หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ภาพ  / ข้อมูล : แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

RCIA คืออะไร

ทำไมต้องRCIA

ระยะเวลาแห่งการประกาศข่าวดี

พิธีต้อนรับ

ระยะเวลาเรียนคำสอน

พิธีเลือกสรร

พิธีพิจารณาความตั้งใจ

พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์

ระยะเวลาเป็นคริสตชนใหม่

การเริ่มต้น RCIA ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ได้ประกาศใช้ข้อกำหนดสำหรับประทศไทย (Particular Norms For Thailand) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1992 ในกฤษฎีกาที่ 8 เรื่อง การจัดเตรียมผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาป แต่ในทางปฏิบัติ ตามวัดของเรายังไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่พระศาสนจักรสากลสมณกระทรวงคารวกิจได้ประกาศกฤษฎีกา เรื่อง Rite of Christian Initiation of Adults - RCIA วันที่ 6 มกราคม ค.ศ.1972 ให้พระสงฆ์เจ้าอาวาสสอนคำสอนแก่ผู้ใหญ่ และโปรดศีลล้างบาป, ศีลกำลัง และศีลมหาสนิท ในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ หรือวันอื่นๆที่เห็นเหมาะสม ไม่มีการสอนคำสอนต่อเนื่องแก่คริสตชนใหม่  ยังไม่มีการติดตามอย่างเป็นระบบ และไม่มีงานชุมชนคริสตชนใหม่


1. สะสมประสบการณ์
ผมได้มีโอกาสเรียนที่มหาวิทยาลัยซาเลเซียน(กรุงโรม) ระดับปริญญาโท 3 ปี (ค.ศ.1985-1988) Faculty of theology , the Partment of Youth Pastoral and Catechetics ได้เขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง The Bangkok Internatoinal Study Week of 1962 and the Problem of the different stages leading to Faith in Missionary Work  โดยมี Prof. Ubaldo gianetto เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้ผมเริ่มเรียนรู้ขั้นตอน RCIA ซึ่งคุณพ่อ Johannes Hoffinger SJ. จัดประชุมศึกษาเรื่องนี้ที่กรุงเทพฯเอง ในช่วงเริ่มสภาสังคายนาวาติกันที่ 2

อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ช่วยผมให้ตระหนักถึง RCIA มากขึ้น คือ มีโอกาสไปร่วมประชุมระดับนานาชาติ เกี่ยวกับคำสอนผู้ใหญ่ กล่าวคือ
ในวันที่ 11-14 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 ผู้นำคำสอนผู้ใหญ่ของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ International Forum on Adult Religious Education ที่ ออตตาวา ประเทศคานาดา มีตัวแทนจากประเทศไทยไปร่วมประชุมครั้งนั้น 3 คน จาก 33 คน 20 ประเ ทศ หัวข้อ ความเชื่อผู้ใหญ่เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต

ในวันที่ 17-21 เมษายน ค.ศ.1997 ประชุมที่ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา หัวข้อ คำสอนผู้ใหญ่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม มีตัวแทนจากประเทศไทย 6 คน จากทั้งหมด 50 คน 19 ประเทศ

ในวันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 ประชุมที่เมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย หัวข้อ วิสัยทัศน์การประกาศพระวรสาร และงานคำสอนผู้ใหญ่ ตามคู่มือแนะแนวทั่วไปสำหรับการสอนคำสอน(เล่มใหม่ ค.ศ.1997) มีตัวแทนจากประเทศไทย 3 คน ในจำนวน 48 คน
ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับ RCIA กระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน จากการได้ฟังรายงาน ประสบการณ์จากประเทศต่างๆ จึงหันมา ศึกษาจากหนังสือพิธีกรรม  ฉบับภาษาอังกฤษ ที่ได้รับเป็นของขวัญจากสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมจากคานาดา เป็นเล่มสีม่วง ผมจึงเริ่ มศึกษา หนังสือพิธีกรรม ศีลล้างบาปผู้ใหญ่ ที่คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม ในสมัยที่คุณพ่อสำราญ วงศ์เสงี่ยม เป็นเลขาธิกา ร ได้จัดพิมพ์ใช้ในประเทศไทย เมื่อ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 ผมจึงปรับปรุง โดยให้มีโครงร่างพิธีตามหนังสือ RCIA ของคานาดา และจัดพิมพ์ใหม่เป็นเล่มสีม่วง ชื่อว่า พิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2000 จำนวน 1000 เล่ม

2.ผลิตหนังสือและสื่ออุปกรณ์
ค.ศ. 2000 คุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช ในสมัยเป็นผู้ช่วยพระสังฆราช ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต ได้ดำเนินการแปลหนังสือคำส อนผู้ใหญ่ ชือ ก้าวไปด้วยกัน Our Journey Together เขียนดดย Oswald Hirmer แปลเป็นภาษาไทย โดยมีคุณครูทิพย์วัลย์ กิจสกุลเป็นผู้ตรวจทาน และจัดพิมพ์ในปี ค.ศ. 1995 จำนวน 2000 เล่ม ซึ่งต่อมาผมและคุณทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ ได้ตรวจสำนวนแปล แ ละจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 จำนวน 1000 เล่ม และจัดพิมพ์ครั้งที่ 3 ในเดือนกันยายน ค.ศ.2007 จำนวน 1000 เล่ม

เราทำโบชัวร์(Bochure) ประชาสัมพันธ์ RCIA ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 จำนวน 3000 ใบ เพื่อประชาสัมพันธ์แก่พระสงฆ์ตามวัดต่างๆ และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 จัดพิมพ์ใหม่อีก 5000 ใบ เพื่อประชาสัมพันธ์ในโอกาสสัมมนาประจำปีของพระสงฆ์
เราจัดทำวีดีทัศน์ (ค.ศ. 2006 – 2007) เพื่อให้พระสงฆ์นำไปศึกษากับสัตบุรุษได้สะดวกขึ้น

1. กระบวนการ RCIA 10 นาที  ผลิต กรกฎาคม 2006


2. พิธีเลือกสรร15 นาทีผลิต มีนาคม 2007

3. พิธีเอฟฟาธา15 นาทีผลิต เมษายน 2007

แผนกคริสตศาสนธรรม ได้จัด www.ccbbk.catholic.or.th ประชาสัมพันธ์ RCIA ด้วย ตั้งแต่ ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา

3. ไปดูงาน RCIA ที่สิงค์โปร์

วันที่ 14-19 เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2004 ผมได้จัดไปดูงานRCIA ที่ประเทศสิงค์โปร์ โดยเชิญบรรดาพระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส จากศูนย์คริสตศาสนธรรม กรุงเทพ ราชบุรี และจันทบุรี รวม 20 คน ทำให้เราเข้าใจกระบวนการและแนวทางในการจัดการมากยิ่งขึ้ นและมีแรงบันดาลใจในการทำดำเนินงานในเขตวัดของเรา

ต่อมา ภราดา ทินรัตน์ คมกฤส ประจำสำนักทิศทางงานอภิบาลในสภาพระสังฆราชคาทอลิก ได้จัดสมาชิกไปสัมผัสชีวิตและดูงานเรื่อ งวิถีชุมชนวัด ที่ประเทศมาเลเซียและสิงค์โปร์ ซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์ของ RCIA

4. เริ่มปฏิบัติในเขตวัด

พระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู   พระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้งให้ผมรับผิดชอบแผนกคริสตศาสนธรรม ตั้ งแต่พฤษภาคม ค.ศ.1988 ให้พักที่สำนักพระสังฆราชตั้งแต่ ค.ศ.1989 มีสำนักงานอยู่บริเวณอาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ (จนถึงปัจจุบัน)

ผมสังเกตว่าหน้าที่รับผิดชอบการสอนคำสอนแก่ผู้ใหญ่และเยาวชนที่เป็นชาวพุทธและสนใจศาสนาคริสต์เป็นของพระสงฆ์หนุ่มและเ ปลี่ยนแปลงบ่อย ผมค่อยๆเห็นความสำคัญของ RCIA  และเห็นใจผู้เป็นคริสตชนใหม่ เมื่อกลับมาที่วัดก็ไม่รู้จักใครแม้แต่พ่อแม่อุป ถัมภ์ตนเอง อีกทั้งวัดในกรุงก็ไม่ค่อยมีชุมชนแบบวัดต่างจังหวัดในชนบทซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่รู้จักกันหมดทั้งหมู่บ้าน
ช่วงที่ คุณพ่อ สำรวย กิจสำเร็จ  เป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหารอัสสัมชัญ (ค.ศ.1999-2003)  ผมขอสมัครสอนคำสอนผู้ใหญ่ให่อาสนวิห าร ตั้งแต่ ค.ศ. 1999  โดยมีทีมครูคำสอน คือ คุณครูทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ  คุณสมบัติ งามวงศ์  คุณครูสุดหทัย นิยมธรรม  คุณพจน์ วัฒนจริยา  โดยค่อยๆเริ่มใช้หนังสือก้าวไปด้วยกัน  และเน้นเปิดพระคัมภีร์ การแบ่งปันประสบการณ์ในกลุ่มย่อยทุกครั้ง เริ่มสอนในเดือนมิถุนายน (หลังสมโภชพระจิตเจ้า)

จัดให้มีพิธีต้อนรับผู้สมัครเรียนคำสอน  และมอบหนังสือพระคัมภีร์ ในระหว่างมิสซาวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระค ริสตเจ้า ในช่วงต้นเดือนธันวาคม ซึ่งคุณพ่อเจ้าอาวาสเห็นชอบด้วย และสัตบุรุษได้รู้จักผู้สมัครเรียนมากขึ้น  ในปีต่อมา จึงค่อยเริ่มพิธีเลือกสรร ในช่วงอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ

ในระดับอัครสังฆมณฑล

คุณพ่อ สุรสิทธิ์ ชุมศรีพันธุ์ ในช่วงเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญแฟรงซิสเซเวียร์ สามเสน กรุงเทพฯ (ค.ศ.1999-2004) และเป็ นหัวหน้าเขต 2 คุณพ่อได้สนใจ RCIA และประสานงานให้วัดต่างๆ ในเขต 2 เช่น วัดแม่พระฟาติมา  วัดอัครเทวดามีคาแอล(สะพา นใหม่) วัดพระชนนี (รังสิต)  วัดแม่พระมหาการุณย์ (นนทบุรี) ให้ส่งคริสตชนสำรองมาทำพิธีเลือกสรรในระดับเขต  โดยเชิญพระคาร์ดินัลไปเป็นประธานในพิธีที่วัดนักบุญแฟรงซิสเซเวียร์ บางปีที่วัดแม่พระฟาติมา

นอกจากนี้ ในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 ผมได้ประชาสัมพันธ์ไปตามวัดให้ส่งคริสตชนสำรองมาเตรียมรับศีลศักดิ์สิทธิ์ พ่ อแม่อุปถัมภ์และครูคำสอนมาด้วยที่สำนักพระสังฆราช  ครึ่งวันเช้า  โดยภาวนา  เชิญคุณพ่อทวีศักดิ์ กิจเจริญ เทศน์อบรมเรื่องบท บาทหน้าที่ของคริสตชน และเชิญพระคาร์ดินัลเป็นประธานพิธีเอฟฟาธาและเจิมน้ำมันศีลล้างบาป  รับสายประคำและรับประทานอา หารเที่ยงร่วมกัน และจึงแยกย้ายกลับที่วัดของตน เพื่อซ้อมพิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์  แต่ละปีมีผู้มาร่วมงาน 150-220  คน จาก 20 วัด ซึ่งถือว่าประมาณร้อยละ 40 ของวัดในอัครสังฆมณฑล

เราพยายามรณรงค์ให้แต่ละวัดจัดสอนคำสอนต่อเนื่องอีก 7 สัปดาห์ในช่วงเทศกาลปัสกา และเชิญคริสตชนใหม่ของปีที่แล้วมาร่วมง านชุมนุมคริสตชนใหม่  โอกาสสมโภชพระจิตเจ้าและร่วมพิธีบวชพระสงฆ์ใหม่ โดยค้างคืนที่ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาลบ้านผู้หว่าน สามพราน  มีจุดประสงค์ เพื่อปิดคอร์สการอบรมแต่ละรุ่น เพื่อติดตามคริสตชนใหม่เรื่องศีลอภัยบาป และให้พวกเขามีประสบการณ์ข องชุมชนคริสตชนในอัครสังฆมณฑล ในแต่ละปีมีคริสตชนใหม่มาร่วมงานประมาณ 40-60  คน  ถือว่าประมาณร้อยละ  30  เท่านั้น

5 บุคคลที่สนใจและสนับสนุน RCIA

คุณพ่อเอกพร  นิตตะโย ในสมัยที่ไปศึกษาเรื่องกฎหมายพระศาสนจักร ระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยอูร์บานีอานา กรุงโรม (ค. ศ.1987-1989) ได้เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ ศีลล้างบาปผู้ใหญ่  จึงได้เข้าใจขั้นตอนและพิธีที่พระศาสนจักรประกาศให้ใช้  ดังนั้นเ มื่อเป็นเจ้าอาวาสวัดเซนต์หลุยส์ (ค.ศ.2002-2006) จึงได้สนับสนุนการสอนคำสอนแก่ผู้ใหญ่ที่สนใจศาสนาคริสต์ ให้มีพิธีตามที่ควร จะเป็น ได้จัดเตรียมเทียนและเสื้อขาวสำหรับผู้รับศีลล้างบาปเป็นพิเศษจริงๆ มีครั้งหนึ่งที่เชิญผมไปอบรม 1 วัน แก่สมาชิกสภาอภิบ าลระดับวัดและผู้สนใจเป็นพี่เลี้ยง ประมาณ 20 คน ที่วัดเซนต์หลุยส์ เพื่อช่วยเป็นพี่เลี้ยง และคุณพ่อเอกพรได้ร่วมมือกับผมที่อาสนวิ หารอัสสัมชัญจัดฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชนในช่วงเทศกาลมหาพรตที่บ้านผู้หว่าน และจัดพิธีไตร่ตรองความตั้งใจ (Scrutiny) ร่วมกันสองวัด

คุณพ่อพจนารถ นิรมลทินวงศ์ คุณพ่อเอกพร  นิตตะโย คุณพ่อวิชชุกรณ์  เกตุภาพ   คุณพ่อประเสริฐ ตรรกเวศน์  และคุณพ่อประช าชาติ  ปรีชาวุฒิ เป็นพระสงฆ์ที่สนใจสอนคำสอนผู้ใหญ่และกระบวนการ RCIA มาตลอด  อยู่ที่วัดไหนก็พยายามดำเนินการ และส่งคนมาร่วมกิจกรรมด้วยเป็นประจำ

ชมรมนักบวชหญิง ได้พยายามร่วมมือตามทิศทางงานอภิบาลของพระศาสนจักรไทย  ค.ศ.2000-2010 เซอร์ฟรังซัวส์  ชีรานนท์คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ต ได้ประสานงานกับสมาชิกในชมรมนักบวชหญิง 40 คน จัดอบรมและไปดูงานวิถีชุมชนวัด (Basic Ecclesial Communities) ที่ประเทศสิงค์โปร์ และมาเลเซีย ในช่วง ค.ศ.2004-2005 เพื่อให้สมาชิก

6. ประโยชน์ของ RCIA
ผมมั่นใจว่าการสร้างชุมชนวัด (BEC) เป็นแนวทางที่สำคัญในยุคปัจจุบันเพราะครอบครัวไม่อบอุ่นเหมือนเดิม  ยิ่งคนสนใจมารู้จักค วามหมายของไม้กางเขนในศาสนาคริสต์มากขึ้น  ตั้งแต่ ค.ศ.2000 และยิ่งมีการถ่ายทอดสดพิธีปลงศพของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2

RCIA ทำให้ฆราวาสสมัครมาเป็นพี่เลี้ยง (Sponsors) และเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ให้แก่ผู้สมัครเรียนคำสอน ทำให้พวกเขารู้จักสมาชิกในชุมชนมากขึ้น เวลาเป็นคริสตชนใหม่มาเข้าวัดจึงรู้สึกอบอุ่นขึ้น
การมีระบบพี่เลี้ยงมาเรียนคำสอนด้วย เป็นการฟื้นฟูความรู้ ข้อความเชื่อ และพระคัมภีร์แก่คริสตชนของเราให้เข้มแข็งขึ้น ทำให้พิธีศีลล้างบาปในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์มีความหมายยิ่งขึ้นสำหรับชุมชนคริสตชน
การจัดเตรียมพิธี ในเช้าวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ในระดับสังฆมณฑล เป็นการแบ่งเบาภาระของพระสงฆ์ตามวัด และเปิดโอกาสให้พวกเขาพบพระสังหราชอย่างเป็นทางการครั้งรก พวกเขารู้สึกประทับใจมาก

7. ข้อท้าทายให้พัฒนา RCIA ตามวัด
พระสงฆ์บางคนอาจคิดว่า RCIA มีพิธีหลายขั้นตอนยุ่งยาก ปฏิบัติไม่ได้
บางวัด พระสงฆ์ไม่สามารถจัดหาครูคำสอนผู้ใหญ่ได้ เพราะมีหน้าที่ถวายมิสซา โปรดศีลอภัยบาป และประชุมในวันอาทิตย์ จึงไม่สา มารถสอนคำสอนวันอาทิตย์ อีกทั้งไม่สามารถจัดพิธีอะไรเพิ่มได้เพราะมีงานหลายอย่างต้องรับผิดชอบ
อัครสังฆมณฑลกรุงเทพ มุ่งพัฒนาเสริมศักยภาพแก่ฆราวาส ให้มีส่วนร่วมในชีวิตและพันธกิจ การประกาศข่าวดี ในเขตอัครสังฆม ณฑลกรุงเทพ จึงอยู่ที่เราต้องค่อยสร้างบุคลากรคำสอน ทั้งครูคำสอนเต็มเวลา หรืออาสาสมัครให้พวกเขามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะยิ่งขึ้น

เราเริ่ม RCIA มาตั้งแต่ ค.ศ. 1999 ปัจจุบันมีพระสงฆ์หลายองค์ สัตบุรุษหลายวัด ที่สนใจ และพยายามปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ เรา จะพยายามประชาสัมพันธ์ RCIA ต่อๆไป ดังเจตนาของพระศาสนจักรสากล เป็นพิเศษของพระศาสนจักรในเอเชียที่มุ่งสร้างชุมชนคริสตชนให้เข้มแข็ง

คุณพ่อวีระ อาภรณ์รัตน์
(FR.VIRA   ARPONDRATANA)