หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

                       สรุปวันเวลาในการดำเนินเรื่องคุณพ่อนิโคลาส

20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989ข้อเสนอของสภาสงฆ์ในตอนนั้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ และมีการกำหนดผู้ดำเนินการชุดแรก

25 มิถุนายน ค.ศ. 1992ปรับปรุงคณะกรรมการใหม่ ซึ่งได้แก่คณะกรรมการชุดปัจจุบันนี้

แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย

23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993ประชุมคณะกรรมการชุดใหม่ ครั้งที่ 1 ที่บ้านเณรแสงธรรม เพื่อดูหน้าที่ต่างๆ ของคณะกรรมการ เอกสารเท่าที่มีอยู่ และแนวทางในการหาเอกสารเพิ่มเติม แล้วจึงแบ่งหน้าที่กันไปทำงานโดยกำหนดระยะเวลา 3 เดือน ในช่วงนี้ต้องยอมรับว่ายังมีความสับสนกันเล็กน้อยเกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆ เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเราทุกคน

26 สิงหาคม ค.ศ. 1993ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 2 ที่สำนักมิสซังฯเนื่องด้วยมีความสับสนในขั้นตอนต่างๆ คุณ พ่อจำเนียร กิจเจริญ จึงเรียนเชิญพระคุณเจ้าไมเกิ้ล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ซึ่งเคยทำงานเกี่ยวกับุญราศีทั้ง 7 ที่สองคอนมาแล้ว มาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้และก็ได้ตกลงแบ่งหน้าที่กันอย่างละเอียด พร้อมทั้งพยายามหาหนังสือคู่มือที่กรุงโรมด้วย ซึ่งต่อมาไม่นานเราก็ได้รับ

หนังสือคู่มือเล่มนี้ สุดท้ายได้กำหนดวันสืบพยานรอบแรก คือ

วันที่ 13-17 กันยายน ค.ศ. 1993

13-17 กันยายน ค.ศ. 1993ทีมงานสืบพยานในประเทศก็เริ่มออกปฏิบัติงาน ได้พบกับพยานสำคัญๆ หลายท่านด้วยกัน

มาถึงจุดนี้คณะกรรมการไม่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นบุญราศีเพียงแต่กำลังทำทุกอย่างเพื่อพิสูจน์ และแสวงหาความมั่นใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมทั้งหาความเป็นไปได้ไปในตัวด้วย เอกสารที่รวบรวมไว้จนถึงเวลานั้นก็มีพอสมควร พยานในประเทศก็ไปพบมาแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องแสวงหาหลักฐานและเอกสารจากที่ต่างๆ เท่าที่มีด้วย จุดแรกที่นึกถึงก็คือ

บ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง ซึ่งคุณพ่อนิโคลาสเคยอยู่ถึง 6 ปี ผมในฐานะผู้รวบรวมเอกสารต่างๆ เพื่อนำเสนอเรื่อง พร้อมกับคุณพ่อทวีศักดิ์ กิจเจริญ ซึ่งมีตำแหน่ง Promotor of Justice แปลเป็นไทยคงได้ว่า "ผู้ผดุงความยุติธรรม" แต่เรียกกันตามภาษาล้อเลียนก็ว่า "ทนายปีศาจ" คนนี้แหละจะเป็นผู้หาหลักฐานและเอกสาร คอยคัดค้าน เรียกง่ายๆ ว่าได้รับแต่งตั้งให้มาปักหลักค้าน

เรา 2 คนก็เลยตัดสินใจขออนุญาตเดินทางไปปีนังพร้อมกัน หากจะทะเลาะกันก็จัดการกันซะเลยในตอนนั้นจะได้ไม่ยืดเยื้อ เราก็โชคดีไม่น้อย บังเอิญคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับคุณพ่อเจมส์ อธิการบ้านเณรปีนัง ช่วยโทรศัพท์ไปติดต่อล่วงหน้า คุณพ่อเจมส์ก็บอกกลับมาทันทีว่า "มาได้เลย จะเตรียมต้อนรับและร่วมมือในการค้นหาเอกสารทุกอย่างเท่าที่มี" เมื่อได้รับอนุญาตให้เดินทางได้แล้ว เรา 2 คนก็ออกเดินทางไปปีนัง

26-28 กันยายน ค.ศ. 1993

เราอยู่ที่ปีนัง 2 คืนเท่านั้น เพราะเดินทางด้วยเครื่องบิน 1 ชั่วโมงเศษๆ ก็ถึงแล้ว

พอถึงสนามบินที่ปีนัง ก็เจอกับคนขับรถแท็กซี่ ซึ่งไม่ค่อยสู้ชอบงานอาชีพของตนเองมากนัก โดยเฉพาะที่จะมาบริการคนไทยอย่างเรา แถมคนหนึ่งในนั้นยังตัวเบ้อเริ่มอีกด้วย แต่ที่สุด เราก็มาถึงบ้านเณรใหญ่ที่ปีนังซึ่งปัจจุบันกลายเป็นบ้านเณรทันสมัย เพราะบ้านเณรปีนังเก่านั้นเขาขายไปแล้ว คุณพ่ออธิการและพระสงฆ์ที่นั่นก็ต้อนรับเราอย่างดี จำไม่ได้แล้วละครับว่าไปถึงปุ๊บ เริ่มงาน

ทันทีเลยหรือเปล่า แต่เราทำงานค้นหาเอกสารเก่าๆ กัน 2 วันก็หมด ได้เอกสารรายงานเกี่ยวกับสามเณรบุญเกิด (คุณพ่อนิโคลาส) ในสมัยนั้น รายงานผลการเรียน รายงานการประชุมของคณะผู้ใหญ่ รวมทั้งได้รูปภาพบางรูปมาด้วย ดูโดยทั่วไปแล้ว การเก็บรักษาเอกสารเก่าของเขาก็ไม่ได้ดีไปกว่าเรา พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ดีพอๆ กันนั่นแหละ นอกจากนี้ เรายังมีโอกาสไปตามวัดบางวัดที่อาจจะมีเอกสารเรื่องราวสมัยนั้น และได้ไปพบกับคุณพ่ออลอยซีอุส อุปสังฆราช ที่นั่น ซึ่งพ้นตำแหน่งแล้ว ปลดชรา เวลานี้อายุ 90 กว่าปีแล้ว ได้คุยกับคุณพ่อซึ่งมีความจำดีมาก แต่เธอก็จำเรื่องคุณพ่อนิโคลาสตอนเป็นสามเณรด้วยกันไม่ได้เลย เพราะอยู่กันคนละปี

เราสองคนโชคดีที่พบกับคุณพ่อซึ่งเป็นคนจีนคนหนึ่ง ชื่อ คุณพ่อหว่อง ทำให้เราได้ไปในที่ต่างๆ อย่างสบาย พาไปทานอาหาร ไปเยี่ยมบ้านเณรเก่า สรุปแล้ว 2 คืน 1 วันที่ปีนัง เราได้รับประสบการณ์หลายอย่างทีเดียว

30 กันยายน ค.ศ. 1993ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 3 ที่สำนักมิสซังฯ

ก็มีการติดตามการทำงาน รายงานการสืบพยานและค้นหาหลักฐาน รวมทั้งการปรึกษาขอความคิดเห็นจากคณะที่ปรึกษาทางเทววิทยาของสภาพระสังฆราช เกี่ยวกับการตายของคุณพ่อนิโคลาสในคุกด้วย เรื่องนี้ผมขออธิบายนิดหน่อย เพราะเป็นจุดที่น่าสนใจ ปกติการตายของมรณสักขีจะชัดแจ้ง เช่น ที่สองคอนถูกยิงตาย ในกรณีของคุณพ่อนิโคลาสนี้ ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี แต่อยู่ในคุกได้ 3 ปี ก็เป็นวัณโรคตายในคุก ความตายในลักษณะเช่นนี้จะจัดอยู่ในข่ายของ

มรณสักขีได้หรือไม่ พระคุณเจ้าเกี้ยนและคณะที่ปรึกษาทางเทววิทยาของสภาพระสังฆราชได้ให้คำตอบที่ตรงกันว่า Causa หรือสาเหตุของการจับกุมและตัดสินลงโทษ ได้แก่ In Odium Fidei หรือความเกลียดชังความเชื่อ และผลอันมาจาก Causa นั้นได้แก่ ความตายเพราะวัณโรคในขณะที่อยู่ในระหว่างรับโทษจากการตัดสิน ต่อมาภายหลัง เรายังได้ทราบเพิ่มเติมด้วยว่า สมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญ ได้เคยประกาศบุญราศีในลักษณะเช่นนี้มาแล้วด้วย เรื่องนี้ทำให้คณะกรรมการรู้สึกเบาใจขึ้นไม่น้อยเลย

 6-18 ธันวาคม ค.ศ. 1993 เดินทางไปกรุงโรมและปารีส

เหตุผลของการเดินทางไปกรุงโรมและปารีสก็คือ ในสมัยนั้นพระคุณเจ้าปาซอตตีได้เขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องการเบียดเบียนศาสนา และเอ่ยถึงวีรกรรมของคุณพ่อนิโคลาสเอาไว้ด้วยรายงานนี้เก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ และที่หอจดหมายเหตุคณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ก็มีรายงานต้นฉบับของพระสังฆราชแปร์รอสเก็บรักษาไว้

รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ด้วย ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของการเบียดเบียนศาสนา และที่สำคัญที่สุดคือ คุณพ่อมิราแบลซึ่งเป็นมิชชันนารีในประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปี และเป็นผู้บุกเบิกมิสซังเชียงใหม่ร่วมกับคุณพ่อนิโคลาส ยังมีชีวิตอยู่ และเป็นฤาษีอยู่ที่อารามทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

นับเป็นพยานบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งทีเดียว ผมกับคุณพ่อทวีศักดิ์อีกเช่นเคยต้องร่วมเดินทางด้วยกัน ด้ว ยการประสานงานของคุณพ่อลังฟังต์และคุณพ่อมังซุย การติดต่อต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบร้อย จากกรุงเทพฯ ถึงกรุงโรม เรารีบเดินทางไปที่หอจดหมายเหตุของสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวังในตอนแรก เนื่องจากได้รับคำตอบว่าเอกสารที่เปิดให้ค้นคว้าได้นั้นมีจนถึงปี ค.ศ. 1922 เท่านั้น นอกนั้นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้ากระทรวงเสียก่อน แต่เจ้าหน้าที่ก็เข้าใจเหตุผลของเราดี รับปากว่าจะพยายามค้นหาให้ เผื่อว่าอาจจะมีอะไรที่เป็นปร ะโยชน์ได้บ้าง โดยขอเวลา 1 อาทิตย์ เราก็ออกจากที่นั่นโดยหวังว่าจะได้อะไรบ้างเท่านั้น จากนั้นเราก็เดินทางไปพบกับคุณพ่ออีซายนา ซึ่งเป็นผู้ดำเนินเรื่อง (Postulator) ในกรณีบุญราศีทั้ง 7 ที่สองคอน สอบถามความเห็นเกี่ยวกับกรณีคุณพ่อนิโคลาส รวมทั้งสอบถามขั้นตอนต่างๆ ตอนนั้นเราชวน

คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ ไปเป็นเพื่อนกันด้วย

หนึ่งอาทิตย์ที่กำลังรอคอยนี้ พวกเราคิดว่ารอเฉยๆ ก็เสียเวลา จึงตัดสินใจเดินทางต่อไปปารีสทันที โดยจะใช้เวลาที่นั่นประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจะกลับมากรุงโรมอีกครั้งหนึ่ง ที่ปารีสเราพักที่บ้านศูนย์กลางคณะ M.E.P. ซึ่งได้ต้อนรับและร่วมมืออย่างดียิ่ง เป็นเวลาประมาณ 3 วัน ตรวจสอบและค้นหาเอกสารต่างๆ ซึ่งมีจำนวนพอสมควรทีเดียวที่เป็นประโยชน์ต่อเรื่องของเรา จากนั้นก็เดินทางโดยรถไฟไปทางใต้ของฝรั่งเศสเพื่อพบกับคุณพ่อมิราแบลซึ่งชรา มากแล้ว หลังค่อม แต่ยังพูดชัดและความจำยังดี เจอกันปุ๊บ เธอก็ทักทายเราเป็นภาษาไทยแปร่งๆ ว่า "กินข้าวหรือยัง" ทำให้เราประทับใจมาก แต่เธอก็พูดได้เพียงเท่านั้นเอง ภาษาฝรั่งเศสของเราก็งูๆ ปลาๆ ยังดีที่มีคุณพ่ออธิการช่วยบ้าง และเรายังมีคำถามเป็นภาษาฝรั่งเศสเตรียมไปอยู่แล้ว เรายังอัดเทปเอาไว้ด้วย

ต่อมาคุณพ่อบรูโนได้ช่วยกรุณาถอดเทปและแปลออกเป็นภาษาไทยให้ เราจำเป็นต้องกลับให้ถึงปารีสในคืนนั้ นหรือรุ่งเช้าให้ได้ เพราะเราได้จองตั๋วเครื่องบินกลับกรุงโรมไว้เรียบร้อยแล้ว น่าเสียดายที่รถไฟที่จะพาเราไปปารีสคืนนั้นเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ต้องตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทาง เสียเวลามากขึ้นอีกหลายชั่วโมง เพราะต้องเปลี่ยนรถไฟ และต้องรออีกนานทีเดียว อากาศก็หนาวมาก เรา 2 คนหลับกันในที่พักผู้โดยสารนั่นเอง แต่โชคดีที่เรามาถึงปารีสตอนเช้าทัน

ที่กรุงโรม เจ้าหน้าที่ก็ได้ค้นหาข้อมูลให้เราจนได้ พร้อมทั้งทำสำเนาเอกสารในส่วนที่เราต้องการอีกด้วย เป็นอันว่า ภา รกิจของเราที่กรุงโรมและปารีสก็เสร็จสิ้นลงอย่างดี แถมยังได้รู้จักกับ

มองซินญอร์ ยูเซปเป ดาสโกลี (Monsingnore Giuseppe d'Ascoli) ซึ่งเป็นนักเทววิทยาใน

สมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญ ได้ช่วยอธิบายเรื่องต่างๆ ที่เรายังสงสัยกันอยู่ให้กระจ่างมากขึ้น

22 ธันวาคม ค.ศ. 1993ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4 มีรายงานและเตรียมงานขั้นต่อไป

29 กรกฎาคม ค.ศ. 1994ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 5

ในระยะเวลานี้เองที่มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการในการทำงาน เพราะคุณพ่อซิลวาโน มากิสตราลี ได้รับมอบหมายให้ไปทำงานในประเทศอิตาลี ตอนใต้ และคุณพ่อลังฟังต์ได้รับการติดต่อให้มาร่วมงานกับคณะกรรมการต่อไป เมื่อมาถึงจุดนี้ เอกสารต่างๆ ก็พร้อมโดยส่วนใหญ่แล้ว ที่ประชุมจึงตกลงเชิญ

พระคาร์ดินัล มีชัย เข้าร่วมประชุมในครั้งต่อไป

9 กันยายน ค.ศ. 1994ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 6

ครั้งนี้พระคุณเจ้ามีชัยเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากรับมอบเอกสารทั้งหมด และรับฟังรายงานการทำงานแล้ว พระคุณเจ้าสนับสนุนให้ดำเนินการต่อไป และให้นำเรื่องนี้ขอความเห็นจากสภาพระสังฆราชฯ ได้ พร้อมทั้งให้คณะกรรมการหาความสนับสนุนจากสัตบุรุษเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งขอคำภาวนาจากบรรดาสัตบุรุษอีกด้วย และเพื่อให้เอกสารต่างๆ สมบูรณ์มากขึ้น กำหนดวันสอบพยานอย่างเป็น

ทางการ นั่นคือ เดินทางไปภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลางอีกครั้งหนึ่ง

11-17 กันยายน ค.ศ. 1994 คณะกรรมการ 5 คน ออกเดินทางไปสอบพยานเป็นทางการ ผลที่ได้ก็คือ พยานคนหนึ่งของเราที่วัดเชียงดาวได้เสียชีวิตไปแล้ว แม้นว่าช่วงนั้นจะอยู่ในระหว่างที่มีข่าวว่าน้ำท่วมภาคเหนือและถนนขาดไปบ้าง แต่งานทุกอย่างก็สำเร็จลงด้วยดี ที่เชียงใหม่

เราได้มีโอกาสพบกับพระคุณเจ้าสังวาลย์ที่บ้านพักด้วย และนำคณะฯ ไปรับประทานอาหารเย็น

22 กันยายน ค.ศ. 1994ผมกับคุณพ่อทวีศักดิ์ เข้ารายงานต่อสภาพระสังฆราชฯ พร้อมทั้งเอกสารทั้งหมดที่เรามี เพื่อขออนุมัติจากสภาเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ ตรงนี้ขออธิบายอีกเล็กน้อย เนื่องจากเรื่องขอดำเนินเรื่องบุญราศีเป็นของส่วนรวม สมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญมีระเบียบว่าต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาพระสังฆราชเสียก่ อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเข้ารายงานในครั้งนี้ และสภาพระสังฆราชฯ ก็ได้ลงมติให้ดำเนินเรื่องนี้ต่อไปได้ในวันนั้นเอง

2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994พระคุณเจ้ามีชัยออกประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เรื่องการขอแต่งตั้งคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เป็นบุญราศี เอกสารเลขที่ ลส. 846/37

7-12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1994โอกาสที่พระคุณเจ้ามีชัยเดินทางไปประชุมคณะกรรมการด้านเศรษฐกิ จของวาติกันผมได้รับมอบหมายให้เดินทางไปด้วยเพื่อติดต่อผู้ที่จะเป็นผู้ดำเนินเรื่องในกรณีของคุณพ่อนิโคลาสที่กรุงโรม ผู้ดำเนินเรื่องนั้นต้องมีเพียงคนเดียวคือผู้ที่มีที่พักอยู่ที่กรุงโรม ส่วนผมนั้นจะเป็นเพียงผู้ช่วยผู้ดำเนินเรื่อง และอยู่ที่ประเทศไทยเพื่อจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นตามแต่ที่กรุงโรมจะสั่งมา

ตอนแรกคณะกรรมการตั้งใจจะให้คุณพ่ออีซายนา ซึ่งเคยเป็นผู้ดำเนินเรื่องในกรณีที่สองคอนมาแล้ว แต่ทรา บจากพระคุณเจ้าคายน์ว่า ทางท่าแร่กำลังจะดำเนินเรื่องให้บุญราศีทั้ง 7 ที่สองคอนเป็นนักบุญ เราก็เลยได้รับคำแนะนำจากคุณพ่อเชอวูเลย์ พระสงฆ์คณะธรรมทูตนิรมล (O.M.I.)

ให้ไปติดต่อกับคุณพ่อฟิตซ์แพทริกซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ดำเนินเรื่องนี้ของคณะ และอยู่ที่กรุงโรม เมื่อผมได้พบกับคุณพ่อฟิตซ์แพทริก คุณพ่อได้สอบถามหลายเรื่อง และเห็นว่ากรณีนี้น่าสนใจ และดูเหมือนว่าเอกสารจะมีมากพอ เพ ราะผมขนสำเนาเอกสารทั้งหมดไปด้วย คุณพ่อจึงรับเป็นผู้ดำเนินเรื่องให้แก่เรา พร้อมทั้งมอบบทความของเธอเองที่เขียนเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษ ให้เรามาศึกษาอีกหนึ่งชุดด้วย คุณพ่อยังบอกด้วยว่าจะเดินทางมาเมืองไทยราวๆ ปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 1995 เพื่อประชุมคณะกรรมการด้วย เรื่องนี้ทำให้เราดีใจมาก เป็นอันว่าจนถึงจุดนี้บุคลากรด้านต่างๆ ในการดำเนินเรื่องนี้พร้อมแล้ว

8 ธันวาคม 1994ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 7 ที่บ้านผู้หว่าน

งานที่ยังขาดอยู่เวลานี้ ได้แก่ การแปลเอกสารที่เป็นภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ ที่ประชุมได้มอบหมายให้คุณพ่อทวีศักดิ์ช่วยจัดหาผู้แปล

1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 8 ที่สำนักมิสซังฯ

การประชุมครั้งนี้ คุณพ่อฟิตซ์แพทริกได้เดินทางมาประชุมด้วย คุณพ่อได้เดินทางมาโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปาเสด็จเยือนประเทศฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกีนี ออสเตรเลียและศรีลังกา

อันที่จริง คุณพ่อฟิตซ์แพทริกเดินทางมาถึงเมืองไทยตั้งแต่วันที่ 30 มกราคมแล้ว โดยมีคุณพ่อทวีศักดิ์เป็นผู้ไปรับและดูแลอย่างดียิ่ง การประชุมครั้งนี้คุณพ่อได้ให้ความกระจ่างแก่คณะกรรมการมากขึ้น และให้ความมั่นใจในกรณีนี้มาก เพราะคุณพ่อได้นำตัวอย่างมาให้พวกเราดูด้วย เรื่องที่สำคัญก็คือ ให้รีบจัดทำจดหมายขอ Nihil Obstat จากสมณกระทรวง พร้อมทั้งขอหมายเลขคดี (Protocol Number) ด้วย และจะได้ยื่นเรื่องขอแต่งตั้งคุณพ่อเป็นผู้ ดำเนินเรื่องต่อไป ที่ประชุมจึงได้ขอให้คุณพ่อช่วยร่างจดหมายให้ ซึ่งคุณพ่อก็ทำให้ในเวลานั้นเอง เวลาเดียวกันก็ยังต้องการประวัติย่อของคุณพ่อนิโคลาสด้วย คุณพ่อประยุทธ ชลหาญ ก็ได้ช่วยจัดการแปลให้เสร็จเรียบร้อยในเวลาไม่นานนัก จัดเตรียมเอกสารเสร็จ พระคุณเจ้าก็ลงนามให้ทันที ปิดผนึก ฝากคุณพ่อฟิตซ์แพทริก นำไปยื่นให้ที่กรุงโรมเลย รายละเอียดของการมาของคุณพ่อฟิตซ์แพทริก หนังสือพิมพ์ "อุดมสาร" ได้ลงไว้ในฉบับประจำวันที่ 19-25 กุมภาพั นธ์ ค.ศ. 1995 แล้ว แต่หากใครอยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ก็ถามได้จากคุณพ่อทวีศักดิ์เจ้าเดิม เจ้านี้เก็บรายละเอียดไว้เยอะเลยครับ

6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995คุณพ่อฟิตซ์แพทริกได้ส่งแฟกซ์มาจากกรุงโรมว่า ได้ส่งจดหมายขอ Nihil Obstat และขอ Protocol Number ที่สมณกระทรวงเช้าวันนั้นเองเรียบร้อยแล้ว หวังว่าจะได้รับคำตอบเร็วๆ นี้ พร้อมทั้งได้ส่งแบบฟอร์มการขอแต่งตั้งคุณพ่อให้เป็นผู้ดำเนินเรื่องมาให้จัดทำด้วย ผมก็เพิ่งทราบนี่แหละว่าแบบฟอร์มนี้ต้องใช้ภาษา

ลาติน และจะต้องยื่นขอแต่งตั้งหลังจากได้รับ Nihil Obstat แล้ว

งานต่อไปที่กำลังจะทำได้แก่ งานประชาสัมพันธ์และขอเสียงสนับสนุนจากสัตบุรุษทั่วไป ตามที่พระคุณเจ้ามีชัยได้เคยแนะนำไว้ในการประชุม อีกไม่นานนัก จะมีโปสเตอร์ติดประกาศตามวัด เพื่อให้สัตบุรุษรู้จักคุณพ่อนิโคลาสมากขึ้น และจะได้สวดภาวนาต่อคุณพ่อนิโคลาสมากขึ้น

และจากนั้นอีกไม่นาน ก็จะมีแผ่นพับตามมา เพื่อขอให้พี่น้องสัตบุรุษเขียนตอบกลับมา เรื่องนี้มีความสำคัญพอตัวทีเดียว เพราะเราจะมีเสียงสนับสนุนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยืนยันถึงชื่อเสียงความศักดิ์สิทธิ์ (Fama Sanctitatis) ของคุณพ่อนิโคลาส และความคิดเห็น (Public Opinion) ของสัตบุรุษเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย เรื่องอัศจรรย์นั้นไม่จำเป็นสำหรับกรณีของบุญราศีในฐานะเป็นมรณสักขี แต่จดหมายทุกฉบับที่เขียนตอบกลับมาหลังจากสวด ภาวนาขอต่อคุณพ่อนิโคลาสนั้น แสดงให้เห็นว่าคริสตชนยึดถือคุณพ่อเป็นที่พึ่งได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นหายจากโรคปวดหัว หางานทำได้ พบของหาย และอื่นๆ ล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น แม้จะไม่ใช่อัศจรรย์ก็ตาม

อันที่จริง พระคุณเจ้ามีชัย กิจบุญชู ได้ยื่นหนังสือถึงสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญ2 เรื่องเพื่อขอ Nihil Obstat และ Protocal Number กรณีคุณพ่อนิโคลาส ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ค.ศ. 1995 ตามเอกสารเลขที่ SB 057/95 แล้ว และทางสมณกระทรวงฯ ก็ได้ออกเอกสารลงวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1995 ให้ Nihil Obstat และให้ Prot No. 2026Nihil Obstat นี้มีความหมายสำคัญพอควร เพราะหมายความว่าสมณกระทรวงได้พิจารณาเนื้อหาโดยย่อกรณีคุณพ่อนิโคลาสแล้ว มีความเห็นว่าให้ดำเนินการต่อได้ หรือแปลให้ตรงตัวหน่อยก็แปลได้ว่า "ไม่มีอะไรขัดข้อง"

Protocal Number ก็คือเลขที่ของกรณี และนับจากนี้เป็นต้นไป เอกสารการติดต่อระหว่างอัครสังฆมณ ฑลกรุงเทพฯ และสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญ ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้จะต้องอ้างอิงถึงเลขที่นี้ทุกครั้งไป