หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร
 “ Lumen Gentium “ เล่มที่ 1

บทที่  3 พระฐานานุกรมของพระศาสนจักรและตำแหน่งพระสังฆราชโดยเฉพาะ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 การทำหน้าที่ด้านการสั่งสอนของพระสังฆราช

25.  ท่ามกลางภารกิจต่าง ๆ ของพระสังฆราช  ภารกิจที่เด่นคือการประกาศพระวรสาร.  เหตุว่าพระสังฆราชเป็นโฆษกผู้ประกาศความเชื่อ,  เป็นผู้นำสานุศิษย์ใหม่ให้เข้ามาหาพระคริสตเจ้าและท่านคืออาจารย์โดยแท้  หรืออีกนัยอาจารย์ผู้ประกอบด้วยอำนาจอาชญาสิทธิ์ของพระคริสตเจ้า,  ท่านเป็นผู้ประกาศอัตถ์ความเชื่อที่ต้องยึดถือ  และต้องนำมาประยุกต์ประพฤติปฏิบัติตามนั้นสำหรับประชากรที่ท่านได้รับมอบหมาย, อาศัยความสว่างของพระจิตเจ้า  ท่านเป็นผู้กระจายแสง,  นำเอาทรัพย์สินใหม่และเก่าออกมาจากคลังแห่งพระวิวรณ์ (48) (เทียบ มธ. 13,52), ท่านเป็นผู้ทำให้ความเชื่อนั้นผลิตผล ทั้งท่านระวังระไวขจัดมิให้ฝูงแกะของท่านพลัดหลงไป (เทียบ 2 ทม. 4,1-4)  บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมสหพันธ์กับพระสังฆราชกรุงโรม, เมื่อท่านทำหน้าที่เป็นอาจารย์, ทุก ๆ คนต้องเคารพ  ในฐานะท่านเป็นพยานแห่งอัตถ์ความเชื่อของพระเป็นเจ้า  และความจริงคาทอลิก ;  ส่วนสัตบุรุษต้องคล้อยตามพระสังฆราชของตน ตามความเห็นที่ท่านแสดงออกในนามของพระคริสตเจ้าเรื่องความเชื่อและศีลธรรม และต้องรับปฏิบัติตามด้วยใจเคารพนอบน้อม.  อันความภักดีนอบน้อมด้านน้ำใจและด้านสติปัญญาดังนี้ ชาวเราต้องปฏิบัติเป็นอย่างพิเศษต่อพระอาจาริยานุภาพที่แท้จริง  (= ไม่ใช่ปลอมแปลง)  ของพระสังฆราชกรุงโรม, แม้เมื่อพระองค์มิได้ตรัส “จากธรรมาสน์”  (ex cathedra)  หมายความว่า ชาวเราต้องยอมรับรู้ด้วยความเคารพว่า  พระอาจาริยานุภาพของพระองค์ท่านเป็นอันสูงสุด และต้องยึดถือด้วยจริงใจต่อคำตัดสินของพระองค์ท่าน ที่แสดงเปิดเผยออกมาว่า เป็นความนึกคิดและน้ำพระทัยของพระองค์ท่าน ซึ่งเผยออกโดยลักษณะของเอกสารก็ดี, ทางการเน้นย้ำคำสอนอันเดียวกันนั้นบ่อย ๆ ก็ดี,  หรือกระทั่งโดยทำนองพูดของพระองค์ท่านก็ดี. 

พระสมณะผู้ใหญ่ (praesules = พระสังฆราช)  แต่ละองค์ แม้ท่านไม่ทรงเอกสิทธิ์ความไม่รู้ผิดพลั้ง (50)  ถึงกระนั้นแม้ขณะอยู่กระจัดกระจายกันทั่วโลก  หากท่านคงรักษาความสัมพันธ์ในสหพันธ์กับเพื่อนพระสังฆราชด้วยกัน และกับองค์ท่านผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร,  เมื่อนั้นหากบรรดาพระสังฆราชสั่งสอนอย่างเป็นทางการ (51)  ในเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม  และพวกท่านมีความเห็นพ้องต้องกันว่า  เป็นปัญหาที่ต้องยึดถืออย่างเด็ดขาด      เมื่อนั้นพวกท่านก็ประกาศอย่างไม่รู้ผิดพลั้ง   ซึ่งคำสอนของพระคริสตเจ้า.  เรื่องอย่างนี้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้นอีก เมื่อบรรดาพระสังฆราชมาร่วมประชุมพระสังคายนาสากล  พวกท่านก็ทำหน้าที่เป็นอาจารย์และผู้พิพากษาทั่วทั้งพระศาสนจักรสากลในเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม.  เมื่อนั้นชาวเราต้องน้อมรับคำนิยามตัดสินของพวกท่าน ด้วยความเคารพภักดีต่อความเชื่อ

อันความไม่รู้ผิดพลั้งนี้ องค์พระผู้ไถ่ได้ทรงพอพระทัยให้พระศาสนจักรของพระองค์ทรงไว้เป็นสมบัติของตน,  เพื่อประโยชน์ในการนิยามคำสอนเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม  และความไม่รู้ผิดพลั้งนี้มีขอบเขตกว้างเท่าพระคลังของฝาก (49)  ของพระเป็นเจ้า, ซึ่งชาวเราต้งอสงวนรักษาไว้อย่างศักดิ์สิทธิ์  และต้องอธิบายอย่างซื่อตรง.  ผู้ทรงไว้ซึ่งความไม่รู้ผิดพลั้ง คือพระสังฆราชกรุงโรม ในฐานะพระประมุขแห่งคณะพระสังฆราชทั้งหลาย,  เดชะพระภาระหน้าที่ของพระองค์ท่าน จึงทรงพระอภิสิทธิ์อันนี้,  ในเมื่อในฐานะทรงเป็นชุมพาบาล  และอาจารย์สูงสุดของสัตบุรุษคริสตังทั้งหลาย,  พระองค์ทรงเป็นหลักทำให้ภราดรทั้งหลายของพระองค์ตั้งมั่นในความเชื่อ (เทียบ ลก. 22,32)  พระองค์ทรงประกาศพระธรรมคำสอนเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม  ด้วยการกระทำอันเด็ดขาด. เพราะฉะนั้นคำนิยามตัดสินของพระองค์ท่าน, จากตัวมันเองและไม่ใช่จากการเห็นพ้องของพระศาสนจักร, เรียกได้โดยถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่เด็ดขาด,  เปลี่ยนแปลงไม่ได้,  เพราะเหตุว่าคำนิยามนั้นประกาศออกมาโดยความอนุเคราะห์ของพระจิตเจ้า, ซึ่งพระองค์ท่านได้รับตามคำมั่นสัญญาโดยผ่านท่านเปโตร, เพราะเหตุนี้จึงไม่ต้องการความเห็นชอบอันใดของผู้อื่น, ทั้งไม่มีทางอุทธรณ์ไปยังการตัดสินอื่นใดด้วย,  เหตุว่าเมื่อนั้นพระสังฆราชกรุงโรมประกาศตัดสินออกมา  ไม่ใช่เป็นบุคคล (ธรรมดา) สามัญ  แต่ในฐานะปรมาจารย์สูงสุดของพระศาสนจักรสากลทั้งหมด,  พิเศษพรความไม่รู้ผิดพลั้งของพระศาสนจักรเอง  สถิตอยู่ในพระองค์ท่านโดยเฉพาะองค์เดียวต่างหาก,  ในความไม่รู้ผิดพลั้งอันนี้พระองค์ท่านอธิบายป้องกันพระธรรมอัตถ์ความเชื่อ. ความไม่รู้ผิดพลั้งที่พระเป็นเจ้าทรงสัญญาไว้กับพระศาสนจักร  ยังสถิตอยู่ในทาง (องค์กร) (50)  ของบรรดาพระสังฆราชอีกด้วย ในคราวเมื่อท่านปฏิบัติพระอาจาริยานุภาพอันสูงสุด  ร่วมกับองค์ผู้สืบตำแหน่งของท่านเปโตร, คำนิยามตัดสินเหล่านั้นต้องมีความเห็นพ้องต้องกันของพระศาสนจักรซึ่งจะขาดเสียมิได้เลย เพราะเป็นกิจกรรมของพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน  ซึ่งจะทรงกระทำให้ฝูงแกะของพระคริสตเจ้าทั้งหมดคงดำรงอยู่ในเอกภาพของความเชื่อ และเจริญวัฒนาต่อไป.

เมื่อพระสังฆราชกรุงโรมก็ดี หรือเมื่อ  (กาย, องค์กร)  (50)  คณะของบรรดาพระสังฆราชร่วมกับพระองค์ท่านก็ดี  กำหนดคำนิยามการตัดสินอันใด,  ท่านก็ประกาศออกมา เป็นไปตามพระวิวรณ์นั้นเอง  ที่ทุก ๆ คนจำต้องยืนหยัดตามนั้น และต้องทำตนคล้อยตามนั้นด้วย. พระวิวรณ์  (การไขแสดงของพระเป็นเจ้า) (48)  ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่สืบทอดมา  โดยทางการสืบทอดของบรรดาพระสังฆราชที่เป็นไปตามกฎหมาย และเฉพาะอย่างยิ่งโดยความสลวนเอาใจใส่ของพระสังฆราชกรุงโรมท่านเอง จึงถ่ายทอดออกมาอย่างครบถ้วน  และโดยที่พระจิตแห่งความจริงทรงส่องสว่างนำหน้า  บันดาลให้สงวนรักษาพระวิวรณ์นั้นไว้อย่างศักดิ์สิทธิ์และอธิบายอย่างซื่อตรง  เพื่อการเสาะแสวงหาพระวิวรณ์โดยถูกต้อง และเพื่ออธิบายอัตถ์นั้นอย่างเหมาะสม  พระสังฆราชกรุงโรมและบรรดาพระสังฆราชตามภาระหน้าที่ของท่าน และตามความหนักเบาของกรณี,  ท่านก็ใช้วิธีการอันเหมาะสม  และใช้ความพยายามอุตสาหะ  แต่อย่างไรก็ดี  ท่านไม่รับวิวรณ์ใหม่อันเป็นสาธารณะส่วนรวมอันใดก็ตาม ว่าเป็นอยู่ในประมวลพระคลังของฝาก (49)   แห่งความเชื่อ.