หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึง พระศาสนจักร
 “ Lumen Gentium “ เล่มที่ 1

บทที่  1 :   อคาธัตถ์ (3) ว่าด้วยพระศาสนจักร

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

เปาโล  สังฆราช
ทาสแห่งเทวทาสทั้งหลาย
ร่วมกับคณะพระบิดรแห่งพระสังคายนาสากล
เพื่อเป็นหลักฐานให้ความทรงจำดำรงอยู่ตลอดกาล (1)


ธรรมนูญด้านพระธรรม (2)
กล่าวถึงพระศาสนจักร
 

พระศาสนจักรเป็นสิ่งที่แลเห็นได้ทั้งเป็นจิตในเวลาเดียวกัน.

8. พระคริสตเจ้าทรงเป็นองค์คนกลางแต่ผู้เดียวของชาวเรา, พระองค์ทรงเป็นผู้สถาปนาพระ     ศาสนจักรอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้น และทรงค้ำจุนอยู่เสมอมิได้ขาด ทรงตกแต่งพระศาสนจักรให้เป็นหมู่คณะของบรรดาผู้มีความเชื่อ,  ความหวังและความรักคล้ายกับเป็นองค์กรเครื่องผูกโยงอันหนึ่งที่แลเห็นได้,  อาศัยองค์กรนี้  พระองค์กระจายความจริงอันเป็นพระหรรษทานไปสู่มนุษย์ทุก ๆ คน. สังคมนี้ประกอบขึ้นด้วยองค์กรต่าง ๆ แห่งพระฐานานุกรม, เป็นอคาธัตถ์ของพระคริสตเจ้า, เป็นกลุ่มที่แลเห็นได้, เป็นหมู่คณะฝ่ายจิตใจ (ฝ่ายวิญญาณ) เป็นพระศาสนจักรแห่งแผ่นดิน และเป็นพระศาสนจักรที่มั่งคั่งด้วยพรานุพรแห่งสวรรค์, ชาวเราไม่พึงพิจารณาดูพระศาสนจักรดังเป็นสองสิ่ง,  แต่ดังเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงแต่อันเดียวทีซับซ้อนคือ  รวบรวมชิ้นส่วนของมนุษย์และของพระเป็นเจ้าเข้าด้วยกัน เพราะฉะนั้น  เรากำลังเผชิญหน้ากับความเปรียบเทียบที่ไม่ใช้ของเล็กน้อย กล่าวคือ พระศาสนจักรเปรียบได้กับพระอคาธัตถ์  การเสด็จอวตารมาเป็นมนุษย์ของพระวจนาตถ์ (18)  ธรรมชาติที่พระวจนาตถ์ของพระเป็นเจ้าทรงรับเอานั้น  เป็นประโยชน์รับใช้ ดังเป็นอวัยวะทรงชีวิต  เพื่อบันดาลความรอด, อวัยวะนี้ร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระองค์ท่าน  อย่างที่จะแยกจากันมิได้, ฉันใด  ก็ฉันนั้น โดยในทำนองไม่ผิดแผกกัน องค์กรเครื่องเคราทางสังคมของพระศาสนจักร  ก็เป็นประโยชน์รับใช้พระจิตของพระคริสตเจ้า  พระจิตบันดาลให้ท่านมีชีวิต, เป็นประโยชน์ทำความเจริญเติบโตแก่ร่างกายนั้น  (เทียบ อฟ. 4,16)

นี่แหละคือพระศาสนจักรอันเดียวของพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรอันที่ชาวเราประกาศยืนยัน  ในสัญลักษณ์ที่เป็นเอกะ,  ศักดิ์สิทธิ์, สากล,  และสืบมาจากคณะอัครสาวก, อันซึ่งพระเป็นผู้กอบกู้เรา หลังแต่เสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพแล้ว  ได้ทรงมอบให้เปโตรเป็นผู้เลี้ยงดู  (ยน. 21,17) และให้ท่านกับอัครสาวกอื่นทั้งหลายเผยแพร่และปกครอง  (เทียบ มธ. 28,18…)  และเป็นพระศาสนจักรที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นสำหรับตลอดกาล, ตามที่ได้ทรงยกขึ้น “ให้เป็นเสาหลักอันมั่นคงแห่งความจริง” (1 ทม. 3,15) พระศาสนจักรอันนี้  อันได้ถูกสถาปนาและรับการจัดระเบียบเป็นสังคมขึ้นในโลก,  ก็ยังคงดำรงอยู่ในพระศาสนจักรคาทอลิก,  ปกครองโดยผู้สืบตำแหน่งของเปโตร  และบรรดาพระสังฆราชที่ร่วมสหพันธ์กับท่าน  (เปโตร),  แม้ว่าภายนอกองค์กรของพระศาสนจักร  อันนี้, ยังมีชิ้นส่วนบันดาลความศักดิ์สิทธิ์และความจริงอยู่หลายประการ ซึ่งก็เป็นเพราะเป็นพระพรโดยเฉพาะของพระคริสตศาสนจักรและซึ่งเรียกร้องให้เข้าสู่เอกภาพคาทอลิก

พระคริสตเจ้าได้ทรงสำเร็จภารกิจไถ่บาปโดยทางความยากจนขัดสน และโดยทางการถูกเบียดเบียนข่มเหง, มีอุปมาฉันใด, พระศาสนจักรก็ได้รับกระแสเรียกให้ดำเนินตามหนทางเดียวกัน เพื่อจะนำผลแห่งความรอดไปสู่มนุษย์, ก็มีอุปไมยฉันนั้น. พระเยซูคริสตเจ้า “แม้ทรงพระฉายาลักษณ์พระเป็นเจ้า…  ก็ได้ทรงถ่อมพระองค์เป็นเปล่าไป  โดยทรงรับเอารูปของทาส” (ฟพ. 2,6)  และเพราะทรงเห็นแก่ชาวเรา  “ได้ทรงกลายเป็นคนขัดสนทั้ง ๆ ที่มั่งคั่ง” (2 คร. 8,9).  เช่นเดียวกันนั้น  พระศาสนจักรเพื่อปฏิบัติภาระหน้าที่ของตน ท่านยากจน, ท่านต้องการความช่วยเหลือของมนุษย์, ท่านถูกจัดตั้งขึ้นมา ไม่ใช่เพื่อแสวงหาเกียรติศักดิ์บนแผ่นดิน  แต่เพื่อเผยแพร่ความสุภาพถ่อมตนและความเสียสละ  ตามแบบอย่างองค์ผู้สถาปนาตัวท่านด้วย.  พระคริสตเจ้าได้ทรงรับใช้พระบิดามา “เพื่อประกาศข่าวดีแก่คนยากจน… สมานแผลของผู้ที่เป็นทุกข์ใจ” (ลก. 4,18) “ตามหา และช่วยให้รอดสิ่งซึ่งได้เสียไป”  (ลก. 19,10) เช่นเดียวกัน  คนทั้งหลายที่ต้องทุกข์ร้อน  เพราะความป่วยไข้ประสามนุษย์ พระศาสนจักรก็เข้าช่วยเหลือ ด้วยความรักเมตตาจิต, กว่านั้นอีก  ท่านยังรับรู้ว่า : คนอย่างนี้แหละ เป็นภาพเป็นรูปขององค์ผู้สถาปนาสร้างตัวท่านมา,  คือเป็นคนที่ยากจนและทุกข์ร้อน ท่านจึงพยายามทุเลาบรรเทาพวกคนอาภัพ และมุ่งรับใช้พระคริสตเจ้าในตัวพวกเขา อย่างไรก็ดีพระคริสตเจ้าทรงเป็น “ผู้ศักดิ์สิทธิ์,  ผู้นิรมล, ผู้ปราศจากด่างพร้อย” (ยน. 7,26) “พระองค์ไม่เคยทรงทำบาปกรรมเลย”  (2 คร. 5,21), ได้เสด็จมาก็เพื่อแสดงพระเมตตากรุณา ยกบาปความผิดของประชากร”  (เทียบ ฮบ. 2,17)  ส่วนพระศาสนจักรนั้น รวบรวมทั้งคนบาปเข้าอยู่ในพระอุระของท่านเอง,  ท่านศักดิ์สิทธิ์ก็จริง  แต่ในขณะเดียวกัน  ท่านยังต้องชำระล้างตัวท่านเองอยู่เสมอ,  ท่านจึงบำเพ็ญทุกขกิริยาชดใช้บาปกรรมและฟื้นฟูตัวท่านเองขึ้นใหม่อยู่เสมอ  เรื่อยไป

“พระศาสนจักรก้าวหน้าระหกระเหินไปท่ามกลางการถูกเบียดเบียนข่มเหงของโลก และความทุเลาบรรเทาใจของพระเป็นเจ้า  พลางประกาศเทศนาเรื่องกางเขน และมรณภาพของพระสวามีเจ้าจนกระทั่งพระองค์จะเสด็จมา” (เทียบ 1 คร. 11,26) เดชะฤทธิ์อำนาจของพระสวามีเจ้าผู้เสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพและเป็นพละกำลังแก่พระศาสนจักร, ท่านจึงเอาชนะอย่างเด็ดเดี่ยวต่อความทุกข์ขุกเข็ญ  และความลำบากยุ่งยากต่าง ๆ นานา  ตลอดทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ด้วยอาศัยความมานะอดทนและความรักเมตตาจิต,  พระอคาธัตถ์เรื่องพระศาสนจักร  แม้ขณะนี้จะทอแสงมัว ๆ มอ ๆ อยู่ในโลก  แต่ก็เป็นความจริงว่า  ท่านกำลังไขแสดงจนกว่าท่านจะส่องแสงเจิดจ้าเต็มที่ในที่สุด