หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระธรรมนูญ พระสมณกฤษฎีกาและ
คำแถลงแห่งสภาสังคายนา  เล่มที่ 5

ข้อสรุป

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

คำแถลงของสภาสังคายนาว่าด้วยเสรีภาพในการถือศาสนาสิทธิ์ของบุคคลและคณะบุคคล
ที่จะมีเสรีภาพทางสังคมและบ้านเมืองในเรื่องศาสนา

๑๕.  เป็นที่เห็นประจักษ์ว่าทุกวันนี้ มนุษย์ปรารถนาจะถือศาสนาได้อย่างเสรีทั้งในที่ส่วนตัวและในที่สาธารณะ. ยิ่งกว่านั้นยังเป็นที่เห็นประจักษ์ว่า  บัดนี้เสรีภาพในการถือศาสนาได้ประกาศให้ถือเป็นสิทธิของพลเมืองประการหนึ่งในรัฐธรรมนูญของประเทศเป็นส่วนใหญ่  และเสรีภาพนี้ได้รับการยอมรับนับถืออย่างสง่าเป็นทางการในเอกสารของนานาประเทศ.

แต่ทว่ามีระบอบการปกครองแบบที่แม้ว่าเสรีภาพในการถือศาสนาได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ แต่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเองพยายามชักจูงพลเมืองมิให้ถือศาสนา กับพยายามทำให้นิกายศาสนาต่าง ๆ ดำรงอยู่ได้อย่างยากลำบากและมีอันตราย.

สภาสังคายนาขอต้อนรับเหตุการณ์ประการต้นด้วยความชื่นชอบโดยถือเป็นนิมิตดีแห่งยุคนี้ แต่ขอประณามเหตุการณ์ประการหลังด้วยความระทมใจโดยถือเป็นเรื่องน่าสลด. สภาสังคายนาขอบรรดาคาทอลิก  แต่วิงวอนขอมนุษย์ทุกคนด้วย ให้ตั้งใจพิจารณาดี ๆ ว่าเสรีภาพในการถือศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นสักเพียงใดโดยเฉพาะในสภาพปัจจุบันของครอบครัวมนุษยชาติ.

เป็นที่เห็นประจักษ์ว่า ทุกวันนี้ชนชาติต่าง ๆ หาทางสนิทใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นทุกที.  ประชากรที่ถือวัฒนธรรมและศาสนาต่างกันก็ทำการติดต่ออย่างใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น  และแต่ละคนก็มีความสำนึกถึงความรับผิดชอบส่วนตัวมากยิ่งขึ้น.  ฉะนั้นเพื่อให้การติดต่อที่มุ่งสันติและความสามัคคีเริ่มดำเนินและตั้งมั่นอยู่ในมนุษยชาติ เป็นการจำเป็นที่ในทุกแห่งหนต้องมีการรับรองเสรีภาพในการถือศาสนาด้วยการรับประกันในกฎหมายอย่างมีผลกับต้องมีการเคารพหน้าที่และสิทธิสูงสุดของมนุษย์ที่จะถือชีวิตทางศาสนาในสังคมได้อย่างเสรี.

ขอพระเป็นเจ้า  พระบิดาของมนุษย์ทั้งหลาย โปรดให้ครอบครัวมนุษย์บรรลุถึง “เสรีภาพอันรุ่งโรจน์เช่นเดียวกับบุตรของพระเป็นเจ้า” (รม. ๘:๒๑) อันเป็นเสรีภาพที่สูงส่งและไม่รู้สิ้นสุด  โดยถือหลักต้องมีเสรีภาพในการถือศาสนาในสังคม ทั้งนี้เดชะพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระคริสตเจ้าและพระมหิทธานุภาพแห่งพระจิตด้วยเทอญ.

ข้อความแต่ละข้อทั้งสิ้นที่ประกาศไว้ในคำแถลงฉบับนี้ บรรดาปิตาจารย์ได้เห็นชอบแล้วทั้งนั้น อาศัยอำนาจของท่านอัครธรรมทูต ซึ่งเราได้มอบจากพระคริสตเจ้า เราพร้อมกับบรรดาปิตาจารย์ที่เคารพเหล่านี้  ในพระจิตเจ้า  จึงเห็นชอบกำหนดและตราไว้ และสิ่งใดที่สภาสังคายนาได้ตราขึ้น  เราก็สั่งให้ประกาศใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่พระเป็นเจ้า

กรุงโรม – ที่พระวิหารนักบุญเปโตร
วันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๘๖๕
เรา – เปาโล  สังฆราชแห่งพระศาสนจักรคาทอลิก