สังฆมณฑลเชียงใหม่สังฆมณฑลเชียงใหม่

โดย...คุณพ่อณรงค์ชัย หมั่นศึกษา

ยุคเริ่มงานแพร่ธรรมในเชียงใหม่
หลังจากการเผยแผ่ศาสนาคาทอลิกในภาคกลางของประเทศไทยประสบความสำเร็จ และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเขตมิสซังแล้ว ภารกิจของพระเจ้าในเขตภาคเหนือได้เริ่ม ขึ้นราวปี ค.ศ. 1843 โดย พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์  (Pallegoix) มอบหมายให้คุณพ่อกรังยังค์    (Granjean)  และคุณพ่อวากัล  (Vachal) คณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่ งกรุงปารีส (M.E.P.) เดินทางมาเชียงใหม่เป็นครั้งแรกและออกเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1843 ท่านทั้งสองต้องเดินทางรอนแรมตามป่าเข าเป็นเวลานานถึง 45 วัน จึงมาถึงเชียงใหม่ในบ่ายวันที่ 18  มกราคม ค.ศ. 1844  ในระยะแรกคุณพ่อทั้งสองได้รับการต้อนรับจากเจ้าเมืองเป็นอย่างดี แต่หลังจากนั้นไม่นา นเจ้าเมืองเชียงใหม่ก็เริ่มมีท่าทีที่เปลี่ยนไป จึงทำให้คุณพ่อทั้ง 2 องค์ ต้องล้มเลิกภารกิจงานแพร่ธรรมในภาคเหนือทั้งหมด และเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1844

รื้อฟื้นงานแพร่ธรรมในภาคเหนือ

ในปี ค.ศ. 1913 พระสังฆราชเรอเน  แปร์รอส (Rene Perros) ได้รื้อฟื้นโครงการจั ดตั้งศูนย์แพร่ธรรมทางภาคเหนืออีกครั้งหนึ่ง แต่กว่าจะหาผู้เหมาะสมกับงานในครั้งนี้ได้ก็ต้องใช้เวลาถึง 1 ปี ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1914 พระสังฆราชได้มอบหมายงานใ ห้คุณพ่อฟูยัง (Fouillat) และคุณพ่อบัวชาด (Broizat) ซึ่งเป็นพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสเดินทางไปสำรวจหาข้อมูลและดูสถานการณ์การแพร่ธรรมในเชียงใหม่อีกครั้ง หลังจากนั้ นไม่นานคุณพ่อทั้ง 2 องค์ ได้เขียนรายงานพระสังฆราชว่าสถานการณ์ในเชียงใหม่ดีขึ้นมาก มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยในการจัดตั้งศูนย์แพร่ธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านทั้งสองได้ ซื้อที่ดินสองแปลงติดริมแม่น้ำปิงที่สวยงาม เป็นเงินจำนวนแปดพันบาท ที่ดินตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 6 เฮกตาร์ (60,000 ตารางเมตร, 37.5 ไร่) 

ภารกิจของท่านดูเหมือนจะราบรื่น ทว่าพระเป็นเจ้าก็ทรงทดลองใจภารกิจการแพร่ธรรมในภาคเหนือนี้อีกครั้ง สงครามโลกครั้งที่ 1 ไ ด้เริ่มขึ้น ภารกิจดังกล่าวต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด คุณพ่อทั้งสองจึงถูกเรียกตัวกลับกรุงเทพมหานครอย่างรีบด่วนอันเนื่องมา จากการขยายตัวของสงคราม อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นหาได้เป็นสิ่งบั่นทอนจิตใจอันร้อนรนในการเผยแผ่ศาสนาของมิสชันนารีเหล่านี้ไม่

พระสังฆราชเรอเน  แปร์รอส มาเชียงใหม่
ปี ค.ศ. 1926 พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส ตัดสินใจเดินทางขึ้นเหนือเพื่อดูสถานการณ์ที่เชียงใหม่ด้วยตัวของท่านเอง ท่านมีอุดมกา รณ์และความมุ่งมั่นที่จะจัดตั้งมิสซังคาทอลิกในภาคเหนือให้จงได้ แม้ว่าอุปสรรคปัญหาจะมีมาก และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ การขา ดบุคลากร และปัญหาด้านการเงินทำให้ท่านต้องถูกทดสอบจิตใจ ท่านต้องใช้เวลาถึง 4 ปี   ในการรอคอยการกลับมาแพร่ธรรมในดินแดนแห่งนี้ มิสซังคาทอลิกภาคเหนือจึงได้สถาปนาขึ้น  ในการดำเนินการแพร่ธรรมสำคัญครั้งนี้

มิสชันนารีมาวางรากฐานของการแพร่ธรรม
พระสังฆราชเรอเน  แปร์รอส ได้มอบหมายให้คุณพ่อยอร์ช มิราแบล (Mirabel) พระสงฆ์หนุ่มชาวฝรั่งเศส คณะสงฆ์มิสซังต่างประเ ทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) พร้อมกับพระสงฆ์พื้นเมืองชาวไทยคือ คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด  กฤษบำรุง สัตบุรุษวัดนักบุญเปโตร (นคร ชัยศรี) อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นผู้รับผิดชอบการแพร่ธรรมทางภาคเหนือทั้งหมดวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1931 คุณพ่อทั้งสองได้ พักที่บ้านของตระกูลเดอซูซ่า (Desousa) (da Suza) ภาษาโปรตุเกส จึงถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นงานแพร่ธรรมในเชียงใหม่อย่างสมบูรณ์ในวันนั้นเอง

เชิญคณะนักบวชมาช่วยงานที่เชียงใหม่ และเปิดโรงเรียน
ต่อมา คุณพ่อทั้งสองตัดสินใจว่าจะต้องเปิดโรงเรียน ปี ค.ศ. 1932 และได้เชิญคณะอุร์สุลิน มาเปิดโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย และภราดาคณะเซนต์คาเบรียล มาเปิดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

ต่อมาคุณพ่อทั้งสองก็ได้เปิดโรงเรียนพระหฤทัย อาศัยความร่วมมือของซิสเตอร์คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ

งานแพร่ธรรมได้เจริญยิ่งๆ ขึ้น

ในปี ค.ศ. 1933 มีกลุ่มคาทอลิกเกิดขึ้นที่แม่ริมและเวียงป่าเป้า หลังจากนั้นก็ขยายไปยังพร้าว พาน และเชียงดาว จากนั้นในวันที่  21 พฤศจิกายน  ค.ศ. 1932 คุณพ่อเรอเน  เมอนิเอร์ พระสงฆ์ฝรั่งเศส คณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศกรุงปารีส (M.E.P.) ได้มาช่วยงานคุ ณพ่อมิราแบล จนถึงวันที่  29  มิถุนายน  ค.ศ.  1934  เป็นเวลา  2 ปี ต่อมาคุณพ่อ มิราแบล  ได้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อบ วชเป็นฤๅษีตามที่ตั้งใจไว้ ดังนั้นหน้าที่เจ้าอาวาสวัดพระหฤทัยคนที่สองจึงเป็นของคุณพ่อเรอเน เมอนิเอร์ และมีคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด  กฤษบำรุง   และคุณพ่ออาทานาส  (จากเวียงป่าเป้า) เป็นผู้ช่วย

งานแพร่ธรรมได้ขยายสู่ต่างจังหวัด

ปี ค.ศ. 1938 มิสซังฯ ยังต้องพึ่งคุณพ่อจากเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีคุณพ่ออาทานาสอยู่เวียงป่าเป้า และคุณพ่อโรเชอโร อยู่ที่พาน ปีนี้เอง คุณพ่อ การ์ตอง ได้เสนอให้ทางกรุงเทพฯ เปิดโรงเรียนที่พาน และดำเนินการแพร่ธรรมที่เชียงราย
ในระหว่าง ค.ศ. 1947-1954 มีคุณพ่อหลายองค์มาช่วยงานชั่วคราว คุณพ่อเหล่านี้ต้องพบกับอุปสรรค ปัญหาและความยากลำบากมา กมาย (เนื่องจากอยู่ระหว่างการเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2) แต่ก็ยังมีพระสงฆ์ไทยและมิสชันนารีคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) มาช่วยงานเผยแผ่ศาสนาในเขตภาคเหนือ บางท่านอยู่ได้เพียงช่วงระยะหนึ่งเท่านั้นก็ย้ายกลับไป
ตั้งแต่ปี 1950 คุณพ่อแวร์ดิเอร์ ประจำอยู่ที่เมืองพาน และได้ซื้อโรงเรียนเล็กๆ ของชาวบ้านชื่อโรงเรียนสุราลักษ์ แล้วย้ายไปตั้งอยู่ในที่ ดินของมิสซัง ตั้งชื่อใหม่เป็นโรงเรียนศิริมาตย์เทวี และได้เจริญก้าวหน้าจนเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งจังหวัดเชียงรายในขณะนั้น

คณะเบธารามเข้ามาทำงานในเขตภาคเหนือ

ในปี ค.ศ.  1950  คุณพ่อแซงกีลี เจ้าคณะเบธารามที่ต๋าลี้ มณฑล    ยูนานประเทศจี นได้เขียนจดหมายติดต่อมายังพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง พระสังฆราชมิสซังกรุงเทพฯ เพื่อขอนำพระสงฆ์คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งเบธารามเข้ามาแพร่ธรรมในประเทศไทยเนื่องจากมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ในประเทศจีน พร ะสงฆ์ต่างชาติถูกบังคับให้ออกจากประเทศ  ทำให้การประกาศพระวรสารในประเทศจีนต้องหยุดชะงักลง ขณะนั้นยังมีพระสงฆ์คณะ M.E.P. คือ คุณพ่อกรางซ์  ได้เดินจาก ประเทศจีนมาช่วยงานแพร่ธรรมที่วัดพระหฤทัยเชียงใหม่ แต่เมื่ออยู่ได้ระยะหนึ่งท่านก็ขออนุญาตจาก พระสังฆราช หลุยส์  โชแรง ย้ายไปประจำที่วัดลำปาง ในวันที่ 23 พ ฤศจิกายน ค.ศ. 1951 พระสงฆ์คณะเบธารามองค์แรกคือ คุณพ่อแซงกีลี  ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย อีก 3-4 เดือนต่อมา คุณพ่อเซกีน็อต ก็เดินทางมาถึงพร้อมกับคุณพ่อเปเด บิโด และเพื่อนพระสงฆ์ของคณะอีก 2 องค์ และพระสงฆ์คณะเบธารามก็เดิน ทางมาสมทบอีก 10 กว่าองค์ ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ จึงอนุญาตให้อยู่ที่เชียงใหม่และจัดให้พำนักอยู่ที่กงสุลประเทศฝรั่งเศสเพื่อเรียน ภาษาไทย และฝึกงานแพร่ธรรมในประเทศไทย ในขณะนั้น คุณพ่อมารีอูส เบรย์  (Bray) ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเชียงใหม่ อ งค์ที่ 3 ต่อจาก  คุณพ่อยอร์ช มิราแบล  และ คุณพ่อ เรอเน เมอนิเอร์  โดยพระสงฆ์ที่ถูกส่งมาในช่วงนั้นเป็นของคณะสงฆ์มิสซังต่างป ระเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) เป็นส่วนใหญ่ ในช่วง 20 ปีนี้มีพระสงฆ์ทั้งไทยและต่างประเทศหลายองค์ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาประจำที่เชียงใหม่จนถึงปลายสงครามโลก ครั้งที่  2

เปิดโรงเรียนอรุโณทัย

ค.ศ. 1953 คุณพ่อกรางซ์ เปิดโรงเรียนอรุโณทัยที่ลำปางสำหรับนักเรียนชายและหญิง  4 ปี ต่อมาคุณพ่อกรางซ์ได้เชิญภราดาคณะเซนต์คาเบรียล มาเปิดโรงเรียนที่จังหวัดลำปาง คือโรงเรียนอัสสัมชัญ ลำปาง สำหรับเด็กผู้ชาย

การแพร่ธรรมกับชาวเขา

ขณะเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1953 คุณพ่อเซกีน็อตและคุณพ่อโฟญีนี เริ่มการแพร่ธรรมระหว่างชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) เพรา ะเคยทำงานระหว่างเผ่าคะฉิ่นมาก่อนตั้งอยู่ยังอยู่ที่ยูนาน ประเทศจีน คุณพ่อทั้งสองเดินไปตามภูเขาทงทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเชียงใ หม่ และคุณพ่อแซงกีลีสนับสนุนงานแพร่ธรรมนี้ ได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งที่จอมทอง เพื่อใช้เป็นศูนย์การแพร่ธรรมกับชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงต่ อไป  ต่อมาเดือนตุลาคม ค.ศ. 1954 พระคุณเจ้าลากอสต์ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ห่างจากตัวอำเภอจอมทองเดินประมาณ 2 ชั่วโมงริมลำธารชื่อ “แม่ปอน” แล้วต่อมาคุณพ่อจึงย้ายจากจอมทองมาตั้งศูนย์ใหม่ที่แม่ปอนนี้

พระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ย้ายจากเมืองจีนมาเชียงใหม่

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1954 พระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ได้ออกจากมิสซังตาลี (ฟู) แล้วได้มาพบกับมิสชันนารีคณะเบธารามในประเ ทศไทย และพระคุณเจ้าโชแรงได้มอบอำนาจให้ทำทุกอย่าง เว้นแต่การติดต่อกับกรุงโรมในเรื่องสำคัญๆ เท่านั้น

ต่อมา ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1954 พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง เห็นความมุ่งมั่นและความตั้งใจในงานแพร่ธรรมของคณะเบธารามท่า นจึงตัดสินใจมอบวัดพระหฤทัยเชียงใหม่ให้อยู่ในการดูแลของพระสงฆ์คณะเบธาราม โดยมีพระสังฆราชลูเซียน ลากอสต์ ซึ่งขณะนั้นด ำรงตำแหน่งพระสังฆราชแห่งมิสซังตาลี มณฑลยูนานเป็นผู้รับมอบ มีคุณพ่อซาเวอร์ ลองไดซ์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ของคณะเบธารามที่เป็ นเจ้าอาวาสวัดพระหฤทัยเป็นองค์ที่ 4 โดยมี คุณพ่อเปเด บิโด เป็นผู้ช่วย ในสมัยนั้นการดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างยากลำบาก สัตบุรุษฐา นะค่อนข้างยากจน ด้วยเพราะคุณพ่อเคยอยู่เมืองจีนมาก่อนจนสามารถติดต่อสื่อสารกับชาวจีนในเชียงใหม่ได้ อีกทั้งท่านเป็นผู้มีอัธยา ศัยดี มีความเอาใจใส่ต่อสัตบุรุษเป็นอย่างมาก เหล่าสัตบุรุษจึงขนานนามท่านว่า “พ่อใหญ่” ภาพที่คุ้นตาของชาวบ้านในสมัยนั้นคือภาพคุณพ่อปั่นจักรยานไปเยี่ยมเยียนสัตบุรุษ และนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

ศูนย์แม่ปอน
ปี ค.ศ. 1955 คุณพ่อเซกีน็อต กับคุณพ่อโฟญีนี ไปประจำอยู่ที่แม่ปอน ต่อมามีคุณพ่อยอห์น บัปติสต์ โบนาต์ มาอยู่ประจำที่แม่ปอนด้ว ย ในที่สุดศูนย์แห่งนี้ก็ค่อยๆ เจริญขึ้นกลายเป็นหมู่บ้านแม่ปอนและศูนย์กลางของการแพร่ธรรมกับชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอในที่สุด
ที่ อ.เวียงป่าเป้า คุณพ่อเลอแวร์ล  (M.E.P) ใช้เวลา 4 ปี ในการสร้างวัดและบ้านพักพระสงฆ์ที่เวียงป่าเป้า แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ถูกฆ่าตาย ในค่ำวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1956 นั่นเอง
ต่อมา กลางปี ค.ศ. 1956 ได้เปิดบ้านที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยมีคุณพ่อเปเด บีโด อยู่ประจำที่นั่น

เขตวัดพระคริสต์แสดงองค์ ฝาง
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 คุณพ่อออกซีบาร์ (Oxibar) ไปอยู่ที่ อ.ฝาง เพื่อแพร่ธรรมระหว่างชาวเขาเผ่าลาหู่ (มูเซอ) เนื่องจากคุณพ่อได้รู้ภาษาของชาวลาหู่ก่อนแล้ว

ห้วยบง เมืองงาม
ราวปลายปี ค.ศ. 1956 มีชาวบ้าน 3-4 คน นำโดยคุณลุงปิหน่า ไปหาคุณพ่อเซกีน็อตและคุณพ่อโฟญีนี เพื่อขอให้คุณพ่อช่วยหาที่ราบสักแห่งในการตั้งหมู่บ้านและเป็นที่ทำกิ น เนื่องจากช่วงเวลานั้น พื้นที่เขตแม่สะเรียง โดยเฉพาะบนดอยมีลักษณะภูมิประเทศแห่งแล้งกันดารยากลำบากสำหรับการทำมาหากิน

คุณพ่อโฟญีนีจึงพาลุงปิหน่าและชาวบ้านไปหาพระคุณเจ้าลากอสต์ และพระคุณเจ้าเห็น สมควรจึงให้ค่ารถสำหรับไปดูพื้นที่ในเขต อ.ฝาง ช่วงแรกพวกเขาไปในพื้นที่ที่เรียกว่า แม่เสา แต่พื้นที่ไม่น่าสนใจ จึงเลือกสถานที่เขต ต.ปงตำ และพอใจกับสถานที่แห่งนี้ จึงได้ตั้งชื่อว่า “หมู่บ้านห้วยบง”

ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 มีครอบครัวปกาเกอะญอที่อพยพมาจากเขตแม่สะเรียง 7 ครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ห้วยบง เขต อ.ฝาง ซึ่งเป็นคริสตังจากแม่สะเรียงมาก่อนนั้นแล้ว และทางมิสซังได้จัดซื้อที่ดินให้เพื่อ สร้างบ้านและไม่ให้พวกเขาต้องกระจัดกระจายไปที่อื่นอีกหลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีจำนวนครอบครัวที่เข้ามาอยู่ที่ห้วยบงนี้เพิ่มขึ้นอีก 10 กว่าครอบครัวจนกระทั่งจำเป็นที่จะต้องให้มีพระสงฆ์อยู่ประจำกับพวกเขาเพื่อช่วยเหลือแนะนำด้านเกษตรกรรม รวมทั้งสอนคำสอนด้วย

จากนั้น ปี 1958 คุณพ่อยังลานืส ได้รับหน้าที่ให้มาอยู่ประจำที่หมู่บ้านห้วยบงนี้พร้อมทั้งได้สร้างบ้านและวัดชั่วคราวด้วยไม้ไผ่ หลังจาก นั้นปี ค.ศ. 1961 ได้สร้างวัดหลังที่ 2 สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง จากนั้นมีคริสตชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี ค.ศ. 1969 พระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ให้สร้างวัดหลังที่ 3 แบบคอนกรีตชั้นเดียว และเสกเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ.1969

ในปี ค.ศ. 1996 ได้สร้างวัดหลังที่ 4 เป็นคอนกรีตสวยงาม ค่าก่อสร้างประมาณ 2 ล้าน 6 แสนบาท เป็นเงินจากกองมรดกของคุณจินตนา วงศ์พานิช ตั้งชื่อวัดพระวิสุทธิวงศ์
 

วัดนักบุญยอห์น บัปติสต์ แม่โถ

พอถึงปลายปี ค.ศ. 1956 มีครูคำสอนที่ช่วยงานคุณพ่อคนหนึ่งได้ไปสำรวจพื้นที่หมู่บ้า นแม่โถและบริเวณใกล้เคียง ที่นั่นมีจำนวนครอบครัว 11 ครอบครัวได้สมัครเข้ามาเป็นคริสตังสำรอง ต่อมาปี 1957 คุณพ่อเซกีน็อตได้ไปเยี่ยมที่หมู่บ้านแม่โถและได้มีครอ บครัวจำนวน 21 ครอบครัวสมัครเข้าเป็นคริสตังสำรองรวมทั้งหมู่บ้านอื่นๆ อีก 28 ครอบครัวด้วยกัน จากนั้นเมื่อเดือนเมษายน 1957 คุณพ่อเซกีน็อตกับคุณพ่อเปเด บิโด ไ ด้ไปเยี่ยมคริสตังใหม่ในหมู่บ้านแม่โถและหมู่บ้านใกล้เคียงเหล่านั้นอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นทำให้งานแพร่ธรรมได้ขยายเพิ่มอีกหลายหมู่บ้าน ในช่วงนั้นคุณพ่อเปเดบิโดซึ่งรับผิด ชอบงานแพร่ธรรมที่แม่สะเรียงก็ต้องรับหน้าที่แพร่ธรรมและสอนคำสอนที่หมู่บ้านแม่โถด้วย จะต้องเดินด้วยเท้าจากแม่สะเรียงถึงแม่โถต้องใช้เวลา 3 วัน แต่ถ้าเดินทางจาก ศูนย์แม่ปอนถึงแม่โถโดยทางลัดนั้นจะต้องใช้เวลา 4 วัน หลังจากนั้นจำนวนคริสตังในเขตแม่สะเรียงกับแม่โถเพิ่มขึ้นและกระจายตามหมู่บ้าต่างๆ กว่า 40 หมู่บ้าน
จากนั้นวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1958 ทำให้พระคุณเจ้าลากอสต์และคุณพ่อเซกีน็อต ได้ไปดูสถานที่เขต อ.แม่ฮ่องสอน โดยนั่งเครื่องบิ น 4 ที่นั่งจากเชียงใหม่ไปแม่ฮ่องสอน เพื่อจะตัดสินใจว่าควรจะสร้างศูนย์กลางแพร่ธรรมในเขต จ.แม่ฮ่องสอนนี้ที่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน หรือที่แม่สะเรียง และมีครอบครัวของวิจิตรพรซึ่งอยู่ที่แม่ฮ่องสอนได้ให้การต้อนรับ จากนั้นได้เดินทางด้วยเท้ากลับลงมาที่แม่สะเรียงต้ องใช้เวลาถึง 6 วัน แต่ได้แวะเยี่ยมหมู่บ้านต่างๆ ระหว่างทางเรื่อยๆ  ในที่สุดเห็นว่าควรสร้างศูนย์กลางที่แม่สะเรียงนี้จึงจะดีกว่าเพราะ อยู่ใกล้กับหมู่บ้านของชาวปกาเกอะญอมากกว่า และที่แม่สะเรียงนี้เองได้มีกลุ่มชาวละว้าจำนวน 15 ครอบครัวพูดภาษาไทย ได้สมัครเข้าเรียนคำสอนด้วย

ปี ค.ศ. 1958 มิสซังฯ ได้แบ่งเขตแพร่ธรรม จ.แม่ฮ่องสอน ออกเป็น 2 เขต คือแม่ฮ่องสอนตอนล่าง เป็นเขต อ.แม่สะเรียงโดยคุณพ่อ มีร์โก ตรุสนัก ดูแลรับผิดชอบเขตแม่สะเรียง ส่วนแม่ฮ่องสอนตอนกลางขึ้นไปถึงตอนบนเป็นเขตแม่โถ ซึ่งคลุมพื้นที่ อ.แม่ลาน้อย รวมถึงพื้นที่อ.ขุนยวมด้วย มีคุณพ่อเปเด บิโด รับผิดชอบเขตวัดแม่โถ

ปี ค.ศ. 1959 เป็นช่วงที่คุณพ่อเปเด บิโด เป็นเจ้าอาวาสวัด ได้เริ่มสร้างวัดที่หมู่บ้านแม่โถ โดยมีคุณพ่อเปเด บิโด กับคุณพ่อมีร์โก เป็ นผู้ดูแล พอถึงวันฉลองพระคริสตสมภพ วันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ได้มีพิธีเสกวัดใหม่ที่แม่โถนี้ และในโอกาสนี้เอง พระคุณเจ้าลูเ ซียน ลากอสต์ ได้แจ้งว่าสันตะสำนักได้ประกาศให้เชียงใหม่เป็นสังฆมณฑลอย่างเป็นทางการ และในโอกาสฉลสองพระคริสตสมภพที่แม่โถครั้งแรกนี้มีคุณพ่อเปเด บิโด คุณพ่อมีร์โก คุณพ่อเซกีน็อต คุณพ่อโฟญีนี และอธิการใหญ่ของคณะเบธารามคือคุณพ่อ Mironde (มีรัง) ได้มาร่วมฉลองด้วย พร้อมทั้งมีจำนวนคริสตังมาร่วมฉลองเป็นจำนวนมาก

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 คุณพ่อเปเด บิโด ชาวฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ประมาณ 8-10 ปีต่อมา มีคุณพ่อการ์โลส โรดริเกซ ชาวสเป น มาร่วมงาน และเป็นเจ้าวาสองค์ที่ 2 ถึงวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1993

วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 คุณพ่อดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส โดยคุณพ่อการ์โลส โรดริเกซ ยังเป็ นเจ้าอาวาส ปี ค.ศ. 1992 คุณพ่อดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ ไปเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่เขตวัดแม่ปอน 1 ปี  หลังจากนั้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993-2001 คุณพ่อดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 3 ที่เขตแม่โถนี้จนถึงสิ้นเดือนเมษายน ค.ศ. 2001 จากนั้นวันที่ 1 พ ฤษภาคม ค.ศ. 2001 คุณพ่อดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดที่เมืองพาน จ.เชียงราย สังฆมณฑลฯ ได้แต่งตั้งคุณพ่อค ำมา อำไพพิพัฒน์ เป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 4 จนถึงต้นปี ค.ศ. 2003 คุณพ่อคำมา อำไพพิพัฒน์ ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่แม่ลาน้อย วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 คุณพ่อสถิต สะอิ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 5 โดยมีคุณพ่อประสิทธิ์ ดิมู เป็นผู้ช่วยจนถึงปัจจุบัน
ค.ศ. 2005 เขตวัดนักบุญยอห์นบัปติสต์ แม่โถ มีคริสตังรับศีลล้างบาปแล้วจำนวน 4,558 คน คริสตังสำรองที่กำลังเรียนคำสอน 2,004 คน

วัดนักบุญเซซีลีอา ห้วยต้นนุ่น

เริ่มจากปี 1957 คุณพ่อมีร์โกกับคุณพ่อเปเด บิโด เข้ามาเผยแผ่ศาสนาที่เขตวัดนักบุญยอห์นบัปติสต์ แม่โถ และขณะนั้นคุณพ่อบิโดเป็นเจ้าวัดเขตเขตวัดนักบุญยอห์นบัปติ สต์ แม่โถ ต้องรับผิดชอบหมู่บ้านห้วยต้นนุ่นด้วย และคุณพ่อทั้งสองก็ได้เข้าไปเผยแผ่ศาสนาคาทอลิกที่หมู่บ้านห้วยต้นนุ่นอย่างสม่ำเสมอ และคนที่เข้านับถือศาสนาคาทอลิก คนแรกคือคุณยายคาแหละ โดยไปทำพิธีเข้าศาสนากับคุณพ่อบิโดที่หมู่บ้านแม่ซอ แล้วกลับมาใช้ชีวิตคริสตชนในหมู่บ้านห้วยต้นนุ่น จากแบบอย่างของคุณยายคาแหละนี้เอง ได้ทำให้มีคนเข้าศาสนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปี 1962 คุณพ่อบิโดกับชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดไม้ไผ่เป็นวัดหลังแรกของหมู่บ้านนี้ หลังที่สองเสกวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1969 โดยพระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ในปี 1973 ทางสังฆมณฑลโดยพระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ได้ประกาศแบ่งเขตห้วยต้นนุ่นออกจากเขตวัดนักบุญยอห์นบัปติสต์ แม่โถ และตั้งคุณพ่อเปเด บิโด เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดเขตวัดนักบุญเซซีลีอา ห้วยต้นนุ่น อ งค์แรก

เมื่อมีจำนวนสัตบุรุษเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คุณพ่อเปเด บิโดก็ได้สร้างวัดหลังที่สองเป็นไม้อย่างถาวรขึ้นเป็นวัดหลังที่สอง ต่อมาเมื่อปี 1981 คุณพ่อสนั่น สันติมโนกูล เป็นพระสงฆ์ชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอได้บวชองค์แรกของสังฆมณฑลและได้มาเป็นคุณพ่อผู้ช่วยเจ้าอ าวาสวัดที่วัดนักบุญเซซีลีอา ห้วยต้นนุ่นแห่งนี้ ปี ค.ศ. 1983 คุณพ่อเปเด บิโด ได้ย้ายไปช่วยงานที่เขตแม่แจ่ม คุณพ่อสนั่น สันติมโนกูล เป็นเจ้าอาวาสวัดองค์ที่สองของเขตวัดนี้ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1983 จนถึงปี ค.ศ. 1997

ซึ่งในปี 1992 คุณพ่อเห็นว่าสัตบุรุษเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สถานที่วัดเก่าคับแคบจึงได้สร้างวัดหลังใหม่เป็นคอนกรีตอย่างถาวร โดยได้รับ บริจาคค่าก่อสร้างจากครอบครัวคุณเสริมศักดิ์ วิริยะวัลย์ และทำการเสกเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1992 โดยพระสังฆราชยอแซฟ สั งวาลย์ ศุระศรางค์ ปี 1997 คุณพ่อสนั่น สันติมโนกูล ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดที่เขตแม่แจ่ม และคุณพ่อสมพงษ์ กัมพลกูล ได้เข้าม าเป็นเจ้าอาวาสวัดเป็นองค์ที่สามและเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 1997 และคุณพ่ออุทัย พาแฮ เป็นผู้ช่ วยเจ้าอาวาส จนถึงปีต้นปี ค.ศ. 2003 จากนั้นคุณพ่อทูน ประภาสสันต์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และคุณพ่อวศิน ฌาณอรุณ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2003-2005

ประกาศให้แม่แจ่มเป็นเขตวัด
ปี ค.ศ. 1958 คุณพ่อโฟญีนีซึ่งอยู่ที่แม่ปอนกับคุณพ่อเซกีน็อตได้เข้าไปเยี่ยมเยียนแล ะแพร่ธรรมที่เขตแม่แจ่ม และมีผู้สนใจเข้ามาเป็นคาทอลิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี ค.ศ. 1959 คุณพ่อโฟญีนีได้รวบรวมชาวบ้านจากหลายที่มาอยู่ด้วยกันและสร้างเป็นหมู่บ้ านขึ้นในที่สุดคุณพ่อโฟญีนีก็ได้ย้ายมาอยู่ประจำที่แม่แจ่มที่หมู่บ้านป่าตึง หรือที่เรียกเป็นภาษาปกาเกอะญอว่า “แหม่โอโกล” ได้สร้างวัดเล็กๆ เป็นการชั่วคราวหลังหนึ่งเพื่ อใช้ประกอบพิธีกรรมและสวดภาวนา และเริ่มใช้วัดชั่วคราวนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 โดยคุณพ่อการ์โล ลุสซี่ เป็นผู้ถวายมิสซา

ต่อมาในปี 1960 พระคุณเจ้าลูเซียน ลากอสต์ ได้ประกาศแบ่งเขตแม่แจ่มออกจากเข ตแม่ปอน เป็นศูนย์เผยแผ่ศาสนาอีกแห่งหนึ่งต่างหาก โดยคุณพ่อโฟญีนีเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดนี้องค์แรก และได้ตั้งหมู่บ้านใหม่คือหมู่บ้านป่าตึงซึ่งเป็นที่ตั้งวัดนักบุญปาตริกปัจจุบันนี้เอง

หลังจากนั้นปลายปี ค.ศ. 1960 คริสตชนที่กระจายตามหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมมือกับคุณพ่อได้สร้างวัดหลังใหม่ด้วยไม้และเสกเมื่อวันวันที่ 17 มีนาคม 1961 ในโอกาสฉลองนักบุญปาตริก

ปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1961 คุณพ่อโฟญีนีได้เริ่มรับเลี้ยงเด็กตามหมู่บ้านต่างๆ บนดอยให้มาเรียนในโรงเรียนที่คุณพ่อได้เปิด ขึ้นที่หมู่บ้านป่าตึงนี้ และที่ใกล้กับหมู่บ้านป่าตึงนี้ มีหมู่บ้านแม่มิงค์ ซึ่งมีพี่น้องที่เป็นแบบติสต์ก่อนแล้ว และอีกส่วนหนึ่งยังนับถือแบบค วามเชื่อเดิมอยู่ และในช่วงปี ค.ศ. 1963-1964  คุณพ่อโฟญีนีได้เริ่มสร้างหอประชุมมีชาวบ้านทั้งที่เป็นแบ๊บติสต์ กับคาทอลิกต่างช่วยกันและอยู่ด้วยกันอย่างฉันพี่น้อง

ต่อมาวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1972 คุณพ่ออูโก ดอนีนี เข้ามาศึกษางานที่เขตแม่แจ่มนี้และเรียนภาษากะเหรี่ยงด้วย ในปี 1975 คุณ พ่ออูโก ดอนีนีได้เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาสวัดนักบุญปาตริกแม่แจ่มนี้ต่อจากคุณพ่อโฟญีนีจนถึงสิ้นปี ค.ศ. 1997 แล้วคุณพ่ออูโกดอนีนี ได้ ย้ายไปเป็นเจ้าวัดที่เขตห้วยบง แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1983 คุณพ่อเปเด บิโด ได้รับแต่งตั้งให้มาช่วยงานแพร่ธรรมที่เขตแม่แจ่มนี้โดยรับ ผิดชอบเขตตะวันตกที่บ้านดินขาวจนถึงปี ค.ศ. 1996 หลังจากนั้นวันที่ 1 พฤษภาคม 1997 คุณพ่อเปเดบิโด ได้ย้ายไปเป็นผู้ช่วยเจ้าอวาสที่เขตแม่ปอน และคุณพ่อสมพงษ์ กัมพลกูล มาเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสเขตแม่แจ่มจนถึงสิ้นปี ค.ศ. 1996

ต้นปี ค.ศ. 1997 คุณพ่ออูโก ดอนีนี ได้ย้ายไปเป็นเจ้าวัดที่เขตห้วยบงและทางสังฆมณฑลฯ ได้เชิญคุณพ่อคณะพระมหาไถ่ขึ้นมาช่วย งานที่เขตแม่แจ่ม และทางคณะได้ส่งคุณพ่อภัทรพงษ์ ศรีวรกุล และคุณพ่อประสิทธิ์ กุ๊นุ๊ เข้าไปช่วยงานในเขตแม่แจ่มนี้โดยคุณพ่อภัทรพงษ์ ศรีวรกุล เป็นเจ้าวัดและคุณพ่อประสิทธิ์ กุ๊นุ๊ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจนถึงสิ้นปี 2000

วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2001 สังฆมณฑลฯ ได้แต่งตั้งคุณพ่อประสิทธิ์ กุ๊นุ๊ เป็นเจ้าอาวาสแทนคุณพ่อภัทรพงษ์ ศรีวรกุล ที่ไปศึกษาต่อต่ างประเทศ และได้แต่งตั้งคุณพ่อเทียนชัย เกษสุรินทร์ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส พอถึงปลายปี ค.ศ. 2001 คุณพ่อประสิทธิ กุ๊นุ๊ ต้องไปศึกษา ต่อต่างประเทศ คุณพ่อเทียนชัย เกษสุรินทร์ รับหน้าที่รักษาการเจ้าอวาสจนถึงต้นปี ค.ศ. 2003 คุณพ่อเทียนชัย เกษสุรินทร์ ได้ย้ายไป ช่วยงานที่สังฆมณฑลอุดรธานี ต่อมาวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ได้แต่งตั้งคุณพ่ออินที ใสสว่าง เป็นเจ้าอาวาส แทนคุณพ่อเทียน ชัย เกษสุรินทร์ ที่ได้ย้ายไปทำงานตามที่คณะได้มอบหมายให้ในเขตวัดอื่นปลายปี ค.ศ. 2004 คุณพ่ออินที ใสสว่าง สุขภาพไม่คอยดี ท างคณะได้ส่งคุณพ่อทวี สุวรรณสิน มาช่วยงานที่แม่แจ่ม และสังฆมณฑลฯ ได้แต่งตั้งให้คุณพ่อเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสเขตแม่แจ่มจนถึงปี ค.ศ. 2006 คุณพ่อทิวา แสงศิริวิวัฒน์ ได้รับแต่งตั้งทำหน้าที่แทน

ค.ศ.2004 เขตวัดนักบุญปาตริก บ้านป่าตึง อ.แม่แจ่ม มีคริสตังรับศีลล้างบาปแล้ว 4,972 คน คริสตังสำรอง 3,469 คน