หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร
 “ Lumen Gentium “ เล่มที่ 1

บทที่  3 พระฐานานุกรมของพระศาสนจักรและตำแหน่งพระสังฆราชโดยเฉพาะ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 พระสังฆราชคือผู้สืบตำแหน่งอัครสาวก

20.  ภารกิจของพระเป็นเจ้านั้น  อันที่พระคริสตเจ้าได้ทรงมอบหมายฝากไว้กับพวกอัครสาวก จำจะต้องดำรงอยู่จวบจนสิ้นพิภพ (เทียบ มธ. 28,20), เพราะว่าพระวรสารที่พวกท่านต้องมอบต่อ ๆ กันไปนั้น เป็นดังแหล่งที่มาแห่งชีวิตสำหรับพระศาสนจักรในทุก ๆ เวลา,  เพราะเหตุนี้เอง พวกอัครสาวก  ในสังคมที่มีระเบียบเป็นฐานานุกรม, ท่านจึงได้ใส่ใจอันที่จะแต่งตั้งผู้สืบตำแหน่งแทนพวกท่าน,  มิใช่แต่พวกอัครสาวกได้มีผู้ช่วยในหน้าที่ของท่านหลายคนหลายตำแหน่งเท่านั้น  แต่เพื่อให้ภารกิจที่ท่านได้รับมอบหมายดำรงอยู่ต่อไป  หลังมรณกรรมของพวกท่าน,  ท่านจึงได้กำชับสั่งดังเป็นพินัยกรรม ให้ผู้ร่วมงานใกล้ชิดของท่านทำภาระหน้าที่นั้นต่อไปจนสำเร็จ  และงานที่พวกท่านได้เริ่มไว้ ก็ให้พวกเขายืนหยัดทำต่อไป  พลางกำชับให้พวกเขาเอาใจใส่ต่อฝูงแกะทั้งหมด  ซึ่งพระจิตเจ้าได้ทรงตั้งเขาไว้ให้เลี้ยงดูพระศาสนจักรของพระเป็นเจ้า (เทียบ กจ. 20,28), ฉะนั้นพวกอัครสาวกจึงได้แต่งตั้งบุรุษประเภทนี้ขึ้นหลายท่าน และยังกำชับสั่งให้ต่อ ๆ ไปเมื่อเขาจะได้ตายจากไป, ให้คนอื่นที่ได้ทดสอบมาดีแล้วรับช่วงภารกิจนั้นต่อไป.  ในบริการภารกิจต่าง ๆ ที่กระทำกันมาในพระศาสนจักรตั้งแต่สมัยเริ่มแรกพระกิตติเป็นพยาน,  ภาระหน้าที่สำคัญอันดับหนึ่งคือหน้าที่ของบุคคลที่ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นสู่ตำแหน่งพระสังฆราช,  โดยการสืบหน้าที่แทนเป็นการไหลลงมาจากต้นเดิม, เขาพวกนี้ถ่ายทอดพันธุ์มาจากพวกอัครสาวก.  ตัวอย่างตามคำพยานของนักบุญอิเรเนโอ, ท่านยืนยันว่า :  โดยผ่านทางบุคคลที่พวกอัครสาวกได้ตั้งขึ้นเป็นพระสังฆราช และบุคคลที่สืบตำแหน่งของพระสังฆราชเหล่านั้น  จนกระทั่งมาถึงสมัยของเรา พระกิตติ (= การมอบหมายต่อ ๆ มา) ของอัครสาวกจึงประจักษ์ชัดและคงรักษาไว้ในทั่วโลก.
เพราะฉะนั้น  บรรดาพระสังฆราชได้รับหน้าที่ศาสนบริการ (36) ของกลุ่มชน  ทั้งนี้ร่วมกับบรรดาผู้ช่วยเหลือท่านคือ  พวกพระสงฆ์และสังฆานุกร (37) ท่าน  (= พระสังฆราช)  ทำหน้าที่เป็นประธานของฝูงแกะซึ่งท่านเป็นชุมพาบาล  แทนที่พระเป็นเจ้า ในฐานะที่ท่านเป็นอาจารย์สอนธรรมะ,  ท่านเป็นพระสงฆ์ในพิธีศาสนกิจและเป็นบริกรผู้ปกครอง,  อันหน้าที่ที่พระสวามีเจ้าได้ทรงมอบให้แก่ท่านเปโตรคนเดียวโดยเฉพาะ, ท่านผู้เป็นที่หนึ่งในบรรดาอัครสาวก,  ก็หน้าที่นี้จะต้องดำรงอยู่และต้องมอบให้แก่ผู้สืบตำแหน่งของท่านฉันใด, ก็ฉันนั้น  ยังคงดำรงถาวรซึ่งหน้าที่ของบรรดาอัครสาวก  หน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูพระศาสนจักร,  ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เสมอจากฝ่ายผู้อยู่ในระดับอันศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาพระสังฆราช  เพราะฉะนั้นสภาพระสังคายนาจึงประกาศสอนว่า : บรรดาพระสังฆราช, จากการสถาปนาของพระเป็นเจ้าเอง, ได้สืบตำแหน่งแทนที่บรรดาอัครสาวก,  ในฐานะเป็นชุมพาบาลของพระศาสนจักร  ซึ่งผู้ใดเชื่อฟังท่าน, ผู้นั้นเชื่อฟังพระ   คริสตเจ้า,  แต่ผู้ใดประมาทท่าน, ผู้นั้นประมาทพระคริสตเจ้า  ทั้งพระองค์ที่ได้ทรงส่งพระคริสตเจ้ามา (เทียบ ลก. 10,16)