หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

บทที่  7 การฟื้นฟูการอบรมพระสงฆ์

53.การอบรมพระสงฆ์ตามแนวทางของพระศาสนจักร มีสามขั้นตอนที่สำคัญคือ  การอภิบาลกระแสเรียก การอบรมเบื้องต้นและการอบรมต่อเนื่อง ซึ่งทั้งสามขั้นตอนล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น

54.กระแสเรียกเกิดจากการทำงานร่วมกันของพระเจ้าผู้ทรงเรียก ผู้สมัครตอบรับเสียงเรียก และพระศาสนจักรเป็นสื่อกลางโดยมีบทบาทหน้าที่ในการอภิบาลกระแสเรียก  เนื่องจากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงมีด้วยกันหลายฝ่าย  พระศาสนจักรท้องถิ่นจึงต้องมีแผนทั้งในระยะสั้นระยะยาวเพื่อให้งานนี้บรรลุผล

55.พระศาสนจักรยังมีหน้าที่ร่วมก้าวเดินไปกับผู้สมัครเป็นพระสงฆ์ เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงเขาให้เติบโต  พิจารณาไตร่ตรอง และวินิจฉัยกระแสเรียกของตนได้ทั้งนี้เพื่อนำเฉพาะบุคคลที่ได้รับกระแสเรียก  แท้จริงเท่านั้นไปสู่ชีวิตพระสงฆ์  ให้เขาได้รับการฝึกอบรมที่จำเป็นอย่างเพียงพอและเหมาะสม  ให้เขาตอบสนองการเรียกของพระเจ้าได้อย่างอิสระ  เปี่ยมด้วยความสำนึกว่าตนกำลังเข้าใกล้ชิดสนิทสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในชีวิตของพระเยซูคริสตเจ้า และพันธกิจของพระองค์ที่จะช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นด้วยชีวิตของเขาทั้งชีวิต

56.เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์แล้วยังมีเหตุผลทางเทววิทยาสนับสนุนให้มี  “การอบรมต่อเนื่อง”  ในชีวิตพระสงฆ์

57.อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  จึงให้ความสำคัญแก่งานอภิบาลกระแสเรียก การปรับกระบวนทัศน์การอบรมเบื้องต้น และการอบรมต่อเนื่องของพระสงฆ์  เพื่อให้พระสงฆ์ดำเนินชีวิตและปฏิบัติพันธกิจของพระคริสตเจ้าได้อย่างแข็งขันและบังเกิดผลในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจึงต้อง

58.ก)กำหนดแผนงานอภิบาลกระแสเรียกผู้สมัครเป็นพระสงฆ์ให้ชัดเจน และกำหนดผู้รับผิดชอบทั้งระดับอัครสังฆมณฑลและระดับวัด  เพื่อให้งานอภิบาลกระแสเรียกเกิดผลได้เต็มที่

59.ข)ทบทวนการอบรมเบื้องต้นในทุกระดับ ตามแนวทางของพระศาสนจักรโดยคำนึงถึงบริบทของสังคมและวัฒนธรรมสังคมและวัฒนธรรม  เพื่อให้ผู้รับการอบรมบรรลุวุฒิภาวะในทุกมิติ พร้อมจะอุทิศชีวิตตามกระแสเรียกของตน

60.ค)พัฒนาระบบการองรมต่อเนื่องของพระสงฆ์ในทุกมิติ  เช่นชีวิตจิต  เทววิทยา  การอภิบาล การทำงาน ร่วมกีบฆราวาสและนักบวช การแพร่ธรรม  จิตวิทยา  สังคมวิทยา  การศึกษา  การบริหารวัดและองค์กรฯลฯ  เพื่อให้พระสงฆ์เข้าใจเครื่องหมายของกาลเวลา  เป้ฯผู้นำและเป็นมโนธรรมของสังคม ยืนยันคุณค่าพระวรสารได้ในกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ทำงานอภิบาลและประกาศพระวรสารเชิงรุกอย่างมีคุณภาพ

61.ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์  “เป็นผู้อภิบาลดูแลฝูงแกะของพระคริสตเจ้า”  และ “เป็นผู้ประกาศข่าวดีแห่งความรอดพ้น”ให้คนทั่วไปเห็นบรรดาพระสงฆ์  มิใช่เป็นเพียงผูทำงานสังคมสงเคราะห์ หรือผู้บริหารสถาบันเท่านั้น  แต่ในฐานะเป็นผู้มีจิตใจจดจ่อในมิติฝ่ายจิตซึ่งมาจากองค์พระจิตเจ้า  ทั้งนี้เพื่อเป็นประจักษ์พยานทรงพลังแห่งพระวรสาร