ตราประจำพระองค์สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่  16 ได้ออกแบบให้สอดคล้องกับตราประจำพระองค์สมัยที่ยังทรงดำรง ตำแหน่งเป็นพระอัครสังฆราชแห่งอัครสังฆมณฑลมิวนิกและไฟรซิงรวมทั้งขณะที่ดำรงตำแหนงเป็นเจ้าสมณกระทรวงพระสัจธรรมด้วย

หมวกพระสังฆราช : แทนสัญลักษณ์มงกฎพระสันตะปาปาซึ่งแต่เดิมจะปรากฏอยู่ในตราประจำพระองค์สมเด็จพระสันตะปาปาทุกพระองค์  ซึ่งเมื่อถึงสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6   ได้ยกเลิกพิธีการใช้มงกฎดังกล่าว  แต่ใน สมณสมัยของพระองค์ สืบต่อมายัง สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 1 และ สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ยังมีสัญลักษณ์มงกฎปรากฏอยู่ ในตราประจำพระองค์เมื่อมาถึงสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 พระองค์ จึงเปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นหมวกพระสังฆราชแทน   โดยให้มีแถบสีทอง 3 แถบวางขนานในแนวนอน หมายถึงอำนาจหน้าทึ่ของ สมเด็จพระสันตะปาปา คือ“การจัดระเบียบให้ทุกอย่างถูกต้อง และศักดิ์สิทธิ์” “การปกครองด้วยความยุติธรรม” และ “การ เทศน์สอน”แถบสัญลักษณ์ทั้งสามนี้เป็นความหมายเดียวกับมงกฎสามชั้นในตราสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ก่อนๆแถบสีทองทั้ง 3 แถบดังกล่าวถูกเชื่อมด้วยแถบสีทองที่คาดเชื่อมต่อลงมาในแนวตั้ง แสดงถึงหน้าที่ทั้งสามรวมกันเป็นหน้าที่สำคัญยิ่ง ในฐานะเป็นประมุขสุงสุดแห่งพระศาสนจักร

ปัลลีอุม: การเพิ่มสัญลักษณ์ แถบผ้าปัลลีอุมสีขาวพร้อมด้วยกางเขนสีดำมาประกอบไว้ในส่วนล่างของโล่ ปรากฏเป็นครั้งแรก ในตราประจำพระองค์สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 นี้ เพื่อแสดงถึงหน้าที่เฉพาะในฐานะผู้นำของบรรดาพระสังฆราช และพระศาสนจักรสากล  ลักษณะของปัลลีอุมที่แสดงอยู่บนตราประจำพระองค์นั้น เป็นสัญลักษณ์กางเขนสีดำ บนแถบผ้าขน สัตว์ ซึ่งสัญลักษณ์นี้เป็นที่รับรู้กันทั่วไปแล้วนับตั้งแต่เริ่มต้นสหสวรรษที่สอง แม้ว่าบางครั้งอาจจะเห็นว่ากางเขนที่ปรากฏจะ เป็นสีแดงหรือสีดำบ้าง   ดังในวันพิธีสมณภิเษกของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 พระองค์ทรงรับการสวมปัลลีอุม ตามแบบดั่งเดิม โดยมีกางเขนเป็นสีแดง และทิ้งชายแถบผ้าลงทางหัวไหล่ด้านซ้าย แทนที่จะทิ้งชายผ้าลงตรงกึ่งกลาง ซึ่งการ แต่งอาภรณ์ดังกล่าวนี้เป็นลักษณะการแต่งอาภรณ์เฉพาะ แสดงถึงอำนาจด้านการปกครองพระศาสนจักร
 
กุญแจไขว้ :กุญแจไขว้ 2 ดอก เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอำนาจแห่งพระคริสตเจ้าซึ่งทรงมอบให้กับนักบุญเปโตรอัครสาวก และผู้ที่สืบตำแหน่งต่อจากท่าน   “เราจะมอบกุญแจสวรรค์ไว้กับท่าน  สิ่งใดที่ท่านผูกไว้ในโลกนี้ ก็จะผูกในสวรรค์ด้วย  และสิ่ง ใดที่ท่านจะแก้ในโลกนี้ก็จะได้รับการแก้ในสวรรค์ด้วย”(มธ.16:19)กุญแจสีทอง   หมายถึงอำนาจที่ผูกไว้กับสวรรค์และ กุญแจสีเงิน คืออำนาจทางชีวิตฝ่ายจิตบนโลกนกญแจทั้งสองดอก ถูกคาดรวมไว้ด้วยเชือก แสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ของนักบญเปโตรและผู้ที่สืบทอดตำแหน่งของท่าน


ชาวเอธิโอเปียสวมมงกฎ : (อ้างถึงตามเว็บไซต์ของอัครสังฆมณฑลเดิมขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา) โล่บนตราประจำพระองค์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน  ส่วนแรกทางซ้ายแสดงภาพ “ Moor of Freising” ซึ่ง เป็นภาพศีรษะของชาวมัว ผินหน้าไปทางซ้าย และทรงมงกฎภาพนี้ปรากฏอยู่บนตราประจำตำแหน่ง พระสังฆราชแห่งสงฆมณฑลไฟรซิงมาตั้งแต่ตอนต้นประมาณปี ค.ศ. 1316   ในพระสมณสมัยของพระ สังฆราชแห่งไฟรซิง เจ้าชายคอนราดที่ 3 และสืบต่อเนื่องมาโดยไม่มีการเปลี่ยน  กระทั่งถึงช่วงที่พระศาสนจักรมีการแบ่งเขตปกครองในปี ค.ศ.  1802-1803 พระอัครสังฆราชผู้ปกครองอัครสังฆมณฑลมิวนิก และไฟรซิง จึงได้รวมเอาสัญลักษณ์ภาพศีรษะดังกล่าวไว้ในตราประจำตำแหน่งนับแต่นั้นมา


หมีแห่งคอร์บีเนียน : ภาพหมีแบกกระเป๋าหนังบนหลัง มีชื่อเรียกว่า “หมีแห่งคอร์บีเนียน” ในคริสตศตวรรษที่ 8 มีเรื่องเล่ากัน ว่า พระสังฆราชคอร์บีเนียน แพร่ธรรมให้คริสตชนในแถบมณฑลบาวาเรีย ครั้งหนึ่งท่านต้องเดินทางไปยังกรุงโรม โดยมีหมีเป็นสัตว์ต่างเพื่อบรรทุกสัมภาระระหว่างเดินทาง  เมื่อเดินทางไปถึงที่หมายแล้ว  ท่านก็ปล่อยให้หมีเป็นอิสระ แต่มันเดินทางกลับไป ยังมณฑลบาวาเรีย ขณะเดียวกันหมีแห่งคอร์บีเนียนเป็นเหมือนสัตว์งานของพระเป็นเจ้า หมายถึงภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ


เปลือกหอย  : เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการทวีคูณ ดังที่นักบุญออกัสติน (พระสังฆราชและนักปราชญ์ของพระศาสนจักร มี ชีวิตในช่วง ค.ศ. 354-430) ขณะเดินบนชายหาด ครุ่นคิดถึงข้อลึกลับเกี่ยวกับพระตรีเอกภาพ  พบเด็กคนหนึ่งใช้เปลือกหอยตัก น้าทะเลมากรอกลงรูที่พื้นทรายนักบุญออกัสตินจึงได้ถามเด็กคนนั้นว่ากำลังทำอะไรอยู่เด็กน้อยตอบว่า “หนูกำลังตักน้ำ ทะเลมาเติมให้เต็มรูนี้”ดังนี้แล้วท่านักบุญจึงเข้าใจว่าลำพังมนุษย์ไม่สามารถที่จะล่วงรู้ถึงข้อลึกลับเกี่ยวกับพระเป็นเจ้าได้ คุณพ่อโยเซฟ รัตซิงเกอร์ ในปี ค.ศ. 1953 ได้เขียนสารนิพนธ์ของท่านโดยใช้ชื่อเรื่องว่า  “ประชากรของพระเจ้าและพระนิเวศของ พระองค์ในคำสอนเรื่องพระศาสนจักรของนักบุญออกัสติน”

นอกจากนี้แล้วเปลือกหอยยังหมายถึงการจารึกแสวงบญ หมายถึง ไม้เท้าของยากอบ ซึ่งติดเปลือกหอยไว้บนยอดไม้

เท้าจารึกของท่านด้วย ศิลปะในพระศาสนจักรจะใช้สัญลักษณ์เปลือกหอยนี้แทนนักบุญยากอบอัครสาวก รูปสัญลักษณ์เปลือกหอยนี้จึงหมายถึง “ประชากรผู้จารึกของพระเป็นเจ้า” เป็นเรื่องสำคัญบทหนึ่งของพระศาสนจักรซึ่งคุณพ่อโยเซฟ รัตซิงเกอร์ ได้ มีส่วนร่วมอยู่ในสภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2  ในฐานะเป็นที่ปรึกษาทางด้านเทวศาสตร์ให้กับพระคาร์ดินัลฟริงแห่งโคโลญจ์ ซึ่งต่อมาเมื่อท่านได้รับตำแหน่งเป็นพระอัครสังฆราช จึงใส่เปลือกหอยไว้ในตราประจำตำแหน่งท่านดวย

นอกจากนี้แล้วสัญลักษณ์เปลือกหอยนี้ยังพบได้จากตราประจำเมืองSchottenklosterในเขตเรเกนสเบิร์ก
(Regensburg) ที่ซึ่งมีบ้านเณรใหญ่ของสังฆมณฑลสังกัดอยู่ และพระองค์ท่านเคยเป็นอาจารย์สอนเทวศาสตร์อยู่ที่เมืองนี้


เรายังไม่ทราบแน่ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ทึ่ 16 จะทรงมีคติพจน์ว่าอย่างไร  แต่คติพจน์สมัยทีึ่่พระองค์เป็นพระอัครสังฆราชนั้นท่านใช้คติพจน์ว่า “cooperatores veritatis” (collaborators of the truth)


(ถอดความคราวๆจาก EWTN โดย วีรนนท์ 13 พ.ค.2005)