หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร
 “ Lumen Gentium “ เล่มที่ 1

บทที่  3 พระฐานานุกรมของพระศาสนจักรและตำแหน่งพระสังฆราชโดยเฉพาะ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 หน้าที่ของพระสังฆราช  ด้านการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์

26.  พระสังฆราชเป็นผู้ได้รับศีลอนุกรมขั้นบริบูรณ์  “ท่านเป็นผู้แจกจ่ายพระหรรษทานแห่งสังฆภาพสูงสุด” เฉพาะอย่างยิ่งในศักดิ์สิทธิการ  ซึ่งตัวท่านเองถวายหรือจัดให้มีการถวาย อาศัยพระหรรษทานอันนี้แหละ  พระศาสนจักรจึงมีชีวิตแลเจริญขึ้นเรื่อยมา. พระศาสนจักรอันนี้ของพระคริสตเจ้า เป็นอยู่โดยแท้ในบรรดากลุ่มสัตบุรุษในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสัตบุรุษที่ชอบด้วยกฎหมาย, แต่กลุ่มต่าง ๆ นี้ขึ้นอยู่กับชุมพาบาลของตน ๆ กลุ่มเหล่านี้ในพันธสัญญาใหม่เรียกชื่อว่าเหล่าพระศาสนจักร  เหตุว่าพระ    ศาสนจักรเหล่านี้ พระเป็นเจ้ามีพระดำรัสเรียกเขาในสถานที่อยู่ของเขาว่าเป็นประชากรใหม่  ซึ่งเป็นอยู่โดยฤทธิ์อำนาจของพระจิตเจ้าและตั้งอยู่ในความบริบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง  (เทียบ ธส. 1,5)  ในพระศาสนจักรเหล่านี้ บรรดาสัตบุรุษมาร่วมประชุม  ฟังการประกาศพระวรสารของพระคริสตเจ้า และมีการฉลองพระอคาธัตถ์การเลี้ยงอาหารค่ำของพระสวามีเจ้า “เพื่อด้วยอาศัยอาหารและพระโลหิตของพระสวามีเจ้า การเป็นพี่น้องกันหมดทุก ๆ คน จะได้กระชับกันขึ้น”  ในทุก ๆ กลุ่มรอบพระแท่น ที่มีพระสังฆราชเป็นผู้ประกอบบริการอันศักดิ์สิทธิ์ ก็แสดงออกเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์,  เป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพของพระอคาธกาย  ซึ่งหากขาดเอกภาพนี้แล้ว,  ความรอดก็มีขึ้นไม่ได้.  ในกลุ่มเหล่านี้ แม้บ่อยครั้งเป็นกลุ่มน้อย ๆ และยากไร้  หรือเป็นกลุ่มที่ผู้คนอยู่กระจัดกระจายกัน,  พระคริสตเจ้าก็ประทับอยู่  และด้วยฤทธิ์อำนาจของพระองค์ท่าน,  เขาก็รวมตัวกันเป็นพระศาสนจักรอันหนึ่งอันเดียว,  ศักดิ์สิทธิ์, สากลและอัครสาวกมัย. (51) เพราะเหตุว่าการเข้ามีส่วนในพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า มีแต่ผลิตผลทำให้เราเปลี่ยนรูป  กลายเป็นสิ่งที่เราเข้าไปรับประทานนั้น”

การประกอบสดุดีบูชาที่ชอบใด ๆ,  พระสังฆราชเป็นผู้นำดำเนินงาน  เพราะว่าท่านได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ถวายคารวกิจของพระคริสตศาสนาแด่พระมหิทธิศักดิ์ของพระเป็นเจ้า  และท่านจำต้องปฏิบัติตามบัญญัติของพระเป็นเจ้า  และของพระศาสนจักร,  แต่ท่านก็อาจกำหนดเรื่องปลีกย่อยต่อไปในสังฆมณฑลของท่าน,  ตามความคิดเห็นของท่านเอง.

ฉะนั้น พระสังฆราช เมื่อท่านอธิษฐานภาวนา  เมื่อท่านออกแรงทำการงานเพื่อประชากร,  ท่านก็นำเอาความศักดิ์สิทธิ์อันไพบูลย์ของพระคริสตเจ้ามาหลั่งบนตัวประชากรหลาย ๆ รูปแบบ และอย่างอุดมสมบูรณ์. โดยทางพระวจนะ  (= เทศน์สอน) ท่านนำเอาฤทธิ์อำนาจของพระเป็นเจ้ามามอบให้แก่ผู้ที่เชื่อ  เพื่อให้เขาได้ความรอด (เทียบ รม. 1,16), และโดยบริการศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ซึ่งท่านใช้อำนาจของท่าน จัดระเบียบการแจกจ่ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และมีประสิทธิภาพในการผลิตผล  ท่านก็ทำให้ศักดิ์สิทธิ์ไป ท่านกำหนดกฎเกณฑ์การประสาทศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป  ซึ่งศักดิ์สิทธิการอันนี้ทำให้เรามีส่วนในราชสังฆภาพ (52) ของพระคริสตเจ้า. แต่เดิมมาท่านเองเป็นผู้ประกอบศักดิ์สิทธิการพละกำลัง (53) และเป็นผู้แจกจ่ายศักดิ์สิทธิการ - อนุกรมขั้นต่าง ๆ และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์เรื่องศักดิ์สิทธิการ – การแก้บาป, ท่านเสียสละตนเอง เอาใจใส่ตักเตือนสั่งสอนสัตบุรุษให้ทำหน้าที่ส่วนของตน ด้วยให้มีความเชื่อและความเคารพในศาสนพิธีกรรม  และเป็นต้นในบูชามิสซา,  ที่สุดต่อบรรดาผู้อยู่ใต้อำนาจของท่าน, ท่านต้องเจริญก้าวหน้าด้วยบำเพ็ญตนเป็นแบบอย่าง,  ระมัดระวังความประพฤติของตัวท่านเอง  ให้ห่างไกลจากความชั่วเท่าที่จะกระทำได้  และโดยอาศัยพระเป็นเจ้าทรงช่วยเหลือ  ท่านต้องหันหน้าเข้าหาความดี ทั้งนี้เพื่อตัวท่านเองจะได้บรรลุถึงชีวิตนิรันดร พร้อมกับฝูงแกะที่ท่านได้รับมอบหมายนั้นด้วย.