หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระธรรมนูญ พระสมณกฤษฎีกา
และคำแถลงแห่งสภาสังคายนา เล่มที่ 4

คณะนักพรตที่ดำรงชีวิตรำพึงภาวนาในอาศรม

- - -  - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระสมณกฤษฎีกา แห่ง สภาสังคายนาว่าด้วยการปรับปรุงและฟื้นฟูชีวิตนักบวช

คณะที่อุทิศตนในการรำพึงภาวนาแต่อย่างเดียว เพื่อให้สมาชิกดำรงชีวิตโดดเดี่ยวอย่างเงียบ ๆ ภาวนาและทำการใช้โทษบาปด้วยความเต็มใจ สาละวนอยู่กับพระเป็นเจ้าผู้เดียวก็อยู่ในตำแหน่งที่มีเกียรติในพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าเสมอไป แม้ว่าจะมีความต้องการที่จะทำกิจการแพร่ธรรมภายนอกมากสักเพียงไรก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่า ในพระกายทิพย์ “ อวัยวะต่าง ๆ มีหน้าที่ไม่เหมือนกัน “ (รม. ๑๒:๔)  นักพรตเมื่ออุทิศตนบำเพ็ญภาวนาก็ถวายเครื่องบูชาสรรเสริญพระเป็นเจ้า อันเป็นกิจการที่เด่นมิใช่น้อย นอกจากนั้น ผลดีนานาประการจากความศักดิ์สิทธิ์ของเขาก็ให้สง่าราศรีแก่ประชากรของพระเป็นเจ้า ซึ่งได้รับการเร้าใจจากแบบฉบับดีของเขา และได้สมาชิกใหม่อาศัยการแพร่ธรรมของเขา ซึ่งแม้จะเป็นวิธีที่เร้นลับอยู่ก็จริง แต่ก็มีผลไม่น้อยเหมือนกัน   ดังนี้ นักพรตเหล่านี้จึงแสดงตนเป็นเกียรติเป็นศรีของพระศาสนจักร และเป็นบ่อเกิดของพระหรรษทานจากสวรรค์มากมาย ถึงกระนั้นก็ดี วิธีดำเนินชีวิตของเขาก็ต้องได้รับการปรับปรุงตามหลักการและกฎการ        ปรับปรุงและฟื้นฟูที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่การถอยออกห่างจากโลกและการปฏิบัติธรรมอันเหมาะสมกับชีวิตรำพึงภาวนานั้น ควรจะรักษาไว้ให้ดีที่สุด