หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร
 “ Lumen Gentium “ เล่มที่ 1

บทที่  2   ประชากรของพระเป็นเจ้า

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

สากลภาพ  หรือ  “ความเป็นคาทอลิก” แห่งประชากรแต่ประชากรเดียวของพระเป็นเจ้า

13.  ประชากรใหม่ของพระเป็นเจ้านั้น มนุษย์ทุกคนเชิญให้เข้ามาสู่  เพราะฉะนั้นประชากรนี้มีอันเดียวและคงเป็นอยู่แต่อันเดียวเท่านั้น, อันที่จะแผ่กระจายไปสู่ทั่วโลกจักรวาล และตลอดกระแสศตวรรษทั้งหลาย เพื่อให้เป็นไปตามความมุ่งประสงค์ของพระเป็นเจ้า  ผู้ซึ่งในเบื้องต้นได้ทรงสร้างธรรมชาติมนุษย์มาแต่ธรรมชาติเดียว,  และลูก ๆ ของพระองค์ที่ได้กระจัดกระจายไปนั้น  พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะนำกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันในที่สุด  (เทียบ ยน. 11,15).  เพราะเหตุนี้เองพระเป็นเจ้าจึงได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มา,  ทรงแต่งตั้งให้เป็นทายาทของโลกจักรวาล  (เทียบ ฮบ. 1,2),  ให้เป็นพระอาจารย์,  พระราชา,  และพระสงฆ์ของทุก ๆ คน ให้เป็นประมุข (หัวหน้า)  ของประชากรใหม่, ประชากรสากลแห่งลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า, ที่สุดเพราะเหตุนี้เอง  พระเป็นเจ้าได้ทรงส่งพระจิตแห่งพระบุตรของพระองค์มา, พระจิตนี้เป็นพระสวามีเจ้า, เป็นผู้บันดาลชีวิต,  พระองค์นี้แหละสำหรับพระศาสนจักรทั้งหมด  ทั้งสำหรับผู้มีความเชื่อคนละคนและทุก ๆ คนรวมกัน,  ทรงเป็นแหล่งที่มาแห่งการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน  และเอกภาพในคำสอนของพวกอัครสาวก,  แห่งสหพันธ์,  การหักปัง,  และการบำเพ็ญภาวนา (เทียบ กจ. 2,42 กริก)
เพราะฉะนั้นประชากรแต่ประชากรเดียวของพระเป็นเจ้า  มีอยู่ในทุกชาติภาษาบนแผ่นดิน  เพราะประชากรนี้ยืมพลเมืองของตนมาจากทุกชาติภาษา, มีลักษณะพิเศษเป็นราชัย ไม่ใช่ราชัยฝ่ายโลกนี้  แต่เป็นราชัยฝ่ายสวรรค์  เหตุว่าสัตบุรุษทุกคนที่กระจายอยู่ทั่วโลก ต่างก็ร่วมสหพันธ์ในพระจิตเจ้า  กับสัตบุรุษอื่นทั้งหลาย,  เป็นอันว่า  “คนที่พำนักอยู่กรุงโรม ก็ทราบว่าชาวอินเดียเป็นสมาชิก  (อวัยวะ)  ของตน”

เพราะพระราชัยของพระคริสตเจ้า ไม่ใช่เป็นของโลกนี้  (เทียบ ยน. 18,36),  ฉะนั้นพระศาสนจักร,  อีกนัยประชากรของพระเป็นเจ้าที่ประกอบขึ้นเป็นราชัยนี้, ท่านไม่ลักลอบเอาทรัพย์ฝ่ายโลกอันใดจากประชากรใด ๆ เลย,  แต่ตรงข้าม  อันความสามารถ, ทรัพยากรและขนบประเพณีของประชากรต่าง ๆ อะไรที่เป็นชองดีท่านก็สนับสนุนและรับเอาไว้,  เมื่อรับไว้ท่านก็ชำระสะสาง, ปลูกฝังให้มั่นคงและเชิดชูขึ้น. ท่านสำนึกอยู่เสมอว่าตัวท่านจำต้องเก็บรวบรวมร่วมกับพระราชาพระองค์นั้น, พระองค์ที่นานาชาติทั้งหลายถูกมอบให้เป็นมรดกของพระองค์ท่าน  (สดด. 2,8)  และ “ยังพระบุตรของพระองค์ท่านเขานำเอาของขวัญและเครื่องบรรณาการมาถวาย”  (เทียบ สดด. 71 (72); อสย. 60,4-7; วว. 21,24).  ลักษณะสากลภาพอันนี้ ที่พากันประดับบรรดาประชากรของพระเป็นเจ้าก็เป็นพระคุณของพระสวามีเจ้าเอง และด้วยพระคุณอันนี้  พระศาสนจักรคาทอลิกมุ่งมั่นอย่างได้ผลและสม่ำเสมอ นำมนุษยชาติทั้งหมดพร้อมกับทรัพยากรทั้งสิ้นของเขา  กลับเข้ามามอบให้แด่พระคริสตเจ้าองค์พระประมุข  (ศีรษะ) ร่วมเอกภาพกับพระจิตของพระองค์ท่าน.

เดชะฤทธิ์แห่งสากลภาพอันนี้ ส่วนแต่ละส่วนต่างนำเอาพรโดยเฉพาะของตนมามอบให้แก่พระ  ศาสนจักรทั้งหน่วยด้วย จึงเป็นอันว่าตัวหน่วยทั้งหมดและส่วนแต่ละส่วนของหน่วยนั้นย่อมเจริญขึ้น  เพื่อจากที่ทุกๆ คนต่างนำเอาพรของตนๆ มามอบให้แก่กันและกัน และต่างพากันมุ่งมั่นไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ในเอกภาพ จังเป็นอันว่าประชากรของพระเป็นเจ้ารวมตัวกันขึ้น ไม่ใช่เพียงเพราะมีประชากรต่าง ๆ กันเท่านั้น  แต่ยังเจริญเติบโตขึ้นในตัวตนเอง เพราะมีการประสานสมานกันหลายสิ่งหลายอย่างอีกด้วย ระหว่างสมาชิก  (อวัยวะ)  ของพระศาสนจักรมีความแตกต่างกัน, บ้างก็ในด้านหน้าที่, ในเมื่อบางท่านบำเพ็ญ   ศาสนบริการเพื่อประโยชน์ของพี่น้องของตน,  บ้างก็ในด้านฐานะการดำเนินชีวิต,  ในเมื่อมีหลาย ๆ ท่านสังกัดอยู่ในฐานะนักบวช, เขาดำเนินชีวิตตามวิถีทางที่รัดกุมเคร่งครัดยิ่งขึ้น โดยเขามุ่งไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์,  แบบอย่างของเขาจึงเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนพวกพี่น้อง  เป็นเพราะเหตุนี้เองด้วย ที่ในสหพันธ์ของพระศาสนจักรมีพระศาสนจักรปลีกย่อยหลายพระศาสนจักร.  ซึ่งก็เป็นไปตามคลองธรรม.  พระศาสนจักรปลีกย่อยเหล่านี้มีขนบประเพณีของโดยเฉพาะ ทั้ง ๆ ที่คงดำรงอยู่โดยความครบถ้วน ภายใต้การเป็นประมุขเอก (29) ของพระอาสนแห่งท่านเปโตร (30)  ผู้เป็นประธานในที่ประชุมสโมสรสันนิบาตสากลทั่วไปของบรรดาผู้มีความรัก,  ท่านเปโตรก็ปกป้องความแตกต่างอันเป็นไปตามคลองธรรม, ท่านปกป้องความแตกต่างพิเศษนี้  อย่าเข้าใจว่าเพื่อไม่ให้ทำร้ายต่อเอกภาพ แต่เพื่อให้ลักษณะพิเศษนั้นกลับเป็นคุณต่อเอกภาพอีกด้วย  ที่สุดเพราะเหตุนี้เองด้วย ท่ามกลางความแตกต่างกันเองของพระศาสนจักร ก็มีสายสัมพันธ์อันสนิทชิดเชื้อต่อกันในด้านทรัพยากรฝ่ายวิญญาณ,  ด้านบุคลากรในงานแพร่ธรรม,  และในด้านการอุปถัมภ์ช่วยเหลือกันและกันทางโภคทรัพย์ฝ่ายแผ่นดิน.  ทั้งนี้เป็นเพราะว่าสมาชิก (อวัยวะ) แห่งประชากรของพระเป็นจ้าได้รับเรียกมา  เพื่อนำทรัพยากรต่าง ๆ มาแบ่งปันกันและกัน, วาทะของท่านอัครสาวกจึงเหมาะสมกับพระศาสนจักร แต่ละพระศาสนจักรว่า : “ทุก ๆ คนจงนำเอาพระหรรษทานที่ตนได้รับมาแบ่งปันรับใช้กันและกัน,  อย่างเช่นที่เป็นผู้จำหน่ายจ่ายแจกที่ดีงามแห่งพระหรรษทานหลายสิ่งหลายอย่างของพระเป็นเจ้า” ( 1 ปต. 4,10)

เพราะฉะนั้นมนุษย์ทุกคนได้รับเชิญให้เข้ามาสู่เอกภาพสากล (คาทอลิก)  แห่งประชากรของพระเป็นเจ้า เอกภาพสากลอันนี้เป็นทั้งเครื่องหมายบ่งล่วงหน้า  และเป็นทั้งเครื่องหมายสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดมีสันติภาพสากล : มนุษย์ทุกคนมีความเกี่ยวข้อง  หรือได้รับการจัดให้โน้มเอียงเกี่ยวข้องกับสันติภาพสากลด้วยทำนองต่าง ๆ กัน :  บ้างเป็นสัตบุรุษคาทอลิกด้วยกันก็ดี,  บ้างเป็นคนอื่นที่เชื่อในพระคริสตเจ้าก็ดี, บ้างในที่สุดเป็นมนุษย์ทั้งหลายทั่วไปก็ดี,  ทุกคนต่างได้รับคำเชื้อเชิญจากพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า  ให้เข้ามาสู่ความรอดด้วยกันทั้งนั้น.