หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

  การประกาศเสรีภาพทางศาสนา

1. รัฐประหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944

 ข้าพเจ้านำเอาเนื้อหามาจากเอกสารหมายเลข 7

"...เมื่อเร็วๆ นี้ เหตุการณ์ทางการเมืองและการทหารในยุโรป ช่วยลดอิทธิพลที่ทำให้เกิดความทุกข์ร้อนของมิสซังอิตาเลียนที่มีต่อคณะสงฆ์พื้นเมืองชาวสยาม เมื่อประเทศอิตาลีแพ้สงคราม ต่อมาประเทศฝรั่งเศสเป็นอิสระตามเดิม และความล่มสลายของประเทศญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้ รัฐบาลไทยในเวลานั้นเป็น พันธมิตรตามสนธิสัญญาไตรภาคีได้เริ่มตระหนักเข้าใจถึงเหตุการณ์ร้ายแรงซึ่งต้องเตรียมพร้อม และรู้ว่า ใช่แต่ต้องรีบระงับการเบียดเบียนศ าสนาเท่านั้น แต่ต้องประกาศหลักประกันการผ่อนปรนเรื่องศาสนาอย่าง เป็นทางการด้วย หลวงพิบูลจอมเผด็จการ ถูกโค่นอำนาจ และนายควง อภัยวงศ์  ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แทนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 นโยบายทางการเมืองทั้งหลาย ได้แก่ การต่อต้านฝรั่งเศส, การต่อต้าน พันธมิตร, พวกที่ฝักใฝ่พวกญี่ปุ่น และพวกที่ต่อต้านศาสนาตามคำบงการของผู้เผด็จการ ล้วนประสพความ ล้มเหลวทั้งสิ้น

2. เสรีภาพทางศาสนากลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง

ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1944

 เราขอเสนอเนื้อหาโดยสรุปของสุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์    ผู้รักษาการถึงคณะรัฐบาลชุด ใหม่ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ไว้ ณ ที่นี้

อีกประการหนึ่ง ศาสนาอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ ข้าพเจ้าขอให้รัฐบาลรักษาและ พัฒนาความเชื่อซึ่งประชาชนนับถือ ศาสนาประกอบด้วยคำสั่งสอนและบทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับจริยธรรม ระดับสูง ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติซาบซึ้งในสัจธรรม และมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในหลักการทางศาสนาซึ่งยอมรับ ด้วยความมั่นใจอย่างเต็ มเปี่ยม ในประเทศไทยของเรา ประชาชนส่วนใหญ่เป็นพุทธมามกะ  เพราะฉะนั้น พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นพุทธมามกะด้วย ด้วยเหตุนี้ พระองค์ทรงอนุเคราะห์และช่วยพัฒนาพุทธศาสนา รัฐบาลชุดนี้ต้องการมีส่วนทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรือง ด้วยการเผยแพร่ศาสนาพุทธ เจริญรอยตามพระพุทธ เจ้า กล่าวคือ ตั้งมั่นอยู่บนความจริง ขอให้ท่านระลึกด้วยว่าในประเทศไทยของเรา      มีบรรดาราษฎรใน หลายๆ จังหวัดที่นับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่คนอื่นๆ นั้นนับถือศาสนาคริสต์หรือศาสนาอื่น รัฐธรรมนูญ ยอมให้ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนาต่างๆ รัฐธรรมนูญเน้นว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่ ี่เป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนา เช่นเดียวกันรัฐบาลต้องการมีส่วนสนับสนุนศาสนาทุกศาสนาที่ประชาชนเลือกนับถือ ให้เจริญรุ่งเรืองเท่าที่จะเป็นไปได้

 การสนับสนุนดังกล่าว ตามความเห็นของข้าพเจ้า    ไม่ขัดแย้งกับหลักการของศาสนาพุทธ เพราะ ศาสนา พุทธสั่งสอนเรื่องความเมตตากรุณาเป็นหลักขั้นพื้นฐาน ทุกคนที่เป็นพุทธมามกะแม้ว่าถ้าพวกเขาจะ ยอมช่วยเหลือคนที่นับถือศาสนาอื่นด้วยการทำให้คนเหล่านั้นได้รับความพอใจ เขาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ เขาคงเป็นพุทธ  เขากระทำคุณประโยชน์ ข้าพเจ้าอยากเรียกร้องทุกคนไม่ว่านับถือศาสนาใดให้ประสาน ความคิดเพื่อชาติของเรา ซึ่งเป็นมรดกของประชาชนทุกคน

ผลที่สุด อาศัยเจตนาดีและใจกว้างขวางของท่านต่อประเทศชาติ ศาสนา      พระมหากษัตริย์ และ รัฐธรร มนูญ ขอให้ท่านปลอดภัยจากอันตรายใดๆ  ขอให้ได้รับพลังกายและพลังใจเต็มเปี่ยมในงานการปก ครอง เพื่อช่วยประชาชนชาวไทยให้ประสพความสุขและความเจริญก้าวหน้า  และขอให้ชาติไทยดำรงคง อยู่เป็นเอกราชตลอดไป

3. มิสซังคาทอลิกขอบคุณผู้สำเร็จราชการอีกครั้ง

และได้รับโทรเลขจากวาติกัน

วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เป็นการสมควรที่มิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ได้แสดงความขอบคุณไป ยังผู้สำเร็จราชการในการเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการ ซึ่งคำแถลงการณ์ได้ปรากฏในหนังสือพิมพ์ดังนี้

เอกสารหมายเลข 44

ต่อมาพระสังฆราชแปร์รอสและคุณพ่อโชแรง เหรัญญิก ได้ส่งโทรเลขถึงวาติกัน นี่คือ

 เอกสารหมายเลข 45

 ซึ่งเป็นการกล่าวขอบคุณจากสำนักวาติกันต่อผู้สำเร็จราชการ

เลขานุการเอกของผู้สำเร็จราชการ

และมิสซังคาทอลิก

 สงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งจบลงโดยการยอมแพ้ของญี่ปุ่น นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ  ได้มอบหมายให้เลข านุการเอกของท่านคือ ร.ส.อ.สุดจำลองติดต่อกับมิสซังคาทอลิกเพื่อเรียนให้พระสังฆราช แปร์รอสทราบข่าวจากรัฐบาลใหม่เกี่ยวกับมิสซังคาทอลิกว่า รัฐบาลจะช่วยเหลือมิสซัง  ขอให้มีหนังสือขอ ความช่วยเหลือจากรัฐบาลใหม่

1. การยื่นมือเข้าช่วยเหลือเป็นการส่วนตัวของผู้สำเร็จราชการ

 ในจดหมายฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1945     ส่งถึงพระสังฆราชแปร์รอสและฝากถึง หลวงวิจารณ์ บิดาของคุณพ่อเฮนรี่

เอกสารหมายเลข 46

 เลขานุการเอกของผู้สำเร็จราชการผู้นี้ เขียนว่า

ผู้รับผิดชอบเรื่องการเบียดเบียน

 ตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ข้าพเจ้าเดินทางไปต่างประเทศ 2 ครั้ง ได้แก่       ประเทศมาเลเซีย, ฮ่องกง    และเซี่ยงไฮ้    เพื่อชี้แจงว่าประชาชนชาวไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ประการใดเลย   ความรู้สึกรับ ผิดชอบต่อการเบียดเบียนของพวกคนจีน  และการเบียดเบียนศาสนาคาทอลิกเกิดขึ้นเพราะ บุคคลชั้นสูงของรัฐบาล 4 หรือ 5 คน เป็นตัวการ คนแรกคือ หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีซึ่งปกครอง ประเทศแบบเผด็จการฟัสซิสต์ บุคคลทั้ง 5 คนนี้ ข้าพเจ้ารู้จักเป็นการส่วนตัวดี เป็นบุคคลเหล่านี้เองที่ได้ เซ็นชื่อในคำสั่งอย่างเป็นทางการให้ข้าราชการคาทอลิกทุกคนปฏิเสธศาสนาของพวกเขา และอาจเป็นได้ที่ บุคคลเหล่านั้นถูกตัดสินเป็นอาชญากรสงคราม

ฝ่ายคุณพ่อเฮนรี่ และคุณพ่อเอดัวรด์ ซึ่งยังคงอยู่ในคุกนั้นผู้สำเร็จราชการได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือด้วยตนเอง เพื่ออนุญาตให้พวกเขาได้รับการอภัยโทษในความผิดที่เกิดขึ้น ซึ่งพวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ พวกเขาจะได้รับ อิสรภาพในไม่ช้า

ลงชื่อ ร.ส.อ. สุดจำลอง

(หมายเหตุ ทั้งคุณพ่อสงวนและคุณพ่อส้มจีนได้รับอิสรภาพแล้ว คุณพ่อนิโคลาสได้ตายในคุก)

2. อิสรภาพของพวกนักโทษ

 ร.ส.อ. สุดจำลอง มอบจดหมายฉบับหนึ่งแก่คุณพ่อโอลิเอร์เพื่อส่งแก่พระสังฆราชแปร์รอส จดหมาย ฉบับนี้ลงวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1945 นี่คือ

 เอกสารหมายเลข 47

 โดยผลของการแต่งตั้ง ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อิสรภาพ ของพวกพระสงฆ์จึงล่าช้าเล็กน้อย วันที่ 20 ของเดือนนี้ จะมีการประกาศนิรโทษกรรมแก่นักโทษทุกคนใน กรณีพิพาทอินโดจีน

ส่วนคุณพ่อเฮนรี่ คุณพ่อเอดัวรด์ และพวกคาทอลิกพวกเขาจะได้รับประโยชน์ในวันเดียวกันโดยการ รับรอง ความบริสุทธิ์ เพราะเป็นที่ปรากฏชัดเจนว่าพวกเขามิได้ทำความผิดพวกเขาถูกตัดสินลงโทษอย่าง ไม่เป็นธรรมจากผู้พิพากษาที่แสวงความดีความชอบจากนายกรัฐมนตรีแปลก (หลวงพิบูลสงคราม)

ลงชื่อ ร.ส.อ. สุดจำลอง

3. กระทู้ถามจากหนังสือพิมพ์ศรีกรุง ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1945

ต่อนายกรัฐมนตรี เสนีย์ ปราโมช เกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนา

ข้าพเจ้ายินดีที่ได้พูดถึงคำถามต่างๆ ซึ่งหนังสือพิมพ์ศรีกรุงได้ถามเกี่ยวกับการเบียดเบียนศาสนา พวกข้าร าชการที่ปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนาคาทอลิก ได้ถูกข่มขู่เรื่องไล่ออกจากราชการตามนโยบายการ เมืองของรัฐบาล พวกที่กัดฟันสู้ปฏิเสธไม่ยอมละทิ้งศาสนา พวกเขาต้องเผชิญกับการทดสอบอย่างทารุณ เพื่อจะได้มีชีวิตอยู่ได้ หนังสือพิมพ์ตั้งคำถามต่อไปนี้

พวกข้าราชการ ภายใต้การปกครองของหลวงพิบูลสงคราม พวกข้าราชการคาทอลิกได้ถูกบังคับให้ ละทิ้งศาสนา ถ้าพวกเขาไม่ยอมปฏิเสธศาสนาของตน พวกเขาก็จะถูกไล่ออกจากหน้าที่หรือถูกส่งไปในถิ่น ทุรกันดาร ข้าพเ จ้าขอถามท่านว่า รัฐบาลชุดนี้คิดจะเรียกพวกข้าราชการที่ถูกไล่ออก กลับมารับราชการอีก หรือไม่? ส่วนพวกที่ได้ถูกส่งไปในถิ่นทุรกันดาร ท่านคิดจะทำอย่างไร? ข้าพเจ้าขอชี้แจงกับท่านเช่นเดียว กันว่าพวกลูกจ้างที่ทำงานรายวันอยู่ในสภาพที่เดือดร้อนอย่างยิ่ง

ประมาณ 2 ปีมาแล้วรัฐบาลชุดนี้ซึ่งได้ประกาศสงครามได้ตราพระราชกฤษฎีกาให้เวนคืนที่ดินตำบล ดุสิต ซึ่งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ ตั้งแต่สะพานพุทธจนถึงวัดราชาธิวาส  ระหว่างแม่น้ำและถนนสามเสน ท่านคิด จะยกเลิกพระ ราชกฤษฎีกาซึ่งจุดประสงค์คือ รื้อถอนวัดคาทอลิก 2 แห่ง(วัดคอนเซปชัญ   และวัดนักบุญ ฟรังซิสเซเวียร์) พร้อมกับโรงเรียน 2 แห่ง (โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนเซนต์ฟรังซิส) โดยอ้างว่า จะใช้ที่ดินทำศูนย์การค้า และดังนั้น พวกคาทอลิกของทั้งสองวัดนี้จึงได้ถูกบังคับให้ต้องแยกย้ายกันไปคน ละทิศละทาง การกระทำดังกล่าวเพื่อเบียดเบียนศาสนาคาทอลิก เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอคำตอบที่ชัด เจนเพื่อชื่อเสียงของรัฐบาลของท่านซึ่งยอมรับเสรีภาพสมบูรณ์ของศาสนา

 วัตถุประสงค์ของคำถามเหล่านี้ก็เพื่อคัดค้านการกระทำของรัฐบาลชุดก่อนซึ่งมีคำขวัญว่า“ตามผู้นำ ชาติพ้นภัย”

ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ตอบคำถาม

 สำหรับคำถามแรก    ข้าพเจ้าไม่พบคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่บังคับพวกข้าราชการให้ละทิ้ง ศาสนา มีแต่คำสั่งให้ข้าราชการทุกคนแจ้งเรื่องการนับถือศาสนาของตน ดังนั้น ถ้าหากใครได้รับความเสีย หาย เขาสามารถทำการร้องเรียน ก็จะได้รับการพิจารณา

 สำหรับคำถามที่สอง ไม่เกี่ยวกับการทำลายวัด 2 แห่ง    แต่เป็นเพียงทำการปิดปากคลองที่ตำบล สามเสนเพื่อทำท่าเทียบเรือ พระราชกฤษฎีกานี้สามารถยกเลิกได้

ขอได้รับความเคารพ

ลงชื่อ ร.ส.อ. สุดจำลอง

บ้านบางกะปิ วันที่ 31 ตุลาคม 2488 (1945)

จดหมายนี้คือ

 เอกสารหมายเลข 49

 ซึ่งเป็นเนื้อหาอย่างสมบูรณ์ของสุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์        ผู้สำเร็จราชการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1944 เรื่องการคืนเสรีภาพทางศาสนา และปฏิบัติตามเอกสารหมายเลข 1ซึ่งรัฐธรรมนูญให้ พลเมืองทุกคนมีเสรีภาพในการเลือกศาสนาของตน

กรุงเทพฯ วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1984

วิกตอร์ ลารเก