หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร
 “ Lumen Gentium “ เล่มที่ 1

บทที่  8 พระนางพรหมจารีมารี พระเทวมารดาในพระอคาธัตถ์เกี่ยวสัมพันธ์กับ
พระคริสตเจ้าและในพระอคาธัตถ์สัมพันธ์กับพระศาสนจักร

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 ธรรมชาติและพื้นฐานแห่งคารวกิจต่อพระนางพรหมจาริณี

คารวกิจต่อพระแม่มารีในพระศาสนจักร
66.  พระแม่มารี  เดชะพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า  ได้ทรงได้รับการยกย่องเทิดชูขึ้น,  ทั้งนี้เป็นการสมควรและถูกต้องแล้ว, ให้พระนางเป็นรองจากพระบุตรลงมา,  ให้พระแม่เจ้าทรงอยู่เหนือเทวดาและมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะพระฐานะตำแหน่งองค์พระมารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งของพระเป็นเจ้า, พระนางได้ทรงมีส่วนร่วมในพระอคาธัตถ์ต่าง ๆ ของพระคริสตเจ้า, จึงทรงรับเกียรติยศพิเศษจากพระศาสนจักร, นี่ก็เป็นการสมควรแล้ว  ที่จริงตั้งแต่สมัยโบราณดึกดำบรรพ์มาทีเดียว, พระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ  ทรงได้รับความเคารพเป็น  “พระเทวมารดา” (Deipara), ซึ่งในยามประสบทุกขภัยและในยุคขัดสน,  มีความต้องการอย่างต่าง ๆ, พวกสัตบุรุษได้พากันเข้ามาสวดภาวนา  อ้อนวอน  และยึดเอาพระแม่เจ้าเป็นที่พึ่งที่อาศัย. เฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่พระสังคายนานครเอเฟซัส, ประชากระของพระเป็นเจ้าได้ถวายความเคารพภักดีต่อพระแม่เจ้ามากขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, เขาแสดงความเคารพและความรักเสน่หาและเขาปฏิบัติตามแบบอย่างของพระแม่เจ้า,  ทั้งนี้ก็เป็นไปตามวาทะคำทำนายของพระแม่เจ้าเองว่า :  “ชนชาติทุกชั่วอายุ  จะเรียกดิฉันว่า เป็นผู้มีบุญ,  เพราะพระเป็นเจ้าผู้ทรงอานุภาพ จะทรงทำงานใหญ่โตหลายอย่างในตัวดิฉัน” (ลก. 1,48).  คารวกิจอันนี้ เท่าที่มีอยู่ในพระศาสนจักรเสมอมา,  เป็นคารวกิจพิเศษโดยเฉพาะ, แต่อย่างไรก็ดีโดยสภาวะหรือโดยแก่นแท้  (Essentialiter) ก็ต่างกับคารวกิจนมัสการ  (Adoratio)  ที่ชาวเราถวายแด่พระวจนาต์ผู้มารับเป็นมนุษย์  ทั้งถวายแด่พระบิดาและพระจิต และคารวกิจต่อพระแม่เจ้า  ก็ส่งเสริมคารวกิจนมัสการเป็นอย่างยิ่ง.  ความศรัทธาภักดีต่อพระมารดาของพระเป็นเจ้านั้น.  มีหลายรูปต่างกัน, ซึ่งเมื่ออยู่ในขอบข่ายพระธรรมคำสอน อันถูกต้องเที่ยงแท้ และเป็นไปตามสถานะของกาลเทศะ  กล่าวคือ  ตามสมัยเวลา และตามสถานที่ต่าง ๆ, และเป็นไปตามอุปนิสัยและสติปัญญาของบรรดาสัตบุรุษ, พระศาสนจักรก็ให้ความเห็นชอบรับรอง, จึงเป็นอันว่า  เมื่อชาวเราทำความเคารพภักดีต่อพระมารดา,  องค์พระบุตร ที่สรรพสิ่งเป็นอยู่เพราะพระองค์  (เทียบ คส. 1,15-16) และในพระองค์นั้น,  พระบิดานิรันดร  “ได้ทรงพอพระทัยให้ความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างสถิตพำนักอยู่, (คส. 1,19),  เป็นเหตุให้,  ตามที่ถูกต้องและสมควร, ให้พระบุตรเจ้าเป็นที่รักเสน่หา,  เป็นที่เทิดพระเกียรติมงคล,  และเป็นที่เคารพเชื่อฟังตามพระบัญญัติของพระองค์.