หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร
 “ Lumen Gentium “ เล่มที่ 1

ข้อความคัดมาจากกิจกรรม ของสภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2แถลงการณ์ของ 
ฯพณฯ เลขาธิการพระสังคายนา ในที่ประชุมทั่วไป ครั้งที่ 123, วันที่ 16 พฤศจิกายน  1964.

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

(1.กฤษฎีกาว่าด้วยพระศาสนจักร “De  Ecclesia” กินความหมายด้านเทวศาสตร์ ไปถึงไหน ?)
มีผู้ถามว่า  : คำสอนอันบรรจุอยู่ในประเด็นกล่าวถึงพระศาสนจักร  และที่ได้ลงคะแนนไปแล้วนั้นมีลักษณะอย่างไรในด้านเทวศาสตร์
ต่อปัญหานี้  คณะกรรมการด้านพระธรรมคำสอนได้แถลงตอบ  ดังต่อไปนี้ : -
“ตามที่ปรากฏชัดอยู่แล้ว  ต้นฉบับของพระสังคายนาต้องได้รับการอธิบายอยู่เสมอ  ตามหลักทั่วไป ซึ่งทุกท่านย่อมทราบดีอยู่แล้ว”
สำหรับปัญหานี้ คณะกรรมการพระธรรมคำสอนบอกให้ไปค้นดู  คำแถลงชี้แจงของท่าน ลงวันที่ 6  มีนาคม  1964,  ซึ่งเราขอถ่ายทอดมาอีกครั้งหนึ่ง ณ  ที่นี้  : -
เมื่อพิจารณาดูหลักประเพณีของพระสังคายนาทั่วไป  และมองดูจุดหมาย (วัตถุประสงค์) ด้านการแพร่ธรรมพระสังคายนาสากลในครั้งนี้, สภาพระสังคายนานี้กำหนดว่า : พระศาสนจักรจำต้องถือเฉพาะสิ่งซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อ  และ ศีลธรรม  (จริยธรรม)  ที่มีประกาศออกมาว่าเป็นเช่นนั้น ๆ.
ส่วนข้อความอื่น ๆ ที่สภาฯ เสนอ ในฐานะที่เป็นพระธรรมคำสอนแห่งพระอาจาริยานุภาพสูงสุดของพระศาสนจักร  (Supremum  Ecclesiae Magisterium),  สัตบุรุษทุกคนและแต่ละคนต้องยอมรับและยึดถือตามจิตตารมณ์ของพระสังคายนาเอง, ซึ่งปรากฏออกมาทางวัตถุที่พูดถึงก็ดี, หรือทางทำนองพูดก็ดี, ต้องอธิบายข้อความนั้น ๆ ตามหลักการอธิบายของเทวศาสตร์.

(2.ความหมายของ Collegialitas  = (78) ความเป็นคณะของบรรดาพระสังฆราช)
โดยอำนาจที่อยู่เหนือ เราได้แจ้งให้บรรดาพระบิดรทราบ  “โน้ตอธิบายนำหน้า “Modi” ในบทที่ 3  ของต้นฉบับเรื่องพระศาสนจักร. พระธรรมคำสอนของบทที่ 3 นี้ ต้องอธิบายและต้องเข้าใจตามจิตตารมณ์ และเนื้อหาของบทที่ 3  นั้นเอง.

ข้อสังเกตคำนำหน้าบท
คณะกรรมการ (= Commissio) ก่อนจะอธิบาย “Modi” (= แง่มุมต่าง ๆ ของท้องเรื่อง)  ได้กำหนดให้ข้อสังเกตดังต่อไปนี้ : -
1. คำ “Collegium”  (คณะของบรรดาพระสังฆราช  ไม่ใช่เข้าใจตามใจความตรงแน่วของกฎหมาย ซึ่งหมายความถึงหมู่คณะของบุคคล ที่เท่าเทียมเสมอกันนั้น  ซึ่งได้มอบอำนาจของตน ๆ ให้แก่ประธาน แต่หมายความถึงหมู่คณะอันถาวร ซึ่งมีโครงสร้างและอำนาจ  ที่จำต้องคัดออกมาจากพระวิวรณ์ (Revelatio)  (79)  เพราะฉะนั้น เมื่อตอบปัญหา “Modus 12”  จึงพูดชัดเจนถึง “12  ท่าน” ว่าพระสวามีเจ้าได้ทรงแต่งตั้งพวกท่าน “Modus 53c” ด้วย.  เพราะเหตุผลอันเดียวกันนี้เอง  เมื่อพูดถึง “คณะของบรรดาพระสังฆราช”  จึงใช้ศัพท์ในที่ต่าง ๆ ทั่ว ๆ ไปว่า Ordo (หลั่นชั้นอนุกรม) หรือศัพท์ Corpus (= กาย, ร่างกาย) การเปรียบเทียบเปโตร  และอัครสาวกอื่นทั้งหลายฝ่ายหนึ่งกับพระสันตะปาปา และพระสังฆราชทั้งหลายอีกฝ่ายหนึ่ง  หาได้แฝงบรรจุการมอบอำนาจ  อันเหนือปกติ  (Extraordinaria) ของบรรดาอัครสาวก ไปสู่ตำแหน่งผู้แทนท่านด้วยไม่, ทั้งตามที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้ว  มิได้แฝงความว่า  มีความเท่าเทียม แต่บอกเพียงการมีส่วนสัดเกี่ยวข้องกันระหว่างอันที่หนึ่ง (เปโตร - บรรดาอัครสาวก)  กับอันที่สอง  (พระสันตะปาปา - บรรดาพระสังฆราช)  เพียงแค่นี้เท่านั้น.  ฉะนั้นคณะกรรมการ  จึงได้จงใจบันทึกไว้ในเลข 22 :  ไม่ใช่ด้วยทำนองอันเดียวกัน    แต่เพราะเป็นทำนองคล้าย ๆ กัน, เทียบ  Modus 57.
2.   บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะกลายเป็นสมาชิกของคณะ ก็ต่อเมื่อได้รับการอภิเษกเป็นพระสังฆราช  ทั้งต้องร่วมสหภาพทางพระฐานานุกรม กับองค์พระประมุข และบรรดาสมาชิกของคณะ,  เทียบเลข  22  ข้อ 1  ตอนปลาย.
ในการอภิเษกนั้น  มีการประสาท (= ให้) การมีส่วนในด้านความเป็น  (Participatio Ontologica)  ของภาระหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ,  ตามที่ปรากฏชัด ; ไม่เป็นที่สงสัยเลย.  ในพระกิตติ  ทั้งในพิธีกรรมด้วย  ตรงนี้มีการจงใจใช้คำ  “ภาระหน้าที่”  (Munera)  และไม่ใช้คำ “อำนาจ”  (Potestas). ศัพท์ Potestas นั้น อาจหมายถึงความสามารถที่จะบรรลุถึงกิจกรรม (Actus), แต่เพื่อจะสามารถมีอำนาจดังกล่าวนี้ ที่เหมาะสมสำหรับงาน, ก็จำเป็นต้องรับการกำหนดเป็นมาตรา หรือ ทางกฎหมาย โดยอำนาจของพระฐานานุกรม. การกำหนดทางอำนาจนี้  อาจมีขึ้นโดยการยินยอมยกให้  ซึ่งหน้าที่พิเศษหรือในการเลือกกำหนดผู้รับ และอำนาจนี้ถูกยกให้ตามหลัก ที่ได้รับจากผู้มีอำนาจสูงสุด,  หลักอันดับต่อไปเช่นนี้ ต้องมีขึ้นจากทำธรรมชาติของเรื่อง เพราะว่ามันเกี่ยวกับหน้าที่  ซึ่งจะต้องรับกระทำจากหลายบุคคลด้วยกัน  ตามทำนองของพระฐานานุกรม.  เป็นที่ประจักษ์อยู่ว่า  “การร่วมสหภาพ”  อันนี้มีใช้อยู่ในชีวิตพระศาสนจักร ตามกรณีแวดล้อมของเวลา  ก่อนที่จะได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นกฎหมาย.
เพราะฉะนั้น  จึงพูดโดยเน้นเจาะจงว่า  : จำเป็นต้องมีสหพันธ์ทางพระฐานานุกรมร่วมกับองค์พระประมุขของพระศาสนจักร  และกับสมาชิกของท่าน.  “การร่วมสหพันธ์”  นี้ เป็นข้อไข  (Notio) อันได้รับเทิดทูนสูงส่งมาก  ในพระศาสนจักรโบราณ  (และแม้กระทั่งเราทุกวันนี้  เป็นต้นในทางตะวันออก).  เรื่องนี้มิใช่หมายความว่า เป็นความรู้สึกนึกคิดลอย ๆ ผิวเผินอย่างหนึ่ง  แต่เป็นเรื่อง ความเป็นจริงอยู่จริงทางอวัยวะ  ซึ่งเรียกร้องให้เป็นรูปขึ้นทางกฎหมาย  และพร้อมกันนั้น  ก็ถูกกระตุ้นด้วยความรัก.  เพราะฉะนั้น   คณะกรรมการโดยความเห็นพ้องต้องกัน  แทบจะเป็นเสียงเดียวกัน,   จึงได้ตกลงให้บันทึกว่า  :     ”ในสหพันธ์ของพระฐานานุกรม”  โดยเทียบ  Modus 40 ทั้งข้อความต่าง ๆ ที่พูดถึงภารกิจทางกฎหมายพระศาสนจักร, ในเลข  24.
เอกสารต่าง ๆ ของสมเด็จพระสันตะปาปาในสมัยหลัง ๆ นี้  เกี่ยวกับอาญาสิทธิ์ของพระสังฆราช  ต้องอธิบายตามข้อกำหนดอันจำเป็นนี้ในเรื่องอำนาจอาญาสิทธิ์.
3. Collegium  = คณะ  (78)  นั้น, ถ้าไม่มีหัวหน้าก็เป็นอยู่ไม่ได้. คณะเรียกว่า  “เป็นผู้รับผิดชอบอาญาสิทธิ์สูงสุด  และอำนาจเต็มเปี่ยมเหนือพระศาสนจักรสากลด้วย.”  ความข้อนี้จำเป็นต้องยอมรับเพื่อจะได้ไม่ขัดต่ออำนาจเต็มเปี่ยมของพระสังฆราชแห่งกรุงโรม. เหตุว่า  เมื่อพูดถึงคณะ  จำเป็นต้องเข้าใจถึง การมีศีรษะ หรือองค์พระประมุขรวมอยู่ด้วย. อันศีรษะหรือพระประมุขนี้ เป็นผู้ธำรงรักษาหน้าที่ของตนให้คงอยู่ครบถ้วนในคณะ, นั่นคือ  หน้าที่ผู้แทนพระคริสตเจ้า  และพระชุมพาบาลแห่งพระศาสนจักรสากล.  พูดอีกทำนองหนึ่งก็คือ :  ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างพระสังฆราชกรุงโรมฝ่ายหนึ่ง กับบรรดาพระสังฆราชทั้งหลายที่รวมกันอีกฝ่ายหนึ่ง, แต่มีการแบ่งแยกระหว่างพระสังฆราชกรุงโรมเฉพาะองค์เดียวฝ่ายหนึ่ง กับพระสังฆราชกรุงโรมรวมกับพระสังฆราชทั้งหลาย อีกฝ่ายหนึ่ง,  ทั้งนี้ เป็นเพราะสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเป็นประมุขของคณะ, พระองค์ท่านองค์เดียว ทรงสามารถกระทำกิจการบางอย่าง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของบรรดาพระสังฆราชแต่อย่างใด, ตัวอย่างเช่น การเรียกประชุมพระสังคายนา, การดำเนินงานการประชุมของคณะ, การรับรู้เห็นชอบระเบียบงานต่าง ๆ ฯลฯ. โปรดเทียบ  Modus 81. -  เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระสันตะปาปา  อันที่จะกำหนดตัดสิน,  พระองค์ท่านทรงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ต่อฝูงแกะทั้งหมดของพระคริสตเจ้า, ให้เป็นผู้ดูแลความต้องการต่าง ๆ ของพระศาสนจักร ซึ่งแตกแยกกันไปตามกระแสกาลเวลา,  เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระสันตะปาปาที่จะกำหนดวิธีอันเหมาะสม ให้การเอาใจใส่ดูแลอันนี้ให้เป็นไป, โดยใช้วิธีของพระองค์ท่านเององค์เดียวโดยเฉพาะบ้าง, หรือโดยวิธีเรียกประชุมคณะ. พระสังฆราชกรุงโรมก็ทรงดำเนินงาน, ทรงจัดระเบียบการปฏิบัติของคณะ,  ทรงส่งเสริม,  ทรงรับรู้เห็นชอบ  ทั้งนี้เพื่อคุณประโยชน์ของพระศาสนจักร ตามความเห็นดีเห็นควรของพระองค์ท่านเองโดยเฉพาะ.
4. สมเด็จพระสันตะปาปาในฐานะเป็นชุมพาบาลสูงสุดของพระศาสนจักร,  พระองค์ท่านทรงสามารถใช้อำนาจของพระองค์ตลอดเวลาทุก ๆ เวลา, ตามความเห็นดีเห็นชอบของพระองค์,  ตามที่ภาระหน้าที่นั้นเรียกร้อง. ส่วนคณะนั้น  แม้ว่าคงมีตัวตนอยู่เสมอมา  ก็ไม่ใช่เพราะเหตุนี้  จึงจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะโดยเข้มงวดอยู่ตลอดเวลา  ตามที่ปรากฏชัดอยู่ในพระกิตติ (31),  (ขนบประเพณี Traditio)  ของพระศาสนจักร. พูดอีกทำนองหนึ่งก็คือ  การกระทำของคณะนั้นไม่คงมีตัวตนอยู่เสมอมา  : “In  actu  pleno”  (=  ในการดำรงอยู่โดยครบถ้วน)  “เรื่อยไป,  ยิ่งไปกว่านั้น (Immo) การกระทำของคณะมีอยู่ไม่ได้ เว้นแต่เมื่อเป็นการกระทำของ  (คณะ) โดยแจ้งชัดในบางครั้งบางคราวและจะทำไม่ได้ เว้นแต่โดยความเห็นชอบขององค์พระประมุข” อย่าไปคิดว่าเป็นการขึ้นต่อกันคล้ายกับเป็นการขึ้นกับคนภายนอก. ศัพท์ว่า “เป็นผู้เห็นชอบ” นั้น กลับทำให้บรรดาสมาชิก (ศีรษะกับอวัยวะทั้งหลาย)  ทั้งรวมความถึงความจำเป็น ที่กิจการนั้นที่ตกเป็นของพระประมุขโดยเฉพาะ.  เรื่องนี้มีการยืนยันอยู่อย่างกระจ่างชัดในเลข  23  ข้อ 2  และคำอธิบายในที่เดียวกันนั้นตอนปลาย.  สูตรที่ใช้คำปฏิเสธ  “Nonnisi” (แปลคำละคำ – ไม่,  ถ้าไม่, ไม่, เว้นแต่)  กินความถึงทุก ๆ กรณี, ปรากฏชัดว่า  หลักการที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากอำนาจสูงสุดจำเป็นต้องดำรงอยู่เสมอไป  เทียบ Modus  84.
ฉะนั้นในทุก ๆ กรณี ปรากฏว่าเป็นเรื่องการรวมตัวของบรรดาพระสังฆราช  กับองค์พระประมุขของท่าน และไม่เคยมีปรากฏเลยเรื่องการงานของบรรดาพระสังฆราช  โดยที่ไม่ขึ้นต่อพระสันตะปาปา. ในกรณีนี้หากขาดการกระทำขององค์พระประมุข. บรรดาพระสังฆราชก็ไม่อาจทำอะไรได้ในฐานะเป็นคณะ  ทั้งนี้ปรากฏชัดอยู่ในการบ่งของคำว่า “คณะ”  (=  Collegium). สหภาพของพระสังฆราชทั้งหลายทางพระฐานานุกรม  กับสมเด็จพระสันตะปาปาอันนี้ แน่นอนเป็นของธรรมดา ๆ ในพระกิตติประเพณี.

สังเกต :  หากไม่มีสหภาพ – การร่วมทางพระฐานานุกรมแล้ว  ภารกิจด้านศักดิ์สิทธิการ – ด้านการเป็นตัวตน (Sacramentale – Ontologicum) ซึ่งต้องแยกออกจากแง่กฎหมายของพระศาสนจักร (Canonico – Juridicum) ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้. คณะกรรมการได้ตกลงกันว่า  จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสามีจิภาวะ (81) และด้านอโฆษภาวะ  (82)  (De Liceitate  et  de  validitate) ซึ่งปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาของนักเทวศาสตร์พิจารณาแสดงเหตุผลของตน ๆ  เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจซึ่งตามที่เป็นจริง  (De – facts)  ปฏิบัติกันอยู่ท่ามกลางชาวตะวันออกที่แยกตัวออกไป, เรื่องการอธิบายปัญหานี้  พวกนักปราชญ์มีความเห็นหลายอย่างต่างกัน,

เปริแกลส   เฟลีชี
อัครสังฆราช, เกียรตินาม ซาโมซัล
เลขาธิการทั่วไป  ของสภาพระสังคายนา วาติกัน