๑๑. ทำตามการดลใจของพระจิต ๑.
เพราะมีความเชื่อและรู้ว่าพระจิตของพระเจ้าซึ่งกระจายอยู่เต็มโลกนำตนไป ประชากรของ พระเป็นเจ้าจึงพยายามมองดูว่า ในเหตุการณ์ ในข้อเรียกร้อง และในความต้องการในสมัยของเรา ซึ่งตนมีส่วนร่วมอยู่ด้วยนั้น มีเครื่องหมายอะไรแสดงว่าพระเป็นเจ้าสถิตอยู่หรือมีพระประสงค์อะไร เพราะว่าความเชื่อส่องแสงสว่างใหม่ทำให้เราเข้าใจเรื่องทุกอย่างและทำให้เรารู้น้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าเกี่ยวกับ กระแสเรียกทั่วไปของมนุษย์ ฉะนั้นจึงนำให้จิตใจไปหาทางแก้ที่เป็นมนุษย์จริง ๆ
๒.
ก่อนอื่นทั้งปวง สภาสังคายนาตั้งใจจะใช้ความสว่างนี้พิจารณาสิ่งมีค่าต่าง ๆ ซึ่งคนในสมัยนี้ ยกย่องมากที่สุด และแสดงให้เห็นว่ามีกำเนิดมาจากพระเป็นเจ้า เพราะสิ่งมีค่าเหล่านี้ซึ่งเกิดจากสติปัญญาที่พระเป็นเจ้าประทานแก่มนุษย์ เป็นสิ่งดีนักหนา แต่บ่อย ๆ ทีเดียว ใจชั่วช้าเสียไปของมนุษย์ได้ชักจุงให้มันออกไปจากระเบียบที่จัดไว้เป็นอย่างดีแล้ว สิ่งมีค่าเหล่านั้นจึงพึงได้รับการล้างชำระให้สะอาด
๓.
พระศาสนจักรมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรเกี่ยวกับมนุษย์ ? เห็นว่าควรเสนอแนะอะไรบ้างสำหรับสร้างสังคมในสมัยปัจจุบันนี้ขึ้น ? กิจการของมนุษย์ในโลกมีความหมายสุดท้ายเป็นประการใด? ปัญหา ทั้งหมดนี้ต้องการคำตอบ ถ้ามีคำตอบแล้ว ก็จะเห็นชัดขึ้นว่าประชากรของพระเป็นเจ้ากับชาติมนุษย์ซึ่งประชากรของพระเป็นเจ้าปะปนอยู่ด้วย จะต้องรับใช้ช่วยเหลือกันและกัน แล้วดังนี้ ก็จะเห็นประจักษ์ว่า ภารกิจของพระศาสนจักรมีลักษณะเกี่ยวกับศาสนา และเมื่อมีลักษณะเกี่ยวกับศาสนา ก็มีลักษณะเกี่ยวกับมนุษย์อย่างสูงสุด
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ๓๓. การตั้งปัญหา
๑.
มนุษย์พยายามทำงานและใช้สติปัญญาทำให้การดำรงชีวิตของตนดีขึ้นโดยไม่หยุดยั้ง แต่ทุกวันนี้เฉพาะอย่างยิ่งอาศัยความรู้และวิชาการ มนุษย์ได้แผ่ขยายอำนาจไปถึงธรรมชาติเกือบทั่วไป และก็ยังแผ่ขยายเช่นนั้นอยู่. โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากนานาชาติทำการแลกเปลี่ยนกันทุกชนิดมากขึ้น ครอบครัวมนุษย์จึงค่อย ๆ ประกอบกันตั้งขึ้น และรับรู้ว่าตนเป็นประชาคมเดียวเท่านั้นในสากลโลก. เมื่อเป็นเช่นนี้ ของหลาย ๆ สิ่งที่แต่ก่อนนี้มนุษย์หวังจะได้รับก่อนอื่นหมดจากอำนาจเบื้องบนทุกวันนี้ก็คิดหาเอาด้วยความขยันหมั่นเพียรของตนเอง.
๒.
เมื่อมนุษย์ชาติต่างมีความมานะบากบั่นกันเช่นนี้ก็เกิดมีคำถามหลายข้อขึ้นใหม่ในหมู่มนุษย์ เช่นว่า ความขยันหมั่นเพียรเช่นนี้มีความหมายและมีค่าเป็นประการใด ? ต้องใช้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างไร ? ความพยายามของแต่ละคนก็ดี ของสังคมก็ดี มุ่งถึงจุดหมายอะไร ? พระศาสนจักรเป็นผู้เฝ้ารักษาพระวาจาของพระเป็นเจ้าและนำมาใช้เป็นหลักในเรื่องศาสนาและศีลธรรมก็จริง แต่ไม่ใช่ว่าจะตอบปัญหาเหล่านี้แต่ละข้อได้อย่างฉับพลันทันทีเสมอไป อย่างไรก็ดี พระศาสนจักรใคร่ใช้ทั้งการไขแสดงของพระเป็นเจ้าและประสบการณ์ของทุก ๆ คนส่องชี้ทางที่มนุษยชาติเพิ่งจะย่างเข้าไป.
การปฏิบัติงานของมนุษย์มีค่าอย่างไร ?
๑.
ผู้มีความเชื่อย่างแน่นอนว่า การปฏิบัติงานของมนุษย์ ไม่ว่าของแต่ละคนหรือของส่วนรวม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การที่มนุษย์ในยุคต่าง ๆ พยายามอย่างใหญ่หลวงที่จะทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบายขึ้นนั้น ถึงจะพิจารณาในตัวมันเองก็ถือเป็นการทำถูกตามแผนการของพระเป็นเจ้า เพราะมนุษย์ซึ่งสร้างมาตามพระฉายาของพระองค์นั้น ได้รับมอบหมายให้เอาโลกและของทุกสิ่งที่อยู่ในโลกไว้ในอำนาจ ให้ปกครองโลกอย่างศักดิ์สิทธิ์และยุติธรรม และเมื่อยอมรับนับถือพระเป็นเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งก็ให้ถือว่าตนและจักรวาลขึ้นแก่พระองค์. เช่นนี้แหละ แม้ทุกสิ่งอยู่ในอำนาจของมนุษย์ แต่พระนามของพระองค์ก็เป็นที่นับถือยกย่องทั่วพิภพ.
๒.
คำสอนข้อนี้ยังใช้ได้สำหรับกิจการที่ทำอยู่ทุกวันด้วย เพราะหญิงชายที่ทำมาหาเลี้ยงชีพตนและครอบครัว ซึ่งเท่ากับเป็นการทำงานรับใช้สังคมนั้น สามารถคิดได้โดยถูกต้องว่า การออกแรงของตนเป็นการต่องานของพระผู้สร้าง เป็นการรับใช้พี่น้องมนุษย์และเป็นการมีส่วนช่วยทำให้แผนการของพระเป็นเจ้าสำเร็จไปในประวัติศาสตร์.
๓.
ดังนี้ คริสตชนไม่คิดว่า งานที่มนุษย์ทำด้วยสติปัญญาและความกล้าหาญจะขัดต่อพระฤทธานุภาพของพระเป็นเจ้า และไม่ถือว่าสรรคสัตว์ที่รู้จักคิดเป็นคู่แข่งของพระผู้สร้าง ตรงกันข้ามกลับเชื่อตระหนักว่า ชัยชนะของมนุษยชาติเป็นเครื่องหมายแสดงความยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้าและเป็นผลที่เกิดจากแผนการอันวิเศษล้ำเลิศของพระองค์ แต่มนุษย์ยิ่งมีอำนาจมากขึ้นเพียงใด ความรับผิดชอบไม่ว่าของแต่ละคนหรือของหมู่คณะก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้นด้วย. ดังนี้ จึงเห็นได้ว่าพระคริสตธรรมไม่ได้สอนมนุษย์ให้ละเว้นไม่สร้างโลกให้เจริญขึ้นหรือให้ละเลยต่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ แต่ตรงกันข้าม กลับเร่งเร้าให้ทำงานเหล่านี้มากยิ่งขึ้น.
๓๕. การปฏิบัติงานมนุษย์ต้องถือกฎเกณฑ์อะไรบ้าง ?
๑.
การปฏิบัติงานของมนุษย์สืบมาจากมนุษย์ฉันใด ก็มีไว้สำหรับมนุษย์ฉันนั้น เพราะเมื่อทำการใด มนุษย์มิใช่แต่ทำให้สิ่งของและสังคมเปลี่ยนไปเท่านั้นแต่ยังทำให้คนดีขึ้นด้วย. มนุษย์เรียนรู้หลายอย่าง. พัฒนาสมรรถพลของตน ไม่ช่วยแต่ตนเองแต่ยังช่วยคนอื่นด้วย. ความเจริญแบบนี้ ถ้าเข้าใจถูกต้อง ย่อมมีค่ามากกว่าทรัพย์สมบัติภายนอกที่อาจจะสะสมได้. มนุษย์นั้นมีค่าเพราะเป็นอะไรมากกว่าเพราะมีอะไร เช่นเดียวกัน อะไร ๆ ที่มนุษย์ทำเพื่อให้มีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่อให้มีภารดรภาพมากขึ้น หรือเพื่อให้มีความเป็นระเบียบที่สมกับมนุษย์มากขึ้นในการติดต่อกันทางสังคม ย่อมมีค่ามากกว่าความก้าวหน้าทางวิชาการเพราะความก้าวหน้าทางวิชาการนั้นอาจเป็นปัจจัยทำให้มนุษย์เจริญก็จริง แต่ลำพังความก้าวหน้าอย่างเดียวไม่สามารถทำให้มนุษย์เจริญได้.
๒.
ดังนั้น กฎเกณฑ์ของการปฏิบัติงานของมนุษย์จึงได้แก่กฎเกณฑ์ต่อไปนี้คือ ปฏิบัติให้ตรงกับประโยชน์ที่แท้จริงของมนุษยชาติ ตามแผนการและน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าและอำนวยให้มนุษย์เป็นบุคคลหรือสมาชิกในสังคม ปฏิบัติตามกระแสเรียกของตนได้อย่างครบถ้วน.
๓๖. กิจการในโลกนี้ต้องมีความอิสระอย่างถูกต้อง
๑.
ทั้งนั้นก็ดีคนในสมัยของเราเป็นอันมากดูเหมือนกลัวว่าถ้ากิจการของมนุษย์มีความเกี่ยวพันกัน ถ้าคำว่า กิจการในโลกต้องมีความอิสระ หมายความว่า สิ่งที่พระสร้างมาและสังคมย่อมมีกฎและคุณค่า ศาสนาใกล้ชิดเกินไป จะเป็นอันตรายแก่ความเป็นอิสระของมนุษย์ ของสังคมและวิชาความรู้ แต่ยังตรงกับน้ำพระทัยของพระผู้สร้างด้วย เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถูกสร้างมาให้มีความคงทน เป็นของแท้ เป็นของดี กับมีกฎและระเบียบของมันเอง มนุษย์ต้องเคารพสิ่งทั้งหมดนี้ โดยรับรู้วิธีการโดยเฉพาะที่ได้แก่ความรู้และวิชาการแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้นวิธีการโดยเฉพาะการค้นคว้าอย่างมีระเบียบในทุกแขนงความรู้ ถ้าทำอย่างถูกหลักวิชาจริง ๆ และตามกฎเกณฑ์ของศีลธรรมย่อมไม่ขัดต่อความเชื่ออย่างแท้จริงเป็นอันขาด. เพราะเรื่องฝ่ายโลกกับฝ่ายความเชื่อย่อมมีต้นเดิมมาจากพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน. ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่พยายามสืบหาความเร้นลับในสิ่งต่าง ๆ ด้วยใจถ่อมตัวและพากเพียร ถึงเขาจะไม่รู้ตัว ก็เหมือนกับถูกนำไปด้วยพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้าซึ่งทรงค้ำจุนทุกสิ่งไว้ ทำให้มันเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่. เกี่ยวกับเรื่องนี้เราขอประณามทัศนคติบางอย่างที่มีอยู่แม้ในหมู่คริสตชนเอง เพราะเข้าใจไม่พอถึงเรื่องความรู้ต้องมีเสรีภาพเท่าทีควร. ทัศนคติเหล่านี้ทำให้เกิดการขัดแย้งและโต้เถียงกันและได้เป็นเหตุให้บางคนถึงกับคิดว่าความรู้กับความเชื่อขัดแย้งกัน.
๓.
แต่ถ้าคำว่า กิจการทางโลกต้องมีความเป็นอิสระ หมายความว่าสิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างมาไม่ขึ้นกับพระองค์ และมนุษย์สามารถใช้สิ่งเหล่านี้โดยไม่ถือว่าขึ้นกับพระผู้สร้างแล้ว ไม่ว่าใครที่ยอมรับนับถือพระเป็นเจ้า ย่อมต้องรู้สึกว่าคำพูดเช่นนี้ผิดหนักสักเพียงใด เพราะถ้าไม่มีพระผู้สร้าง สรรคสัตว์ก็ย่อมมีไม่ได้ นอกจากนั้นผู้มีความเชื่อถือทั้งหลาย ไม่ว่าจะถือศาสนาอะไร ย่อมเคยได้ยินพระสุรเสียงของพระเป็นเจ้าสำแดงพระองค์เป็นภาษาของสรรคสัตว์เสมอ. แต่เมื่อลืมพระเป็นเจ้าแล้ว เราก็เข้าใจเรื่องสรรคสัตว์ไม่ได้.
๓๗. การปฏิบัติงานของมนุษย์เสียไปเพราะบาป
๑.
พระคัมภีร์สอนชาติมนุษย์ตรงกับที่ประสบการณ์ในยุคต่าง ๆ ยืนยันว่า ความเจริญก้าวหน้าเป็นสิ่งดีมีประโยชน์มากสำหรับมนุษย์ แต่ก็เป็นสิ่งที่ประจญให้มนุษย์ทำผิดอย่างร้ายแรงด้วย เพราะเมื่อระเบียบของสิ่งมีค่าปั่นป่วนและความชั่วกับความดีปนกันยุ่งแล้วมนุษย์แต่ละคนและที่เป็นหมู่คณะก็พากันคิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้อื่น เพราะฉะนั้นโลกจึงมิใช่สถานที่มนุษย์อยู่กันฉันพี่น้องอย่างแท้จริง ส่วนอำนาจซึ่งมนุษย์มีเพิ่มขึ้นกลับคุกคามจะทำลายมนุษยชาติให้วอดวายไป.
๒.
มีการรบอย่าฉกาจฉกรรจ์สู้กับอำนาจของความผิดตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ การรบนั้นได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลาเริ่มแรกของโลก และตามที่พระคริสตเจ้าตรัส จะดำรงอยู่จนวันสุดท้าย. มนุษย์ได้เข้าพัวพันในการสู้รบนี้แล้วจะต้องสู้รบตลอดไปเพื่อตั้งมั่นอยู่ในความดี และจะประพฤติอย่างเสมอต้นเสมอปลายไม่ได้ ถ้าไม่มีความวิริยอุตสาหะของตนเองซึ่งมนุษย์ต้องค่อย ๆ รู้จักใช้และจัดให้เป็นระเบียบ การเรียกร้องของความอิสระเช่นนี้ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ทีเดียว และความเป็นอิสระดังกล่าวมิใช่แต่มนุษย์ในสมัยของเราเรียกร้องเองเท่านั้น และอาศัยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าช่วย.
๓.
เพราะเหตุนี้ พระศาสนจักรของพระคริสตเจ้าซึ่งไว้ใจในพระปรีชาญาณของพระเป็นเจ้า ถึงจะรับรู้ว่า ความก้าวหน้าของมนุษย์อาจเป็นประโยชน์แก่ความสุขอันแท้จริงของมนุษย์ แต่อดไม่ได้ที่จะนำวาทะของนักบุญเปาโลมากล่าวย้ำว่า อย่าถือตามแบบชีวิตของโลก (รม. ๑๒:๒) คืออย่าถือตามจิตตารมณ์โอ้อวดและชั่วช้าซึ่งเปลี่ยนการปฏิบัติงานของมนุษย์ที่มีไว้สำหรับรับใช้พระเป็นเจ้าและมนุษย์ให้กลายเป็นเครื่องมือทำบาป.
๔.
ถ้าใครถามว่าจะเอาชนะความทุกข์น่าสมเพชนั้นได้อย่างไร คริสตศาสนิกชนทั้งหลายจะบอกว่า กิจกรรมทุกอย่างของมนุษย์ที่ทุกวันตกอยู่ในอันตรายเพราะความหยิ่งทะนงและรักตนเองจนเกินไป ต้องล้างชำระให้สะอาดจนถึงขั้นดีพร้อมด้วยกางเขนและการกลับคืนพระชนม์ของพระคริสตเจ้า เพราะมนุษย์ที่พระคริสตเจ้าทรงไถ่และกลายเป็นสรรคสัตว์ใหม่ด้วยเดชะพระจิตนั้น ย่อมรักสิ่งที่พระเป็นเจ้า เขาเห็นสิ่งเหล่านั้นเหมือนกับเลื่อนไหลมาจากพระหัตถ์ของพระองค์และเขาก็เคารพเขาขอบพระคุณพระเจ้าผู้มีบุญคุณที่ประทานสิ่งเหล่านี้ เขาใช้และเสวยประโยชน์สิ่งต่าง ๆ โดยมีจิตตารมณ์ถือความยากจนและเสรีภาพ เช่นนี้แหละ เขาได้เป็นเจ้าโลกอย่างแท้จริง เหมือนใครคนหนึ่งที่ดูประหนึ่งไม่มีอะไรแต่ที่แท้มีทุกอย่าง (ตามที่นักบุญเปาโลกล่าวว่า) เพราะของทุกอย่างเป็นของท่าน แต่ท่านเป็นของพระคริสตเจ้า และ พระคริสตเจ้าเป็นของพระเป็นเจ้า (๑ คร. ๓:๒๒๒๓)
๓๘. การปฏิบัติงานของมนุษย์บรรลุถึงควมดีพร้อมในรหัสธรรมปัสกา
๑.
พระวจนาถของพระเป็นเจ้า ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งปวง ได้มารับเอากายและเสด็จมาประทับบนแผ่นดินของมนุษย์ พระองค์ทรงเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ เสด็จเข้ามาในประวัติศาสตร์ของโลก รับเอาและสรุปประวัติศาสตร์นั้นในพระองค์ พระองค์เองทรงเป็นผู้เผยให้เราทราบว่า พระเป็นเจ้าเป็นองค์ความรัก (๑ ยน. ๔:๘) และทรงสอนเราในขณะเดียวกันว่าบัญญัติใหม่ที่สั่งให้รักคือ กฎขั้นมูลฐานแห่งความดีพร้อมของมนุษย์ และเพราะเหตุนี้จึงเป็นกฎขั้นมูลฐานของการเปลี่ยนโฉมโลกด้วยดังนั้นพระองค์จึงทรงทำให้ผู้ที่เชื่อถึงความรักของพระเป็นเจ้า รู้แน่ว่าหนทางแห่งความรักเปิดรับมนุษย์ทุกคน และความพยายามที่จะฟื้นฟูภารดรภาพขึ้นทั่วไปมิได้ไร้ผล พระองค์ยังทรงเตือนเราด้วยว่า ความรักนี้มิใช่ต้องบำเพ็ญแต่ในกิจการใหญ่โตเท่านั้นแต่ต้องบำเพ็ญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ปกติธรรมดาของชีวิตด้วย. เมื่อสมัครยอมพลีพระชนม์อุทิศแก่ชาวเราคนบาป พระองค์ทรงเป็นพระฉบับสอนเราว่า เราก็ต้องแบกกางเขนที่เนื้อหนังและโลกวางลงบนบ่าของผู้ที่แสวงหาความยุติธรรมและสันติสุข. เมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นองค์เจ้านายหลังจากกลับคืนพระชนม์แล้ว พระคริสตเจ้าผู้ทรงได้รับอำนาจทุกอย่างทั้งในสวรรค์และแผ่นดิน ต่อไปก็ทรงทำการสำแดงฤทธิ์ในจิตใจของมนุษย์ด้วยอานุภาพของพระจิต. พระองค์ไม่เพียงแต่ปลุกใจให้มีความปรารถนาอยากได้ชีวิตหน้าเท่านั้น แต่เมื่อปลุกใจดังนั้นเอง พระองค์ยังทรงกระตุ้น ชำระและส่งเสริมความใฝ่ฝันอันมีน้ำใจกว้างขวางซึ่งผลักดันมนุษยชาติให้บำรุงความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้นและให้บังคับโลกทั้งโลกให้เป็นไปตามจุดหมายนี้ แต่พระคุณของพระจิตมีหลายอย่างต่างประการ พระองค์ทรงเรียกบางคนให้ประกาศอย่างเปิดเผยถึงความปรารถนาอยากไปอยู่สวรรค์และให้รักษาความปรารถนานั้นให้คงแก่กล้าไว้ในมนุษยชาติ แต่พระองค์ก็ทรงเรียกบางคนให้อุทิศตนทำการรับใช้มนุษย์ทางโลก เท่ากับเป็นการเตรียมปัจจัยไว้สำหรับอาณาจักรสวรรค์. อย่างไรก็ดีพระองค์โปรดให้ทุกคนเป็นอิสระ เพื่อว่าเมื่อสลัดทิ้งความรักตนเองและรวบรวมเอากำลังทางโลกทั้งหมดมารับใช้ชีวิตมนุษย์แล้วเขาจะได้มุ่งไปหาอนาคต เมื่อมนุษย์ชาติเองจะได้เป็นของถวายที่สบพระทัยพระเป็นเจ้า.
๒.
พระคริสตเจ้าได้ทรงทิ้งสะเบียงเดินทางและมัดจำความหวังนี้ไว้ให้แก่ศิษย์ของพระองค์ในศีลแห่งความเชื่อ ในศีลนั้นของธรรมชาติบางอย่างซึ่งมนุษย์เพาะปลูกก็กลับกลายเป็นพระกายและพระโลหิตอันประเสริฐของพระองค์ นับเป็นการกินเลี้ยงที่แสดงความร่วมสนิทกันฉันพี่น้องและเป็นการได้ร่วมการเลี้ยงในสวรรค์ล่วงหน้า
๓๙. แผ่นดินใหม่และฟ้าใหม่
๑.
เราไม่รู้ว่าเมื่อไรจะถึงเวลาสิ้นสุดของโลกและของมนุษยชาติ เราไม่ทราบว่าจักรวาลจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร. โลกแบบที่เรารู้จักนี้ซึ่งเสียโฉมไปเพราะบาปจะล่วงพ้นไปแน่ แต่เรารู้ว่าพระเป็นเจ้าทรงเตรียมที่อยู่ใหม่และแผ่นดินใหม่ให้เรา : ในแผ่นดินใหม่นั้นความยุติธรรมจะสถิตอยู่และความสุขจะมีเกินกว่าที่ใจมนุษย์จะนึกคิดปรารถนาได้. เวลานั้นแหละ ความตายจะพ่ายแพ้ ผู้ที่เป็นบุตรของพระเป็นเจ้าจะกลับคืนชีพขึ้นมาในพระคริสตเจ้าและสิ่งที่หว่านลงไปดูอ่อนแดและเน่าเปื่อย ก็จะกลับไม่รู้จักเน่าเปื่อย. ความรักและกจิการของความรักขะดำรงอยู่และสรรคสัตว์ทุกอย่างที่พระเป็นเจ้าได้ทรงสร้างมาสำหรับมนุษย์จะหลุดพ้นจากความเป็นทาสของการโอ้อวด.
๒.
แน่ละ เรารู้ว่าไม่เป็นประโยชน์อันใดแก่มนุษย์ที่จะได้จักรวาลเป็นกรรมสิทธิ์ ถ้าหากตนเองจะต้องพินาศ แต่ถึงกระนั้นความหวังที่จะได้แผ่นดินใหม่ไม่ควรจะดับ แต่ควรจะปลุกความห่วงใยของเราที่จะบำรุงแผ่นดินปัจจุบันนี้ อันเป็นที่ ๆ กายมนุษยชาติใหม่กำลังเจริญเติบโตและพอจะทำให้เราเห็นลาง ๆ ว่า เวลาในชีวิตภายหน้าจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ถึงแม้ต้องระมัดระวังแยกความเจริญในโลกนี้กับการแพร่ขยายพระอาณาจักรแห่งพระคริสตเจ้า ความเจริญก็มีความสำคัญสำหรับพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้ามาก ตามส่วนที่สามารถจะช่วยจัดระเบียบของสังคมมนุษย์ให้ดีขึ้น.
๓.
ด้วยว่าศักดิ์ศรีของมนุษย์ก็ดี การร่วมสนิทกันฉันพี่น้องก็ดี และเสรีภาพก็ดี สิ่งมีค่าเหล่านี้ล้วนเป็นผลดีที่เกิดจากธรรมชาติและความขยันหมั่นเพียรของเรานั้น เมื่อเราเผยแพร่สิ่งมีค่าเหล่านี้ในโลกตามพระบัญชาของพระคริสตเจ้าและโดยอาศัยพระจิตของพระองค์แล้ว เราจะพบสิ่งเหล่านี้ใหม่ในภายหลัง แต่ทว่าในสภาพหมดจดไม่มีตำหนิใด ๆ เปล่งปลั่งและเปลี่ยนรูปไป เมื่อพระคริสตเจ้าจะมอบแด่พระบิดา ซึ่งอาณาจักรชั่วนิรันดรและสากล เป็นอาณาจักรแห่งความจริงและชีวิตเป็นอาณาจักรแห่งความศักดิ์สิทธิ์และพระหรรษทาน เป็นอาณาจักรแห่งความยุติธรรม ความรักและสันติสุข. อาณาจักรดังกล่าวอยู่ในโลกนี้อย่างลึกลับแล้ว และบรรจุถึงความดีพร้อมเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมา.
|