หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

สัมภาษณ์โดย บาทหลวงรังสิพล   เปลี่ยนพันธุ์  พระสงฆ์สังฆมณฑลนครสวรรค์

1.ประวัติชีวิตเยาว์วัย ครอบครัว และเส้นทางสู่กระแสเรียก พระสังฆราช ยอแซฟ พิบูลย์  วิสิฐนนทชัย  ประมุของค์ที่ 5 ของสังฆมณฑลนครสวรรค์

1.1พ่อเกิดเมื่อแม่ตั้งครรภ์ได้ 7 เดือน ในสมัยโบราณคุณย่าเป็นคนทำคลอดให้ไม่มีโรงพยาบาลแบบสมัยปัจจุบัน  ต่อมาภายหลังทร าบว่าลิ้นหัวใจยังไม่ปิดสนิท  หมอบอกว่าเป็นลิ้นหัวใจรั่ว ได้เข้าโรงพยาบาลผ่าตัดเมื่อตอนอายุ 18 ปี

ความยากจนคือชีวิตครอบครัวของพ่อ แต่เมื่อเล็ก ๆ ไม่ได้รู้สึกว่ามีความลำบากอย่างไร เพราะเราอยู่กับพ่อแม่สู้ชีวิต  ยึดพระเป็นเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา พ่อจำได้ว่าทีแรกบ้านทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก เมื่อโตขึ้นก็เห็นเค้าสร้างเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น ห ลังคามุงสังกะสี  เมื่อไปโรงเรียนพ่อแม่ไม่เคยให้สตางค์ไปกินขนม  ตอนเที่ยงก็เดินกลับมากินข้าวที่บ้านบ่อย ๆ ไปช่วยซิสเตอร์ขายขนม            ซิสเตอร์ก็แบ่งอาหารให้กินบ้าง ความยากจนมิใช่ความทุกข์แต่เป็นพระพรของพระเป็นเจ้าประทานแก่บุคคลที่พระองค์ทรงเลือกสรร  ดังเช่น แม่พระ นักบุญยอแซฟ  และองค์พระเยซูเจ้าเอง เพื่อเป็นแบบอย่างการสู้ชีวิตสำหรับคนเป็นจำนวนมาก ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกหลายคนเกิดจากครอบครัวที่ยากจน  เขามีประสบการณ์ในการเอาชนะอุปสรรค ทำให้สะสมรวบรวมองค์ความรู้ในการช่วยเหลือคนอื่นๆ ต่อไป

1.2กระแสเรียก เนื่องจากครอบครัวของพ่อยึดพระเป็นที่พึ่ง เมื่อวัดจัดงาน ครอบครัวของเราต้องไปช่วยคุณพ่อและซิสเตอร์เสมอ  จำได้ว่าซิสเตอร์และคุณพ่อเจ้าวัดต้องไปไถนา  นวดข้าว สัตบุรุษก็ไปช่วยกันทำนา เมื่อเล็กๆ พ่อไปวัดทุกเช้าเพื่อช่วยมิสซาเหมือนกั บเด็กเยาวชนอื่นอีกหลายคน ขณะนั้น  คุณสมพงษ์   ดาวพิเศษ เป็นเณรกลับมาเยี่ยมบ้านและมาช่วยมิสซา  ประพฤติตนเรียบร้อยเหมือนนักบุญ รู้สึกอยากจะเอาอย่างเขา  พอดีเมื่อใกล้จบ ป.4 คุณพ่อกิมฮั้ง  แซ่เล้า ก็เรียกให้ไปเป็นเณร  พ่อจึงเข้าบ้านเณรตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ในเรื่องของการส่งเสริมกระแสเรียกพอจะสรุปได้ว่า  ครอบครัวศรัทธาคือแหล่งเพาะกระแสเรียก นอกนั้นแบบอย่างที่ดีและวัดจัดกิจกรรมรวบรวมเยาวชนอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ  ที่สุดต้องมีผู้ใหญ่เรียก  จึงจะเรียกว่า กระแสเรียก

 2.เมื่อทราบว่าได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช  พระคุณเจ้ารู้สึกอย่างไร
2.1พระสังฆราชทุกองค์ จะตอบเหมือน ๆ กัน “รู้สึกหนักใจ” สำหรับพ่อมีความรู้สึกหลายอย่างรวมๆ กัน  ซึ่งบรรยายลำบาก แต่ก็ท ราบว่าจะต้องมีคนมาถามเราแน่  พ่อจึงไปเช็คตนเองกับพระคัมภีร์  หลายบุคคลที่ได้รับกระแสเรียกจากพระเป็นเจ้าก็พบว่า เป็นความรู้สึกที่หลากหลายเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน  ในขณะที่สมณทูตแจ้งให้ทราบความรู้สึกอันแรกจะคล้ายกับ ประกาศกอิสยาห์รู้สึกว่าตัวเองมีบาปไม่สมควรจะทำงานให้กับพระองค์  เทวดาก็รีบไปคีบถ่านไฟมาชำระที่ริมฝีปากเพื่อลดความรู้สึกผิด  สำหรับพ่อได้ไปหาพระสงฆ์อาวุโสที่โบสถ์มหาไถ่เพื่อขอแก้บาป  นักบุญเปาโลหน้ามืดและล้มลง ส่วนพ่อเองจำได้ว่าได้หมอบลงที่โต๊ะรับแขกอยู่พักให ญ่ ท่านทูตก็ปลอบใจว่าอย่ากลัว จากนั้นท่านทูตแจ้งว่าสังฆมณฑลนครสวรรค์มีคริสตชนไม่มาก  แต่มีคนต่างศาสนามากมาย มีกลุ่มชาติพันธุ์  แรงงานต่างด้าว  และผู้อพยพอีกเป็นจำนวนมาก ขอให้คุณพ่อดูแลคนเหล่านี้ให้ดี พ่อก็ทราบว่านี่เป็นภารกิจที่พระมอบให้ ซึ่งจะต้องทำให้ดีที่สุด

แม่พระ เมื่อได้รับสาร  พระคัมภีร์ใช้คำว่า “Disturbed/วุ่นวายใจ” คำ ๆ นี้น่าจะเหมาะสมกว่าคำว่าหนักใจ  เพราะบรรยายถึงหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันเมื่อพระสั่งเรียก

 3.สิ่งใดที่ท้าทายมากที่สุดหรือมีสิ่งใดหนักใจบ้าง ในการดำรงตำแหน่งพระสังฆราชสังฆมณฑลนครสวรรค์
จนถึงวันนี้ยังไม่ได้คิดเรื่องเกี่ยวกับนครสวรรค์  เพราะในกฎหมายพระศาสนจักรได้บอกไว้ชัดเจนว่า “การบริหารสังฆมณฑลให้อยู่ในความดูแลของพระสังฆราชรักษาการและคณะที่ปรึกษา” บทบาทของพ่อควรจะเริ่มต้นหลังจากได้รับการอภิเษกและสถา ปนาเรียบร้อยแล้ว จึงจะทำหน้าที่ได้

งานของสังฆมณฑลเป็นกิจการของพระเป็นเจ้า โดยมีพระจิตทรงนำ เพราะเป็นเรื่องจริงที่ว่า  ได้มีวัดต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายแห่งแล้วในสมัยที่พื้นที่นี้ยังขึ้นสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  ปี 2510 เริ่มมีพระสังฆราชประจำ ท่านก็มาพัฒนาวัดต่าง ๆ ให้ดีขึ้น  และส่งมอบให้คนอื่นต่อไป ในระยะนี้ขอให้คริสตชนนครสวรรค์สำนึกในพระคุณของผู้นำอดีต  ปี  ค.ศ. 1967 – 1976  พระคุณเ จ้า  มีแชล ลังเยร์  บวชเป็นพระสังฆราชองค์แรก ของสังฆมณฑลนครสวรรค์ ถือว่าเป็นวัดเกิดของสังฆมณฑลนครสวรรค์  ท่านมีความมุ่งมั่นในงานแพร่ธรรม ด้วยวิธีการใช้ครูคำสอน  และหัวหน้าคริสตังชาวเขา มาเป็นแกนหลักในการทำงานแพร่ธรรม และได้เป็นผลสำเร็จ ใช้เวลาปกครอง  9 ปี ต่อมาสมัยพระคุณเจ้าบรรจง อารีพรรค ปี ค.ศ. 1976 – 1998 ได้สืบสานภารกิจงานแพร่ธรรมต่อจากมิสชันนารี คณะ MEP.  และยังได้บุกเบิกสถานที่ใหม่บนดอยหลายแห่ง ท่านเดินดอย เดินป่า ลุยน้ำ กินข้าวดอย ใช้ชีวิตแบบชาวเขาบนดอยได้อย่างเรียบง่าย เป็นตัวอย่างของการเป็นพ่อที่ใจดีเสมอ ซึ่งเป็นที่รักของทุก ๆ คน ท่านใช้เวลาปกครองยาวนานถึง 22 ปี ในการเป็นนายชุมพาบาลที่ดี  ปี  ค.ศ.  1999 – 2005 พระสังฆราชจำเนียร  สันติสุขนิรันดร์ ได้มาสานงานต่อถึง  งานแพร่ธรรม , งานอภิบาล และงานพัฒนาด้านโรงเรียน  การสร้างวัดใหม่ , การจัดระเบียบการบริหารโรงเรี ยนของสังฆมณฑลนครสวรรค์ขึ้นใหม่ ทำให้เป็นระบบมากขึ้น และงานด้านอื่น ๆ จนกระทั่งท่านได้รับเลือกให้ไปเป็นอัครสังฆราช ประจำอัครสังฆมณฑลท่าแร่ – หนองแสง  ท่านได้ใช้เวลาปกครอง  6  ปี  หลังจากนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่ชาวนครสวรรค์ รอคอยพระสังฆราชมายาวนานถึง  2 ปี ที่ไม่มีพระสังฆราช

จนกระทั่งปี  ค.ศ. 2007 พระสังฆราชเกรียงศักดิ์   โกวิทวาณิช   มารับตำแหน่ง เป็นพระสังฆราชสังฆมณฑลนครสวรรค์  อยู่ได้ 2  ปี ท่านก็ได้รับเลือกให้เป็นพระอัครสังฆราช แห่งสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และที่สำคัญท่านได้สร้างผลงานชิ้นเอกที่เรียกว่า “กฤษฎีกา” เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงสำหรับ “การฟื้นฟูชีวิตคริสตชน อุทิศตนประกาศข่าวดี” ในการอภิบาลผู้มีความเชื่อทุกคนดำเนินชีวิตเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในสังฆมณฑลนครสวรรค์ได้อีกหลาย ๆ ปี

ถ้าทุกคนยึดพระเป็นเจ้าเป็นเจ้าปกครองของเรา และรักษาขนบประเพณีของสังฆมณฑลที่มีอยู่ก่อนแล้วเป็นแนวทางการพัฒนา เราก็ไม่น่าจะมีความห่วงกังวล

4.แต่ละสังฆมณฑลย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และเช่นเดียวกันย่อมต้องมีปัญหาและอุปสรรคแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่  พระคุณเจ้าวางแผนการทำงานไว้อย่างไรหรือไม่ ในการเป็นประมุขของสังฆมณฑลนครสวรรค์

ขณะนี้ยังไม่ใช่เป็นช่วงเวลาของการวางแผน  แต่พ่อก็พยายามใช้เวลาศึกษาโครงสร้างประชากรของสังฆมณฑลนครสวรรค์  ซึ่งสมณทูตแจ้งว่า “สังฆมณฑลนครสวรรค์มีคริสตชนไม่มาก แต่มีคนต่างศาสนามากมาย   มีกลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานต่างด้าว และผู้อพยพอีกเป็นจำนวนมาก  ขอให้คุณพ่อดูแลคนเหล่านี้ให้ดี”
นครสวรรค์เป็นดินแดนแห่งพันธสัญญา  เป็นดินแดนแห่งความหวังที่มีอนาคตเปิดกว้างมากที่สุด ดังนั้น  การประกาศพระวรสารจะต้องให้ความสำคัญต่อการฟื้นฟูจิตใจของสัตบุรุษ ให้เปิดรับงานธรรมทูตและงานกิจการแห่งความรัก (งานฝ่ายสังคมและการศึกษาอบรมสู่คนต่างศาสนาและผู้อยู่ในภาวะลำบาก)

  5.หลังจากที่พระคุณเจ้าได้รับการอภิเษกเป็นประมุขของสังฆมณฑลนครสวรรค์  สิ่งแรกที่พระคุณเจ้าอยากทำมากที่สุดคืออะไร

ภายในสองเดือนแรกอยากเยี่ยมเยียนสัตบุรุษในทุกวัด  เพื่อทราบจำนวนคริสตชนและสภาพความเป็นอยู่ของเขา  จำนวนประชากรไทยที่อยู่ในระแวกวัด  กลุ่มชาติพันธุ์ คนต่างด้าว ผู้อยู่ในภาวะลำบาก เป็นต้น  คนพิการ ผู้สูงอายุ สตรี และเด็กศึกษาลักษณะพิเศษของแต่ละพื้นที่ในการแพร่ธรรม  การศึกษาอบรม  ศาสนาวัฒนธรรม และโครงสร้างทางสังคม


 6.พระคุณเจ้ามีนโยบายการทำงานและการบริหารงานสังฆมณฑลเป็นอย่างไรบ้าง

ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ได้กำหนดหน้าที่ของพระสังฆราชให้เป็นนายชุมพาบาล เพื่อสอนข้อความเชื่อ ให้เป็นพระสงฆ์ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และเป็นศาสนบริกร ทำหน้าที่ปกครอง
อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของการเป็นสังฆราช ท่านสามารถปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระสันตะปาปาและสมาชิกพระสังฆราชของประเทศนั้น ๆ

พระคุณเจ้าเกรียงศักดิ์   โกวิทวานิช กับบรรดาผู้นำได้ใช้เวลาถึง 2 ปี  เขียนกฤษฎีกาของสังฆมณฑล เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการอภิบาลสังฆมณฑล กฤษฎีกาฉบับนี้จะต้องเป็นนโยบายในการทำงานและการบริหารสังฆมณฑลที่สุด ประเพณีปฏิบัติของสังฆมณฑลที่ดี ๆ ก็จะต้องเก็บรักษาต่อไป

 7.ก่อนที่พระคุณเจ้าจะได้รับตำแหน่งพระสังฆราช พระคุณเจ้าได้ทำงานมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะงานด้านอภิบาลสังคม  งานสงเคราะห์  งานโคเออร์  NCCM  งานผู้ยากไร้  งานด้านสังคมในรูปแบบต่าง ๆ นี้ในมุมมองของพระคุณเจ้า  งานด้านสังคมในพระศาสนจักรคาทอลิกไทยควรมีแนวคิด  กลยุทธ์ และหลักปฏิบัติในการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง  ที่จะทำให้การทำงานด้านการอภิบาลสังคมนี้ประสบความสำเร็จ

สังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเหมือนกับลมฟ้าอากาศที่รุนแรงขึ้น  ประชาชนปัจจุบันมีความทุกข์หลายอย่างเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน  ทั้งด้านสุขภาพ สังคม  การเมือง  และการทำมาหากิน   งานอภิบาลสังคมเป็นของสภาพระสังฆราชฯ มีหน้าที่ไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับประชาชน โดยมีหลักการทำงานดังนี้ 

1. ช่วยเหลือผู้อยู่ในภาวะลำบากให้สามารถคิดทบทวนปัญหาที่เผชิญหน้าพวกเขา พร้อมกับตรวจสอบทรัพยากรของเขาเองที่จะนำออกมาใช้แก้ไขปัญหา 

2. พระศาสนจักรมีหน้าที่บรรเทาปัญหาของเขาบนพื้นฐานคุณค่าพระวรสาร  เช่น  จูงใจพวกเขาให้ร่วมมือกันทำงาน ให้มีความเสียสละด้วยการแบ่งปันเวลา  ความรู้ ความสามารถ ในการวางแผนงานร่วมกัน  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  หรืออีกนัยหนึ่งให้อยู่บนหลักการ Subsidiary คือการช่วยเหลือที่ทำให้ชุมชนเกิดการพึ่งตนเอง  โดยการสรรหาคนดี มีธรรม มาเป็นผู้นำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เน้นการประหยัดเพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

3. ให้เริ่มต้นด้วยกิจกรรมเล็ก ๆ เป็นโครงการนำร่อง  หรือเป็นประดุจแสงสว่าง  เมื่อโครงการประสบความสำเร็จจึงค่อยๆขยายเครือข่ายให้กว้างออกไป

4. สภาพระสังฆราชฯ พยายามทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน Coordinator หรือ Facilitator ผู้อำนวยการหรือผู้อำนวยความสะดวก  เราจะต้องจดจำคำของพระเยซูเสมอว่า “เราเป็นแสงสว่าง เราเป็นเกลือดองแผ่นดิน”  ถ้ามีแสงสว่างมากเกินไปก็ทำให้คนตาเสีย ถ้า มีเกลือมากไปคนก็ไม่กล้ากินอาหารของเรา  นี่หมายความว่า  อย่าพยายามที่จะไปทำทุกสิ่งทุกอย่างให้กับประชาชน เราควรทำหน้าที่เป็นส่วนเล็ก ๆ ของชุมชน แต่เป็นส่วนที่มีพลัง ทำงานด้วยความรัก ความเสียสละ  อดทนนาน และมีระบบการบริหารงานที่ถูกต้องตามแบบฉบับของพระเยซู   การบริหารงานที่ดีที่สุดคือผู้บริหารต้องอยู่กับคนอยู่กับงาน  พร้อมกับคัดคนดีคนเก่งมาร่วมงาน  งานจึงเกิดผล

งานอภิบาลสังคมเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  เนื่องจากพระศาสนจักรมีจำนวนที่เล็กน้อ ยเมื่อเทียบกับประชากรไทย ในการทำงานใด ๆ มักจะมีสมาชิกร่วมในโครงการอีกเป็นจำนวนมาก บุคคลเหล่านี้ต้องการข้อมูลข่าวสาร  เพื่อพัฒนางานให้สอดประสานกลมกลืนกันทั้งระบบ เจ้าหน้าที่ของสภาพระสังฆราชฯ ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความจำเป็นต้องจัดเวทีการประชุมให้กับสมาชิกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  เพื่อทุกคนจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จของคนอื่นและนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตน  ทำให้ทุกคนสามารถก้าวเดินไปพร้อมเพรียงกัน

วิธีวัดผลความสำเร็จของงาน อยู่ที่ประชาชนยอมรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  และประชาชนมีจิตสำนึกว่างานที่เกิดขึ้นกลายเป็นความรับผิดชอบของเขาเอง  ถ้าทำได้เช่นนี้ชุมชนจะบังเกิดความเข้มแข็งบนวิถีทางการพัฒนาแบบยั่งยืน คือ ชุมชนรู้ปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง  โดยมีผู้นำและอาสาสมัครเป็นแกนนำการเปลี่ยนแปลง มีการจัดประชุมเพื่อขยายการมีส่วนร่วมกับสมาชิกภายในชุมชน มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชุมชน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาภายในของเขา ควรทราบว่าวั ฒนธรรม (ประเพณีต่าง ๆ เป็นกลยุทธ์ทางสังคมที่คนโบราณใช้เพื่อรวมพลังสร้างสรรค์ชุมชนของตน)  มีระบบการสื่อสารภายในชุมชนและบุคคลภายนอก เพื่อหาทรัพยากรหนุนเสริม ที่สุด มีการจดบันทึกข้อมูลเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานการเรียนรู้  เป็นต้นรายงานการเงินและโครงการที่ประสบความสำเร็จ

 8.ในการทำงานทุกอย่างของมนุษย์เราย่อมมีปัญหาหรืออุปสรรค พระคุณเจ้ามีมุมมองหรือมีวิธีการในการเผชิญ กับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เข้ามาอย่างไร

เมื่อพระเป็นเจ้ามาบังเกิดเป็นมนุษย์  พระองค์มิได้เอาปัญหาออกไป แม้พระองค์กลับคืนชีพแล้ว ปัญหาก็ยังอยู่กับมนุษย์ตลอดไป  มีแต่จะเพิ่มขึ้น พระองค์บอกว่า  ยิ่งถึงวันสุดท้าย คนจำนวนมากจะไม่สามารถอดทนได้

ในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ พ่อเฝ้าสังเกตดูมนุษย์เราแบ่งได้เป็น 3 จำพวก  1. พวกชอบมองโลกมีแต่ปัญหา เห็นแต่อุปสรรคมากมาย ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของตน และบางทีก็ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่  2. พวกที่ไม่เห็นชีวิตมีปัญหา ทุกวันมีแต่ความสนุกสนาน  รอคำสั่ง  ถ้าไม่มีคำสั่งก็ไม่มีงานทำ  3. พวกเห็นปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ต้องพยายามอยู่กับมัน ต้องอดทนนาน  หาทางเอาชนะให้ได้ในที่สุด  มันนำความเจ็บปวด  ขณะเดียวกันก็นำโชคลาภมาพร้อม ๆ กัน...                 ขอยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม  หลายปีมานี้ทั่วโล กเกิดวิกฤติในเรื่องพลังงานน้ำมันมีราคาแพงมาก         บางคนบอกว่าอีก 50 ปีน้ำมันจะหมดโลก  เรื่องนี้เป็นปัญหาอย่างยิ่ง ส่งผลให้สินค้านานาชนิดปรับราคาสูงขึ้น  ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศก็อยู่ในภาวะลำบากด้วย... แต่อีกด้านหนึ่ง  เราได้เห็นชาวนาชาวไร่ไปจนถึงนักวิทยาศาสตร์คิดค้นหาทางออก  แม้แต่รถยนต์ของสภาพระสังฆราชฯ ได้ปรับไปใช้ก๊าซธรรมชาติ  อีกคันหนึ่งปรับไปใช้ไ ฮโดรเจนที่เกิดจากน้ำธรรมดา ทำให้ประหยัดค่าน้ำมันไปมาก นอกนั้นยังมีผู้เสนอพลังงานทางเลือกอีกหลายประเภท  ดูว่าในไม่ช้านี้เราอาจจะไม่ต้องพึ่งน้ำมันอีกต่อไปแล้ว

คำพูดที่ว่า “วิกฤติมักนำไปสู่โอกาสใหม่ ๆ” คำพูดนี้น่าจะเป็นความจริงอย่างยิ่ง  ในยามที่คนเราตกระกำลำบากจะมีสายตาของหลาย ๆ คนจ้องมองเรา  ดูว่าเราจะสามารถเอาชนะอุปสรรคได้หรือไม่ อีกบางคนกำลังอยากจะยื่นมือมาช่วยเหลือ ถ้าเราจะเอ่ยปากขอร้องเขา

พ่อทำงานที่โคเออร์มาหลายปีแล้ว โคเออร์เป็นสำนักงานทำงานกับผู้ลี้ภัยสงคราม เป็นกลุ่มคนที่เกิดจากความขัดแย้งทางความคิด ทางเชื้อชาติ การเมือง และผลประโยชน์  UNHCR ให้คู่มือช่วยบริหารงานลดความขัดแย้ง เพื่อทำให้งานในค่ายผู้ลี้ภัยไม่ติดขัดและพนักงานมีความปลอดภัย ความขัดแย้งมีหลายประเภท วิธีจัดการก็มีหลากหลายแตกต่างกันไป

วิธีการแก้ปัญหาแบบของพระเยซูเจ้า เป็นสิ่งที่ทุกคนควรยึดถือและนำไปปฏิบัติดังนี้    

1. ทวีความเชื่อของบุคคลที่มีปัญหา เพื่อช่วยให้โรคภัยไข้เจ็บได้รับการรักษา  คนตายกลับฟื้นคืนชีพได้  ลมพายุที่พัดแรงกลับสงบลง  ผู้หิวโหยมีอาหารรับประทาน... ความเชื่อทำให้คนเข้าใกล้พระเป็นเจ้า  เหมือนกับลูกอยู่ใกล้พ่อแม่  เมื่อสองฝ่ายอยู่ใกล้กัน ความรักและสติปัญญาก็บังเกิดขึ้น  เหตุการณ์ร้ายก็ทุเลาลง 

2. พระองค์ใช้วิธีเทศน์สอนให้คนรู้จักหนทางของพระเจ้า  เพื่อคนจะได้เดินในแสงสว่าง  ปัญหาก็จะถูกป้องกันไว้  แทนที่จะรอให้ความทุกข์เกิดขึ้น

3. พระเยซูเจ้าทรงรับเอาความบาปให้ตกอยู่กับตัวเอง แม้กระทั่งยอมรับความตาย… เมื่อเขาดูหมิ่นพระองค์ก็มิได้ทรงโต้ตอบ เมื่อถูกทารุณกรรมพระองค์ก็มิได้ทรงข่มขู่จะแก้แค้น พระองค์ทรงแบกบาปของเราไว้ในพระวรกายบนไม้กางเขน เพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับทุกคน ให้มีชีวิตอยู่มิใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อความชอบธรรมและความดีส่วนรวม (1 ปต 2:23-24)

ที่จริงทุกคนก็รู้ทฤษฎีอยู่แล้ว แต่ต้องใช้ความเพียรในการปฏิบัติ

 9.ในการบริหารงาน พระคุณเจ้ากลัวปัญหาแบบใดมากที่สุด  เพราะทุกที่ย่อมต้องมีปัญหา  ไม่ว่าในเรื่องของความขัดแย้งระหว่างบุคคล  ทัศนคติ หรือปัญหาในเรื่องของการทำงาน

เมื่อตอนอยู่บ้านเณรเล็ก สามพราน  ครูพาเด็กไปเที่ยววังตะไคร้  นักเรียนคนหนึ่งจมน้ำตาย พ่อต้องไปพบกับบิดาและญาติของเขาเ พื่อแจ้งข่าวร้ายให้ทราบ  เขารีบเอาปืนออกมาข่มขู่พ่อและกล่าวคำหยาบคายอีกมากมาย  พ่อได้พยายามพูดปลอบใจและพยายามจัดงานศพให้ดีที่สุด           พ่อสังเกตว่าพระสงฆ์และคุณครูหลายคนเหน็ดเหนื่อยกับการจัดงาน... จากเรื่องนี้พ่อต้องการอยากจะบอกว่าไม่ชอบการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เพราะจะนำไปสู่ความสูญเสียต่อทุก ๆ ฝ่าย       ที่จริงปัญหาย่อมนำความเ จ็บปวด แต่ก็นำพระพรของพระเจ้ามาสู่เราเช่นเดียวกัน ถ้าคนเราจะใช้สติและความศรัทธาในพระเจ้าเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา

 10.ในชีวิตสงฆ์คงต้องมีความสุขและความทุกข์  ที่ผ่านมาพระคุณเจ้ามีความสุขในเรื่องใดบ้าง  และขณะเดียวกัน  พระคุณเจ้ามีความทุกข์ในเรื่องใดมากที่สุด

ความสุข เมื่อเห็นงานเกิดผล ปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข ผู้ร่วมงานร่วมรับผิดชอบจนกระทั่งถือว่าเป็นภารกิจของเขาเอง  เห็นคนรุ่นใหม่เติบโตและฉลาดกว่าในหลาย ๆ เรื่อง  พวกเขาเป็นมงกุฎของคนสูงอายุที่ต้องจากไป

ความทุกข์ เมื่อเห็นเจ้าของประกอบการรวยขึ้น แต่ลูกจ้างยิ่งจนลง เห็นคนฉลาดหลอกคนซื่อ เห็นผู้ใหญ่รังแกเด็กและสตรี  หรือคนที่อ่อนด้อยกว่า เห็นคนไทยรังแกคนต่างด้าวและชาวเขาชาวดอย  นี่คือส่วนที่เจ็บปวดในจิตใจ

 11.ปี 2009-2010 เป็นปีพิเศษสำหรับพระสงฆ์ ในมุมมองของพระคุณเจ้า  สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ท้าทายชีวิตสงฆ์ใน ปัจจุบัน หรือพระสงฆ์ในปัจจุบันควรระมัดระวังในเรื่องใดเป็นพิเศษ

สิ่งที่ท้าทายพระสงฆ์
บุคคลแรกที่อยู่ในหัวใจของพระเยซูคือ “พระสงฆ์” เพราะเป็นผู้แทนของพระองค์
ปรากฏตัว         ในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ถวายมิสซา  โปรดศีล เทศน์สอน ดูแลเด็ก เยาวชน สตรี คนชรา  คนใกล้จะตาย จนถึงหลุมศพ

ส่วนที่ยากที่สุดสำหรับพระสงฆ์คือ “การเป็นพระเยซูภาคพระมหาทรมาน” เพราะภาพลักษณ์ของพระเยซูที่ปรากฏทั่วไปมักถูกตรึงอยู่บนกางเขน สวมมงกุฏหนาม มีหัวใจที่ถูกทิ่มแทง แต่โลกปัจจุบันนี้มักเสนอชีวิตที่สะดวกสบาย  นิยมวัตถุ การบริโภคที่เกินความจำเป็น  ทะเยอทะยาน  อยากได้ อยากมี

ปีพระสงฆ์ พระสงฆ์ควรทำอย่างไร
พระสันตะปาปาแนะนำ “ให้ฟื้นฟูจิตใจ” ใจเป็นคำไทยอยู่ในส่วนลึกของร่างกาย                      เป็นศูนย์กลางที่ควบคุมร่างกาย สติปั ญญา  อารมณ์  ของคน ให้เป็นไปตามความต้องการของหัวใจ... ที่ต้องมีการฟื้นฟูจิตใจก็เพื่อปรับหัวใจให้เที่ยงตรงตาม “กระแสเรียก” ที่พระมอบให้ในวันรับศีลบวช “ขอให้เป็นพระสงฆ์ของพระเป็นเจ้า ทำงานเพื่อพระเป็นเจ้า  โดยพาทุกคนให้กลับไปหาพระองค์”

ภารกิจของพระสงฆ์ไทยยุคปัจจุบันควรให้ความสำคัญในเรื่องใด

1.อย่าลืมคำสัญญาที่ให้ไว้กับพระ “ถือโสด  นอบน้อมเชื่อฟัง และ ถือความยากจน”

2.ส่งเสริมบทบาทฆราวาสในงานประกาศพระวรสาร ฝึกอบรมพวกเขาให้อยู่ในโลก  ฐานะเป็นแสงสว่าง  เป็นเกลือดองแผ่นดิน ด้านเศรษฐกิจ สังคม  การเมือง  และในทุกสาขาอาชีพ

3.พัฒนาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวสงฆ์ โดยมีพระสังฆราชเป็นผู้นำ ยุคนี้เป็นยุคประสานงาน อันเป็นกลยุทธที่สำคัญในทุกกลุ่มสังคม ดังนั้น  เพื่อให้การประกาศพระวรสารบังเกิดผล  พระสงฆ์ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ๆ

4.พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับนักบวชทุกคณะ  เพราะนักบวชมักจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านเยาวชน ฯลฯ  พระสงฆ์ต้องร่วมมือกับท่าน เพื่อให้งานวัดเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

 12.ความหมายและคติพจน์ของพระคุณเจ้าในการปกครองสังฆมณฑลนครสวรรค์

Deus Caritas Est พระเป็นเจ้าคือองค์ความรัก
ความรักคือสายสัมพันธ์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนระหว่างการให้และรับซึ่งกันและกัน  เริ่มต้นจากพระบิดาทรงรักพระบุตรร่วมกับพระจิต  ความรักของพระเป็นเจ้าได้ขยายออกและตกทอดมาถึงเราโดยทางพระเยซูคริสตเจ้า เป็นความรักที่สร้างสรรค์ เสียสละ  อดทนนาน และเป็นอมตะนิรันดร์

รู้ได้อย่างไรว่าพระเป็นเจ้าเป็นองค์ความรัก เราทราบเรื่องนี้จากพระเยซูเจ้า พระองค์เป็นพระบุตรที่พระบิดาทรงรับสั่งให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อสอนเรื่องนี้แก่เรา

พระเยซูทรงอธิบายความรักว่าอย่างไร... จงรักกันและกันเหมือนอย่างที่พระเจ้าทรงรักท่าน...  ข้อพิสูจน์ความรักคือการยอมสละชีวิตเพื่อกันและกัน (ยน 15:12-13)  ในส่วนของพระเป็นเจ้า  พระองค์ทรงส่งพระบุตรให้อุทิศชีวิตทั้งหมด  แม้ต้องยอมตายที่ไม้กางเขน (1 ยน 4:10)  ทรงรักษาคนเจ็บป่วย  เป็นเพื่อนกับคนบาป  ชี้ทางสว่างสำหรับดำเนินชีวิตบนโลกนี้  โดยมีเป้าหมายความเป็นอมตะ นิรันดร์ ด้วยการพลีกรรม แพร่ธรรม และรับใช้เพื่อนพี่น้องของตน  ในบั้นปลายชีวิต พระเยซูเจ้าทรงรับเอาความบาปให้ตกอยู่กับตัวเอง เมื่อเขาดูหมิ่นพระองค์ก็มิได้ทรงโต้ตอบ เมื่อถูกทารุณกรรมพระองค์ก็มิได้ทรงข่มขู่จะแก้แค้น  พระองค์ทรงแบกบาปของเราไว้ในพระวรกาย เพื่อเป็นแบบอย่างสำหรับทุกคน ให้มีชีวิตอยู่มิใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อความชอบธรรมและความดีส่วนรวม        (1 ปต 2:23-24) 

นักบุญยอห์นอัครสาวก สรุปความรักเป็น 3 ข้อ (จดหมายของนักบุญยอห์นฉบับที่ 1)     
1. อย่าทำบาป อย่าสมัครเป็นลูกปิศาจ  แต่จงถือพระบัญญัติ  เพื่อเข้าพักอาศัยในครอบครัวของพระเจ้า
2. บัญญัติของพระเจ้าคือ “จงรักกันและกัน” ผู้ที่รู้จักรัก  ผู้นั้นรู้จักพระเจ้า  และพระเจ้าประทับอยู่กับเขา 
3. จงเฝ้าระวังเรื่องโลกีย์และค่านิยมที่ขัดกับอุดมการณ์คริสตชน (อุดมการณ์คริสตชนคือ พลีกรรม  แพร่ธรรม  รับใช้)

นักบุญเปาโล นิยามความรักเป็นเชิงคุณธรรมดังนี้ (1 คร 13) “ความรักนั้นย่อมอดทนนานและกระทำคุณประโยชน์ ความรักไม่อิจฉา  ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่ฉุนเฉียว  ไม่จดจำความผิด  ไม่หยาบคาย  ไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว  ไม่ชื่นชมยินดีกับการประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ  ความรักอดทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนที่ดีของเขาเสมอ  มีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่างได้”

สังฆมณฑลนครสวรรค์ เป็นพื้นที่ของวัฒนธรรมหลากหลาย ตามสภาพแวดล้อมที่เป็นป่า เขา  ทุ่งหญ้า  ไร่นา และลุ่มน้ำต่าง ๆ เกิ ดเป็นวัฒนธรรมชุมชนและพิธีกรรม  เพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เหล่านั้น  จึงพิจารณาเห็นว่า “ความรัก / Caritas” เป็นคุณค่าสากลที่สามารถใช้เสวนากับทุกวัฒนธรรม  เพราะความรักคือองค์พระเป็นเจ้า            (Deus Caritas Est) พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่ง  ทรงทำนุบำรุงให้เจริญเติบโตจนสามารถขยายเผ่าพันธุ์  โดยมิได้รุกล้ำอธิปไตยแ ละเสรีภาพของสรรพสิ่ง รวมทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่น  ตรงกันข้ามเมื่อพระ      คริสตเจ้าทรงรับเอากาย พระองค์ทรงดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเขา  ร่วมทุกข์ร่วมสุขจนกระทั่งยอมพลีชีวิตของตนเองเพื่อคนทั้งหลาย ขณะเดียวกัน  พระองค์ก็ให้แบบอย่างสำหรับทุกคนและทุกวัฒนธรรม  จะได้มีชีวิตดำรงอยู่มิใช่เพื่อตัวเอง  แต่เพื่อผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลาย

“ไฟ” แทนพระจิตเจ้า พระองค์ทรงประทับอยู่กับพระศาสนจักร ช่วยส่องสว่างให้เข้าใจพระวาจา  และบันดาลให้เร่าร้อนด้วยความรักและรับใช้พระคริสตเจ้า  ในการนำประชากรชาวไทยสู่ความศักดิ์สิทธิ์ สมเป็นบุตรของพระบิดาเจ้า พระองค์จะบันดาลให้พันธกิจความรักของพระเจ้าดำเนินต่อไป  อาศัยประชาชนที่เชื่อและศรัทธาในอุดมการณ์ของพระคริสตเจ้า

“พระหฤทัย” อธิบายความรักในแบบของพระคริสตเจ้า เป็นความรักที่เสียสละ Sacrificial Love ยอมพลีเป็นบูชา  ยอมรับม งกุฎหนาม มงกุฎแห่งการดูถูกเหยียดหยาม  ยอมรับไม้กางเขนสัญญาลักษณ์ของความทุกข์ที่เกิดจากบาปของประชาชน พระองค์ทรงยอมรับให้ตกกับพระองค์เอง ยอมรับบาดแผลที่ถูกประชาชนทิ่มแทง แต่บาดแผลเดียวกันนี้กลับกลายเป็นท่อธารน้ำและเลือดที่หลั่งออกมาเป็นอาหารเลี้ยงประชาชนให้มีชีวิตนิรันดร์ (ดังนั้น ในทุกมิสซาพระสงฆ์จะกล่าวคำของพระองค์ซ้ำแล้วซ้ำอีก “กายของเรามอบแด่ท่าน... โลหิตของเราหลั่งออกเพื่อยกบาปของท่าน...”)

“ดวงดาว” แทนรูปแม่พระ  บุคคลตัวอย่างผู้ให้กำเหนิดพระคริสตเจ้า และดำเนินชีวิตตามพระวาจาของพระองค์ มีความสนิทสนมเป็นกายเดียวใจเดียวกัน  บรรดาอัครธรรมทูตได้รับพระนางเป็นมารดาของพวเขา ตามคำสั่งของพระคริสตเจ้าก่อนสิ้นพระชนม์  สำหรับประเทศไทย มิสชันนารีฝรั่งเศษได้ประกาศแจ้งคริสตชนไทย  ในบทภาวนาประจำวันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี “บทถวายประเทศไทยแด่แม่พระ  ในโอกาสวันสมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ องค์อุปถัมภ์ของประเทศไทย”  ...คริสตชนไทยทุกคนจึงศรัทธาในแม่พระตั้งแต่โบราณกาลมา

“ดอกไม้” แทนรูปนักบุญยอแซฟ ผู้พิทักษ์พระเยซูเจ้าช่วงเจริญวัย ท่านดำเนินชีวิตในความบริสุทธิ์ สุภาพ  ถ่อมตน  และยึดถือน้ำพระทัยของพระเจ้า  เป็นอุดมการณ์ เป็นแบบอย่างของผู้นำที่ประสงค์จะสร้างครอบครัวแบบยั่งยืน  สงบ สันติ  แต่มีพลังกอบกู้มวลชน

ขอบคุณข้อมูล : จากคุณมานพ ผิวเกลี้ยง ฝ่ายสังคมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ