หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

วันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 41
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16

ข้อมูล : สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย

เด็กๆ และสื่อมวลชน : งานท้าทายเพื่อการศึกษาพี่น้องชายหญิงที่รัก 

       1. หัวข้อวันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 41 เรื่อง เด็กๆ และสื่อมวลชน : งานท้าทายเพื่อการศึกษา เป็นการเชิญชวนให้เราพิจารณาสองหัวข้อ ซึ่ง เชื่อมโยงกัน และที่มีความสำคัญยิ่งยวด หนึ่งคือ การฝึกอบรมเด็กๆ  อีกข้อหนึ่งซึ่งอาจจะไม่ชัดเจนนัก แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือการให้ การศึกษาเกี่ยวกับสื่อมวลชน การท้าทายซึ่งค่อนข้างจะซับซ้อน ซึ่งการศึกษา  ในปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่นั้น มักจะเชื่อมโยงกับ  อิทธิพลมากมายมหาศาลของสื่อมวลชนในโลกของเรา จากมุมมองต่อปร ากฏการณ์ด้านโลกาภิวัตน์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลจากการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้านเทคโนโลยี สื่อมวลชนมีส่วนอย่างลึกซึ้งในการวางรูปแบบของ สิ่งแวดล้อมด้านวัฒนธรรม (สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์นปอลที่ 2 เรื่อง Rapid Development ข้อ 3)

       มีหลายท่านให้ความเห็นว่า อิทธิพลการหล่อหลอมจิตใจของสื่อมวลชนนั้น เทียบเท่ากับการหล่อหลอมของโรงเรียน ขอ งพระศาสนจักรหรือแม้กระทั่ง สิ่งที่เด็กได้รับจากบ้าน สำหรับคนเป็นจำนวนมาก ความเป็นจริงก็คือสิ่งที่สื่อมวลชนเห็นว่าเป็นจริง(Aetatis Novae ข้อ 4)

       2. ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กๆ กับสื่อมวลชน และการศึกษา อาจจะมองได้จากสองมุมมองด้วยกัน กล่าวคือการที่สื่อมวลชนให้การฝึกอบรมแก่เด็ก และการฝึกอบรมเด็กให้ตอบสนองอย่างถูกต้องต่อสื่อ การตอบสนองซึ่งกันและกันนี้ บ่งชี้ถึงควา มรับผิดชอบของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นธุรกิจ และถึงความจำเป็นที่จะให้ผู้อ่าน ผู้ชมและผู้ฟังมีส่วนเกี่ยวข้อง ในการติชม ภายในโครงสร้างนี้ การฝึกอบรม การใช้สื่ออย่างเหมาะสมย่อมมีความจำเป็น สำหรับการพัฒนาเด็กในด้านวัฒนธรรม จริยธรรม  และด้านจิตวิญญาณ เราจะปกป้องและเผยแพร่คุณประโยชน์ ส่วนรวมนี้ได้อย่างไร

       การให้การศึกษาแก่เด็กในเรื่องความระมัดระวัง ในการใช้สื่อมวลชนนั้นเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ และของโรงเรียนหน้าที่ข องพ่อแม่นั้นถือว่าสำคัญที่สุด พวกท่านมีสิทธิและหน้าที่สอนให้เด็กๆใช้สื่อมวลชนอย่างเฉลียวฉลาดด้วยการฝึกมโนธรรมของเด็กๆ ให้แสดงออกซึ่งการตัดสิน ที่ลึกซึ้งและเป็นกลาง ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ เลือกปฏิเสธรายการที่มีอยู่ (สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2เรื่อง Familiaris Consortio ข้อ 76)

       ทั้งพ่อแม่ ควรได้รับการสนับสนุน และความช่วยเหลือ จากโรงเรียนและวัด เพื่อให้แน่ใจว่า หน้าที่ของการเป็นพ่อแม่ใน มุมมองนี้ แม้เป็นเรื่องยากแต่น่าชื่นชม ถ้าได้รับความร่วมมือจากหมู่คณะโดยส่วนรวม สื่อศึกษานั้นควรออกมา ในด้านบวก เด็กๆ ที่ได้สัมผัสสิ่งที่ดีงาม และดีเลิศด้านศีลธรรมย่อมได้รับ แรงบันดาลให้เห็นคุณค่า ความเฉลียวฉลาด

       และความสามารถในการตัดสินใจ ว่าอะไรดี อะไรชั่ว ณ จุดนี้ นับว่ามีความสำคัญมาก ที่จะเห็นถึงคุณค่าขั้นพื้นฐานจากแบบอย่างของพ่อแม่ และเป็นประโยชน์ต่อการแนะนำให้เด็กๆ เข้าถึงวรรณกรรมที่มีระดับ (Classic) ให้เข้าถึงศิลปะ และ ดนตรีที่ยกชูจิตใจ ในขณะที่วรรณกรรมซึ่งเป็นที่นิยมย่อมมีบทบาทของมันเอง ในวงการวัฒนธรรม แต่เราควรทำตัวเป็นกลาง ในเรื่องการให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้จนเกินไป ในสถานศึกษา ความสวยงาม โดยเฉพาะความสวยงามที่สะท้อนถึงองค์พระเจ้า ย่อมดลบันดาล และช่วยให้จิตและใจของเยาวชนเปี่ยมด้วยชีวิต

       ในขณะที่สิ่งน่าเกลียดและหยาบคายย่อมทำให้ทัศนคติ และความประพฤติของพวกเขาถดถอยสร้อยเศร้า โดยทั่วไปแล้ ว การศึกษา สื่อศึกษาจำเป็นต้อง มีการอบรมเกี่ยวกับการแสดงออกซึ่งเสรีภาพ ซึ่งนับว่าเป็นภาระที่หนักหน่วง หลายครั้งมักจะมีการเสนอว่า เสรีภาพคือ การแสวงหาความสนุกสนานอย่างไม่ลดละ หรือการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆแต่นี่เป็นการลงโทษมิใช่เสรีภาพ เสรีภาพที่แท้จริงไม่สามารถ ที่จะลงโทษใครคนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ ให้เสาะแสวงหาของใหม่อย่างไม่ลดละ ภายใต้ แสงสว่างแห่งความจริงนั้น เราจะสัมผัสกับเสรีภาพ ที่แท้จริงได้ด้วยการตอบสนอง การที่พระเจ้า ทรงน้อม รับการเป็นมนุษย์ ทรงเรียกร้องให้เราเลือก มิใช่อย่างไร้เหตุผล แต่ด้วยความจงใจ ซึ่งทุกสิ่ง ที่ดีงามแท้จริงและงดงาม

       ดังนั้นพ่อแม่ในฐานะ ที่เป็นผู้ปกป้องเสรีภาพนั้น ในขณะที่ท่านค่อยๆ ปล่อยให้เด็กๆ มีเสรีภาพมากขึ้น ก็ควรจะแนะนำ ให้พวกเขารู้จักกับความชื่นชมยินดีอันลึกซึ้งของชีวิต (ดูพระดำรัสในโอกาสการประชุมเกี่ยวกับครอบครัว ครั้งที่ 5 ที่ Valencia 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2006)

       3. ความปรารถนาจากใจของพ่อแม่และครู ที่จะให้การศึกษาแก่เด็ก เกี่ยวกับหนทางแห่งความงดงาม ความจริง และคุณความดีนั้น ธุรกิจสื่อมวลชน สามารถช่วยสนับสนุนได้ด้วยการส่งเสริมศักดิ์ศรี ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ คุณค่าที่แท้จริงของการแต่งงานและชีวิตครอบครัว ตลอดจนความสำเร็จในด้านบวก และจุดหมาย ปลายทางของมนุษย์

       ดังนั้นการที่สื่อมวลชนมุ่ง ความสนใจไปยังการฝึกอบรมที่มีผล และมาตรฐานด้านคุณธรรมจึงได้รับความสนใจ เป็นพิเ ศษและเห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน มิใช่พ่อแม่และครูเท่านั้นที่สนใจ ในเรื่องนี้ แต่ทุกคนที่มีสามัญสำนึกในความรับผิดชอบ ต่อสังคมก็ให้ความสนใจด้วย ในขณะที่เราเน้นในความเชื่อมั่นว่า มีคน จำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน และอยากกระทำสิ่งที่ถูกต้อง (ดูจริยธรรมในสื่อมวลชน ข้อ 4) แต่เราต้องยอมรับว่า ผู้ที่อยู่ในวงการนี้ต้องเผชิญ กับการบีบคั้นพิเศษด้านจิตวิทยา และความสับสน ในด้านจริยธรรม (A.N. ข้อ 19) ซึ่งบางครั้งเป็นเหตุ

       ให้การแข่งขันกันในด้านธุรกิจ บังคับให้ผู้ที่ทำงาน อยู่ในแวดวงสื่อมวลชนต้องลดมาตรฐานลง แนวโน้มในการผลิต ซึ่งร วมไปถึงการ์ตูนและวิดีโอเกมส์ ซึ่งสนับสนุนความรุนแรงในนามของความบันเทิง เป็นการส่งเสริมความรุนแรงแสดงออกถึงความประพฤติต่อต้านสังคมหรือทำให้เรื่องเกี่ยวกับเพศ เป็นเรื่องที่ไม่สำคัญซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ผิดต่อธรรมชาติที่น่าอับอาย ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ รายการ เหล่านี้มุ่งไปยังเด็กๆ และผู้ใหญ่ เราจะสามารถอธิบาย  รายการบันเทิง เหล่านี้ที่ให้แก่เยาวชนผู้ไร้เดียงสามากมายที่ต้องทนทุกข์กับความรุนแรง ถูกข่มเหง และถูกลวนลามได้อย่างไร? เกี่ยวกับเรื่องนี้

     เราควรจะพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างพระคริสตเจ้า ผู้ทรงปกพระหัตถ์ (เหนือเด็กๆ) และประทานพระพรแก่พวกเขา (มก 10:16) และ ผู้ที่...เป็นเหตุชักนำคนธรรมดาๆ ถ้าจะเอาหินโม่แขวนคอเขาและโยนเขาลงทะเลจะเป็นการดีกว่า (ลก 17:2) อีกครั้งหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าขอวิงวอนผู้นำในธุรกิจที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนให้การศึกษาอบรมและให้กำลังใจแก่ผู้ผลิต ให้ปกป้องความดีโดยส่วนรวม ยกย่องความจริง ปกป้องศักดิ์ศรีของมนุษย์แต่ละคน และส่งเสริมให้พวกเขาเห็นแก่ความต้องการของครอบครัว

       4. จากความจริงที่ว่า พระศาสนจักรได้รับ มอบหมายสารแห่งความรอดพ้น พระศาสนจักรจึงต้องทำหน้าที่สั่งสอนมวลมนุษย์ และยินดีที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือพ่อแม่ ผู้ให้การศึกษา ผู้กระทำหน้าที่สื่อมวลชนและเยาวชนในปัจจุบันนี้ รายการของวัด  และโรงเรียนของพระศาสนจักร จะต้องเน้นสื่อศึกษาเป็นหลัก เหนือสิ่งอื่นใดพระศาสนจักรปรารถนา จะแบ่งปันวิสัยทัศน์แห่ง ศักดิ์ศรีมนุษย์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของการสื่อสารทั้งหลายของมนุษย์ หากข้าพเจ้ามองดูด้วยสายพระเนตรของพระคริสตเจ้า ข้าพเจ้าจะสามารถให้มากกว่าความต้องการภายนอก ของพวกเขา ข้าพเจ้าสามารถให้สายตาแห่งความรัก ซึ่งพวกเขาโหยหา(พระเจ้าคือความรัก ข้อ 18)

จากวาติกัน 24 มกราคม ค.ศ. 2007 ฉลองนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์ พระคุณเจ้ายอด พิมพิสาร ผู้แปล