หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

งานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทย

ปี ค.ศ. 1930 คุณพ่อมิราแบลเริ่มขยายงานทางภาคเหนือ ท่านขอพระสังฆราชแปร์รอสให้ส่ง พระสงฆ์องค์หนึ่งไปแทนท่านที่พิษณุโลก   และขอให้คุณพ่อนิโคลาสไปทำงานร่วมกับท่านที่เชียงใหม่แต่งานนี้ไปเริ่มกันที่จังหวัดลำปาง คุณพ่อมิราแบลขอให้คุณพ่อนิโคลาสประจำอยู่ที่ลำปาง   ส่วนตัวท่านเองขึ้น ไปเชียงใหม่ ที่ลำปาง คุณพ่อนิโคลาสพยายามติดตามพวกคริสตังที่ทิ้งวัดให้กลับมาเข้าวัด งานนี้เป็นงานที่ลำบากและประสพความสำเร็จยาก แต่เป็นงานที่ได้บุญมาก

“ที่ลำปาง คุณพ่อนิโกเลาพยายามตามหาแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่งกลับเข้าคอก งานนี้เป็นงานที่ยากลำบากแล ะมีผลยาก แต่ก็ยิ่งมีบุญมาก  กลุ่มคริสตังใหญ่ 2 แห่งทางภาคเหนือนี้ นับเป็นแหล่งงานใหม่ที่เปิดให้ทำการแพร่ธรรมและเชิญชวนให้บุกเบิก ให้เราภาวนาขอเจ้าของนาเถิด เพราะการที่จะเก็บเกี่ยวได้มากนั้น ย่อมสุดแต่พระองค์ท่านจะโปรด”

คุณพ่อวิกตอร์ ลารเก ผู้ติดตามหลักฐานต่างๆ    เกี่ยวกับคุณพ่อนิโคลาส ยังได้กล่าวไว้ด้วยว่าในปี ค.ศ. 1930 นี้เอง คุณพ่อนิโคลาสได้สร้างวัดน้อยหลังแรกขึ้น   นี่แสดงว่างานที่ยากลำบากและมีผลยากนี้ คุณพ่อนิโคลาสไม่เคยท้อถอยเลย และมุ่งมั่นพยายามจนบังเกิดผล

 วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1931  คุณพ่อมิราแบลได้ขอให้พระสังฆราชแปร์รอสส่งพระสงฆ์องค์หนึ่ง ไปอยู่กับคุณพ่อนิโคลาสที่ลำปาง เพื่อคุณพ่อนิโคลาสจะได้สามารถมาช่วยงานบุกเบิกที่เชียงใหม่กับท่าน ได้อย่างเต็มที่

“ข้าพเจ้าเชื่อในขณะนี้ว่า เราจะเกิดผลสำเร็จในการทำงานชิ้นใหญ่นี้ในสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพระคุณเจ้าจะส่งพระสงฆ์บางองค์มาที่ลำปางกับคุณพ่อนิโคลาส เหมือนที่ข้าพเจ้าได้แสดงความปรารถนากับท่านไปแล้ว    อีกอย่างหนึ่งจำเป็นจะต้องให้พระสงฆ์ที่มา ทำหน้าที่แทนคุณพ่อนิโคลาส     เพื่อให้คุณพ่อนิโคลาสมาช่วยงานของข้าพเจ้าเพื่อข้าพเจ้าจะสามารถให้คุณพ่อนิโ คลาสทำงานที่นี่หรือที่อื่นตามแต่สภาพแวดล้อม และความจำเป็น”

และวันที่ 18 มกราคมปีเดียวกัน คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสก็เข้าประจำอยู่บนที่ดินซึ่งคุณพ่อมิราแบลได้ซื้อไว้ที่เชียงใหม่ เป็นอันว่างานบุกเบิกที่เชียงใหม่ได้ลงหลักปักฐานแล้ว

 งานแพร่ธรรมที่เชียงใหม่นี้ดำเนินไปด้วยดีด้วยความร่วมมือจากคณะนักบวชหญิงพื้นเมือง  ภคินีคณะอุร์สุลิ น และภราดาคณะเซนต์คาเบรียล ที่ไปเปิดโรงเรียน 3 แห่งขึ้น คุณพ่อมิราแบลพยายามทุกวิถีทางที่จะขยายงานต่อไป อันที่จริง  คุณพ่อมิราแบลได้ขออนุญาตกลับประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปเป็นฤาษีที่คอนแวนต์ เดอ ชาร์เตรอซ (Couvent de Chartreux) แต่ในที่สุดการตัดสินใจจากกรุงปารีสก็ทำให้ท่านยินยอมอยู่ทำงานนี้ต่อไปอีก 3 ปี

 คุณพ่อมิราแบลรายงานไปยังกรุงปารีสเพื่อขอความสนับสนุนทั้งทางด้านบุคลากรและการเงิน รวมทั้งได้ชี้แ จงให้เห็นว่า นอกเหนือจากเชียงใหม่และลำปางแล้ว สถานที่ซึ่งน่าสนใจมากในการขยายงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือนี้คือ เชียงราย, หลวงพระบาง และแคว้นฉานนอกจากนี้ยังมีงานที่สามารถแพร่ธรรม ได้กับพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ในภาคเหนือนี้อีกด้วย  และนี่เป็นที่มาของข้อเสนอของคุณพ่อมิราแบลที่จะ เดินทางเข้าไปสำรวจในป่า และติดต่อกับกลุ่มคนเหล่านี้เป็นครั้งแรก

หลังจากเชียงใหม่และลำปาง       เมืองหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดทางภาคเหนือคือเชียงรายอย่าง แน่นอน  เชี่อมต่อจากลำปางด้วยถนนที่สวยงามสายหนึ่งซึ่งมีระยะทาง 250 กิโลเมตร จาก เมืองนี้การติดต่อจะทำได้ง่ายกับหลวงพระบางและมิสซังอิตาเลียนของรัฐฉาน(แคว้นฉาน)..”

“พวกอเมริกันโปรเตสตันท์ซึ่งได้เข้าไป (เผยแพร่ศาสนา) ในชนบท   ไม่สนใจชนชาติอื่นเลย นอกจากพวกค นลาวเพียงกลุ่มเดียว     และได้ปล่อยปละละเลยพวกชาวป่าชาวเขาต่างๆ อันได้แก่พวกฉาน, กะเหรี่ยง, มูเซอ, ขมุ  ซึ่งดูเหมือนเป็นพวกที่น่าสนใจในเวลานี้ ข้าพเจ้าหวังจะมีโอกาสสักเล็กน้อยเพื่อเดินทางไปสำรวจในป่าเหล่านี้ เพื่อดูให้แน่ชัดและทำการติดต่อเป็นครั้งแรก...

“ด้วยความไว้วางใจอย่างเต็มเปี่ยมในพระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้า ผู้แทนพระสันตะปาปาของกรุงเทพ ฯ ไม่ลังเลใจที่จะรับภาระเพื่อเดินหน้าต่อไป และไม่ยอมที่จะเสียโอกาสที่เอื้ออำนวย ให้เราขอพระพรเพื่อให้ความช่วยเหลือต่างๆ มาถึงโดยไม่ล่าช้า และเพื่อสิ่งต่างๆ ที ่ได้ทำมาแล้วและสิ่งที่จะทำต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้”

คุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมงานแพร่ธรรมกับคุณพ่อมิราแบลอย่างใกล้ชิด ตามที่คุณพ่อมิราแบลมีความ ประสงค์มาตั้งแต่แรกที่เมืองน่านคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้เดินทางไปสำรวจลู่ทางการประกาศพระศาสนา พร้อมทั้ง ดูความเป็นไปของพวกโปรเตสตันท์ที่นั่น คุณพ่อนิโคลาสได้พบคริสตชนบางคน ท่านจึงอยู่สอนคำสอนและเตรียมเด็กๆ     บางคนที่จะรับศีลล้างบาปและศีลมหาสนิทครั้งแรก โดยให้คุณพ่อมิราแบลกลับเชียงใหม่โดยลำพัง

“ในจดหมายของพระคุณเจ้า ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พระคุณเจ้าได้ถามข้าพเจ้าถึงเรื่องการ

เดินทางไปเมืองน่านที่ข้าพเจ้าได้ไปมาแล้ว มันเป็นการเดินทางที่ดีมาก ข้าพเจ้าเดินทางไป โดยมีคุณพ่อนิโคล าสเป็นเพื่อนเดินทาง การเดินทางใช้เวลารวดเร็วในฤดูแล้ง เมื่อเทียบกับฤดูอื่นคือใช้เวลา 8-9 ชั่วโมงโดยรถบัสจากเด่นชัย ในระหว่างฤดูฝนไม่สามารถเดินทางโดยรถบัสได้ เพราะ 2 ใน 3 ของเส้นทางเต็มไปด้วยน้ำ

เราได้พักแรมที่บ้านครูโลอา (Loha) หัวหน้าหมู่บ้าน เริ่มพักที่บ้านพักของทางราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน มาถึงเย็นวันพุธ     ข้าพเจ้าได้ออกเดินทางต่อไปในเช้าวันศุกร์ แต่คุณพ่อนิโคลาสยังคงพักอยู่ต่อไปอีก 2-3 วัน หรือม ากกว่านั้น เพื่อทำการสอนคำสอนพวกคริสตังบางคนซึ่งพบที่นั่นและเพื่อเตรียมเด็กๆ บางคนที่รับศีลล้างบาปและศีลมหาสนิทครั้งแรก”

เราพบว่าในปี ค.ศ. 1931-1932 นี้เองคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมเดินทางไปประกาศศาสนาทางภาคเหนือหลายแห่งด้วยกัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1932      คุณพ่อนิโคลาสเดินทางมาที่เวียงป่าเป้าเป็นครั้งแรก มีผู้สมัครเรียนคำสอน 12 ครอบครัว คุณพ่อนิโคลาส ได้สอนคำสอนให้แก่ครอบครัวเหล่านี้ และเวลาต่อมาก็มีผู้ สมัครเรียนเพิ่มขึ้นอีกหลายครอบครัว โดยใช้บ้านของคริสตังผู้หนึ่งเป็นวัดชั่วคราวในช่วงระยะเวลาที่อยู่เวียงป่าเป้านี้เอง คุณพ่อนิโคลาส ได้มีโอกาสไปที่เมืองพานจังหวัดเชียงราย ทุกคืนคุณพ่อได้สอนคำสอนและมีการถวายบูชามิสซาวัดแม่ริมต้องนับเป็นวัดแรกต่อจากวัดที่เชียงใหม่ซึ่งคุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้ขยายงานแพร่ธรรมออกไป จากนั้นก็ต่อไปยังเชียงดาว    คุณพ่อทั้งสองได้สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นที่นั่นด้วย

 ตลอดระยะเวลา 2 ปีแรกที่เชียงใหม่ คุณพ่อทั้งสองได้ทำงานอย่างหนัก   เดินทางอยู่ตลอดเวลา คุณพ่อนิโคลาสพยายามติดตามงานและหาครูคำสอนเพื่อไปสานงานต่อจากที่ท่านได้ทำไว้  ตามสถานที่ต่างๆ คุณพ่อนิโคลาสเขียนจดหมายถึงพระสังฆราชแปร์รอส ลงวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1932 ว่า

ทุกวันลูกอยู่สบายดี ทุกวันก็ไปแปลคำสอนตามบ้าน มีอยู่ 7-8 บ้านเป็นต้น     จะได้การทุกบ้านหรือ ยังเอาแน่ไ ม่ได้ เวลานี้ได้ใช้ซินแสไปเทศนาที่เมืองพานและเชียงราย ราว 2-3 อาทิตย์จะกลับ ถ้าได้การ คราวหลังจะใช้ไปอีก"

ในระหว่างนี้ คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสก็จัดเตรียมการเพื่อออกเดินทางไปสำรวจเส้นทางทางภาคเหนือตามที่คุณพ่อมิราแบลเคยเสนอเอาไว้ นั่นคือ   เส้นทางเชียงใหม่ แม่สะเรียง-ผาปูน-ร่างกุ้ง-มัณฑะเล กลับทางเชียงตุง-เชียงราย-ลำปาง ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6 อาทิตย์

“จะออกเดินทางวันที่ 7 ไปแม่สะเรียง ผาปูน ร่างกุ้ง มัณฑะเล กลับทางเชียงตุง และลำปาง เห็นจะต้องกินเวลา 6 อาทิตย์”

 การเดินทางสำรวจเส้นทางครั้งนี้ ได้มีการเตรียมการไว้อย่างดี  จากจดหมายของคุณพ่อนิโคลาสซึ่งเขียนจากอาสนวิหารเมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า ถึงพระสังฆราชแปร์รอส เพื่อรายงานการเดินทางครั้งนี้ เราพบว่ากลุ่มคริสตชนต่างๆ ในเขตประเทศพม่านั้น   ได้รับทราบการเดินทางมาของคุณพ่อทั้งสองแล้ว พระสงฆ์ที่ประจำอยู่ตามที่ต่างๆ ร วมทั้งที่ร่างกุ้งเอง   ก็ได้ให้ความช่วยเหลือในระหว่างการเดินทางของคุณพ่อทั้งสองด้วย คุณพ่อนิโคลาสได้เล่าถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ท่านได้พบในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยากลำบากในการเดินทาง สภาพของกลุ่มคริสตชนต่างๆ      การดำเนินงานทางศาสนาของพวกโปรเตสตันท์ และที่สำคัญก็คือ โอกาสในการประกาศศาสนาแก่ชนกลุ่มต่างๆที่ท่านได้พบ ในครั้งนี้ และเมื่อคุณพ่อนิโคลาสเดินทางกลับมาถึงลำปางแล้ว    ยังได้เขียนรายงานต่ออีกฉบับหนึ่ง ท่านกล่าวว่า

"การเดินทางนี้ทำให้ลูกเปิดหูเปิดหน้าได้รับความรู้หลายอย่างเป็นต้นในการประกาศศาสนาของพระเจ้า"

 เป็นที่น่าสังเกตว่า คุณพ่อนิโคลาสเป็นนักเขียนที่ดีมากคนหนึ่ง  ท่านสามารถบรรยายทุกอย่างได้อย่างละเอียดลออ ท่านบันทึกการเดินทางของท่านไว้   และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นท่านยังได้จัดส่งบทความของท่านในชื่อว่า "จ ดหมายเหตุรายวัน การเยี่ยมมิสซังพม่า"   ตีพิมพ์ในหนังสือ "สารสาสน์" ซึ่งเป็นนิตยสารของคาทอลิกในเวลานั้น    บทความนี้มีความยาวมากและตีพิมพ์ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาถึง 4 เดือน นับจากเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1933    คุณพ่อนิโคลาสได้สรุปการเดินทางครั้งนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า

"ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปโดยสวัสดิภาพที่สุด     ด้วยพระมหากรุณานุภาพแห่งองค์พระเป็นเจ้า ผู้ทรงมหิทธิศัก ดาภินิหารล้นเลิศในสากลพิภพอันไพศาล      ดลบันดาลให้เราสบสุขทุกทิวาราตรีตลอดขาไปและขากลับถ้วนทุกประการ"

อันแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจในพระเป็นเจ้า งานเขียนของคุณพ่อนิโคลาสจึงเป็นเหมือนดั่งบทรำพึงถึงพระเมตตากรุณา และความยิ่งใหญ่แห่งความรักของพระเป็นเจ้าที่มีต่อตัวท่านเอง ซึ่งท่านก็ตั้งใจจะรับใช้พระองค์ในงานขยายพระอาณาจักรของพระองค์ต่อไป

 จากรายงานนี้ทำให้พระสังฆราชแปร์รอสมีความยินดีและกระตือรือร้นในงานแพร่ธรรม   ทางภาค เหนือมากขึ้น ท่านทราบว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่บรรดาชาวเขาเผ่าต่างๆ จะรับความเชื่อคาทอลิกดังที่เกิดขึ้นในพม่า ท่านจึงขอบุคลากรเพิ่มขึ้นเพื่อให้ความหวังนี้ประสพผลโดยเร็ว

 การเดินทางไปเยี่ยมมิสซังพม่าครั้งนี้ นับว่ามาจากความกระตือรือร้นในการแพร่ธรรม สภาพต่างๆ ทางเชีย งใหม่มีความคล้ายคลึงกับทางพม่ามาก ประชากรก็มาจากชาวเขา และมีการประกาศศาสนาของพวกมิชชันนารีโปรเตสตันท์อยู่ด้วย   คุณพ่อมิราแบลและคุณพ่อนิโคลาสได้พบกับวิธีการในการประกาศศาสนา ผลที่ได้รับ และความสัมพันธ์กับพวกโปรเตสตันท์  เป็นประสบ-การณ์และความรู้ที่สามารถนำมา ใช้ได้กับงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

“ข้าพเจ้าได้ทำความรู้จักอย่างจริงจังกับมิสซังพม่า ได้เห็นการทำงานกับชาวเขาจำนวนมาก ซึ่งเหมือนกับที่เราทำที่เชียงใหม่ ได้เห็นวิธีการ ผลที่ได้รับ  การติดต่อกับพวกโปรเตสตันท์ เป็นต้น ข้าพเจ้าจะบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างอย่างละเอียดและส่งให้พระคุณเจ้า   ข้าพเจ้าคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นประโยชน์มากสำหรับตัวข้าพเจ้าเอง”

 ไม่นานนักหลังจากกลับจากพม่า คุณพ่อมิราแบลรายงานให้ทราบว่า   คุณพ่อนิโคลาสจะออกเดินทางไปสำรว จตามชายแดนตอนเหนือของเชียงราย และยังสามารถเข้าไปในเขตเชียงตุง พร้อมทั้งสามารถสร้างบ้านพักในดินแดนนั้นได้ด้วยตามที่พระสังฆราชบอแนตตา        (Bonetta)แห่งมิสซังพม่าได้ยินยอมอนุญาต แต่ก็จำเป็นที่จะต้องให้คุณพ่อวินเซนเต (วรงค์ สุขพัฒน์,พระสงฆ์พื้นเมือง) เข้ามาทำหน้าที่แทนคุณพ่อนิโคลาสที่ลำปาง

 ชีวิตของคุณพ่อนิโคลาสเป็นชีวิตแห่งการแพร่ธรรมโดยแท้ ท่านได้เดินทางเสมอ และจะมีคนขอให้ท่านไปช่ วยเทศน์และเตรียมผู้ที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1933คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อวินเซนเตเดินทางไปที่จังหวัดน่าน และอยู่กับกลุ่มคริสตชนที่นั่นราว2 อาทิตย์ จากนั้นในเดือนมิถุนายนก็ได้เดินทางไปช่วยคุณพ่อเอวเยน เล็ตแชร์ (เจ้าอาวาสวัดนครชัยศรี)        เตรียมผู้ที่จะรับศีลกำลัง ก่อนเดินทาง ท่านได้ตระเตรียมงานที่ลำปางเรียบร้อยแล้ว ความเอาใจใส่ในงานอภิบาลเหล่านี้  จึงทำให้ เป็นที่ประทับใจสำหรับผู้ที่ทำงานร่วมกับท่าน   เรายังทรา บด้วยว่าวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสและคุณพ่อเรอเน เมอนิเอร์ เดินทางไปที่แม่ริมเพื่อเผยแพร่ศาสนา โดยมีความหวังว่าจะได้รับผลสำเร็จตามที่หวัง แต่คุณพ่อเมอนิเอร์ได้กล่าวว่า ภายหลังที่มาถึงแม่ริมได้ 2-3 อาทิตย์แล้ว คุณพ่อนิโคลาสพยายามเรียกให้ผู้คนมารับฟังคำสอนของท่าน แต่บางครั้งพวกเขาก็ไม่มา  จากนั้นคุณพ่อทั้งสองก็ได้เดินทางขึ้นไปทางเหนือเพื่อประกาศศาสนาต่อไป

“คุณพ่อนิโคลาสได้มาถึงเมื่อ 2-3 อาทิตย์  และเราได้ออกเดินทางเมื่อวานนี้เพื่อขึ้นเหนือถ้าพวกคริสตังตอบรั บเสียงเรียกของคุณพ่อนิโคลาสที่เรียกซ้ำแล้วซ้ำเล่า พวกเขาก็สามารถได้รับความก้าวหน้าในคำสอนคริสตัง   แต่พวกเขาค่อนข้างใจเย็นเฉยในบางครั้ง และไม่มาฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า”

ในระหว่างปี ค.ศ. 1933 คุณพ่อนิโคลาสได้ลงมากรุงเทพฯ และมีโอกาสมาช่วยงานอภิบาลแทนคุณพ่อปาสกัล (ฟิลิป ลิฟ, พระสงฆ์พื้นเมือง) ที่ล้มป่วยลงที่วัดบางเชือกหนังเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน และ ในปี ค.ศ. 1933 นี้ ส มเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11    ได้ประกาศให้เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ มอบพระคุณการุญ  ครบบริบูรณ์ให้แก่คริสตังทั่วโลก

ภายใต้การดูแลเอาใจใส่ของคุณพ่อนิโคลาส    คริสตังวัดบางเชือกหนังจึงได้รับพระคุณนี้ ท่านดูแล คริสตังที่นี่ในระยะเวลาอันสั้นก็ต้องกลับไปรับผิดชอบงานในเขตเชียงใหม่ตามเดิม

“ในปี ค.ศ. 1933      วัดบางเชือกหนังได้รับเกียรติที่มีคุณพ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งคือ คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม กฤษบำรุง หรือ บุญเกิด กฤษบำรุง    มาดูแลแทนคุณพ่อปาสกัล ประจวบ เหมาะกับในปีค.ศ. 1933 นี้เอง  สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 11 ได้ประกาศให้เป็นปีศักดิ์สิทธิ์ มอบพระคุณการุญครบบริบูรณ์แก่คริสตังทั่วโลก...

คริสตังวัดบางเชือกหนังจึงได้รับพระคุณนี้ด้วยความเอาใจใส่ของคุณพ่อนิโคลาส   แต่คุณพ่อ

นิโคลาสก็ไม่สามารถอยู่ดูแลวัดนี้ได้นานนัก    เนื่องจากคุณพ่อต้องรับผิดชอบงานแพร่ธรรมทางเชียงใหม่และลำปาง”

 เป็นที่แน่นอนว่าในระหว่างอยู่ที่เชียงใหม่นี้    คุณพ่อนิโคลาสได้ทำงานแพร่ธรรมตามที่ต่างๆ อยู่ เสมอ ที่เวียงพร้าว, เชียงดาว, เวียงป่าเป้า, ลำปาง, น่าน,  พิษณุโลก, เชียงราย และเชียงใหม่ในปี ค.ศ. 1934 คุณพ่อนิโคลาสร่วมกับบรรดาพี่น้องคาทอลิกที่ท่านได้บุกเบิกจนมีความก้าวหน้า   ได้ร่วมมือกันก่อสร้างบ้านพัก วัดน้อย และโรงเรียนขึ้น    เวลาเดียวกันพวกคริสตชนเหล่านี้ก็ให้ความช่วยเหลือในงานประกาศศาสนาของคุณพ่อด้วย นับเป็นกลุ่มคริสตชนที่มั่นคงกลุ่มหนึ่งซึ่งคุณพ่อนิโคลาสได้ก่อตั้งขึ้น

 ปี ค.ศ. 1934 คุณพ่อเมอนิเอร์ถูกส่งมาช่วยงานที่เชียงใหม่และพักอยู่กับคุณพ่อมิราแบล นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา   คุณพ่อมิราแบลทยอยมอบงานให้แก่คุณพ่อเมอนิเอร์รับผิดชอบในการขยายงานแพร่ธรรมทางภาคเหนือ และคุณพ่ อมิราแบลก็ลาออกจากมิสซังเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1934เดินทางกลับฝรั่ง เศสเพื่อไปเป็นฤาษีตรัปปิสต์ (Trappiste) ตามความตั้งใจของท่าน

 วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1936     คุณพ่อนิโคลาสป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ อันเป็นผลมาจากความเคร่งเครียดกับการทำงาน  วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1936 นายแพทย์ผู้ อำนวยการโรงพยาบา ลได้บอกว่าท่านมีอาการน่าเป็นห่วง     ต่อมาในวันที่ 23 ธันวาคม ท่านก็หายจากอาการป่วย ตามที่มีรายงานว่า

“คุณพ่อนิโคลาสได้ร่วมโต๊ะรับประทานอาหารที่อัสสัมชัญในวันนี้        หลังจากที่ได้รับศีลทาสุดท้ายมาเป็นเวลา 8 วัน นับเป็นการทำสถิติที่ไม่มีใครไม่ต้องการ”