หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

เนื้อหาความเป็นมรณสักขี

1. เหตุการณ์การจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า

29. สมัยนั้น พระสงฆ์ไทยเข้าเงียบประจำปีเวลาค่ำของวันจันทร์ หลังวันฉลองครอบครัวศั กดิ์สิทธิ์ ในปีนั้นตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1941 ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าออกจากโนนแก้ว ถึงโคราชในวันศุกร์ที่ 10 มกราคม มุ่งหน้าจะไปรับคุณพ่อเลโอนารด์ สิงหนาทผลสุวรรณ เพื่อเข้ากรุงเทพฯ ด้วยกันให้ทันวันรุ่งขึ้นคือวันเสาร์ที่ 11 มกราคม แต่ปรากฏว่าคุณพ่อเลโอนารด์ได้ฟังรายการวิทยุทุกเย็น เมื่อได้ฟังรายการ "สนทนาของนายมั่น-นายคง" อันเป็นรายการที่หว่ านความหวาดกลัวลงสู่จิตใจของพวกคริสตังทั่วประเทศ ท่านจึงตกลงใจรีบหนีไปหาที่หลบภัยที่วัดหัวไผ่ ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจึงไม่พบกับคุณพ่อเลโอนารด์ที่โคราชจึงตัดสินใจเดินทางไปวัดนักบุญยอแซฟ บ้านหัน วันที่ 11 มกราคม คิดจะรับคุณพ่ออัมบรอซิโอ กิ๊น มิลลุกูล (พ่อเตี้ย) เจ้าอาวาสวัดบ้านหันไปด้วยกัน แต่แล้วปรากฏว่าคุณพ่ออัมบรอซิโอก็ไม่อยู่แล้วเช่นเดียวกัน

ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจึงได้เรียกบรรดาคริสตังวัดบ้านหันให้มาสวดภาวนาค่ำพร้อมกัน และแจ้งให้ทุกคนมาร่วมมิสซาวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ ตรงกับวันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่พวกเขากำลังสวดภาวนาค่ำพร้อมกันอยู่นั้น วิทยุกระจายเสียงจากกรุงเทพฯ ในรายการ "สนทนาของนายมั่น-นายคง" ปลุกปั่นยุยงไปทั่ว สร้างความตื่นตระหนกแก่คริสตังทุกคน

พวกสมาชิกคณะเลือดไทยซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ เป็นคณะที่ต่อต้านฝรั่งเศสและทุกคนที่ถูกถือว่าเป็นฝ่ายฝรั่ งเศส เฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพวกคริสตัง เพราะพวกคริสตังถูกถือว่านับถือศาสนาของฝรั่งเศส

ขณะนั้น ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ากำลังก่อสวดบทเร้าวิงวอนแม่พระ และสัตบุรุษก็ตอบรับตามปกติว่า “ช่วยวิงวอนเพื่อข้าพเจ้าทั้งหลายนี้เถิด” ตามสูตรของบทภาวนาลิตาเนีย แต่สมาชิกคณะเลือดไทยที่เฝ้าดูอยู่นั้น ไปรายงานแก่นายอำเภอสีคิ้วและเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้านำบรรดาคริสตังให้สวดภาวนา “ขอให้ฝรั่งเศสชนะไทยนี้เถิด"

นับเป็นข้อกล่าวหาข้อแรกที่กระทำต่อผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า วันรุ่งขึ้นคือวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าตีระฆังเวลา 8.30 น. ตอนเช้า เพื่อเรียกให้พวกคริสตังมาวัดฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ และเหตุการณ์นี้ได้เป็นที่มาของการจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและชาวบ้านอีก 8 คน ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ขัดต่อคำสั่งการย่ำระฆัง เรียกประชุมชาวบ้านพระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้:

"ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน"

 นอกจากนี้ พระสังฆราชแปร์รอสยังเคยเขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ ในเวลานั้น เพื่อชี้แจงถึงความบริสุทธิ์ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า:

 "วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2484 (1941) นี้ บาทหลวงบุญเกิด กฤษบำรุง (นิโกเลา) ได้ถูกตำรวจจับที่วัด บ้านหัน อำเภอสีคิ้ว (จันทึก) เพราะว่าได้ตีระฆังกลางวันสำหรับประชุมคนให้มาสวดภาวนาตามธรรมเนียมทุกวันอาทิตย์ แต่กำนันไม่ให้ตีระฆังกลางคืน"

 ครูเจริญ ราชบัวขาว พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ซึ่งถูกจับและถูกขังคุกพร้อมกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้เป็นพยานว่า:

 "เจ้าหน้าที่คุมตัวนักโทษทั้งหมดไปที่สีคิ้ว... ด้านการสอบสวน ทางการพยายามใช้วิธีให้คริสตังปรักปร ำกันเอง คือได้ไปนำคริสตังมาอีก 9 คน จากบ้านหัน... ให้คนทั้ง 9 คนนี้ เป็นพยานปรักปรำว่า 9 คนที่ถูกจับเป็นพวกกบฏ เป็นแนวที่ 5 พวกเอาใจช่วยเหลือฝรั่งเศส.. พวกนักโทษถูกนำไปโรงพักซึ่งคับแคบมาก อยู่ที่นั่นราว 1 อาทิตย์จากนั้นก็ถูกล่ามโซ่เพื่อเตรียมตัวส่งไปคุกโคราช... ถูกจับขังคุกที่เรือนจำโคราชประมาณเดือนครึ่ง แล้วนักโทษทั้งหมดจึงถูกส่งไปกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ลงจากรถไฟก็มีคนมารับไปเร่ฝากขังตามที่ต่างๆ คุกปทุมวันไม่รับเ พราะเต็มมาก ได้ไปฝากขังที่ สน. พระราชวัง 1 คืน ที่สุดพาไปขังที่ศาลาแดง ถนนวิทยุ สวนลุมพินี รวมเวลาที่อยู่ในคุกศาลาแดงประมาณ 9 เดือน ในช่วง 9 เดือน ไปศาลพิเศษหลายครั้ง มีการซักพยาน ผู้ที่เป็นประธานศาลคือ พล.อ. พระขจร เนติศาสตร์ หลังจากพยายามสอบสวนและพิจารณาคดีรวมทั้งหมดราว 11 เดือน ตั้งแต่วันถูกจับ ที่สุด โดนข้อหากบฏภายนอกราชอาณาจักร ตามมาตราที่ 104/110/111 คุณพ่อนิโคลาส ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี... สถานที่ตัดสินและใช้เป็นศาลพิเศษ ได้แก่ กระทรวงกลาโหม ชั้น 3 พอตัดสินเสร็จก็นำนักโทษไปอยู่เรือนจำลห ุโทษ คลองเปรม ห้องขังสกปรก มืดทึบ มีช่องอากาศช่องเดียว คับแคบ อยู่ด้วยกัน 9 คน นั่งอัดกันอยู่ที่นี่ได้ราว 2 อาทิตย์ เขาก็ย้ายนักโทษทั้งหมดไปอยู่เรือนจำบางขวาง"

 2. ข้อกล่าวหาของท่านเกิดจากผู้ที่เกลียดชัง

 30. ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับกุมอย่างเป็นทางการและถูกกล่าวหาในหลายๆ ข้อหา ทั้งๆ ที่ท่ านเป็นผู้บริสุทธิ์ พระสังฆราชแปร์รอสรายงานว่า:

 "วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟังมิสซาในเวลา 8:30 น.ตอนเช้า ด้ วยการกระทำอันนี้ ท่านถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคื น... ในที่สุด วัน ที่ 15 พฤษภาคม ศาลพิเศษ (ไม่อนุญาตให้มีทนายและตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์) ได้พิพากษาว่าคุณพ่อและคริสตัง 8 คน ถู กฟ้องกล่าวหาว่า ได้ปฏิเสธ โดยไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข, ได้ทำการประชุม ลับเพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน, ได้สวดภาวนาเพื่อชัยชนะของฝรั่งเ ศส, ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข"

 พระสังฆราชแปร์รอสได้อธิบายต่อไปอีกและพยายามชี้ให้เห็นว่าข้อกล่าวหาเหล่านี้มีมากจนเกินไป เกินกว่าที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจะทำได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน ที่ท่านเดินทางผ่านมาที่บ้านหัน

 "จำเลยทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง (คุณพ่อนิโคลาสไม่ได้อยู่ หรือผ่านไปที่บ้าน หันในเวลา 2 วันที่ผ่านมา)"

 อันที่จริง ก่อนหน้านี้คือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายถึง หลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ แจ้งให้ทราบว่าบาทหลวงไทยถูกจับและถูกกล่าวหาโดยผู้ที่เก ลียดชัง และถูกขังโดยไม่มีความผิด

"ขอท่านอธิบดีโปรดพิจารณาความ จะได้ทราบว่าบาดหลวงบุญเกิดไม่มีความผิด ถูกคนเกลียดมาใส่ความว่าเป็ นแนวที่ 5 ที่จริงไม่เคยเป็นเลย จึงเมื่อไม่มีผิด ก็ขอให้ปล่อยตามข้อ 13 แห่งรัฐธรรมนูญ

ถ้าหากว่ามีคนอ้างว่าบาดหลวงได้ผิด ก็ขอให้ชี้แจงว่าผิดข้อไหน และเอาหลักฐานพะยานมายั่งยืน บาดหลวงจ ะได้แก้ตัว และแสดงความบริสุทธิ์ของตนได้ ไว้ใจว่าความยุตติธรรมมีอำนาจเหนือการใส่ความ"

 3. เบื้องหลังความตายของท่าน

 31. ยังคงจำได้ว่าพยาน 2 คนที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ในสมัยของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้ให้การในลั กษณะที่คล้ายคลึงกันว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในระหว่างที่อยู่ในคุก

 นายเจริญ ราชบัวขาว พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่ง ได้ให้การว่า:

 "ในระหว่างที่คุณพ่อนิโคลาสอยู่ในคุกลหุโทษ คลองเปรม ได้ราวอาทิตย์กว่าๆ คุณพ่อก็เริ่มอาการไอเพร าะอยู่ใ นห้องอับๆ และเป็นอยู่เช่นนี้ประมาณ 2 เดือน จึงได้รับการตรวจ และที่สุด ผลปรากฎว่าท่านได้รับการบอกว่าเป็นวัณโ รค ในส่วนตัวข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าคุณพ่อถูกกลั่นแกล้งให้ไปติดเชื้อวัณโรคภายหลัง เพราะตลอดเวลาที่ท่านอยู่ใน คุกไม่ว่าที่ใด ท่านก็พยายามสอนคำสอนและให้กำลังใจแก่ทุกๆ คนเสมอมา เมื่อผลออกมาว่าเป็นวัณโรคเช่นนี้ คุณพ่อ จึงถูกนำตัวไปแยกขังไว้ที่แดนวัณโรค และในระหว่างที่อยู่ในแดนวัณโรคนี้เอง คุณพ่อได้ พยายามสอนคำสอนแก่คนต่า งศาสนา รวมทั้งโปรดศีลล้างบาปให้แก่พวกเขาเป็นจำนวนมากพอควร โดยเฉพาะคนที่ใกล้จะตาย คุณพ่ออยู่ที่แดนวั ณโรคราว 2 ปีกว่า คุณพ่อก็เสียชีวิตด้วยโรควัณโรค"

 นายฮะเซี้ยง กิจบำรุง ซึ่งเป็นหลานชายแท้ๆ ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและได้มีโอกาสไปเยี่ยมท่ านหลายครั้ง ได้บอกว่า

"คุณพ่อบอกว่าเป็นโรคภายใน ให้หมอตรวจแล้ว คุณพ่อเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเมื่อเขามาเอาเลือดไปตรวจ เ ขาเอ าไปกระป๋องหนึ่ง เอามากเกินไป ในระหว่างที่คุณพ่ออยู่ในคุก ได้โปรดศีลล้างบาปให้แก่คนต่างศาสนาหลายคน"

 คุณพ่อลูเซียง มิราแบล ผู้เคยร่วมงานกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าในระหว่างการประกาศศาสนาที่ภ าคเหนือของประเทศไทย ได้บอกว่า

"หลังจากการจากมาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะติดต่อเป็นพิเศษกับเพื่อนพระสงฆ์ร่วมคณะมิสซั งต่างป ระเทศอีก แต่มีคนเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าคุณพ่อนิโคลาสได้เสียชีวิตเพราะหมดกำลัง ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกทรมานในคุก ที่เขาได้ทำให้พวกคนคุกหลายคนกลับใจ"

 เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารบันทึกไว้ ทั้งจากเรือนจำกลางบางขว าง หรือจากเรือนจำอื่นๆ อันที่จริง ก็คงไม่มีใครบันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ในเอกสารราชการ จึงเป็นแต่เพียงคำใ ห้การจากพยา นร่วมสมัย ซึ่งต่างก็แสดงให้เราเห็นถึงเบื้องหลังอันแท้จริงแห่งความตายของผู้รับใช้ของพร ะเป็นเจ้า อีกทั้งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเองก็คงไม่สามารถเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเล่าให้ใครฟังได้ เพรา ะเวลานั้นจดหมายทุกฉบับจะต้องถูกตรวจก่อนที่จะส่งออกจากคุกทุกฉบับ

 นี่คือความคิดเห็นและจดหมายของ พลโท สุนทร สันธนะวนิช เกี่ยวกับเรื่องราวที่ได้กล่าวมาแล้ว

 "เอกสารหลักฐานต่างๆ ของเรือนจำกลางบางขวาง จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นเวลา 10 ปี หลังจากนักโทษพ้นโท ษแล้ว หรือเสียชีวิต ต่อจากนั้นทางราชการเรือนจำกลางบางขวางจะรวบรวมเอกสารเหล่านี้เพื่อทำลายต่อไปทั้งนี้ กระ ผมได้สอบถามรายละเอียดเหล่านี้จากกรมราชทัณฑ์ และเรือนจำกลางบางขวางแล้ว"

 จากสาเหตุของความเกลียดชังในศาสนาคริสต์ ทำให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกใส่ความ ถูกจับ แล ะถูก ตัดสินจำคุก 15 ปี ชีวิตภายในคุกยังคงเป็นชีวิตแห่งธรรมทูต จนไม่เป็นที่พอใจของผู้ดูแลอยู่ภายในคุ กนั้น ในที่สุด หลังจากที่คุณพ่อต้องรับทุกข์ทรมานต่างๆ นานา ภายในคุกนั้นแล้ว ท่านก็เป็นวัณโรค และเ สียชีวิตภายในคุกนั้นเอง ก่อนที่กำหนดการตัดสินจำคุก 15 ปี จะสิ้นสุดลง นับเป็นความตายอันมาจากคว ามเกลียดชังในศาสนาคริสตโดยตรง เป็นวีรกรรมที่สมควรได้รับการเชิดชูขึ้นเพื่อเกียรติมงคลของพระเป็ นเจ้า และเป็นพยานยั่งยืนที่มีชีวิตเป็นความเชื่อที่ยังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเรา

 คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ ผู้ได้ทำการสอบสวนพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายๆ คน และได้รวบรวมเ อกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับกรณีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ให้การในเรื่องความตายและความเป็นมรณสักขี ว่าดังนี้:

 "ผมพบอยู่จุดหนึ่งและสงสัยมานาน เมื่อครั้งที่ผมรับหน้าที่ใหม่ๆ มีการเชิญพระคุณเจ้าเกี้ยน เสมอพิทักษ์ มาใ ห้คำแนะนำ เพราะว่าพระคุณเจ้าเกี้ยนได้เป็นผู้ดำเนินเรื่องของบุญราศีทั้ง 7 แห่งประเทศไทย มีคำถามตอ นนั้นเกิดขึ้น ว่า มรณสักขีของสองคอนถูกยิงเสียชีวิต เรื่องนี้ชัดเจน เป็นมรณสักขีเพราะความเชื่อ เพราะความเกลียดชังในเรื่องของ ความเชื่อ แต่ว่าของคุณพ่อนิโคลาสไม่ได้ถูกยิงตาย แต่ตายในคุกด้วยวัณโรค กรณีนี้เป็นข้อสงสัยของผมและของหลา ยๆ คนในเวลานั้นว่า จะเป็นมรณสักขีหรือไม่ พระคุณเจ้าเกี้ยนได้บอกว่าสาเหตุอันเดียวกันก็คือ ความเกลียดชังความเ ชื่อ เกลียดชังศาสนา ผลที่เกิดขึ้นเหมือนกัน คือตายเหมือนกัน จะตายลักษณะไหน ลักษ ณะที่ยอมรับความตายนั้นตาม พระประสงค์ของพระเป็นเจ้า แล้วก็ไม่ได้ด่าแช่งคนที่ยิง คนที่ฆ่าตัวเอง จะด้วยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ทั้งหมดเหล่ านี้ดูจากหลักของสมณกระทรวงว่าด้วยเรื่องนักบุญแล้ว อยู่ในข่ายของการเป็นมรณสักขี ผมสงสัยจริงตอนนั้น แต่ว่ามี คำตอบซึ่งทำให้ข้อสงสัยเหล่านี้หมดสิ้นไป"

 พยานคนเดียวกันยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า:

 "เวลานั้นทุกคนคิดว่าคุณพ่อนิโคลาสเป็นมรณสักขี นับตั้งแต่พระสังฆราชแปร์รอสซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของพระศาสน จักร เมื่อนำศพออกมาจากวัดพุทธซึ่งอยู่ข้างๆ คุกแล้ว ก็ได้นำศพมาฝังไว้ในอุโมงค์วัดอัสสัมชัญ โดยทำเครื่องหมายเ ป็นกิ่งมะกอก ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเป็นมรณสักขีไว้ ดังนั้น บรรดาคริสตชนทั้งหลายได้กล่าวขวัญถึงคุณพ่อนิโค ลาส ในฐานะที่เป็นมรณสักขีด้วยกันทั้งนั้นจนถึงทุกวันนี้"