หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

การเผยของพระเป็นเจ้า พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์
การแพร่ธรรมของฆราวาส เล่ม 2

บทที่  3 : พระคัมภีร์เขียนด้วยความดลใจของพระเป็นเจ้าการอธิบายพระคัมภีร์

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 พระธรรมนูญ เรื่องการเผยของพระเป็นเจ้า

๑๑.ข้อความจริงต่างๆ ที่พระเป็นเจ้าเผยให้รู้ และมีอยู่ในหนังสือต่างๆ ในพระคัมภีร์นั้น เขียนลงไว้ด้วยการดลใจของพระจิต พระศาสนจักรมารดาศักดิ์สิทธิ์อาศัยความเชื่อของอัครธรรมทูต ถือว่าหนังสือทั้งหมดในพันธะสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่  รวมทั้งส่วนต่าง ๆ ทุกส่วนในหนังสือเล่มนั้นทั้งหมด   ศักดิ์สิทธิ์และอยู่ในสารบบพระคัมภีร์เพราะเขียนด้วยการดลใจของพระจิต (เปรียบกับ ยน. ๒๐:๓๑. ทธ. ๓:๑๖ ๒ ปต ๑:๑๙–๒๑. ๓:๑๕–๑๖) พระเป็นเจ้าทรงเป็นผู้นิพนธ์และทรงมอบให้แก่พระศาสนจักรเองในฐานะที่เป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนิพนธ์หนังสือศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้พระเป็นเจ้าทรงเลือกสรรมนุษย์ แม้พระองค์ทรงใช้เขาให้เขียน เขาก็เขียนด้วยกำลังและคบวามสามารถของเขาเอง อย่างที่ว่าพระเป็นเจ้าทรงกระทำงานในตัวเขา เขาก็ยังเป็นผู้นิพนธ์แท้ เขียนสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดและเฉพาะสิ่งเหล่านั้นที่พระองค์มีพระประสงค์ให้เขาเขียน

ดังนั้น เนื่องด้วยทุกสิ่งที่ผู้นิพนธ์ศักดิ์สิทธิ์บันทึกไว้ ก็เป็นสิ่งที่พระจิตทรงกล่าวไว้เเช่นเดียวกัน เราจึงต้องรับว่าหนังสือต่างๆ ของพระคัมภีร์สอนความจริงอย่างหนักแน่นสัตย์ซื่อ และถูกต้องไม่ผิดหลง ความจรจิงนี้พระเป็นมีพระประสงค์ให้เขียนในพระคัมภีร์เพื่อความรอดของเรา เพราะฉะนั้น   “พระคัมภีร์ทั้งหมดที่ได้รับการดลใจจากพระเป็นเจ้า ก็เป็นประโยชน์สำหรับสอนตักเตือน แก้ความผิดหลง และอบรมให้บรรลุถึงความชอบธรรม ดังนี้คนของพระเป็นเจ้าก็จะเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม พร้อมที่จะทำกิจการอันดีงามทุกอย่าง (๒ ทธ. ๓:๑๖ - ๑๗)

๑๒.ในพระคัมภีร์ พระเป็นเจ้าตรัสทางมนุษย์ ดังนั้นผู้อธิบายพระคัมภีร์จะรู้ชัดแจ้งว่า พระเป็นเจ้ามีพระประสงค์จะตรัสสิ่งใดแก่เราก็ต้องพิจารณาด้วยความเอาใจใส่ดูว่าผู้เขียนเองต้องการจะให้สิ่งที่เขียนนั้นมีความหมายว่าอย่างไร และพระเป็นเจ้ามีพระประสงค์จะสำแดงสิ่งใดโดยอาศัยคำของผู้เขียน

เพื่อจะได้รู้ความประสงค์ของผู้เขียนพระคัมภีร์ เราต้องพิจารณาแบบเขียน (หรือแบบวรรณกรรม) พร้อมกับสิ่งอื่นๆ ที่จะต้องพิจารณา เหตุว่าความจริงที่เสนอไว้และแสดงไว้ในตัวบทต่างๆ แล้งแต่ว่าตัวบทนั้นๆ จะเป็นประวัตศาสตร์หรือการประกาศพระวาจา หรือพยากรณ์ กวีนิพนธ์ หรือแบบเขียนอื่นๆ ผู้อธิบายจะต้องพยายามรู้ความหมายของผู้เขียนพระคัมภีร์มุ่งหมายจะแสดง และแสดงจริงๆ ในกรณีแวดล้อมที่เขาประสบเวลาเขียนนั้น และตามสภาพต่างๆ ในสมัยของเขาและ   วัฒนธรรมของเขา และโดยใช้แบบเขียนตามสมัยนิยมของเขา เพื่อจะได้เข้าใจถูกต้องถึงสิ่งที่พระคัมภีร์ต้องการจะบันทึกไว้เป็นลาายลักษณ์อักษร เราต้องเอาใจใส่ถึงแบบความรู้สึก วิธีพูด และวิธีเล่าเรื่องตามประเพณีพื้นเมืองที่มีอยู่ในสมัยของผู้เขียน และเราต้องเอาใจใส่ถึงแบบต่างๆ ที่คนสมัยนั้นมักจะใช้ในการติดต่อกัน

นอกจากนั้น เราต้องอ่านและเข้าใจพระคัมภีร์ด้วยความสว่างของพระจิตองค์เดียวกันกับที่ดลใจให้เเขียน ดังนั้นเพื่อจะได้พบความหมายที่ถูกต้องของตัวบทต่างๆ  ในพระคัมภีร์ เราต้องเอาใจใส่อย่างที่สุด ถึงเนื้อความและความเป็นหนึ่งของพระคัมภีร์ทั้งหมดในความสว่างของธรรมประเพณีอันมีชีวิตของพระศาสนจักรและของข้อความเชื่อที่เราเข้าใจอาศัยการเปรียบเทียบ เป็นหน้าที่ของผู้อธิบายพระคัมภีร์ที่จะพยายามค้นหาและอธิบายความหมายของพระคัมภีร์อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นโดยอาศัยกฏเหล่าวนี้เพื่อว่าอาศัยการศึกษาเช่นนี้ ซึ่งก็เป็นเพียงขั้นเตรียมเท่านั้น พระศาสนจักรก็จะลุถึงการตัดสินอันรอบคอบ เหตุว่าเรื่องทั้งหมดเกี่ยวกับวิธีอธิบายพระคัมภีร์ก็ต้องอยู่ในวินิจฉัยของพระศาสนจักรเป้นขั้นสุดท้าย พระศาสนจักรทำดังนี้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับจากพระเป็นเจ้าให้รักษาแลอธิบายพระวาจาของพระองค์

๑๓.ดังนั้น ในพระคัมภีร์ ในเวลาเดียวกันที่ความจริงและความศักดิ์สิทธิ์ของพระเป็นเจ้าคงอยู่ครบไม่เสียหายประการใด พระองค์ก็ทรงสำแดงการถ่อมลงอันน่าพิศวงให้เรารู้พระปรีชาญาณนิรันดรของพพระองค์  “เพื่อเราจะได้รู้ว่าพระเป็นเจ้าทรงพระมหากรุณาธิคุณสุดพรรณนาได้ และพระองค์ทรงปรับภาษาของพระองค์ให้เหมาะกับธรรมชาติของเราเพียงไร” เพราะว่าพระวาจาของพระเป็นเจ้า เมื่อแสดงออกด้วยภาษามนุษย์แล้ว ก็เหมือนคำพูดของมนุษย์ ดังเช่นพระวจนาถของพระบิดานิรันดรเมื่อรับเอาเนื้อหนังของมนุษย์ที่อ่อนแอ ก็เหมือนมนุษย์ฉันนั้น