หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระธรรมนูญ พระสมณกฤษฎีกา
และคำแถลงแห่งสภาสังคายนา เล่มที่ 4

 พรหมจรรย์

- - -  - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระสมณกฤษฎีกา แห่ง สภาสังคายนาว่าด้วยการปรับปรุงและฟื้นฟูชีวิตนักบวช

การถือพรหมจรรย์ “ เพราะเห็นแก่อาณาจักรสวรรค์ “ (มธ. ๑๙ : ๑๒ ) ซึ่งนักบวช     ปฎิญาณจะถือนั้น ต้องนับว่าเป็นพระพรดีเด่นที่พระเป็นเจ้าประทานให้ พรหมจรรย์ทำให้หัวใจของผู้ถือเป็นอิสระจากโลกมากทีเดียว (ดู ๑ คร. ๗ : ๓๒– ๓๕ ) เพื่อจิตใจจะได้เร่าร้อนด้วยความรักต่อ

พระเป็นเจ้าและเพื่อนมนุษย์เป็นทวีคูณ พรหมจรรย์จึงมิใช่เพียงแต่เป็นสัญญลักษณ์ถึงความดีฝ่ายสวรรค์อย่างพิเศษ แต่ยังเป็นวิธีเหมาะยิ่งนักสำหรับนักบวช ที่จะอุทิศตนด้วยดวงใจที่ไม่แบ่งแยก เพื่อรับใช้พระเป็นเจ้าและทำกิจการแพร่ธรรม ดังนี้บรรดานักบวชจึงสะกิดใจสัตบุรุษทั้งหลายให้คิดถึงการวิวาห์อันเลอเลิศ ที่พระเป็นเจ้าทรงกำหนด และซึ่งพระองค์ทรงเปิดเผยให้รู้แจ้งทั้งหมดในอนาคต เมื่อพระศาสนจักรจะรับพระคริสตเจ้าเป็นพระเจ้า ( the Lord) แต่ผู้เดียว

เพราะฉะนั้น บรรดานักบวชที่พยายามถือพรหมจรรย์ตามคำปฏิญาณอย่างซื่อสัตย์ จึงต้องมีความเชื่อความไว้ใจในพระวาจาของพระเป็นเจ้า ไม่วางใจเกินไปในกำลังของตนเอง แต่ทำการทรมานกายใจและควบคุมกายอินทรีย์เป็นอย่างดี เขายังต้องไม่ละเลยที่จะใช้วิธีธรรมดาซึ่งทำให้ ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพดี ผลก็คือ เขาจะไม่ตกในอิทธิพลของลัทธิผิด ๆ ที่ดูหมิ่นการถือพรหมจรรย์ว่า ปฏิบัติไม่ได้และเป็นโทษแก่การพัฒนาของมนุษย์ เขาจะมีสัญชาตญาณทางศาสนาอย่างหนึ่ง คือ รู้จักไม่ยอมรับสิ่งใดที่เป็นภัยต่อพรหมจรรย์ นอกจากนั้น ให้นักบวชทุกคนโดยเฉพาะ  ผู้ใหญ่ระลึกด้วยว่า จะถือพรหมจรรย์ได้สำเร็จและปลอดภัย ก็ต่อเมื่อมีความรักกันฉันพี่น้องอย่างแท้จริงในชีวิตอยู่รวมกันในคณะ

เนื่องด้วยการถือพรหมจรรย์เกี่ยวกับสัญชาตญาณที่ลึกที่สุดในธรรมชาติมนุษย์ของแต่ละคนจริง ๆ ผู้รับการอบรมเป็นนักบวชจึงต้องไม่ทำปฏิญาณถือพรหมจรรย์ และผู้ใหญ่ต้องไม่รับ จนกว่าผู้รับการอบรมจะได้รับการทดลองเพียงพอและแสดงตนให้เห็นเสียก่อนว่า เขามีคุณสมบัติเป็นผู้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่สมบูรณ์ในด้านจิตใจและอาเวค ผู้ใหญ่เองต้องเตือนเขาให้รู้ถึงอันตรายต่าง ๆ ต่อพรหมจรรย์ ซึ่งเขาอาจจะต้องประสบและผู้ใหญ่ต้องอบรมเขาให้สามารถถือพรหมจรรย์ มัดตัวไว้กับพระเป็นเจ้าในแบบที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่บุคคลภาพของเขาทั้งหมด