หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

เจ้าอาวาสวัดโคราช และวัดโนนแก้ว

หลังจากหายป่วยแล้ว   คุณพ่อนิโคลาสได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคราชในระหว่างนี้ ได้มีโอกาสไปเทศน์เข้าเงียบให้แก่สัตบุรุษวัดบ้านหัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักจากโคราชการเข้าเงียบสิ้นสุดลงในวันที่ 19 มีนา คม ค.ศ. 1937    ซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญยอแซฟ   และมีพิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่าซึ่งมีคริสตชนถึง 74 คน ได้รับศีลนี้จากคริสตชนทั้งหมด 160 คนนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง

“คุณพ่อนิโคลาสซึ่งได้เทศน์เข้าเงียบให้กับคริสตังที่บ้านหัน     ปิดท้ายด้วยการฉลองนักบุญ  ยอแซฟ และมี พิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่า         มีคริสตังรับศีลมหาสนิททั้งหมด 74 คน จากจำนวนคริสตังทั้งหมด 160 คน นี่เป็นเรื่องที่วิเศษอย่างยิ่ง”

ที่วัดโคราช งานหลักของคุณพ่อนิโคลาสได้แก่ การสอนคำสอน  และการตามหาลูกแกะที่หลงทางหรือพวกคริสตังที่ทิ้งวัด คุณพ่อให้ความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของคริสตังและอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถนำ คริสตังกลับมาเข้าวัด และให้ลูกหลานได้เรียนคำสอนคุณพ่อสังเกตว่า สาเหตุประการหนึ่งได้แก่ความยากจนของพวกคริสตัง ที่ทำให้พวกเขาต้องแยกย้ายกันไปหากินตามที่ต่างๆ เมื่อยู่ห่างจากวัด พวกเขาก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ ฟังเทศน์หรือเรียนคำสอน ลูกหลานก็ถูกทิ้งให้อยู่กับคนต่างศาสนา ไม่มีโอกาสได้รับศีลล้างบาป เพราะได้รับการเลี้ยงดูจากคนต่างศาสนา ดังนั้น  การกลับใจจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะคนต่างศาสนาไม่ยอมให้ไปเรียนคำสอน   คุณ พ่อเชื่อว่าผู้ที่ไม่ได้สวดภาวนา ก็ไม่ได้รับพระหรรษทานซึ่งพระเป็นเจ้าประทานให้แก่ผู้มีความไว้วางใจ หลังจากใช้เวลาพอสมควรคุณพ่อกล่าวว่า บัดนี้คุณพ่อมีผู้ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาปหลายคน แต่ยังไม่ล้างบาปให้เพราะความเชื่อยังไม่มั่น คงเพียงพอ

“จากภาคเหนือสุดของมิสซัง ให้เราหันมาดูทางภาคตะวันออกบ้าง คุณพ่อนิโคลาส ซึ่งเวลานี้ดูแลรับผิดชอบวั ดที่โคราช เสริมข้อคิดเห็นต่างๆ ในรายงานของท่านซึ่งข้าพเจ้าได้แปลสรุปดังนี้:

พวกคริสตังส่วนมากยากจน ด้วยเหตุนี้จึงกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ  เมื่ออยู่ห่างจากวัด พวกเขาก็ขาดโอกาสที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ได้บ่อยครั้งทั้งยังไม่ได้ฟังการเทศน์และไม่ได้ฟังคำสอน พวกเขากลายเป็นคนเฉื่อยชาไปอย่างน่าอนาถ     เมื่อพวกหญิงสาวไม่มีโอกาสได้แต่งงานกับหนุ่มคริสตัง ก็ไปอยู่กินกับคนต่างศาสนา; พวกเธ อละอายไม่กล้ามาวัดสวดภาวนาหรือร่วมมิสซา; พวกลูกๆ ก็มิได้รับศีลล้างบาป และได้รับการเลี้ยงดูอย่างลูกคนต่างศาสนา คนเหล่านี้ที่อยู่กินกันอย่างไม่ถูกต้อง กลับใจยากมาก เพราะฝ่ายคนต่างศาสนาไม่ยอมมาเรียนคำสอนบางครั้งฝ่ายหญิงก็เป็นอุปสรรคเสียเองผมมีผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาปหลายคนซึ่งเรียนคำสอนมานานแล้วผมยังไม่กล้าโปรดศีลล้างบาปให้    เพราะผมยังไม่ค่อยแน่ใจในความมั่นคงของพวกเขาเพียงพอ”

คุณพ่อนิโคลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีความสามารถในการเทศน์เป็นอย่างมาก  ท่านได้รับเชิญไปเทศน์ตามที่ต่างๆ อยู่เสมอ เช่น วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1938  ท่านเป็นประธานในมหาบูชามิสซาฉลองวัดบ้าน เล่า นครนายก ท่านเทศน์ได้อย่างน่าฟังจับใจ เป็นต้น

“เมื่อวันที่ 6 มกราคม ศกนี้ (1938) เป็นวันครบรอบของการฉลองวัดพระยาสามองค์ ตำบลบ้านเล่า... มหาบู ชามิสซาใหญ่เริ่มเวลา 8.00 น.         โดยคุณพ่อนิโคลาส เป็นผู้ประกอบพิธี ท่านได้เทศน์อย่างน่าฟังจับใจ...”

 และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา คุณพ่อนิโคลาสได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลกลุ่มคริสตชนที่วัดโนนแก้วด้วย จากจดหมายที่ท่านเขียนถึงพระสังฆราชแปร์รอสหลายฉบับ ทั้งจากโคราชและโนน แก้ว แสดงให้เห็นถึงควา มเอาใจใส่ที่ท่านมีต่องานที่รับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่ใช้ในบทภาวนาต่างๆ ของพระศาสนจักรในเวลานั้นอีกด้วย เรายังพบได้อีกว่า  คุณพ่อนิโคลาสมีความห่วงใยต่อเพื่อนพระสงฆ์เสมอ     และได้พยายามหาทางช่วยเหลืออย่างเต็มที่ให้หลุดพ้นจากหนี้สิน รวมทั้งให้กำลังใจอยู่เสมอๆ เท่าที่สามารถ และจากความเป็นห่วงเป็นใยทั้งพระสงฆ์และบรรดาคริสตชนที่ท่านมีอยู่ตลอดเวลานี้เอง ท่านก็ทำหน้าที่นี้จนกระทั่งถูกจับและถูกกล่าวหาว่ า "เป็นแนวที่ 5 ของฝรั่งเศส" ในปี ค.ศ. 1941