจะใช้เพียงคนตัด กระดาษ ติดปะให้เป็นรูปร่าง จนเข้าโรงพิมพ์ เป็นร้อย เป็นพันแผ่น จากแผ่นพับธรรมดาๆ ที่พิมพ์เป็นพัน เป็นหมื่นๆ แผ่น กลายเป็นหนังสือเล่มบางๆ และเล่มหนาๆ ทีละเล่มสองเล่ม ทั้งแปลทั้งเขียนขึ้นมา หรือพิมพ์ซ้ำเล่มเก่าที่ขาดตลาดไปแล้ว

หนังสือคำสอนที่เป็นเล่มใหญ่หนา ล่าสุดที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงประกาศใช้ ทันทีที่ออกมา คุณพ่อก็พยายามจัดห
าคนแปลเพื่อให้คนไทยที่ภาษาต่างประเทศไม่แข็งแรงได้อ่านในภาษาไทยของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นผลงาน วีดีโอ ดีวีดี วีซีดี ต่างประเท ศซึ่งจัดแปลและพากษ์ภาษาไทยเอง แม้จะต้องจัดหาคนแปล คนอัดเสียง ร้านจัดทำก๊อปปี้ ต้องขอลิขสิทธิ์ คุณพ่อก็ทำเองหมด

ร้ายที่ขายของเหล่านี้ไม่ว่าจะในห้างใหญ่ๆ หรือข้างถนน ถ้ามีเรื่องอะไรที่พอจะใช้สำหรับสอนคำสอนได้ คุณพ่อก็จะจัดซื้อมาใช้ ซื้อม าเพื่อจำหน่าย เผยแพร่ให้กว้างขึ้น เพื่อช่วยครูสอนคำสอน เพื่อให้คริสตังได้มีโอกาสรับรู้ ก็จัดทำ จนกระทั่งในสำนักงานคำสอนกลายเป็นเหมือนสำนักงาน “สื่อมวลชนคาทอลิกฯ” จนเกือบจะไม่มีที่นั่ง ทางเดิน

ครูคำสอน แฟนพันธุ์ทัวร์
------------------------------------------------------------------------------------
เพื่อให้ครูคำสอนได้มีประสบการณ์ มีความมั่นใจ จึงพยายามขอทุนจากพระสังฆราช ส่งครูไปแสวงบุญที่กรุงโรม ที่แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศไทยที่สองคอน มุกดาหาร และประเทศลาวเท่าที่ทราบกลุ่มแรกที่ได้ไปแสวงบุญคือ ครูที่สอนคำสอนมานานครบ 25 ปี ได้ไปกรุงโรมโอกาสฉลองบุญราศีทั้ง 7 ค.ศ.1989 จำนวน 13 คน “ครูคำสอนไม่ค่อยมีสตางค์กัน ต้องพยายามหาทางช่วย ให้บางคนผ่อ นได้ ไปก่อนจ่ายทีหลัง เพราะถ้ารอให้มีเงินแล้ว ชาตินี้ก็คงไม่มีโอกาส” ไม่รู้ว่ามีใครที่ยังผ่อนไม่หมดบ้าง...โปรดยกมือขึ้น! แต่ละครั้ง ที่ประกาศว่าจะจัดแสวงบุญ บรรดาครูคำสอนจะมาเป็นอันดับแรก และบรรดา “แฟนพันธุ์ทัวร์” ก็ไม่ผิดหวัง หลายๆ แห่งก็จัดไปหลายค รั้ง โดยเฉพาะบุญราศีสองคอน จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างทางก็จะไม่ให้เสียเวลา บนรถทัวร์คุณพ่อจะเตรียมวีดีโอดีๆ ที่ส่งเสริมควา มเชื่อ ความศรัทธา และให้กำลังใจ เตรียมพร้อมไว้เป็นชุดๆ และสวดภาวนา สวดสายประคำ เป็นการเรียนคำสอนสัญจรนั่นเองเจ้าของธุรกิจโรงแรมมีชื่อคุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ อยู่ในลูกค้าชั้นหนึ่งงานคำสอนเป็นเหมือนลมหายใจครูคำสอนอยู่ในหัวใจเสมอ

เมื่อตอบรับ เป็น พระสังฆราช
------------------------------------------------------------------------------------
ตอนที่ท่านสมณทูตซัลวาตอเร เปนนัคคีโอ นัดให้ไปพบ ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่พอท่านบอกว่า สมเด็จพระสันตะปาปาจะทรงแต่งตั้งใ ห้ผมเป็นพระสังฆราช ครั้งแรกที่ได้ยินก็งง ท่านได้อธิบายเหตุผลให้ฟัง ผมเองก็เข้าใจว่า กว่าที่ผู้ใหญ่จะพิจารณา ตัดสิน ก็คงมองดูแล้ว และผมเองก็ถือความนบนอบต่อพระเป็นเจ้าผ่านทางผู้ใหญ่มาตลอด คำพูดที่ว่า “ข้าพเจ้ายินดีทำตามพระประสงค์ของพระองค์” เป็นสิ่งที่เราได้สวด ได้ยินอยู่บ่อยๆ เพราะฉะนั้น ผมก็เรียนท่านว่า ผมไม่ใช่เป็นคนเก่งอะไร แต่ไว้ใจในพระพรของพระเป็นเจ้า ที่จะประทานให้เพื่อภารกิจและหน้าที่ที่จะได้รับ และก็หวังในความร่วมมือและน้ำใจดีของบรรดาพระสงฆ์นักบวช และทุกๆ คนที่เคยส นับสนุนและช่วยเหลือผมมาตลอด ที่สุดผมก็ตอบว่า “ผมขอน้อมรับครับ” หลังจากตอบรับแล้ว ท่านก็ขอให้ผมเขียนหนังสือแสดงการย อมรับ ผมก็คิดว่าอยากจะขอไปเขียนที่บ้าน แต่ท่านก็นำปากกา กระดาษแผ่นหนึ่ง และจัดที่นั่งให้เขียนเลย พร้อมทั้งขอให้ผมเขียนโด ยมีคำว่า “ผมขอน้อมรับครับ” ด้วย ใช้เวลาประมาณ 10 นาที แล้วก็มอบให้ท่าน ท่านก็ได้อวยพรให้สำหรับชีวิตและหน้าที่พระสังฆราช ฯ ที่ต้องรับผิดชอบในอนาคต ผมก็ต้องเก็บเป็นความลับพูดอะไรไม่ได้เลย จนกว่าจะมีประกาศเป็นทางการ ซึ่งก็มารู้ว่าจะประกาศวัน ที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 18.00 น. ที่เชียงใหม่ เมื่อพระคุณเจ้าสังวาลย์ ประกาศให้คณะกรรมการบริหารเสร็จ ก็เริ่มมีคนโทรศัพท์เข้า มือถือมาร่วมยินดีทันที ถ้าใครมีตาทิพย์มองเห็นการใช้โทรศัพท์ช่วงนี้ คงจะโทรศัพท์ส่งข่าวนี้กับโยงใยยั้วเยี้ยเชื่อมต่อกันสนุกสนาน ที่ผิดๆ ก็คงมีบ้าง เมื่อตอบรับแล้ว รู้สึกอย่างไร? “ผมเองก็ไม่รู้สึกกลัวอะไร เพราะเชื่อว่าพระเป็นเจ้าทรงอยู่กับเรา และผมก็ตั้งใจจะ พยายามทำหน้าที่ในส่วนของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนอื่นๆ พระองค์ก็จะประทานให้ และที่ผ่านๆ มา ก็มีผู้ใหญ่ พระสงฆ์ นักบว ช ครูคำสอน ญาติพี่น้อง มีน้ำใจ หลายคนก็โทรศัพท์มาให้กำลังใจ และสัญญาว่าจะช่วยเหลือ” “มีอะไรขอให้บอก...!” “ส่วนหนึ่งผมเอง ก็ต้องสวดภาวนาให้มากขึ้น แสวงหาน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าให้มากขึ้น และตั้งใจจะพยายามทำหน้าที่ในส่วนของตนเองให้ดีที่สุด แ ละที่เหลือพระเป็นเจ้าจะทรงจัดการเอง พระเป็นเจ้าทรงเลือกใช้คนต่ำต้อย คนไม่เก่ง พระองค์มีวิธีการของพระองค์ มนุษย์เราเป็นเครื่องมือเท่านั้น”

ลูกศิษย์และใกล้ชิดพระคาร์ดินัล
------------------------------------------------------------------------------------
สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นโอกาสพิเศษของคุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ พระสังฆราชใหม่ของเราคือ ตลอดเวลาที่คุณพ่อทำงานด้านคำสอนนี้ ได้พั กอาศัยอยู่ที่สำนักพระสังฆราชฯ สำนักมิสซังฯ มีพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประมุขอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้รับประท านอาหารพร้อมกัน เป็นเวลานานเกือบ 22 ปี สิ่งที่คุณพ่อได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ได้เห็น ทั้งงาน ทั้งปัญหา ทั้งความสุข ความทุกข์ แบบอย่าง ของพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คงจะเป็นบทเรียนชีวิตและงานอภิบาลของพระสังฆราช นายชุมพาบาลที่ดี ที่เรียนจากบนโต๊ะอาหารซึ่งไม่เคยมีใครได้รับมาก่อน

วันที่ประกาศเรื่องสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 รับใบลาจากหน้าที่ของพระคุณเจ้าสังวาลย์ ศุระศรางค์ และแต่งตั้งคุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นพระสังฆราชเชียงใหม่ ประกาศให้ทราบเวลา 18.00 น. เวลาในประเทศไทยวันนั้น คุณพ่อทำอะไรบ้าง? อยู่ที่ไหน?
คุณพ่อยังต้องไปสอนที่วิทยาลัยแสงธรรม กว่าจะกลับถึงที่พัก สำนักมิสซังฯ ก็ค่ำมากแล้ว แต่ก็คิดว่ายังไงๆ ก็ต้องขอเข้าพบพระคุณเจ้ าภายในวันนี้ เพื่อขอพรและคำแนะนำจากพระคุณเจ้าก่อนใครๆ ทั้งหมด“ผมได้ไปขอพบพระคาร์ดินัลวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 4 ทุ่ม ไปเคาะประตูห้องวันนั้นเลย ขณะที่พระคุณเจ้ากำลังพักผ่อนดูโทรทัศน์อยู่ เพราะวันนั้นยังต้องสอนเรียนอยู่ กว่าจะกลับถึงบ้านก็เกือบสี่ ทุ่มแล้ว ตัดสินใจอยู่พักหนึ่งเหมือนกันได้เรียนให้พระคุณเจ้าทราบ ท่านก็ให้กำลังใจและแนะนำนิดหน่อย และบอกว่าน่าจะไปพบพระคุณเจ้าสังวาลย์ ก่อนและมาคุยกันอีกภายหลัง”

สมัยที่เป็นสามเณรเล็ก เรียนชั้น ป.5-ม.ศ.5 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นอธิการบ้านเณรเล็ก และ ค.ศ.1973 พระคุณเจ้ าได้รับอภิเษกเป็นพระอัครสังฆราชฯ แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์ก็ได้รับหน้าที่ด้านคำสอนและพักอยู่กับพระ คาร์ดินัล พักภายใต้หลังคาเดียวกันคือสำนักมิสซังฯ กรุงเทพฯ และรับประทานอาหารโต๊ะเดียวกับพระคุณเจ้าเวลาทานอาหาร ปกติพร ะคุณเจ้าจะตรงเวลาและเวลาทานอาหารจะใช้เวลานาน จะมีเรื่องคุยที่มีประโยชน์เสมอ เป็นเวลาที่พระคุณเจ้าจะพูดคุยกันพร้อมหน้ าและรับฟังเรื่องราวต่างๆ และหลายครั้ง ท่านก็จะให้คำแนะนำ แน่นอนครับ หลายสิ่งหลายอย่างได้ซึมซับโดยที่บางอย่างคงไม่รู้จะพูดอย่างไร

พระคุณเจ้าเป็นผู้รอบรู้ทุกเรื่อง ทั้งเหตุการณ์ และบุคคลมากมาย ท่านมีความจำดี ทั้งด้านการเมือง สังคม ศาสนา ประวัติศาสตร์ หลา ยอย่าง พระคุณเจ้าชอบอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ข่าวสารคดี แม้แต่ละคร ท่านติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา เรื่องการศึกษา กฎหมาย รวมทั้งเรื่องกีฬา พระคุณเจ้าจะรู้อย่างละเอียด

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ พระคุณเจ้าสามารถจดจำชื่อคนได้มาก ทั้งบุคคลทางบ้านเมือง และบุคคลในพระศาสนจักร ท่านจำและรู้จักรุ่นพ่ อแม่ รุ่นปู่ย่าตายาย ท่านจำเก่งมาก และเชื่อมโยงญาติพี่น้องได้ว่าใครเป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำอะไร ท่านจำได้อย่างเหลือเชื่อ อีกเรื่องห นึ่งที่ผมว่าสำคัญมาก พระคุณเจ้ามีความรอบคอบ และระมัดระวังคำพูด แม้แต่บนโต๊ะอาหาร ท่านจะไม่พูดถึงผู้อื่นในทางไม่ดีเลย แม้ บางคนอาจจะพูดขึ้นมา พระคุณเจ้าก็มีมุมมองอื่น “คงไม่ใช่มั้ง? น่าจะเป็นอย่างนี้มากกว่า” ท่านมีปฏิภาณไหวพริบในการพูดคุยกับค น กับผู้คนที่มาพบท่านตั้งแต่ผู้หลักผู้ใหญ่ และแม้แต่เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กช่วยมิสซา เยาวชน ท่านก็พูดคุยได้ ด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิข องพระคุณเจ้า ทำให้ท่านก็มีความรอบรู้ในเรื่องราวต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน และลึกซึ้ง ผมชอบฟังสิ่งที่พระคุณเจ้าเล่า ได้ประโยช น์มาก หลายครั้งผมไม่ได้อ่านหนังสือมากนัก แต่ก็ได้รับรู้เรื่องราวต่างๆ จากที่พระคุณเจ้าได้พูดเล่าให้ฟัง ผมชอบฟังมากกว่า และได้ ซึมซับจากพระคุณเจ้า สำหรับพระคาร์ดินัล ท่านยิ่งใหญ่และเก่งมาก ผมเลียนแบบได้เพียงแค่บางส่วนก็ดีมากแล้ว โชคดีที่ผมได้มีโอกาสใกล้ชิดกับพระคุณเจ้า เป็นลูกศิษย์ของท่าน ผมได้เห็นแบบอย่างที่ดีจากพระคุณเจ้ามากมาย

พระคุณเจ้าสังวาลย์ อาจารย์และแบบอย่าง
------------------------------------------------------------------------------------
ผมเคยเป็นลูกศิษย์ของพระคุณเจ้าสังวาลย์ สมัยอยู่บ้านเณรเล็กนักบุญยอแซฟ สามพราน หลังจากได้ประกาศฯ แล้ว พระคุณเจ้าโทรศั พท์มาแสดงความยินดีกับผม ต่อมาผมได้ขอนัดมาพบพระคุณเจ้าที่เชียงใหม่ ท่านก็แสดงความยินดี ได้ให้คำแนะนำและข้อคิดเกี่ยว กับความรับผิดชอบและสิ่งที่ท่านคิดค้างอยู่ ผมทราบว่าท่านเป็นพรพสังฆราชมา 22 ปีแล้ว และในสังฆมณฑลมีพระสงฆ์ทั้งหมด 83 องค์ มีวัดเล็กวัดน้อยที่ท่านสร้างใหม่ร้อยๆ กว่าแห่งท่านบอกว่ามีอะไรก็โทรศัพท์พูดคุยกันได้ เสร็จงานอภิเษกแล้วท่านจะขอตัวลงไป พักที่บ้านพักที่บ้านผู้หว่าน สามพราน นครปฐม เพื่อจะให้ผมทำงานได้เต็มที่ เพราะสังฆมณฑลเชียงใหม่มีคณะกรรมการบริหาร มีที่ ปรึกษา มีคณะนักบวชหลายคณะ ที่เข้มแข็ง พร้อมจะร่วมมือกับพระสังฆราชอยู่แล้ว ไม่ต้องกลัว!” ผมก็อยากให้ท่านอยู่ช่วยเป็น “พี่เลี้ ยง” เป็นที่ปรึกษาสักระยะหนึ่ง เพราะถือว่าผมยังใหม่ เป็น “พระสังฆราชอนุบาล” ท่านบอกว่าไม่ต้องกังวล ค่อยๆ เรียนรู้กันไป สมัยที่ พระคุณเจ้าลงมาจากเชียงใหม่ พักที่สำนักมิสซังฯ กรุงเทพฯ ในบ้านเดียวกัน ผมประทับใจที่ได้เห็นพระคุณเจ้าสวดภาวนา เฝ้าศีลใน วัดน้อยที่สำนักมิสซังฯ บ่อยๆ หลายครั้งท่านจะนั่งสวดอยู่ที่พื้น หรือที่ม้านั่งอยู่ดึกๆ และตอนเช้า ท่านจะตื่นเช้ากว่าคนอื่น และจะเข้าวั ดสวดก่อนเสมอ ถวายมิสซาพร้อมกันเวลาหกโมงครึ่งตอนเช้าๆ เห็นพระคุณเจ้าสวดสายประคำอยู่เสมอ และพระคุณเจ้าเคยเล่าให้ฟังว่าท่านสวดสายประคำเสมอ ทำให้ท่านมีกำลังเผชิญกับความลำบากต่างๆ ได้ตลอดมา พระคุณเจ้าเป็นแบบอย่างให้ผม ทำให้ผมรู้สึ กว่าต้องสวดมากขึ้น “รู้สึกว่าตนเองอ่อนแอ บกพร่องในเรื่องสวดภาวนาอยู่เหมือนกัน ก็ตั้งใจว่าจะต้องสวดภาวนาให้ดีขึ้น”

พระคุณเจ้าสังวาลย์บอกว่าจะมอบไม้เท้าให้ ซึ่งเป็นของที่มีความหมายมาก รวมทั้งแหวนและสร้อยคอของท่านซึ่งได้รับจากพระคุณเจ้ ายวง นิตโย ผมรู้สึกซึ้งใจและเป็นของที่มีความหมาย มีคุณค่ามาก ตอนผมบวชใหม่ๆ ก็ได้อยู่ใกล้ชิดกับพระคุณเจ้ายวงอยู่ 4 ปี ตอน นั้นท่านพักอยู่ที่บ้านเณรเล็ก ห้องพักธรรมดาๆ มีหนังสือมาก ได้เห็นท่านสวดภาวนา และมีชีวิตที่เรียบง่าย สายตาท่านไม่ค่อยดี แต่ท่ านก็ศึกษาอ่านหนังสือตลอดเวลาพระคุณเจ้ายวง นิตโย เป็นผู้ใหญ่ที่วางตัวน่าเคารพรักมาก!ดังนั้น   แหวนและสร้อยคอของท่าน นับว่ามีความหมายและมีคุณค่ามากสำหรับผมด้วย !

พี่ใหญ่-ลูกชายคนหัวปี-พ่อลุง
------------------------------------------------------------------------------------
มาถึงวันนี้ ทั้งพ่อและแม่จากไปแล้ว ภาระความรับผิดชอบน้องๆ กลับมาอยู่ที่พี่ชายคนโต น้องๆ และหลานๆพ่อหวลเพิ่งจากไปยังไม่ค รบหนึ่งปีเลยในครอบครัว 1 คุณพ่อวีระ 2 คุณวิชัย 3 คุณพ่อเดชา 4 คุณวิภา 5 คุณลาวัลย์ 6 คุณวิไล 7 คุณชัยรัตน์ 8 คุณพัชรา9 คุณส ามารถ 10 คุณเมธี 11 คุณพินิจ 12 คุณพิสมัยแต่งงานมีครอบครัวกันไปแล้ว ยกเว้นลูกสาวคนโต และคนที่เป็นพระสงฆ์เมื่อช่วงปีให ม่ที่ผ่านมาเกิดมีความรู้สึกมาก คือสำนึกถึงหน้าที่ในฐานะพี่ใหญ่ ได้กลับไปรวมน้องๆ ทั้งน้องเขย น้องสะใภ้ และหลานๆ เพราะพ่อหว ลจากไปวันที่ 29 กรกฎาคม กลับไปเยี่ยมน้องๆ หลานๆ มากขึ้น และในครอบครัวก็มีธรรมเนียมที่นัดพบกันเป็นประจำทุกวันเสาร์ ส่ว นใหญ่ถ้าไม่ติดอะไรจริงๆ ก็จะมาพบกัน น้องๆ เขาก็รักกันดี แม้บางคนอาจจะยังตั้งหลักไม่ได้ ยังไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต ใจหนึ่ งก็คิดว่าถ้าครอบครัวเราไม่ค่อยศรัทธา เราจะไปอภิบาลหรือพูดกับคนอื่นก็คงยาก แต่น้องๆ ส่วนใหญ่เป็นคนดี เรียบร้อย มีความศรัทธาพอสมควร

สมัยก่อนผมจะเป็นคนกล่าวคำนับพ่อหวล ตอนนี้ไม่มีพ่อแล้ว แต่ก็ยังดีที่มี “พ่อเดชา” คอยเป็นคนดูแล ประสานงานกับน้องๆ หลานๆ อยู่ ก็คิดว่าช่วยแบ่งเบาภาระได้มากตอนผมได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช ผมไม่ได้บอกกับน้องๆ เลย แต่พ่อเดชาเป็นคนติดต่อกับน้อ งๆพ่อแม่ของเราไม่ได้ร่ำรวย ไม่ได้เรียนสูง จบแค่ชั้น ป.4 เป็นเพียงแม่ค้า พ่อขับรถรับจ้าง พอมีพอกินเท่านั้น มรดกที่ท่านมอบให้เร าลูกๆ ก็คือเรื่องการศึกษา พยายามให้เรียนสูงๆ เท่าที่จะเรียนได้ เรื่องความศรัทธา และยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่พวกเราเรื่องไปวัด เรื่องทำมาหากิน เรื่องช่วยสังคม ผมเป็นพี่คนโต แทนที่จะดูแลน้องๆ แต่มาบวชเป็นพระสงฆ์ พระเจ้าก็ตอบแทน ดูแล หลายคนพอรู้ก็มีน้ำใจและเมตตาต่อน้องๆ เสมอมาผมคิดว่าเราพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด สิ่งอื่นๆ พระเป็นเจ้าจะทรงแถมให้เอง

ชีวิตสงฆ์ 28 ปี ไม่เคยมีทุกข์
------------------------------------------------------------------------------------
ตั้งแต่บวชเป็นพระสงฆ์ รู้สึกมีความสุขกับงานที่ได้ทำ ไม่รู้สึกมีความทุกข์ แม้ต้องนอนป่วยก็ตาม ผมอยู่ตามวัดไม่กี่ปี  ครั้งแรกอยู่ที่บ้ านเณรยอแซฟกับคุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชยไปเรียนต่อที่กรุงโรม กลับมารับผิดชอบงานคำสอน และเป็นอาจารย์สอนที่แสงธรรม งานทุกอย่างก็เป็นไปด้วยดี ผมไม่รู้สึกมีความทุกข์อะไร มีผู้คนช่วยเหลือ สนับสนุน ทั้งผู้ใหญ่ “ผมพยายามทำสิ่งที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด!”

ครั้งแรกที่เริ่มเขียนหนังสือ เมื่อครั้งไปเรียนต่อที่กรุงโรม ได้เขียนเรื่องที่ได้รู้ ได้เห็น ชีวิตผู้คน พระศาสนจักรสากล ซึ่งนับว่าเป็นโอกา สดี เป็นพระพรอย่างหนึ่งที่ผมได้รับ ก็เริ่มต้นเขียนมาลง “อุดมสาร” จากวันนั้นมาถึงวันนี้กว่า 22 ปีแล้วเมื่อมาทำงานคำสอน ก็ได้เขีย น “คำสอน 5 นาที” ก็มีประโยชน์ ย้อนหลังไปตอนบวชใหม่ๆ และมาทำงานด้านคำสอน เรามีหนังสือคาทอลิกน้อย เพียงไม่กี่เล่ม จึงตั้ งใจว่าจะต้องพยายามหาสื่อต่างๆ พิมพ์หนังสือเก่า แปลหนังสือ และวีดีโอ ซีดี ฯลฯ จากต่างประเทศ และในประเทศไทยเราให้มากขึ้น มาถึงวันนี้ก็เห็นว่ามีหนังสือมากจากการพิมพ์คาทอลิกฯ จากคณะนักบวชและสังฆมณฑลต่างๆ ผมคิดว่าถ้าพระสงฆ์เราซึ่งได้เรียนกั นมามากหลายปี ถ้าสนใจสักนิดหน่อยก็น่าจะเขียนได้ และจะเป็นประโยชน์ต่อคริสตัง ต่อพระศาสนจักร และจะมีรุ่นต่อๆ ไป ต่อยอดไ ปเรื่อยๆ ผมได้เห็นแบบอย่างของพระคุณเจ้ายวง นิตโย พระคุณเจ้ารัตน์ บำรุงตระกูล ท่านได้เขียนและแปลหนังสือไว้หลายเล่ม และหนังสือคำสอนของ คุณพ่อชัชวาลย์ แสงแก้ว ก็เป็นหนังสือที่ใช้ได้ดี

ตอนนี้คิดว่าเราต้องพยายามส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือศาสนาให้มากขึ้นโดยเฉพาะพระคัมภีร์ ประวัตินักบุญ ฯลฯ ผมรู้สึกละอายเหมือ นกันที่ฝรั่งมาเขียนหนังสือไทย เรื่องของคนไทย ให้คนไทยอ่าน เมื่อตอนเป็นจิตตาธิการที่เซนต์โยเซฟคอนเวนต์ รู้สึกว่าได้ประโยชน์ มากกับชีวิตสงฆ์ ได้รู้จักวางตัวให้เหมาะสมกับนักบวชหญิง กับนักเรียนหญิง ผมเรียนมากับนักเรียนชายตลอด ก็ต้องปรับตัวและเรียน รู้ ได้อยู่ที่นี่ตลอด 8 ปี เมื่อดูแลศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรม หรือศูนย์ซีซี. เป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยแสงธรรม ก็ตั้งใจทำหน้าที่รับผิด ชอบเต็มที่ มีคนช่วยกัน ผมไม่รู้สึกลำบากอะไร สนุกมากกว่า ได้เรียนรู้งาน รู้จักคน ฯลฯ มากขึ้น ในเวลาที่ยากลำบากที่มีความทุกข์บ้ าง ก็เป็นโอกาสให้เราเติบโตในความคิด เข้มแข็งขึ้น เป็นการหล่อหลอมคนเราให้เข้มแข็งขึ้น ได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างมากกว่าเ วลาที่เราสบายดีแต่ละช่วงจังหวะ หน้าที่การงาน ก็เป็นเหมือนกับพระเจ้าทรงจัดเตรียมให้ผมจนมาถึงวันนี้ เพราะฉะนั้นผมก็มั่นใจว่าพระทรงเลือกและได้จัดเตรียมให้ผมมาตลอด “จริงๆ แล้ว ผมไม่รู้สึกว่ามีทุกข์!”

รู้ว่าเขาหลอก ก็ยอมให้เขาหลอก
------------------------------------------------------------------------------------

สมัยเป็นเณร เป็นพระสงฆ์ใหม่ๆ อาจารย์ และรุ่นพี่ๆ ก็คอยบอกคอยเตือนให้ระวัง บางทีเราก็ไม่รู้ว่าเขายากจนจริงหรือไม่ เห็นเขาม าขอความช่วยเหลือก็รู้สึกสงสาร ผมคิดอย่างในพระวรสารที่ว่า ถ้าพระเยซูมาหาเราในสภาพที่ยากจนอย่างนี้ เราจะไม่ช่วยพระองค์หรือ เพราะในพระคัมภีร์ก็สอนเราอย่างนี้ และในพันธกิจทิศทางงานอภิบาลฯ ก็มีพูดถึง “ผู้ด้อยโอกาสโดยเฉพาะผู้ยากไร้”
“ความจริงผมว่าไม่มีใครอยากถูกหลอก ไม่มีใครอยากเสียเงินหรอก!”

คุณพ่อองค์หนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับคนยากจน ได้เคยมาแบ่งปันให้พระสงฆ์ในโอกาสเข้าเงียบในเทศกาลมหาพรตว่า “โปรดจำไว้ว่า บา งทีมีเด็กๆ หรือคนยากจน มาขอความช่วยเหลือจากเรา ทั้งที่เราก็รู้ว่าเขาโกหก เขาหลอก บางทีเมื่อช่วยแล้ว เขาก็ยังมาหาเราอีก นั่ นก็เพราะเขาไม่มีใครเป็นที่พึ่ง เขายังเห็นเราเป็นที่พึ่งได้ ก็น่าจะช่วยเหลือเขาเท่าที่ช่วยได้ แม้จะเล็กๆ น้อยๆ” คนที่ไม่มีครอบครัว พ่อแม่ตาย กำพร้า เราต้องพยายามทำให้เขารู้สึกว่า พระศาสนจักรเป็นครอบครัวของเขา  ต้องช่วยเหลือ ดูแลพวกเขาบางคนมาขอยื ม รู้ภายหลังว่าเขาหลอก ก็ยังมาอีก ก็อยากให้โอกาสเขาอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาก็ใช้วิธีให้คนอื่นได้ทราบด้วย และการช่วยเหลือก็มีระบบมากขึ้น เจ้าหน้าที่บางคนก็เข้ามาคอยช่วยแนะนำป้องกันให้บ้าง

ความซื่อและใจดีที่มีอยู่ในจิตใจ เมื่อได้ยินใครเล่าว่าตนตกทุกข์ได้ยากให้ฟัง ทั้งที่เชื่อว่าส่วนใหญ่โกหกและหลอกลวง แต่ทุกคนที่มาหามักจะไม่เคยกลับไปมือเปล่า ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เรื่องความใจดีนี้เป็นที่รับรู้ทั่วไป
ทั้งเพื่อน ทั้งพนักงาน ถ้าถูกหลอก ก็คงได้ไม่กี่ครั้ง! แต่เท่าที่ผมได้เห็น ไม่รู้กี่ครั้งแล้ว!

ญาติที่เป็นพระสงฆ์นักบวช
------------------------------------------------------------------------------------
ผมมีญาติทางพ่อ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อเศียร โชติพงษ์ (มรณะ 25 ตุลาคม ค.ศ.1998) คุณพ่อห้อง สุเทพ
นามวงศ์ (มรณะ 24 มกราคม ค.ศ.1998) คุณพ่อสุรินทร์ ประสมผล คุณพ่อบุญส่ง หงส์ทอง และน้องชาย คุณพ่อเดชา อาภรณ์รัตน์ ซึ่ง สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงบวชให้เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ.1984 และซิสเตอร์ศรีเวียง อาภรณ์รัตน์ คณะผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระนางมารีย์
ในบรรดาพระสงฆ์ที่ไม่ใช่ญาติ แต่มีชื่อเหมือนกันถึง 3 คน คือ คุณพ่อวีระ เจนผาสุก อายุ 85 ปี คณะซาเลเซียน คุณพ่อวีระ ผังรักษ์ สังฆมณฑลจันทบุรี อายุ 68 ปี อีกด้วย

คติพจน์ คือ ตัวบ่งชี้

เมื่อเป็นพระสังฆราช ผมคิดถึงว่าช่วงนี้เป็นปีพระวาจา ปีนักบุญเปาโลซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เรา ก็คิดถึงคติพจน์ที่เกี่ยวกับการประกาศข่าวดี ผมดูจากนักบุญเปาโลที่พูดไว้ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 บทที่9

ข้อที่ 22 ว่า
“ข้าพเจ้าทำทุกอย่างเพราะเห็นแก่ข่าวดี” ภาษาอังกฤษ I do it all for the sake of the Gospel ภาษา ละตินว่า “Omnia Facio Propter  Evangelium” ซึ่งได้ปรึกษากับคุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส ท่านก็เห็นว่าดีและค้นภาษาละตินให้

การทำงานด้านคำสอนผู้ใหญ่ที่นี่ เมื่อไปอยู่ทางเชียงใหม่ก็มีงานสอนคำสอน งานประกาศข่าวดีกับผู้ใหญ่ กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และ ผู้ใหญ่อีกมากมาย

สำหรับคติพจน์วันบวชเป็นพระสงฆ์ สมัยนั้นชอบคำประพันธ์ที่ คุณพ่อประยูร พงษ์พิษณุ์ เพื่อนรุ่นพี่แต่งไว้

ผมอ่านแล้วชอบมาก ก็เลยขอเอาคำนี้มาเป็นคติพจน์วันบวช เพราะคติพจน์ก็เป็นเครื่องบ่งบอกความตั้งใจ บ่งบอกนิสัยของคนๆ นั้น
ผมก็เลยเลือกข้อความนี้ซึ่งผมชอบคำว่า “รัก รับใช้”

ผมก็พยายามทำตามคติพจน์ในวันที่บวชซึ่งผมเลือกไว้
“เกิดมาครั้ง   หวังทำดี  ให้ที่สุด
เพื่อมนุษย์  ทั้งผอง  ครองหรรษา
ได้รู้จัก  รักรับใช้  เจ้าชีวา
อีกพร้อมหน้า   สร้างสวรรค์   ณ แผ่นดิน”

ชีวิตที่ผ่านมาเป็นขั้นตอนและเป็นบันไดที่พระเป็นเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ ผู้คนมากมายได้ช่วยกันหล่อหลอมและส่งเสริมประสบการณ์ ส ำหรับวันนี้และอนาคต เพื่อหน้าที่ให้คุณพ่อเป็นนายชุมพาบาลที่ดี “รักและรับใช้” ในตำแหน่งพระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลเชียงใหม่
“พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์”
............................