หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1932 โดยเปลี่ยนจากการปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย   พันเอกหลวงพิบูลสงครามขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1938 รัฐบาลชุดนี้มีความรู้สึกชาตินิยมสูง ในขณะนั้น    ญี่ปุ่นซึ่งยึดแมนจูเรียได้ กำลังดำเนินนโยบาย ขยายอิทธิพลในทวีปเอเชียโดยใช้คำขวัญว่า "เอเชียสำหรับชาวเอเชีย"   เพื่อต่อต้าน ลัทธิจักรวรรดินิยมของชาวตะวันตกในทวีปเอเชีย  นโยบายนี้นับได้ว่าสอดคล้องกับลัทธิชาตินิยมซึ่งกำลัง ก่อตัวขึ้นในประเทศไทย

สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939     รัฐบาลไทยประกาศตัวเป็นกลาง และหวั่นเกรงว่า ปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและอังกฤษ (ซึ่งปกครองพม่าอยู่ในขณะนั้น)   และระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (ซึ่งปกครองอิ นโดจีนอยู่ในขณะนั้น) อาจจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างกัน    จึงขอปรับปรุงเส้น เขตแดนกับอังกฤษและฝรั่งเศส การดำเนินการนี้เป็นผลสำเร็จกับอังกฤษแต่ล้มเหลวกับฝรั่งเศส

 ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ตาม ชายแดนอินโดจีนและตามน่านน้ำบริเวณเกาะช้าง ซึ่งเราเรียกกันโดยรวมว่า   "สงครามอินโดจีน"  ในที่สุด ประเทศญี่ ปุ่นได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทนี้  โดยมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ประเทศไทยได้รับดินแดนคืนจากฝรั่งเศส   คือดินแดนทั้งหมดที่ไทยเคยสูญเสียให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1904 และปี ค.ศ. 1907  สาเหตุประการหนึ่งที่ฝรั่งเศสจำต้องยกดินแดนคืนให้ไทยก็คืฝรั่งเศส ปราชัยต่อเยอรมัน และลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับเยอรมันในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940