หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระธรรมนูญ พระสมณกฤษฎีกา
และคำแถลงแห่งสภาสังคายนา เล่มที่ 4

สารัตถะทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับชีวิตนักบวช

- - -  - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระสมณกฤษฎีกา แห่ง สภาสังคายนาว่าด้วยการปรับปรุงและฟื้นฟูชีวิตนักบวช

สมาชิกของคณะนักบวชแต่ละแห่งควรระลึกก่อนอื่นหมดว่าการปฎิญาณที่จะถือข้อแนะนำแห่งพระวรสานนั้นเป็นการตอบสนองกระแสเรียกของพระเป็นเจ้า เพื่อว่าตนจะได้ไม่เพียงแต่ตายต่อบาปเท่านั้น (ดู รม. ๖ : ๑๑) แต่ยังสละโลก เพื่อดำรงชีวิตเพื่อพระเท่านั้นอีกด้วย นักบวชถวายตัวทั้งหมดเพื่อรับใช้พระองค์ นี่เป็นการเจิมอย่างพิเศษ ซึ่งมีรากฐานอยู่ในการเจิมของ             ศีลล้างบาป และแสดงผลของศีลล้างบาปอย่างสมบูรณ์

เนื่องด้วยพระศาสนจักรรับการถวายตัวนี้ บรรดานักบวชต้องตระหนักว่า การถวายตัวแด่พระก็เป็นการถวายตัวแด่พระก็เป็นการถวายตัวรับใช้พระศาสนจัการนั่นเอง

การรับใช้พระเป็นเจ้าจะต้องเร้าใจและส่งเสริมให้ปฏิบัติพลธรรม เช่นความถ่อมตน ความเชื่อฟังและพรหมจรรย์ ดังนี้เขาก็มีส่วนกับการที่พระคริสตเจ้าทรงถ่อมพระองค์ (ดู ฟล. ๒ :๗) และมีส่วนในพระชนมชีพของพระองค์ในพระจิตอีกด้วย (ดู รม.๘ : ๑–๑๓ )

ดังนั้น ขอให้บรรดานักบวชสัตย์ซื่อต่อคำปฏิญาณ สละทุกสิ่งเพื่อพระคริสตเจ้า (ดู มก.๑๐ : ๒๘ ) ติดตามพระองค์ (ดู มธ. ๑๙ : ๒๑ ) โดยถือว่านี่แหละเป็นสิ่งเดียวที่จำเป็น (ดู ลก. ๑๐ : ๔๒ ) ขอให้ฟังพระวาจา (ดู ลก.๑๐ : ๓๙ ) และสาละวันแต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับพระองค์ (ดู ๑ คร.๗ : ๓๒ )

ดังนั้น จึงจำเป็นที่บรรดาสมาชิกในทุกคณะจะต้องแสวงหาพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียวและก่อนสิ่งใดทั้งสิ้น จะต้องรำพึงภาวนาปักความคิดจิตใจแน่วแน่อยู่ที่พระองค์ และยังต้องมีความรักที่จะเป็นธรรมฑูต อุตส่าห์พยายามที่จะร่วมทำการไถ่และเผยแพร่อาณาจักรของพระเป็นเจ้าด้วย