หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

วาติกันกับการเบียดเบียนศาสนา

  การเบียดเบียนศาสนาเริ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 เนื่องจากกรณีพิพาทอินโดจีน เริ่มต้นที่ภาคอีสานหรือมิสซังหนองแสง แล้วแผ่ขยายมายังมิสซังกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 แพร่ออกไปถึงมิสซังราชบุรีในปี ค.ศ. 1942

 ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1941 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ทรงส่งสารพิเศษอำนวยพรมายังพระสังฆราชแปร์รอส, บรรดามิชชันนารี และบรรดาพระสงฆ์ นี่คือ

เอกสารหมายเลข 42

 ในเวลาเดียวกัน ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1941 พระสังฆราชปาซอตตีพระสังฆรักษ์แห่งราชบุรี ได้รับการสถาปนาโดยสันตะสำนักให้เป็นพระสังฆราช ประมุขมิสซังราชบุรี  และได้รับแต่งตั้งเป็นสมณทูตพิเศษประจำประเทศไทยด้วย

เอกสารหมายเลข 20

พร้อมทั้งมีหน้าที่ดูแลมิสซังอื่นๆ ในฐานะเป็นสมณทูต ในกรณีที่พระสังฆราชหรือผู้รักษาการแทนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่

วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1941     ประเทศอินโดจีนและประเทศไทยลงนามในสนธิสัญญาข้อตกลง   และสันติภาพก็กลับมาอีกครั้งหนึ่งระหว่างประเทศทั้งสอง แต่การเบียดเบียนพวกคริสตังและพระสงฆ์ไทยยังคงดำเนินต่อไป

วันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1941 สมเด็จพระสันตะปาปาส่งสารพิเศษอำนวยพรมายัง     พระสังฆราช  แปร์รอส, บรรดาพระสงฆ์ และพวกคริสตังที่ถูกเบียดเบียน นี่คือ

เอกสารหมายเลข 43

โดยคำสั่งหมายเลข 9 ของอธิบดีกรมตำรวจ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1941   บรรดาพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสทุกองค์สามารถกลับเข้ามาประจำอยู่ที่วัดของตนตามเดิม

หลวงพิบูลตระหนักว่าพวกคริสตังทุกคนที่ได้ละทิ้งศาสนา    กระตือรือร้นที่จะกลับมานับถือศาสนาคาทอลิก ตั้งแต่บรรดาพระสงฆ์ฝรั่งเศสและบรรดาพระสงฆ์ไทยกลับมาประจำที่วัด เป็นการผิดหวังอย่าง เต็มที่ ดังนั้น เขาตัดสินใจรักษาจังหวัดต่างๆ ทางภาคอีสานไว้เป็นอย่างน้อย ด้วยการขัดขวางพระสงฆ์ทุกองค์ทั้งพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์ฝรั่งเศสกลับไปที่วัดเดิมของตน  และการเบียดเบียนก็เริ่มขึ้นใหม่รุนแรง กว่า เดิมเพื่อโจมตีพวกคริสตัง  เมื่อพวกพระสงฆ์ซาเลเซียนซึ่งได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการโดยอำนาจของสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีที่เป็นพันธมิตร (ฝ่ายอักษะ)ให้ไปแทนพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสในดินแดนต่างๆ เหล่านี้โดยการขอร้องของคุณพ่อศรีนวนเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในจังหวัดต่างๆของมิสซังกรุงเทพฯ เหมือนที่ปราจีน, แปดริ้วและโคราช

แต่... ทันทีเมื่อเกิดรัฐประหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 การเบียดเบียนหยุดชะงักลง หลวงพิบูลจอมเผด็จการก็ถูกจับและถูกขังคุก ในขณะที่นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ    ประกาศเสรีภาพทางศาสนา

พระสังฆราชแปร์รอสมีความยินดีในการแจ้งให้สำนักวาติกันทราบถึงเหตุการณ์   อันน่ายินดีนี้โดยทางโทรเลข โทรเลขนี้คือ

เอกสารหมายเลข 45

ซึ่งขอให้กรุงโรมมีคำตอบคำขอบคุณของสมเด็จพระสันตะปาปา มายังผู้สำเร็จราชการ