หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

การสำรวจความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆ

จากการเบียดเบียนศาสนาซึ่งเกิดขึ้นในมิสซังกรุงเทพฯ

ที่ดินของวัดต่างๆ ของมิสซังกรุงเทพฯ ในหลายๆ แห่ง ถูกจับจองและถูกยึดครองโดยพวกนายอำเภอ แต่ส่วนมากที่ดิ นเหล่านั้นยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของมิสซังคาทอลิก โฉนดแสดงกรรมสิทธิ์ไม่เปลี่ยนแปลง

ส่วนที่วัดปากคลองท่าลาด นายอำเภอยึดเอาที่ดินทั้งหมดของวัดไป    และนำไปแจกจ่ายให้ชาวบ้าน ส่วนที่ดินที่วัดตั้งอยู่ถูกเปลี่ยนเป็นที่ดินสาธารณะ ใช้เป็นสนามเลี้ยงควาย วันที่ 29สิงหาคม ค.ศ. 1941 ภาย หลังข้อตกลงระหว่างประเทศฝรั่งเศส (อินโดจีน) และประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1941, ภาย หลังการประกาศควา มเป็นมิตรต่อกันระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ของหลวงพิบูลสงคราม และภายหลังคำสั่งที่ 9 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม ของหลวงอดุล อดุลเดชจรัส

พระสังฆราชแปร์รอสส่งรายงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับความเสียหายต่างๆ         ที่มีผลกระทบต่อมิสซัง คาทอลิกกรุงเทพฯ ไปยังกระทรวงมหาดไทย แต่ไม่ได้รับคำตอบ วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1942พระสังฆราช แปร์รอสกล่าวย้ำว่า ท่านได้ทำรายงานของท่านประกอบด้วยจดหมาย 3 ฉบับ

หมายเลข 11/1942: เอกสารหมายเลข 35 ขอที่ดินวัดปากคลองท่าลาดคืน

หมายเลข 12/1942: เอกสารหมายเลข 36 นายอำเภอได้ทำลายวัดปากคลอง

หมายเลข 13/1942: ได้แนบตารางแสดงความเสียหายของเขตวัดต่างๆ เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย พร้อม ด้วยการตอบรับ

 ไม่มีคำตอบในขณะที่นายอำเภอบางคล้าประกาศอย่างเด็ดขาดว่ามิสซังคาทอลิกปากคลองท่าลาดไม่ มีอีกต่อไปแล้ว และประกาศว่าเขาจะไม่คืนที่ดินและสิ่งอื่นๆ ให้กับมิสซังตราบใดที่เขาได้เป็นนายอำเภอ ไม่มี พระสงฆ์คาท อลิกสักองค์เดียวจะสามารถตั้งกลุ่มคริสตชนในเขตหวงห้ามของอำเภอที่เขาปกครองได้ นี่เป็น คำพูดที่ชัดเจน ภายหลังการประกาศเสรีภาพทางศาสนา        โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ.1944พระสังฆราชแปร์รอสได้เข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยคนใหม่(ซึ่งพูดภาษาฝรั่งเศส ได้คล่อง) เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1944 ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1944     เขาได้เชิญพระคุณเจ้ามา สนทนากันอีกครั้งหนึ่ง พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงท่าน นี่คือ

เอกสารหมายเลข 37

 เป็นจดหมายที่ครึ่งหนึ่งเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส  อีกครึ่งหนึ่งเขียนเป็นภาษาไทยโดยใช้อักษรโรมันส ะกดตามการออกเสียง (ภาษาวัด)    ในจดหมายดังกล่าวพระสังฆราชแปร์รอสส่งจดหมายสองฉบับของท่าน หมายเลข 11, 12 และ 13/1942 ไปยังกระทรวงมหาดไทย รายงานหมายเลข 13 (เป็นการสำรวจความเสีย หายทางด้านวัตถุต่างๆ) พระคุณเจ้าได้เพิ่มวัดโนนแก้วซึ่งเพิ่งถูกวางเพลิงเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ไว้ด้วย ดูเอกสารหมายเลข 34

 ต่อจากนี้ ในหน้าถัดไป   ท่านจะได้พบตารางแสดงความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆเป็นเอกสารที่ได้ เสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยคนใหม่

อกสารหมายเลข 13/1942, 1946

สภาพความเสียหายทางด้านวัตถุต่างๆ โดยผลของการเบียดเบียนศาสนา

จังหวัดฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว)

อำเภอ บางคล้า    วัด ปากคลองท่าลาด

ความเสียหาย วัด, บ้านพักพระสงฆ์, คอนแวนต์ และโรงเรียน 2 แห่ง ถูกทำลายอย่างราบคาบ ทรัพย์สิน, ศาสนภัณฑ์ และระฆัง 3 ใบ ถูกขโมย, ที่ดินถูกขาย

อำเภอ พนม สารคาม วัดท่าเกวียน

ความเสียหายวัด,  บ้านพักพระสงฆ์,คอนแวนต์, โรงเรียน,ทรัพย์สิน,ถูกทำลายหมด

จังหวัดปราจีน

อำเภอปราจีน  วัด แหลมโขด

ความเสียหาย วัดถูกปล้น, รูปปั้นต่างๆ  ถูกทุบทำลาย

อำเภอ ศรีมหาโพธิ วัดโคกวัด

ความเสียหาย วัด, บ้านพักพระสงฆ์, ฯลฯ ถูกเผาทำลาย, เครื่องเรือนต่างๆ  ถูกเผาหมด

จังหวัดชลบุรี

อำเภอ พนัส วัดพนัส

ความเสียหาย วัดถูกทำลายครึ่งหนึ่ง,บ้านพักพระสงฆ์และคอนแวนต์ถูกทำลายเช่น เดียวกัน, ศาสนภัณฑ์,   รูปปั้นถูกทุบทำลาย,   สุสานและหลุมฝังศพถูกทำลาย, ที่ดินถูกใช้กำลังเข้ายึดครอง

อำเภอหัวไผ่

ความเสียหาย วัดถูกบุกรุก, ที่ดินถูกยึดครอง

อำเภอชลบุรี วัดบางปลาสร้อย

ความเสียหาย วัดและบ้านเรือนถูกบุกรุก

อำเภอศรีราชา   วัดศรีราชา

ความเสียหาย บ้านเณรเล็กถูกบุกรุกและปล้น

จังหวัดพิษณุโลก

อำเภอพิษณุโลก วัดพิษณุโลก

ความเสียหาย วัด และบ้านพักพระสงฆ์ถูกบุกรุก,

หอระฆังถูกทำลาย,   ที่ดินถูกยึดครอง

จังหวัดโคราช

อำเภอพิมาย วัดโนนแก้ว

ความเสียหาย วัดถูกเผา