หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

คำกล่าวของหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ

 อธิบดีกรมตำรวจคัดค้านเรื่องเบียดเบียนอย่างตรงๆแต่ท่านปฏิบัติตามคำสั่งของหลวงพิบูลสงคราม อย่างไรก็ตาม ท่านก็เป็นเพียงคนเดียวซึ่งนายกรัฐมนตรีเกรงใจ และเช่นเดียวกันคำสั่งเบียดเบียนเป็นคำสั่งลับ อธิบดีกรมตำรวจจึงกล้าผ่อนผันในหลายๆ เรื่อง  และช่วยเหลือพวกคริสตัง ผู้เขียนเอง (คุณพ่อลารเก) ก็เคยได้รับความช่ วยเหลือจากท่านหลายครั้ง ท่านเป็นมุสลิม     คำพูดของหลวงพิบูลในเรื่องเอกภาพทาง ศาสนาเป็นการข่มขู่ไม่ใช่เฉพาะต่อศาสนาคริสต์เท่านั้น แต่เป็นการข่มขู่ศาสนาอิสลามด้วย

ก. คำกล่าวของหลวงอดุล เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941

 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ      หลวงอดุลสั่งให้ชาวฝรั่งเศสซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย เ ดินทางออกนอกประเทศทันทีทันใดภายในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940ส่วนคนอื่นให้เดิน ทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ภายในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 ภายในเวลา 72 ชั่วโมง สำหรับประเด็นนี้ไม่ขอ พูดถึง

 มีรายงานว่าการเบียดเบียนศาสนาพวกคนไทยที่เป็นคาทอลิกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด, นายอำเภอ และสมาชิกคณะเลือดไทยของหลวงพิบูล ได้เริ่มขึ้นแล้ว

นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 เป็นต้นมา    มีประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับ นี่คือที่มาของ

 เอกสารหมายเลข 5/2

ซึ่งเนื้อหาโดยสรุปได้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารคาทอลิก "สารสาสน์" ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 หน้า 106-107 เป็นเนื้อหาที่นำมาจากหนังสือพิมพ์ “นิกร” ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 หน้า 2 ดังมีใจความต่อไปนี้

 “ข้อสาม ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ให้ระงับการเสียดสี ขู่เข็ญ หรือบังคับในเรื่องการถือศาสนา

 ทั้งนี้ ให้ตกเป็นหน้าที่ของตำรวจท้องที่ทั่วไป ที่จะต้องสอดส่องระมัดระวัง ..เพราะว่าในการสนับสนุน รัฐบาลในก ารปรับปรุงเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส....      บางหมู่คณะได้เป็นไปใน จำพวกรุนแรงเกินเลยขอบเขต และบ้างก็แตกความคิดเห็นเป็นหมู่เป็นคณะและเป็นบุคคล   มีการกระทบ กระทั่งเสียดสี ขู่เข็ญระหว่างกัน... บางกรณีก็มีการทุจริตเคลือบแฝงเจือปนเพื่อหาประโยชน์ส่วนตับางกรณี ก็มีการลอบทำร้ายกัน...อาจเป็นการกระทบกระเทือนแก่ชาวต่างประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย... ไม่ต้องด้วยนโยบายของรัฐบาล เป็นมูลเห ตุแห่งการเริ่มต้นที่จะก่อความไม่สงบ  ผิดศีลธรรม ผิดมนุษยธรรม หรือผิดวิธีการที่อารยชนจะพึงปฏิบัติ”

ข. หลวงอดุล

ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า“ไทยเอกราช”ในหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ท่านได้เรียกร้องอิสรภาพ ทางศาสนาต่อไป ตามรัฐธรรมนูญมาตราที่ 1 และมาตราที่ 13 ดังนี้

 เอกสารหมายเลข 1

 “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

 มาตราที่ 1 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือสาสนาใด   ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญ นี้เสมอ

 คำอธิบายของสำนักโฆษณาการ: ประชาชนไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือสาสนาใดๆ        ย่อมอยู่ในความ คุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน คนไทยหรือชาวไทย อาจพูดภาษาผิดเพี้ยนกันไปได้  และนับถือสาสนา ต่างกันก็ได้ แต่ ทั้งนี้ไม่เปนการทำให้พวกเราแตกแยกกันไป      หรือทำให้ฐานะของชาวไทยแตกต่างกันเลย รัฐธรรมนูญได้ให้ความคุ้มครองแก่ชนชาวไทยเหมือนกันหมด  ชาวไทยจึงอาจจะนับถือพระพุทธสาสนาก็ได้ สาสนาอิสลามก็ได้ หรือคริสตศาสนาก็ได้ ตามแต่ใจสมัคร

มาตรา 13 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใดๆ    และย่อมมีเสรีภาพในการ ปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เปนการปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เปนการขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรื อศีลธรรมของประชาชน”

 คำอธิบายของสำนักโฆษณาการ: มาตรานี้แสดงว่า   บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการที่จะนับถือ ศาสนาใดๆ ทั้งนั้น รัฐธรรมนูญย่อมให้ความคุ้มครองประชาชนชาวไทยซึ่งถือสาสนาต่างๆ โดยเท่าเทียมกัน หมด อนึ่ง เมื่อผู้ใดนับถือศาสนาใดแล้ว ก็ย่อมมีเสรีภาพที่จะประกอบพิธีกรรมต่างๆ       ในศาสนานั้นตาม ความเชื่อถือของตนได้ เช่น กราบไหว้บูชาสิ่งที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น...

หลวงอดุลจะทำการเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ

ค. ในขณะที่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นไม่ได้พูดถึงการกระทำที่โหดร้ายทารุณ

การเผาวัดหรือทำลายวัด การจับพวกคริสตังขังคุกหรือข่มขู่เพื่อให้ละทิ้งศาสนาหลวงอดุลพูดถึงเรื่อง นี้อย่ างชัดเจนในหนังสือพิมพ์ไทยเอกราช และถ้าใครมีโอกาสเข้าไปที่หอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรี  เขาจะ สามารถใช้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ในการทำประวัติการเบียดเบียนศาสนาระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944 ได้ แต่เจ้าหน้าที่จะห้ามเข้าไปโดยบอกว่า “ไม่มีหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชที่นี่”  และประตูก็จะไม่เปิดอีกเลย หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นหาอ่านได้ง่ายกว่า แต่สำหรับคนที่สามารถเข้าไปที่นั่นได้ ก็จะอยู่ในสายตาของพวกเจ้า หน้าที่หอสมุดตลอดเวลา พวกคาทอลิกจึงไม่กล้าไปค้นหาหนังสือพิมพ์ร่วมสมัยในสถานที่ดังกล่าว

 อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าประสพความสำเร็จในการทำสำเนาเอกสาร 2      เรื่องจากหนังสือพิมพ์ไทย เอกราชที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ และตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษร่วมสมัยชื่อ“บางกอกไทม์ส”

 เป็นเพราะหนังสือพิมพ์ดังกล่าวถูกตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จึงไม่ทำให้เจ้าหน้าที่ หอสมุดเกิดความระแวงสงสัย ความรักสัญชาติไทยอันบริสุทธิ์ของเขาไม่มีความบาดหมาง

ง. บทความจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราช

นี่คือบทความ 2 บทที่แปลจากหนังสือพิมพ์ไทยเอกราชของหลวงอดุลแปลและตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกไทม์ส บทความแรกพบได้ที่นี่ นี่คือ

 เอกสารหมายเลข 11

 ที่เริ่มต้นพูดถึงเรื่องการเลือกที่รักมักที่ชังระหว่างพวกคริสตังและชาวมุสลิมพวกหนึ่ง และชาวพุทธ อีกพวกหนึ่ง ข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทยอีกประการหนึ่ง  ข้าพเจ้า คิดว่าท่านก็มีเอ กสารฉบับนี้แล้ว ถึงแม้จะเป็นภาษาอังกฤษ

 บทความที่ 2 พูดเรื่องการเบียดเบียนอย่างตรงๆหลวงอดุลกล่าวตำหนิผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (หนองแสง), พวกนายอำเภอ และคณะเลือดไทย อย่างตรงๆ    เสแสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่องคำสั่งของการเบียด เบียน เพราะว่าคำสั่งเหล่านั้นเป็นความลับ ข้อความนี้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษซึ่งข้าพเจ้ามิได้แปลเป็นภาษา ไทย นี่คือ

เอกสารหมายเลข 12

 ตามปกติจะต้องพูดถึงต่อไป  แต่ข้าพเจ้าแยกพูดเรื่องการเบียดเบียนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับเรื่องที่เกิดขึ้นในภาคอื่นของประเทศไทย ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าจะแทรกไว้ที่ตรงไหนดี ไม่ว่าจะลงไว้ที่ไหน ก็ยังถือเป็นเอกสารอยู่ดี

 เป็นที่น่าสังเกตว่า หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์สเขียนหลายครั้งว่า หนังสือพิมพ์ไทยเอกราชได้พูดถึง เรื่องการเบียดเบียนไว้หลายครั้ง เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ไม่มีใครคิดถึงเรื่องนี้ในเวลานั้น ไม่มีใครเก็บหนังสือ พิมพ์ไว้เป็นหลักฐาน.

ข้อสังเกต

ข้าพเจ้าไปที่หอสมุดแห่งชาติด้วยตนเองพร้อมเพื่อนอีกคนหนึ่งเพื่อหาหนังสือพิมพ์ต่างๆ และพบกับนางธารา กนกมณี เจ้าหน้าที่ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้(ไทยเอกราช)  ได้อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่อง รอย ไม่มีการเอ่ยถึงร่องรอยของการเบียดเบียนในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับต่างในสมัยนั้นเลย   พวกเขา  ได้ลืมนึกถึงหนังสือพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษไป