สังฆมณฑลเชียงใหม่สังฆมณฑลเชียงใหม่

โดย...คุณพ่อณรงค์ชัย หมั่นศึกษา

ประกาศเป็นมิสซังเชียงใหม่  พระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์ (ค.ศ. 1959-1975)

ประมุของค์แรก
ต่อมาวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1959 กรุงโรมได้ประกาศแยกมิสซังเชียงใหม่ออกจากมิสซังกรุงเทพฯ โดยมีพระสังฆราชลูเซีย น ลากอสต์ เป็นประมุของค์แรก ซึ่งในวันนั้นพระคุณเจ้าลากอสต์ คุณพ่อเซกีน็อต คุณพ่อเปเด บิโด คุณพ่อโฟญีนี และคุณพ่อมีร์โก กำลังอยู่ที่หมู่บ้านแม่โถเพื่อฉลองคริสต์มาสและเสก วัดด้วยกัน ท่ามกลางสัตบุรุษเป็นจำนวนมาก และในเวลานั้น คุณพ่อมีรันเด มหาธิการของคณะเบธารามในขณะนั้นอยู่ที่เชียงใหม่ จึงเดินทางไปบอกข่าวดีนี้แก่พระคุณเจ้าลากอสต์ ทราบ
ต่อมา วันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1960 พระสมณทูตกอร์ดอน ได้ประกาศแบ่งมิสซังเชียงใหม่ออกจากกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการ ในวันสมโภชพระหฤทัย นับเป็นเกียรติอย่างสูงของคณะมิสซังต่างประเทศที่ได้บุกเบิกงานแพร่ธรรมตลอดมา

เชิญคณะเยสุอิตมาทำงานเชียงใหม่
วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1961 มีพิธีวางศิลาฤกษ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเยสุอิตและคณะอุร์สุลินรับที่จะเปิดศูนย์นิสิต คุณพ่ออังเดร โกมาน เป็นผู้ริเริ่มศูนย์นี้ เรียกว่าสวนเจ็ดริน

 เชิญซิสเตอร์มาทำงานที่เชียงใหม่
คุณพ่อเซกีน็อตไปพักที่ประเทศฝรั่งเศส ได้ติดต่อขอคณะซิสเตอร์ซาเลเซียนแห่งพระนางมารีย์นิรมลมาแพร่ธรรมในมิสซังเชี ยงใหม่ คณะก็รับและส่งซิสเตอร์มา 3 ท่านแรกมาปลายปี ค.ศ. 1959 คณะนี้ได้เปิดบ้านแห่งหนึ่งในตัวเมืองเชียงใหม่เอง สร้างบ้านเสร็จปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 1962 ซื่อ “บ้านมารีนา” ต่อมา คณะมีงานมิสซังมากเกินไป ไม่มีบุคลากรเพียงพอ จึงขอ ถอนตัวออก พระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ได้ติดต่อคณะซิสเตอร์แพร่ธรรมแห่งพระหฤทัยพระเยซูเจ้าจากเมืองซาน เซบาสเตียน ในประเทศสเปน คณะฯ ได้ส่งซิสเตอร์ชุดแรก 7 ท่าน มาถึงเชียงใหม่ก่อนคริสต์มาสปี ค.ศ. 1965 เล็กน้อย คณะนี้ทำงานแ พร่ธรรมทั้งที่แม่ปอนและบ้านมารีนาที่เชียงใหม่ก่อน ได้ผลดีเป็นอย่างมาก

สร้างสำนักมิสซังเชียงใหม่
พระคุณเจ้าลากอสต์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งที่ถนนสามล้าน และได้ย้ายมาอยู่ที่ใหม่นี้วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1965 และใช้จนถึงปี ค.ศ. 1996 พระคุณเจ้าสังวาลย์ ศุระศรางค์ ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ถนนเจริญประเทศ ซอย 12 จนถึงทุกวันนี้
วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1966 ซิสเตอร์คณะมารีอาบัมบีนา 3 ท่าน มาจากประเทศพม่า ต่อไปจะเพิ่มจำนวนถึง 7 ท่าน ทำงานได้ผลดีในระหว่างชาวเขาและกลุ่มคาทอลิกที่แม่จัน แม่สาย และเชียงคำ เป็นต้น

สร้างอาสนวิหารพระหฤทัย
พระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ตกลงสร้างอาสนวิหารพระหฤทัยใหม่ มีพิธีวางศิลาฤกษ์วันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1964 และมีพิธีเสกวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965

เชียงใหม่ได้รับยกฐานะเป็นสังฆมณฑล
ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1966 ได้มีการสถาปนาเขตมิสซังเชียงใหม่เป็นเขตมิสซังอย่างเป็นทางการ โดยพระสมณทูต เ ปโดรนี เป็นประธานในพิธี พระสังฆราชลูเซียน  ลากอสต์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขอีกสมัยหนึ่ง  ปี  ค.ศ.  1968  มีการภาว นาเพื่อเอกภาพระหว่างคาทอลิกกับพี่น้องโปรเตสแตนต์เป็นครั้งแรก และปี ค.ศ. 1969 คุณพ่อมีร์โก  ตรุสนัก ได้รับตำแหน่งเ จ้าอาวาสวัดพระหฤทัยเป็นองค์ที่ 6 โดยมี คุณพ่อแปร์ลินี เป็นผู้ช่วย  มีการก่อตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน   กลุ่มเยาวชน กลุ่มนักขับ ร้อง และกลุ่มวินเซนเดอปอล ปี ค.ศ. 1974 พระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งโดยได้รับอนุญาตจากสมเด็จพระสันตะปาปาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 ในวันที่  5 มกราคม ค.ศ. 1975  ได้มีสามเณรไทยคนแรกของมิสซังเชีย งใหม่ที่ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ คือ คุณพ่อนิพจน์ เทียนวิหาร

 เปิดโรงเรียนที่แพร่
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1966 คุณพ่อการ์ราโร ได้เปิดโรงเรียนระดับชั้นประถม ที่ จ.แพร่ ตั้งชื่อว่า โรงเรียนเทพพิทักษ์วิทยา

สร้างวัดที่ลำปาง
คุณพ่อปูเชอสร้างวัดที่ลำปางเสร็จ มีพิธีเสกวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1967  ชื่อวัดแม่พระแห่งลูร์ด

เริ่มงานศาสนสัมพันธ์
มกราคม ค.ศ. 1968 เริ่มมีการภาวนาเพื่อเอกภาพร่วมกันระหว่างโปรเตสแตนต์กับคาทอลิก ปีหนึ่งที่คริสตจักรที่ 1 อีกปีหนึ่งที่อาสนวิหารพระหฤทัย เป็นประเพณีที่ถือกันมาจนทุกวันนี้

วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล เชียงคำ
ที่เชียงคำ จำนวนกลุ่มคริตชนเพิ่มขึ้น สัตบุรุษจึงซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง แล้วสร้างโบสถ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1971

โอนเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นกับนครสวรรค์
พระคุณเจ้าลากอสต์เห็นว่ามิสซังเชียงใหม่ ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน นับว่ามากแล้ว จึงขอโอนจังหวัดอุตรดิตถ์ไปขึ้นกับมิสซังนครสวรรค์ การโอนนี้สำเร็จเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม ค. ศ. 1970

เปิดโรงเรียนสันติวิทยา
คุณพ่ออูร์บานี เปิดโรงเรียนที่เชียงราย ชื่อโรงเรียนสันติวิทยา ให้โอกาสแก่เด็กชาวเขาและเด็กยากขนที่จะเรียน ส่วนที่เมืองพ านนั้น คุณพ่อการ์โล ลุสซี ได้สร้างบ้านพระสงฆ์และปรับปรุงวัดใหม่

มอบโรงเรียนอรุโณทัยให้คณะพระหฤทัยฯ
พระคุณเจ้าลากอสต์มอบโรงเรียนอรุโณทัย ลำปาง ให้แก่คณะ
พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ

คณะปีเม มาช่วยงานสังฆมณฑลเชียงใหม่
คณะปีเม 3 องค์แรก เดินเดินทางมาถึงวันที่ 18 ธันวาคม
ค.ศ. 1972

พระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ลาออกจากตำแหน่ง
ปี ค.ศ. 1974 พระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งโดยได้รับอนุญาตจากสมเด็จพระสันตะปาปาเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975

พระสังฆราชโรเบิร์ต รัตน์ บำรุงตระกูล   (ค.ศ. 1975-1987)
ประมุของค์ที่สอง

วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1975  พระสังฆราชโรเบิร์ต รัตน์ บำรุงตระกูล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแ หน่งพระสังฆราชสังฆมณฑลราชบุรี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังเชียงใหม่ โดยมีพระสมณทูตโมเรตตี  เป็นประธานในพิธี  วันที่ 14 พฤษภาคม  ค.ศ. 1977 พระสังฆราช โ รเบิร์ต รัตน์  บำรุงตระกูล ได้เชิญพระสงฆ์  2 องค์ และซิสเตอร์  2 ท่าน จากมิสซังราชบุรีขึ้นมาช่วยงานพระศาสนจักรทางภาคเหนือโดยหนึ่งในนั้นคือ คุณพ่อวิโรจน์   อินทรสุขสันต์ เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส อาสนวิหารพระหฤทัยเชียงใหม่ เป็นองค์ที่ 7








พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์  (ค.ศ. 1987-2009)
ประมุของค์ที่สาม
หลังจากทำงานแพร่ธรรมกว่า 10 ปี พระคุณเจ้ารัตน์ บำรุงตระกูล ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง พระสมณทูตประกาศเป็นทางการค่ำวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1986 ว่าผู้สืบตำแหน่งประมุขมิ สซังเชียงใหม่ คือ พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์     ศุระศรางค์ อุปสังฆราช อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

พระคุณเจ้าสังวาลย์ ศุระศรางค์ รับพิธีอภิเษกวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1987 ที่กรุงโรม และม ารับตำแหน่งที่อาสนวิหารพระหฤทัย เชียงใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม  ค.ศ.  1987 มีคติพจน์เป็นภาษาละตินว่า "SIC NOS AMANTEM"

มีการพัฒนาสังฆมณฑลเชียงใหม่เป็นอย่างมาก ทั้งด้านงานอภิบาล งานบูรณะอาคารสถาน ที่ รวมทั้งการสร้างวัดใหม่ทั้งในเขตพื้นราบ และบนดอยเป็นจำนวนมากกว่า 200 วัด ซึ่งงบประมาณการสร้างวัดเกือบทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากสัตบุรุษในเขตอัครสังฆมณฑลกรุ งเทพฯ ที่มีจิตศรัทธาต่อการทำงานอภิบาลของพระสังฆราชตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งอุปสังฆราชของพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขณะเดียวกันพร ะคุณเจ้ายังมีวิสัยทัศน์ในการจัดสร้างศูนย์สังฆมณฑลเชียงใหม่ ที่ถนนเจริญประเทศ   ซอย 12 บริเวณบ้านพักคณะเบธาราม บนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 19 ตารางวา เพื่อเป็นสำนักงานของสังฆมณฑลในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นที่พักสำหรับพระสงฆ์นักบวช และกลุ่มองค์กรฆราวาสใช้สำหรับประชุมสัมมนา และเป็นศูนย์รวมของหน่วยงานต่างๆ ของสังฆมณฑลอยู่ในที่เดียวกันด้วย ในช่ วงที่พระคุณเจ้าเข้ามาปกครองสังฆมณฑลเชียงใหม่ ได้สนับสนุนให้มีการปรับปรุงอาสนวิหารพระหฤทัยหลังที่ 3 เพื่อเป็นการสมโภชปี “ปีติมหาการุญ” ด้านบุคลากรนั้นท่านได้สนับสนุนให้บุคลากรโดยเฉพาะพระสงฆ์ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อ แล ะเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งได้เชิญคณะนักบวชทั้งชายหญิงเข้ามาร่วมงานในสังฆมณฑลเชียงใหม่หลายคณะ

ปัจจุบันสังฆมณฑลเชียงใหม่มีคาทอลิกจำนวน 51,462 คน มีคริสตังสำรอง จำนวน 21,115คน ซึ่งเป็นสังฆมณฑลเดียวในประเทศไทยที่มีสถิติผู้ใหญ่ที่รับศีลล้างบาปเข้ามาเป็นคาทอลิกและเป็นคริสตังสำรองจำนวนมากที่สุดก็ว่าได้