หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระธรรมนูญ พระสมณกฤษฎีกา
และคำแถลงแห่งสภาสังคายนา เล่มที่ 4

หลักทั่วไปสำหรับการปรับปรุงและฟื้นฟู

- - -  - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

พระสมณกฤษฎีกา แห่ง สภาสังคายนาว่าด้วยการปรับปรุงและฟื้นฟูชีวิตนักบวช

การปรับปรุงและการฟื้นฟูชีวิตนักบวชต้องมีสองประการคือ การกลับไปยังแหล่งที่มาของชีวิตคริสตชนทั้งหมดและจิตตารมณ์ดั้งเดิมของคณะนั้น ๆ และการปรับปรุงคณะให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วในสมัยปัจจุบัน การฟื้นฟูนี้อาศัยพระจิตเจ้าดลใจและ               พระศาสนจักรชักนำ ควรจะดำเนินก้าวหน้าไปตามหลักการดังต่อไปนี้
ก.เนื่องด้วยกฎเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดของชีวิตนักบวช คือ การติดตามพระคริสตเจ้าดังที่มีอยู่ในพระวรสารจึงให้คณะทั้งหลายถือกฎเกณฑ์นี้ว่าเป็นวินัยสูงสุด

ข.จะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนจักรมิใช่น้อย หากว่าคณะนักบวชต่างรักษาลักษณะและกิจการเฉพาะของตนไว้ ดังนั้นให้สมาชิกรักษาไว้ด้วยความเคารพและสัตย์ซื่อ ซึ่งจิตตารมณ์และ   จุดหมายพิเศษที่ผู้สถาปนาคณะตั้งไว้ รวมทั้งประเพณีอันดีงามที่มีขึ้นภายหลังด้วย สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นมรดกล้ำค่าที่แต่ละคณะควรจะรักษาไว้

ค.คณะนักบวชทุกแห่งต้องร่วมในชีวิตของพระศาสนจักร โดยนำเอาการงานและจุดหมายของพระศาสนจักรในเรื่องพระคัมภีร์ พิธีกรรม สัจจธรรม การอภิบาลสัตบุรุษ สากลภาพ ธรรมฑูตและสังคมเหล่านี้มาปรับปรุงให้เป็นของตนเอง และนำไปปฏิบัติให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของคณะ

ง.คณะต่าง ๆ ต้องอบรมสมาชิกให้มีความรู้เพียงพอถึงสภาพสังคมในสมัยที่ตนอยู่ และถึงความต้องการของพระศาสนจักร เมื่อคณะต่าง ๆ วินิจฉัยเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างฉลาดรอบคอบ อาศัยความสว่างแห่งความเชื่อและด้วยความเร่าร้อยที่จะทำงานธรรมฑูตแล้ว ก็จะสามารถช่วยคนทั้งหลายด้วยผลดีมากขึ้น

จ.จุดประสงค์ของชีวิตนักบวชก็คือ เพื่อช่วยสมาชิกให้ดำเนินตามพระคริสตเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้าอาศัยการปฎิญาณที่จะถือตามข้อแนะนำแห่งพระวรสาร ให้ระลึกเสมอว่าการปรับปรุงตามความต้องการของสมัยเรานี้แม้จะครบถ้วนที่สุดก็จะไร้ผล หากว่ามิได้มีการฟื้นฟู จิตใจ การฟื้นฟูจิตใจจึงมาก่อนการทำงานภายนอกด้านศาสนาเสียอีก