หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

 ปัญหาทางการเมืองกับประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสยึดไซ่ง่อนได้ในปี ค.ศ. 1859  และเวียดนามต้องรับรองโคชินจีนในฐานะเป็นอาณานิคมของ ฝรั่งเศส โดยการใช้อาณานิคมใหม่นี้เป็นฐาน   ฝรั่งเศสได้ขยายอิทธิพลไปสู่ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นเมืองขึ้น ของประเทศสยาม กัมพูชากลายเป็นประเทศที่อยู่ในอารักขาของฝรั่งเศสเมื่อเจ้านโรดมแห่งกัมพูชาลงพระ นามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1863 ยอมอยู่ภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส ประเทศสยามไม่ อยู่ในฐานะที่จะต่อต้านแ รงกดดันของฝรั่งเศสได้  ดังนั้นประเทศสยามจึงได้ลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 รับรู้ถึงการอารักขาของฝรั่งเศสเหนือประเทศกัมพูชา

 ในปี ค.ศ. 1883 ฝรั่งเศสยึดตังเกี๋ยได้   และในปีต่อมา อันนัมก็ต้องรับรู้ถึงการปกครองของฝรั่งเศส  ฝรั่งเศสเวลานี้จึงมุ่งไปยังประเทศในแถบตะวันตก ได้แก่ ประเทศลาว  และประเทศสยาม ฝรั่งเศสอ้างว่า ประเทศลา วเคยส่งบรรณาการให้แก่เวียดนาม       ดังนั้น ประเทศลาวจะต้องถูกส่งมอบคืนให้แก่ฝรั่งเศส ประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสเจรจากันเพื่อจัดการกับข้อโต้แย้งต่างๆ ในระหว่างปี ค.ศ. 1886-1887 และประเทศสยามถูกบังคับให้มอบดินแดนสิบสองจุไท รวมทั้งหัวพันทั้งห้าทั้งหก ให้แก่ฝรั่งเศส

 ในปี ค.ศ. 1890 ฝรั่งเศสเริ่มอ้างถึงดินแดนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของ ปร ะเทศลาว ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งอันชอบธรรมของอาณาจักรเวียดนามเก่าและดังนั้นจึงต้องเป็นส่วนหนึ่ง ของอินโดจีนฝรั่งเศสด้วย

หลังจากเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามชายแดน ฝรั่งเศสก็ได้แสดงแสนยานุภาพด้วยการส่งเรือปืนเข้ามา ในแม่น้ำเจ้าพระยา มุ่งสู่กรุงเทพฯ และเพื่อผดุงเอกราชของตนเองไว้       ประเทศสยามจึงต้องยอมแพ้ต่อ ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1893     ประเทศสยามลงนามในสนธิสัญญากับประเทศฝรั่งเศส มอบดินแดนจำนวน 143,800 ตารางกิโลเมตรและสิทธิสภาพนอกอาณาเขต    สำหรับฝรั่งเศสในประเทศ สยามด้วย ฝรั่งเศสยึดจันทบุรีเป็นประกัน   ในขณะที่ประเทศสยามตกลงที่จะถอนทหารออกจากชายแดน ทางตะวันออก

 ฝรั่งเศสขยายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของตนในประเทศสยามออกไปอย่างมาก   ไม่ใช่แต่เพียงให้ สิทธินี้แก่ชาวฝรั่งเศสเท่านั้น แต่ยังให้สำหรับชาวยุโรปและชาวเอเชีย        รวมทั้งผู้ที่ลี้ภัยจากดินแดนใน ปกครองของป ระเทศฝรั่งเศส และลูกหลานของพวกเขาซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศสยามด้วย ด้วยกระบวนการ ดังกล่าวนี้ชาวเอเชียต่างชาติจำนวนมากมายไม่ต้องขึ้นต่ออำนาจการปกครองของประเทศสยามสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตเหล่านี้ก่อให้เกิดความยุ่งยากลำบากต่อเจ้าหน้าที่ไทยในการปกครอง  ไม่ว่าจะเป็นในเมือง หลวง หรือตามจังหวัดต่างๆ ประเทศสยามวางนโยบายที่จะพยายามนำเอาการปกครองอันชอบธรรมของ ตนกลับคืนมา นโยบายนี้ก็คือทำการตกลงที่จะมอบดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส ดังนั้น จึงเกิดสนธิสัญญา ขึ้นในปี ค.ศ. 1904 และปี ค.ศ. 1907กับประเทศฝรั่งเศ ส   ประเทศสยามต้องมอบดินแดน 2 แห่งให้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ได้แก่ ดินแดนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ชื่อว่า ปักลาย  (Paklai คือเมืองไล เมืองสำคัญ ทางเหนือของแคว้นสิบสองจุไทย) ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลวงพระบางและจำปาศักดิ์ ในปี ค.ศ. 1904 และในปี ค.ศ. 1907 ประเทศสยามได้มอบดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐ ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส

ในทางกลับกัน ประเทศสยามได้รับอำนาจการปกครองเหนือผู้ที่อยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศส ทุกคน แต่ประโยชน์ด้านนี้ไม่มีความสำคัญอะไรมากมายนัก  ความสัมพันธ์กับประเทศฝรั่งเศสเริ่มดีขึ้นเมื่อ นักกฎหมายชาวฝรั่งเศสได้รับมอบหมายให้จัดการประชุมเพื่อจัดทำกฎหมายไทย

 ทันทีที่ประเทศฝรั่งเศสยึดตังเกี๋ยและอันนัมได้ในระหว่างปี 1883-1884 พระสังฆราชยัง หลุยส์ เวย์ ตระหนักว่าเหตุการณ์ทางการเมืองต้องก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อมิสซังสยาม      ท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ใน จดหมายของท่านว่า:

“เราไม่อาจทำลายความคิดที่ว่า   ปัญหาทางศาสนาเป็นการเชื่อมโยงกับปัญหาทางการเมือง คนต่างศาสนาทุกคนก็เช่นเดียวกับคริสตชน        มองเห็นการแทรกแซงของชาวฝรั่งเศสใน ประเทศอันนัม (ญวณ)    ว่าเป็นการเข้าข้างหรือไม่เข้าข้างคริสตัง หลังจากความสำเร็จหรือ ความไม่สำเร็จของชาวฝรั่งเศส

พระสังฆราชเวย์ยังสังเกตเห็นว่า         ชาวสยามนั้นไม่สามารถแยกแยะระหว่างคริสตชนและชาว ฝรั่งเศสได้ วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี ค.ศ. 1893  ก่อให้เกิดความเห็นทั่วไปว่า คริสตชนคือผู้ช่วยของ ชาวฝรั่งเศส ดังนั้น คริสตชนจึงเป็นเหมือนกับศัตรูของประเทศชาติ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ:

ความขัดแย้งทางการเมืองทำให้การกลับใจเป็นจำนวนมากต้องหยุดชะงักอย่างฉับพลัน”

ทุกคนกำลังรอคอยให้การทะเลาะวิวาททางการเมืองนั้นสิ้นสุดลง   พระสังฆราชเวย์รำพันว่า หาก ฝรั่งเศสเพียงแต่แสดงตนเองให้เหมาะสมกับคำว่า "Gesta Dei per Francos" แล้วชาวสยามคงจะตาสว่าง ขึ้นเป็นแน่:

“เราอาจกล่าวได้ว่า       การดำเนินชีวิตของชาวฝรั่งเศสจะเป็นการดำเนินชีวิตของชาวสยาม พระเจ้าของช าวฝรั่งเศสจะเป็นพระเจ้าของชาวสยาม  โชคร้ายเหลือเกินที่เพื่อนร่วมชาติของ เราบางคนได้รับอิทธิพลของการไม่มีศาสนา และตัวอย่างที่ไม่ดี”

คุณพ่อปีโอ ด็องต์ เขียนจดหมายถึงกรุงปารีสว่า   ประชาชนไม่เคยเกิดความลังเลเช่นนี้มาก่อนเลย ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุการณ์ทางการเมืองซึ่งไม่มีใครรู้ว่าผลจะออกมาเช่นไร ประเทศสยามกำลังอยู่ในระหว่าง การเปลี่ยนแป ลง และหากว่ายังคงอยู่ในสภาพเช่นนี้แล้ว      มิสซังสยามก็จะยังไม่สามารถทำอะไรใหญ่โต ได้เลย

ประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศสต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองนี้ไปจนถึงปีค.ศ.1907ประเทศ สยามยอมยกดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐให้แก่ฝรั่งเศสนี่หมายความว่าเกือบตลอดช่วงสมัย ของพระสังฆราชเวย์ ท่านต้องประสบกับความกดดันทางการเมืองเหล่านี้อยู่เสมอมา นั่นคือ ต้องเผชิญกับ สถานการณ์ดังกล่าว   เวลาเดียวกันยังต้องทำงานกับประชาชนซึ่งมองดูบรรดามิชชันนารีด้วยสายตา แห่ งความเป็นศัตรู    นับว่าเป็นโชคดีของมิสซังสยามซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาล     มิสซังคาทอลิกจึง สามารถทำงานแพร่ธรรมของตนได้