หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ในมิสซังราชบุรี

 ในตอนแรกหลวงพิบูลสงครามลำบากใจที่พวกพระสงฆ์อิตาเลียนอยู่ที่นั่น   เพราะประเทศไทยจะทำสงครามเคียงข้างกับอิตาลี

1. จดหมายฉบับหนึ่งของหลวงพิบูล ถึงมุสโสลินี ในปี ค.ศ. 1942

ได้ส่งมอบให้สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีเพื่อส่งต่อให้กับมุสโสลินี ขอความกรุณาท่านให้เรียกพระสงฆ์ซาเลเซียนทุกองค์กลับให้หมด หลังจากการปรึกษากันของพระสังฆราชปาซอตตีและคุณพ่อคาแรตโตแล้ว (ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช) ท่านเอกอัครราชทูตก็ส่งจดหมายของหลวงพิบูลไปให้มุสโสลินี พร้อม กับเพิ่มเติมหมายเหตุว่า "โดยเฉพาะ อย่าเรียกพวกเขากลับ”

ตั้งแต่นั้นมา สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีก็เก็บเรื่องนี้เป็นความลับโดยอ้างว่าเอกสารต่างๆถูกไฟไหม้ เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 แต่พระสังฆราชคาแรตโตยังมีชีวิตอยู่ ท่านจึงยืนยันถึงเรื่องนี้

2. ถีงกระนั้นก็ตาม การเบียดเบียนศาสนาก็เริ่มขึ้น

และพระสังฆราชปาซอตตีหันไปขอความช่วยเหลือจากพระสังฆราชแปร์รอส     เพื่อให้ขอร้องหลวง อดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ เข้าแทรกแซงช่วยเหลือหลายครั้ง

 บรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียนถูกควบคุมโดยตำรวจท้องถิ่น พวกพระสงฆ์ไม่สามารถแม้แต่จะออกจาก บ้านพักพระสงฆ์ และพวกคริสตังไม่มีอิสระในการไปวัดเพื่อสวดภาวนาอีกเลย

ที่กรุงเทพฯ พวกพระสงฆ์ซาเลเซียนมีวัดแห่งหนึ่ง และวิทยาลัยที่ใหญ่อีกแห่งหนึ่ง   แต่พวกท่านไม่ สามารถเดินทางไปที่นั่นได้ เนื่องจากพระสังฆราชแปร์รอสไปเยี่ยมอธิบดีกรมตำรวจ  (ที่เป็นผู้ต่อต้านการ เบียดเบียนศาสนา) คุณพ่อคาแรตโตได้รับความอนุเคราะห์จากหลวงอดุล หมายความว่ามีการผ่อนผันเป็น กรณีพิเศษ นี่คือ

 เอกสารหมายเลข 39

 ต่อไปนี้เป็นคำแปล

วันที่ 31 มีนาคม 2486 (1943)

อนุญาตเป็นพิเศษให้บาทหลวงเปโตร คาแรตโต สัญชาติและเชื้อชาติอิตาเลียน  เดินทางเข้าไปใน เขตอำเภอบ้านโป่ง เพื่อกิจการเกี่ยวกับศาสนาและโรงเรียน แต่ท่านสามารถพักอยู่ได้มีกำหนดครั้งหนึ่งไม่ เกิน 8 วัน การอนุญาตนี้นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2486 ถึงวันที่31 สิงหาคม พ.ศ. 2486

กรมตำรวจ

31 มีนาคม 2486

อดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ

คุณพ่อคาแรตโตเดินทางไปที่อำเภอบ้านโป่ง 4 ครั้ง

หลวงอดุลได้โทรเลขถึงบรรดาตำรวจที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี  และสมุทรสงคราม ให้มีคำสั่งถึง บรรดาตำรวจท้องถิ่น แต่คำสั่งนี้ทำให้พวกเขาเข้าใจผิดไป  และเพิ่มกำลังเฝ้าตรวจการพวกพระสงฆ์และก่อ กวนความสงบของพวกคริสตัง

 ในการร้องทุกข์ครั้งใหม่ของพระสังฆราชแปร์รอส   หลวงอดุลส่งบันทึกคำชี้แจงลับฉบับหนึ่งให้พระ สังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1943

 จดหมายตอบของหลวงอดุลถึงพระสังฆราชแปร์รอส คือที่มาของ

เอกสารหมายเลข 40

 ในจดหมายของหลวงอดุลฉบับดังกล่าว ท่านบอกกับพระสังฆราชแปร์รอสว่ “ถ้าเรื่องยังไม่เรียบร้อย อย่ารีรอที่จะแจ้งให้ผมทราบ ไม่จำเป็นต้องมาด้วยตนเอง”

 ในส่วนที่เกี่ยวกับบันทึกคำชี้แจงถึงนายตำรวจประจำจังหวัด 3 นาย นี่คือ

เอกสารหมายเลข 41

 คำแปล

 ลับ

 15156

ที่ 15157/2486                                                       5 ตุลาคม 2486

 15158

ในโทรเลขฉบับที่ 14726, 14727, 14728 ข้าพเจ้าขอร้องท่านให้อนุญาตให้บาทหลวง ภราดา และ นักบวชหญิงคณะซาเลเซียนปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาในวัดได้นั้น

 ปรากฏว่าตำรวจท้องที่ไม่เข้าใจความหมายแห่งคำสั่งในโทรเลข ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอกล่าว   อย่าง ชัดเจนว่า ตามปรกติในศาสนาคริสตัง ทุกๆ วันเวลาเช้าหรือเย็น เขามีการประกอบพิธีซึ่งให้พวกคริสตังมา ประชุมเพื่อสวดภาวนาในวัด นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการประกอบพิธีภายนอกวัด เช่น พิธีฝังศพ  หรือ พิธีโปรดศีลเจิมคนไข้ซึ่งไม่สามารถมาวัดได้

 ขอได้โปรดให้ท่านบอกความหมายที่ชัดเจนของคำสั่งนี้แก่บรรดาตำรวจท้องที่ให้เข้าใจด้วยว่า พวก บาท หลวงสามารถประกอบพิธีกรรมเหล่านี้ในวัดได้ แน่นอนทีเดียว บรรดาคริสตศาสนิกชนสามารถมาประ ชุมและมาร่วมในพิธีนี้ได้ด้วย ขอให้ตำรวจดูแลเรื่องนี้

                                 ลงชื่อ พล ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส

รับรองสำเนาถูกต้อง

 ร.ต.อ. พะโยม จันทรัคคะ

บันทึกคำชี้แจงนี้ต้องไม่เป็นที่พอใจแก่หลวงพิบูล

ปัจจุบันนี้ เมื่อเราตั้งคำถามว่า พวกคริสตังเหล่านี้ หรือพวกคริสตังส่วนใหญ่ของมิสซังราชบุรี ละทิ้ง ศาสนาหรือไม่? เป็นการยากที่จะยืนยันถึงเรื่องนี้ เพราะบรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียนรักษาความลับเป็นอย่าง ดีในสมัยนั้น บางทีเราอาจพูดได้ว่า ที่มิสซังซาเลเซียนของประเทศไทย    การละทิ้งศาสนาเป็นสิ่งที่เป็นไป ไม่ได้ หรือเป็นไปได้น้อยมาก

 ข้าพเจ้าได้ทำสรุปย่อของบันทึกซึ่งพระสังฆราชปาซอตตีส่งไปถึงพระสังฆราชแปร์รอส

 พระสังฆราชปาซอตตีและคุณพ่อเปโตร คาแรตโต ซึ่งลงชื่อในเอกสาร เชื่อว่าถึงเวลาที่จะมาทำการ ประกาศทัศนคติอันชัดเจนของคาทอลิกไทย

จริยธรรมที่สอนโดยพระพุทธเจ้า ได้แก่ ความเสียสละ ความบริสุทธิ์    ความสงสาร (เมตตากรุณา) ชาวไทยพุทธถือเป็นคำสอนอันประเสริฐ ซึ่งการปฏิบัติคำสอนดังกล่าวก่อให้เกิดจิตใจยิ่งใหญ่ และเป็นคุณ ประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างแน่นอน ชาวคาทอลิกไทยนิยมชมชื่นต่อทุกสิ่งที่งดงาม ยิ่งใหญ่ และสูงสุด ด้านจริยธรรมของพุทธศาสนา