หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

การเผยของพระเป็นเจ้า พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์
การแพร่ธรรมของฆราวาส เล่ม 2

บทที่  6

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

กรุงโรม – ที่พระวิหารนักบุญเปโตร
วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๖๕
เรา – เปาโล สังฆราชแห่งพระศาสนจักรคาทอลิก
พระสังฆธรรมนูญว่าด้วย

พิธีกรรม เปาโล-สังฆราช-ผู้รับใช้แห่งผู้รับใช้ทั้งหลาย ของพระเป็นเจ้าร่วมกับบรรดาพระปิตาจารย์แห่งสภาสังคายนาเพื่อเป็นอนุสรณ์ตลอดไป

 พระธรรมนูญ เรื่องการเผยของพระเป็นเจ้า

๒๑. พระศาสนจักร แสดงคารวกิจต่อพระคัมภีร์เสมอมาเช่นเดียวกับที่แสดงคารวกิจต่อพระกายของพระเจ้าเอง เฉพาะอย่างยิ่งในพิธีกรรม พระศาสนจักร เอาปังแห่งชีวิตมาจากโต๊ะแห่งพระวาจา พระเป็นเจ้า และพระกายพระคริสตเจ้า โดยมิได้ว่างเว้นและให้ปังนี้แก่สัตบุรุษ พระศาสนจักรถือเสมอมาและยังถือต่อไปว่า พระคัมภีร์พร้อมธรรมประเพณีศักดิ์สิทธิ์เป็นบรรทัดฐานสูงสุดของความเชื่อของพระศาสนจักร เนื่องด้วยทั้งสองอย่างได้รับการดลใจจากพระเป็นเจ้า และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งเดียวสำหรับตลอดไป ทั้งสองอย่างนี้จึงมอบพระวาจาของพระเป็นเจ้าเองโดยไม่เปลี่ยนแปลง และทำให้เสียงพระจิตก้องอยู่ในวาจาของบรรดาประกาศกและอัครธรรมฑูต คำเทศน์ทั้งหมดของพระศาสนจักร เช่นเดียวกับคริสตศาสนา จึงต้องได้รับการเลี้ยงและการควบคุมจากพระคัมภีร์ เหตุว่าในพระคัมภีร์เป็นพระบิดาเจ้าสวรรค์เองที่ทรงพบบรรดาบุตรของพระองค์ด้วยความรักอย่างอ่อนหวานและสนทนากับเขาในพระวาจาของพระเป็นเจ้ามีพละกำลังและประสิทธิภาพมากมาย เพียงที่          พระวาจานั้นเป็นกำลังและที่ค้ำจุนสำหรับพระศาสนจักร และให้แก่บรรดาบุตรของพระศาสนจักร ซึ่งพละกำลังแห่งความเชื่อ อาหารเลี้ยงวิญญาณ และธารอันบริสุทธิ์มิรู้เหือดหาย สำหรับชีวิตฝ่ายวิญญาณ เพราะฉะนั้น คำต่อไปนี้จึงเหมาะสมทีเดียวที่จะกล่าวถึงพระคัมภีร์ คือ “ พระวาจาของ      พระเป็นเจ้ามีชีวิตและทำกิจการอยู่เสมอ “  (ฮบ . ๔:๑๒ ) “ซึ่งสามารถเสริมสร้างท่านขึ้น  และประทานส่วนมรดกแก่ท่านพร้อมกับผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย “ (กจ. ๒๐:๓๒ เปรียบกับ ธส.๒:๑๓ )

๒๒.  คริสตชนทั้งหลายควรได้รับความสะดวกที่จะเข้าถือพระคัมภีร์ เพราะเหตุนี้พระศาสนจักรตั้งแต่แรกทีเดียว  จึงรับพันธสัญญาเดิมฉบับแปลสมัยโบราณ ที่เรียกว่า “ เซ็ปตัวยินตา “ (ฉบับเจ็ดสิบ) พระศาสนจักร ยังนับถือฉบับแปลอื่น ๆ ของภาคตะวันออก และฉบับแปลภาษาลาติน โดยเฉพาะฉบับแปลที่เรียกว่า “ วุลกาตา “ แต่เนื่องด้วยคนทั้งหลายจะต้องได้รับความสะดวกที่จะอ่านพระวาจาของพระเป็นเจ้าทุกเวลา พระศาสนจักร ผู้มีความห่วงใยเยี่ยงมารดาจึงจัดให้มีการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยเฉพาะจากฉบับเดิมทีเดียว ในเมื่อมีโอกาสเหมาะสมและบรรดาผู้ใหญ่ของพระศาสนจักรเห็นพ้องด้วย ให้กระทำการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาต่าง ๆ โดยร่วมมือกับบรรดาพี่น้องคริสตชนที่ยังแยกกันอยู่ คริสตชนทุกคนก็จะใช้ฉบับแปลเหล่านี้ได้

๒๓.  เจ้าสาวของพระวจนาถผู้ทรงรับเอากาย อีกนัยหนึ่งพระศาสนจักร อาศัยพระจิตสั่งสอนพยายามอย่างยิ่งที่จะก้าวหน้าในความเข้าใจพระคัมภีร์อย่างลึกซึ้ง ยิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อจะได้เลี้ยงบรรดาบุตรด้วยพระวาจาของพระเป็นเจ้าอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้พระศาสนจักรจึงส่งเสริมการศึกษาหนังสือของบรรดาปิตาจารย์ทั้งภาคตะวันออกและตะวันตก รวมทั้งพิธีกรรมด้วย บรรดาคาทอลิกผู้เชี่ยวชาญในการอธิบายพระคัมภีร์และบรรดาผู้ที่มีหน้าที่ในวงงานเทวศาสตร์ควรจะร่วมกำลังกันอย่างเข้มแข็ง ท่านเหล่านี้ควรจะร่วมมือกันพิจารณาและอธิบายตัวบทพระคัมภีร์ตามหลักวิชาอันเหมาะสม ในทำนองที่วว่าบรรดาผู้มีหน้าที่ประกาศสั่งสอนพระวาจาของพระเป็นเจ้าจำนวนมากที่สุดที่จะมากได้ จะได้สามารถเลี้ยงประชากรของพระเป็นเจ้าด้วยอาหารจากพระคัมภีร์โดยสัมฤทธิผล ทั้งนี้ภายใต้การระวังระไวของพระศาสนจักรผู้มีอำนาจสั่งสอน อาหารทิพย์นี้ให้มีความสว่างแก่สติปัญญา ให้พละกำลังแก่น้ำใจ และเร้าใจคนให้มีความรักต่อพระเป็นเจ้า สภาสังคายนานี้สนับสนุนบรรดาบุตรของ                   พระศาสนจักรซึ่งศึกษาพระคัมภีร์ให้มีความอุตสาหะมานะยิ่งขึ้น เพื่อดำเนินงานที่เริ่มด้วยดีแล้วนี้ให้     ลุล่วงไป  โดยอุทิศกำลังทั้งหมดไปในงานและถือตามความรู้สึกนึกคิดของพระศาสนจักร

๒๔. เทวศาสตร์ตั้งอยู่บนพระวาจาของพระเป็นเจ้าที่บันทึกไว้ แยกออกจากธรรมประเพณีมิได้ เสมือนบนรากฐานอันถาวร พระวาจานั้นให้ความเข้มแข็งมั่นคง และให้ชีวิตอันสดชื่นอยู่เสมอแก่เทวศาสตร์ ในเมื่อพินิจพิจารณาความจริงทั้งปวงที่สะสมไว้ในความลึกลับของพระคริสตเจ้านั้น           ในแสงสว่างแห่งความเชื่อ พระคัมภีร์บรรจุพระวาจาของพระเป็นเจ้า และเนื่องด้วยพระคัมภีร์เขียนด้วยการดลใจของพระเป็นเจ้า จึงเป็นพระวาจาของพระเป็นเจ้าจริง ๆ ดังนั้นขอให้การศึกษาหนังสือพระคัมภีร์เป็นเสมือนวิญญาณของเทวศาสตร์ สังฆกิจเกี่ยวกับพระวาจาอันประกอบด้วยการเทศน์ตามหน้าที่ชุมพาบาล การสอนคำสอนและการอบรมตามนัยพระคริสตธรรมทุกอย่าง ซึ่งต้องมีการเทศน์เป็นส่วนสำคัญอย่างพิเศษนั้นก็ต้องได้รับอาหารที่ดีและเจริญเติบโตอย่างศักดิ์สิทธิ์อาศัยพระวาจาของพระคัมภีร์นี้เอง

๒๕.  เพราะฉะนั้น สมณะทั้งหลายโดยเฉพาะบรรดาสงฆ์ของพระคริสตเจ้าและคนอื่นซึ่งเป็น   สังฆานุกรและผู้แพร่ธรรมมีหน้าที่ประกาศสั่งสอนพระวาจา ควรฝักใฝ่ในพระคัมภีร์โดยอ่านมิได้ขาดและศึกษาด้วยความเอาใจใส่ ขออย่าให้มีการกลายเป็น “ ผู้ประกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้าแก่ผู้อื่นด้วยเสียงเท่านั้น เพราะในจิตใจของตนเอง – เขาก็หาได้เป็นผู้ฟังพระวาจาไม่ “ เขาเองจะต้องรับส่วนจากทรัพย์อันมหาศาลแห่งพระวาจาของพระเป็นเจ้า เช่นเดียวกับบรรดาสัตบุรุษที่อยู่ในความดูแลของเขาเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีกรรม สภาสังคายนา นี้เร่งเร้าอย่างจริงจังและอย่างพิเศษให้คริสตชนทั้งหลาย โดยเฉพาะสมาชิกในคณะนักบวชให้ศึกษาพระคัมภีร์ โดยอ่านบ่อย ๆ เพื่อได้ “ความรู้ล้ำเลิศถึง          พระเยซูคริสตเจ้า (ฟป.๓:๘ ) “ เพราะการไม่รู้พระคัมภีร์ก็เป็นการไม่รู้จักพระคริสตเจ้า “                    (นักบุญเยโรม) เพราะฉะนั้นให้เขายินดีไปศึกษาตัวบทพระคัมภีร์อย่าได้ขาดโดยทางพิธีกรรมซึ่งอุดมด้วยพระวาจาของพระเป็นเจ้า หรืออาศัยการอ่านบำรุงศรัทธา หรือการเรียนตามหลักสูตร หรืออาศัยอุปกรณ์อื่นซึ่งในสมัยนี้แพร่หลายทั่วไปอย่างน่าชื่นชม โดยได้รับการเห็นชอบและการสนับสนุรจริงจังจากบรรดาชุมพาบาลแห่งพระศาสนจักร แต่ให้เขาระลึกว่าการอ่านพระคัมภีร์จะต้องมีคำภาวนาประกอบด้วย เพื่อจะได้เป็นการสนทนาระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ เพราะ “ เราพูดกับพระองค์เมื่อเราภาวนา เราฟังพระองค์เมื่อเราอ่านพระวาจาของพระเป็นเจ้า “ (นักบุญอัมโบรส)

เป็นหน้าที่ของบรรดาพระสังฆราช “ ซึ่งได้รับอำนาจสอนพระธรรมอันมาจากอัครธรรมฑูต ที่จะใช้วิธีอันเหมาะสมสอนสัตบุรุษที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนให้รู้จักใช้หนังสือพระคัมภีร์อย่าง       ถูกต้อง  โดยเฉพาะพันธสัญญาใหม่และพระวรสารเป็นพิเศษ พระสังฆราช ทำหน้าที่นี้โดยมอบคำแปลตัวบทพระคัมภีร์พร้อมด้วยคำอธิบายที่จำเป็นและพอเพียงจริง ๆ ดังนี้บรรดาบุตรของพระศาสนจักรจะได้สามารถคุ้นเคยกับพระคัมภีร์อย่างปลอดภัยและเป็นประโยชน์ และมีจิตใจเปี่ยมด้วยจิตตารมณ์ของพระคัมภีร์
ยิ่งกว่านั้นอีก ควรจะจัดพิมพ์พระคัมภีร์ที่มีคำอธิบายอันเหมาะสมแบบต่าง ๆ สำหรับผู้ที่มิใช่      คริสตชน และปรับปรุงให้เหมาะสมกับกรณีแวดล้อมของเขา ให้ผู้อภิบาลสัตบุรุษและคริสตชนทุกชั้นทุกฐานะแพร่หลายหนังสือพระคัมภีร์ประเภทนี้ด้วยความรอบคอบตามกาละเทศะ

๒๖.  ดังนั้น อาศัยการอ่านและการศึกษาพระคัมภีร์ “ พระวาจาของพระเป็นเจ้าจะได้รุดหน้าไปและมีชัย “ ( ๒ ธส. ๓ : ๑ ) และขุมทรัพย์ของการเผยพระธรรมที่พระศาสนจักรได้รับมอบหมายไว้นั้นจะได้เข้าสู่ดวงใจมนุษย์อย่างเต็มเปี่ยมยิ่ง ๆ ขึ้น ดังเช่นชีวิตของพระศาสนจักรได้รับพละกำลังเข้มแข็งยิ่งขึ้น  อาศัยการรับศีลมหาสนิทบ่อย ๆ ในทำนองเดียวกันเราหวังได้ว่าจะมีการเร้าใหม่สำหรับชีวิตแห่งพระจิต อาศัยความศรัทธาเลื่อมใสยิ่งขึ้นต่อพระวาจาของพระเป็นเจ้า ซึ่ง “ ดำรงอยู่ชั่วกาลนาน “ (อสย. ๔๐ :๘ เปรียบกับ ๑ ปต. ๑: ๒๓–๒๕ )
ข้อความแต่ละข้อทั้งสิ้นที่ประกาศไว้ในสังฆธรรมนูญฉบับนี้ บรรดาปิตาจารย์ได้เห็นชอบแล้วทั้งนั้น อาศํยอำนาจของท่านอัครธรรมฑูต ซึ่งเราได้มอบจากพระคริสตเจ้า เราพร้อมกับบรรดา           ปิตาจารย์ที่เคารพเหล่านี้ ในพระจิตเจ้า จึงเห็นชอบกำหนดและตราไว้ และสิ่งใดที่สภาสังคายนาได้ตราขึ้น เราก็สั่งให้ประกาศใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่พระเป็นเจ้า