หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

 

เรียบเรียงโดย ...ทีมจัดทำสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

 

“วินาทีแรกที่ตัดสินใจรับหน้าที่พระสังฆราช”

           วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ผ่านมา เลขาพระสมณทูตติดต่อให้พ่อไปพบกับพระสมณทูต ซัลวาตอเร เปนนักคีโอ เอกอัครสมณทูตวิติกันประจำประเทศไทย เมื่อเข้าพบพระสมณทูตท่านได้ทักทาย และบอกกับพ่อว่า “สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16  ได้กรุณาเลือกให้พ่อได้รับตำแหน่งเป็นพระสังฆราชสังฆมณฑลเชียงใหม่ ต่อจากพระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ เวลานั้นพ่อเองก็รู้สึกงง และใจก็คิดถึงคำของคุณพ่อวิทยา แก้วแหวน บอก ( อาจจะบอกเล่น ๆนะ ) ถ้าพระสมณทูตมาติดต่อให้พ่อรับเป็นพระสังฆราชก็ให้ตอบรับ พ่อก็คิดต่อว่า “กว่าที่พระสันตะปาปาจะเลือกใครให้มาทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบ ผู้นำของสังฆมณฑลใด สังฆมณฑลหนึ่ง จะมีกระบวนการมาจากพระสงฆ์ในสังฆมณฑลนั้น พระสงฆ์สังฆมณฑลอื่น มาจากบรรดาพระสังฆราช บรรดาผู้นำคณะนักบวช และผู้นำฆราวาส คงถามมาแล้ว เป็นพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า ที่สุดแล้วพระสันตะปาปาจะเป็นผู้พิจารณา วินาที่นั้น พ่อก็ตัดสินใจ “ตอบรับ” แต่ก็ยังรู้สึกงง อยู่เหมือนกันนะ

ที่สุดแล้ว พระสมณทูตก็ร่วมแสดงความยินดีด้วย และขอให้พ่อได้เขียนจดหมาย ตอบรับการเป็นพระสังฆราช เป็นลายลักษณ์อักษร พ่อก็บอกกับพระสมณทูตว่า “ผมคงต้องกลับมาที่บ้าน บ้านที่พ่อบอก็คือ สำนักพระสังฆราช หรือ ศูนย์คำสอน พระสมณทูตท่านได้เตรียมกระดาษไว้แล้ว แล้วก็บอกพ่อว่า ทำที่นี่ก็ได้ “ ท่านได้นำกระดาษสีขาว 2 แผ่นมาให้พ่อเขียนด้วยลายมือ ใจความที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ จำที่เขียนได้ว่า “ผมไม่ใช่คนที่เก่งอะไร แต่ผมก็ดีใจและขอบคุณ และจะพยายามทำหน้าที่ของผมอย่างดีที่สุด ด้วยความช่วยเหลืออย่างดีจากพระเป็นเจ้า” สิ่งสำคัญที่พระสมณทูตบอกคือ อย่าลืมเขียนคำว่า  “Accept” ยอมรับ ด้วย และท่านบอกกับพ่อว่า ให้รักษาเป็นความลับก่อน และจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2009

พอถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ตอนเช้าพ่อรู้สึกนอนไม่หลับแล้ว คงเพราะรู้สึกตื่นเต้น แต่ไม่สามารถบอกกับใครได้  พ่อไปสอนเรียนนักศึกษา คริสตศาสตร์  ที่วิทยาลัยแสงธรรม วันนั้นก็ดำเนินชีวิตปกติทุกอย่างอยู่ที่บ้านเณร หลังประกาศเวลา 6 โมงเย็นแล้วแล้วก็มีคนโทรศัพท์มาร่วมแสดงความยินดี วันนั้นพ่อเดินทางกลับมาถึงสำนักมิสซัง เวลา 22.00 น.พ่อได้ขอเข้าพบพระคาร์ดินัล แล้วพ่อได้ขอบคุณ และคารวะพระคาร์ดินัล และในวันต่อมา( วันที่ 11 กพ. -12 กพ.09 ) มีเข้าเงียบพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เพื่อนพี่น้องสงฆ์ก็ได้ร่วมแสดงความยินดีด้วย พ่อได้มีโอกาสกล่าวในวันเข้าเงียบว่า “ พ่อคิดถึงพระคุณของพระที่มอบให้พ่อเกิดในสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สมัยอยู่ที่บ้านเณรเล็กมีพระคุณเจ้ามีชัย และพระคุณเจ้าสังวาล และพ่ออีกหลาย ๆ คน ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพ่อ และพอมาอยู่ที่บ้านเณรใหญ่ก็มีอาจารย์ดี ๆ หลายคน รวมถึงช่วงเวลาที่มาอยู่ที่ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูตก็รู้สึกดีมาก” ( บรรยากาศพระสังฆราชใหม่ ท่ามกลางคณะสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ )

สำหรับแนวทางในการดำเนินชีวิตของพ่อ คือ รักพระมากขึ้น
มีคนเอ่ยปากให้ความช่วยเหลือพ่อเสมอ ความช่วยเหลือที่มาทั้งหลายนั้น ไม่ใช่ของพ่อ พ่อจึงเข้าใจคำว่า “การเป็นคนกลางแจกจ่ายพระหรรษทานเป็นอย่างไร ” เมื่อเรารับงาน  รับความรับผิดชอบใด ๆ แล้ว พระก็มอบความช่วยเหลือผ่านทางมนุษย์นี้หล่ะ พ่อมีแต่สำนึกในพระคุณ และเป็นต้น ผ่านทางครอบครัวของพ่อด้วย แม่แน่งน้อยของพ่อ เป็นแม่ค้า ส่วนพ่อหวล อาภรณ์รัตน์ ก็เป็นคนขับรถ แต่ลักษณะที่ดีของพ่อแม่ที่พ่อมานั้น คือ การได้ช่วยเหลือวัด มาตั้งแต่เด็ก พ่อรู้สึกขอบคุณ ครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่พ่อรู้สึกท้าทายมากที่สุดเมื่อจะไปทำงานที่สังมณฑลเชียงใหม่ คือ เรื่องของการฝึกฝนด้านภาษา  พระคุณเจ้ายอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์  สอนไว้ เสนอแนะ ได้ฝากไว้ว่า บรรยากาศของคนที่เชียงใหม่ ไม่เหมือนบรรยากาศในกรุงเทพฯ มีพี่น้องชาวไทยภูเขา หลากหลายเผ่า มีสังคมที่แตกต่างจากกรุงเทพฯ และสิ่งหนึ่งที่พระคุณเจ้าพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู บอกกับพ่อคือ “ เราต้องพยายามเรียนรู้ชีวิตที่เป็นจริงในสภาพของท้องถิ่น”  คนส่วนใหญ่ 50 % ที่ชาวไทยภูเขาเผ่าปาเกอญอ   25 % เป็นเผ่าอื่น และคนท้องถิ่น ซึ่งพ่อก็ต้องฝึกฝนที่จะพูดกับพวกเขา  การที่พ่อจะพูดภาษาเขาให้ได้ ก็ถือเป็นงานที่ท้าทายมาก

สิ่งที่กลัวที่สุด กังวลใจที่สุด และหนักใจที่สุด คือเรื่องอะไร และพ ระคุณเจ้าจะมีแนวทางผ่านไปได้อย่างไรนั้น พ่อรู้สึกว่า “พ่อไม่กังวลอะไร เพราะความกังวลในอนาคตจะทำให้เรากลัวและจะทำใ ห้เรานอนไม่หลับ พ่อมีคติพจน์คือ “ดำเนินชีวิตในปัจจุบันให้ดีที่สุด” จำได้ว่าที่เรียนวิชาชีวิตจิตนั้น  รู้สึกชอบมาก  สิ่งที่เรียกว่าน้ำพระทัยของพระเจ้า และ การทำตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า ก็คือ  “การทำชีวิตให้ดีที่สุด อย่างซื่อสัตย์ และสม่ำเสมอ ในชีวิตปัจจุบัน พระคงไม่เรียกร้องอะไรที่เกินความสามารถของเราอย่างแน่นอน ”

พ่อจำได้ว่า เพื่อนสงฆ์บางคน วิ่งทน บางคนวิ่งเร็วแต่วิ่งไม่ทน แต่ ถ้าวิ่งทนจะวิ่งไม่เร็ว และจะค่อยๆ ไปเรื่อยๆ พ่อจะเป็นอย่างนั้นคือ วิ่งไม่เร็ว แต่จะวิ่งทน  คุณพ่อไพฑูรย์ บอกพ่อตอนเป็นพระสงฆ์ใหม่ว่า “ใจเย็น ๆ อย่าไปคิดเปลี่ยนแปลงอะไร จะมีเวลาค่อยๆ ไปสม่ำเสมอ” ยังจำได้ว่า คุณพ่อชาย บอกพ่อใน มิสซาแรกว่า “พระสงฆ์หนุ่มมักกระตือรือล้น และพระสงฆ์อาวุโส มักรอบคอบ” ก็อวยพรให้ “พระสงฆ์หนุ่มนั้นรอบคอบ และกระตือรือร้น  ไม่ช้า ไม่เร็วเกิ นไป และทำอย่างสม่ำเสมอ“ พ่อเลยไม่กังวล พ่อไม่ได้ทำงานคนเดียว มีพระสงฆ์ตั้ง 84 องค์ นักบวช ชาย 9 คณะ นักบวชหญิง 18 คณะ เป็นอย่างน้อย สัตบุรุษทั่วไปก็น่ารัก และให้ความร่วมมือ พ่อก็ไม่กังวล และจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดครับ

ต่อจากนี้อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ กับสังฆมณฑลเชียงใหม่จะเป็นไปในทิศทางไหน “พ่อเองคิดว่าต้องดีขึ้น ส่วนหนึ่ง พ่อคงต้องขอความอนุเคราะห์จากพระคุณเจ้า พระคาร์ดินัล  และ ความช่วยเหลือจากพวกเราทุกคน ทั้งนักบวชพระสงฆ์ พ่อไม่อยากรบกวนใคร และพ่อเองก็เข้าใจสภาพว่าเป็นอยู่อย่างพอเพียง เมื่อก่อนพ่อไม่รู้เลยว่า “เมื่อก่อนเวลาที่ใครสักคน สมัครไปทำงานต่างสังฆมณฑล เขาลำบากมากแค่ไหน” มาวันนี้พ่อเองได้สมัครใจ ขอความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจกัน ภาวนาและประกาศข่าวดีและ ขอบคุณในน้ำใจดีของทุกท่านด้วย

สุดท้าย พ่อคิดว่าทุกคนมีคติในการดำเนินชีวิต  เมื่อเป็นพระสงฆ์พ่อเลือกคติพจน์ว่า “เกิดมาครั้ง หวังทำดีให้ที่สุด เพื่อมนุษย์ทั้งผอง ครองหรรษา ได้รู้จัก รัก รับใช้ เจ้าชีวา อีกพร้อมหน้าสร้างสวรรค์ ณ แผ่นดิน” คุณพ่อประยูร พงศ์พิศ ได้แต่งไว้ และเมื่อได้รับเลือกเป็นพระสังฆราช กลอนนี้ยาวไป จะหาคำภาษาลาตินลำบาก ก็คิดว่าการเลือกประกาศข่าวดี เริ่มต้นในปีนักบุญเปาโล เป็นสิ่งที่ดีมาก พ่อจึงเลือกคติพจน์คือ “ข้าพเจ้าทำทุกอย่าง เพื่อเห็นแก่ข่าวดี” ( 1 คร 9: 23 ) อยากให้พวกเราทำทุกสิ่ง เพื่อประกาศข่าวดีของพระเยซูเจ้าครับ

และโอกาสนี้เว็บไซต์ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอเชิญทุกท่าน รับชมการถ่ายทอดสดพิธีอภิเษกพระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ ในวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2009 ทางเว็บไซต์ www.catholic.or.th ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไปครับ