หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

รูปแบบการเป็นมรณสักขี

 1. จากส่วนของผู้ที่เบียดเบียน

ก) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับกุมเพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก

 21. "ศาสนาคาทอลิกเป็นศัตรูของประเทศ" คือความคิดของคนไทยผู้รักชาติทั่วๆ ไป นายเจริญ ได้เป็นพยานและให้การว่า:

 "จอมพล ป. (พิบูลสงคราม) จึงเห็นเป็นโอกาสดีที่เรียกร้องเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศส นโยบายนี้ทำให้ทางราชการเริ่มหันเหความสนใจมาทางพวกที่นับถือศาสนาคาทอลิก เพราะศาสนานี้มาจากชาวฝรั่งเศส ดังนั้น จึงกลัวว่าพวกคริสตังจะเข้าข้างฝรั่งเศส คนไทยที่รักชาติทั่วๆ ไป ก็คิดเช่นเดียวกัน"

 ก่อนที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจะถูกจับ ทางราชการได้ออกหมายจับคุณพ่ออัมบรอซิโอ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านหัน

 นางเง็กซี กิจสงวน ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ถูกจับอย่างง่ายดายเพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก

 "เพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิกซึ่งพวกเขาเกลียด"

 พยานหลายคนก็มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน นายแก้ว พันธุ์สมบัติ ให้การว่า:

 "ไม่มีความผิดอื่น และตามข่าวที่ได้รับ คุณพ่อถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวที่ 5 ที่คอยส่งสัญญาณไฟให้กับศัตรู"

ข) ผู้เบียดเบียนได้ใส่ความผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่าเป็นแนวที่ 5 เพราะท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก

 22. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ถึงหลวงอดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ แจ้งให้ทราบว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์:

"บาดหลวงบุญเกิดนั้นถูกขังอยู่ที่สีคิ้วเป็นเวลาหลายวัน แล้วต้องไปติดคุกอยู่ที่นครราชสีมา จนถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นี้ ได้ถูกย้ายมาอยู่ที่พระนคร ถูกขังอยู่ที่สถานีตำรวจศาลาแดง

ขอท่านอธิบดีโปรดพิจารณาความ จะได้ทราบว่า บาดหลวงบุญเกิดไม่มีความผิด ถูกคนเกลียดมาใส่ความว่าเป็นแนวที่ 5 ที่จริงไม่เคยเป็นเลย จึงเมื่อไม่มีผิด ก็ขอให้ปล่อยตามข้อ 13 แห่งรัฐธรรมนูญ"

พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1941 ถึงเพื่อนมิชชันนารีที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เล่าเกี่ยวกับการจับกุมผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและเพื่อนพระสงฆ์ไทย (คาทอลิก) ของท่านว่า:

"คุณพ่อนิโคลาสถูกจับที่บ้านหันเมื่อวันที่ 12 มกราคม ถูกกล่าวหาเช่นเดียวกัน (เช่นเดียวกับคุณพ่อ 2 องค์) ว่าเป็นแนวที่ 5 ถูกขังคุกที่โคราชเป็นเวลา 2 เดือน ต่อมาถูกส่งตัวมาที่กรุงเทพฯ ถูกขังที่สถานีตำรวจใหม่ศาลาแดง กำลังคอยคำตัดสิน ผลคำตัดสินนั้นจะเป็นอย่างไร? พระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียวที่ทรงทราบ ระหว่างนั้น ท่านยินดีทนทุกข์ทรมานเพื่อพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสงฆ์อื่นอีก 2 องค์ มีการส่งอาหารจากเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ไปให้ท่านทุกๆ วัน แต่ห้ามมิให้พูดคุยกันเด็ดขาด"

พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1941

ถึงนายโรเชร์ การ์โร กงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้:

"ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า คุณพ่อนิโคลาส ชุนกิม บุญเกิด พระสงฆ์คาทอลิกไทย ได้ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี โดยศาลพิเศษ โดยถูกกล่าวหาว่าท่านได้ช่วยเหลือฝรั่งเศสในสงครามอินโดจีนต่อต้านไทย

คุณพ่อนิโคลาสองค์นี้ ได้รับหน้าที่ดูแลคริสตังที่โคราชและโนนแก้วมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ท่านได้ไปที่บ้านหันซึ่งเป็นกลุ่มคริสตชนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ห่างจากสีคิ้วไปทางตะวันตกของเมืองโคราช เพื่อพบกับเพื่อนพระสงฆ์องค์หนึ่งของท่านคือคุณพ่ออัมบรอซิโอ แต่คุณพ่ออัมบรอซิโอได้ออกเดินทางไปกรุงเทพฯ แล้วก่อนหน้านี้เล็กน้อย วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ คุณพ่อนิโคลาสได้ตีระฆังเพื่อเรียกคริสตังมาวัดฟัง มิสซาในเวลา 8.30 ตอนเช้า ด้วยการกระทำอันนี้ ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนคำสั่งของนายอำเภอ ซึ่งห้ามตีระฆังในระหว่างเวลากลางคืน คุณพ่อนิโคลาสได้ถูกจับกุมและถูกนำตัวไปที่สีคิ้วพร้อมกับพวกคริสตังคนอื่นๆ ที่นั่น ท่านต้องอยู่ในคุกเป็นเวลาหลายวัน ต่อมาได้ถูกส่งตัวมายังกรุงเทพฯ ที่สถานีตำรวจศาลาแดง ท่านถูกควบคุมตัวอย่างเข้มงวดเป็นเวลาเกือบ 4 เดือน โดยปราศจากการติดต่อกับบุคคลภายนอก ทั้งห้ามเยี่ยมโดยเด็ดขาด ในที่สุด วัน ที่ 15 พฤษภาคม ศาลพิเศษ (ไม่อนุญาตให้มีทนาย และตัดสิทธิ์ห้ามอุทธรณ์) ได้พิพากษาว่า คุณพ่อและคริสตัง 8 คน ถูกฟ้องกล่าวหาว่า "ได้ปฏิเสธ โดยไม่ยอมมอบปืนเพื่อช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟและสายโทรเลข, ได้ทำการประชุมลับเพื่อปลุกปั่นผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆ ไม่ให้ช่วยเหลือรัฐบาลไทยต่อสู้กับอินโดจีน, ได้สวดภาวนาเพื่อชัยชนะของฝรั่งเศส, ได้มีเจตนาในการตัดเส้นทางการคมนาคมและสายโทรเลข" พยานทุกคนปฏิเสธข้อกล่าวห าเหล่านี้ทุกข้อว่าไม่เป็นความจริง (คุณพ่อนิโคลาสไม่ได้อยู่ หรือผ่านไปที่บ้านหันในระหว่าง 2 วันที่ผ่านมา) ศาลได้ยืนยันว่าคุณพ่อมิได้เอ่ยอ้างถึงพยานเลย แต่ความจริงแล้วท่านได้อ้างถึงพยาน 9 คน เพื่อการต่อสู้คดี พยาน 4 คนได้ยืนยันว่า ในตอนแรกพวกเขาถูกนายอำเภอบังคับให้ฟ้องกล่าวหาคุณพ่อที่ศาลอำเภอสีคิ้ว แต่คำให้การของพยานที่ศาลนั้นเป็นคำให้การที่นายอำเภอเขียนขึ้นมาให้พวกเขาท่องจนขึ้นใจ เพื่อใช้ในการปรักปรำ การกลับคำให้ก ารของพวกเขาที่กรุงเทพฯ ไม่มีประโยชน์สักนิดเดียว ศาลไม่ยอมรับคำให้การตามความจริงของพวกเขา

กระบวนการพิจารณาคดีเช่นนี้ เป็นการกระทำที่ไม่น่าเชื่อถือ และยากที่จะเข้าใจได้ โดยเฉพาะหลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส-ไทย แม้ว่าคุณพ่อจะเป็นชาวพื้นเมือง (คนไทย) ข้าพเจ้าเชื่อตามหน้าที่ของข้าพเจ้าในปัจจุบันนี้ในฐานะตัวแทนของชาวฝรั่งเศส เพราะว่าเหตุจูงใจในการเรียกร้องเพื่อการตัดสิ นลงโทษพระสงฆ์องค์นี้และพวกคริสตัง (แม้กระทั่งการตัดสินลงโทษคุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ สงวน และคุณพ่อมีแชล ส้มจีน ที่ได้รับการตัดสินลงโทษจำคุกไปแล้วคนละ 2 ปี) คือสาเหตุที่พวกเขาต้องการช่วยเหลือฝรั่งเศส

ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์ไทยอีกองค์หนึ่งได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า ที่แปดริ้วมีใบประกาศโฆษณาในหัวข้อ "เลือดไทยของชาวฉะเชิงเทรา" ห้ามไม่ให้ใครทำการติดต่อกับพวกคาทอลิก เหตุจูงใจในการเรียกร้องคือ "การบี บบังคับให้ทิ้งศาสนามีมานานแล้ว พวกคาทอลิกมีความมั่นคงและไม่ปฏิบัติตัวตามความต้องการของชาติ ซึ่งคณะเลือดไทยได้บังคับให้ทำ" ใบประกาศโฆษณาที่แนบมานี้ ขอให้ ฯพณฯ ท่านเข้าแทรกแซงต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเพื่อใบประกาศต่างๆ ไม่สามารถประท้วงได้อีก โดยไม่รับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ และเลิกการกระทำที่ต่อต้านประชาชนที่เป็นศาสนนิกชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ"

นายเจริญ ราชบัวชาว ได้เป็นพยานด้วยว่า:

คุณพ่อนิโคลาสจึงถือโอกาสปรึกษาหารือกันกับชาวบ้าน ท่านบอกว่าควรเขียนหนังสือไปร้องเรียนนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่ได้ทำ การปรึกษาคืนนั้นมีคนสอดแนม เพราะอยากได้ความชอบ โดยต่อมาครูนพรัตน์ บุญญานุสน ซึ่งเป็นผู้ไม่ชอบคริสตังได้ให้การในศาลว่า พวกคริสตังคุยกันเรื่องจะต่อต้านรัฐบาล"

ค) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกพิพากษาอย่างไม่ยุติธรรม

23. วิธีการให้พวกคาทอลิกต่างฝ่ายต่างปรักปรำกันเองได้ถูกนำมาใช้ นายเจริญได้ให้การว่า:

"ด้านการสอบสวน ทางการพยายามใช้วิธีให้คริสตังปรักปรำกันเอง... ได้ไปนำคริสตังมาอีก 9 คน จากบ้านหัน ทางการบังคับให้คนทั้ง 9 คนนี้ เป็นพยานปรักปรำว่า 9 คนที่ถูกจับนั้น เป็นพวกกบฏ และเป็นพวกแนวที่ 5 พวกเอาใจช่วยเหลือฝรั่งเศส"

พลโท สุนทร สันธนะวนิช ผู้เคยดูแลรับผิดชอบและบังคับบัญชางานที่เกี่ยวกับศาลทหารทั้ง 3 ศาล อันเป็นสถานที่ซึ่งผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ถูกพิพากษาลงโทษ ได้เป็นพยานด้วยเช่นกันว่า:

"แต่เข้าใจว่าคุณพ่อนิโคลาสถูกตัดสินจำคุกคงไม่ใช่เพราะว่าท่านเป็นเพียงพระสงฆ์คาทอลิกอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหารซึ่งผมได้มีหน้าที่ในภายหลัง ทราบว่ากระบวนการพิจาร ณาที่จะพิพากษาคดีสำคัญๆ ในระดับความมั่นคงของชาติ จะต้องปรากฏพยานหลักฐานในสำนวน ต้องมีสำนวนต้องปรากฏพยานหลักฐานชัดเจน ศาลจึงจะวินิจฉัยและพิพากษาไปได้ เพราะมิฉะนั้น ลำพังแต่รู้เพียงว่าเป็นคาทอลิก ตุลาการคงไม่กล้าตัดสินไปทันที ซึ่งจะเห็นได้ว่า คุณพ่อนิโคลาสถูกควบคุมตัวก่อนพิพากษาที่ศาลาแดง ศาลาแดงที่ว่านี้คือสถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง ขณะนั้นตั้งอยู่ที่หลังพระรูปรัชกาลที่ 6 ภายหลังย้ายไปอยู่ที่สถานีตำร วจลุมพินีปัจจุบัน การเป็นพระสงฆ์คาทอลิก อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การพิจารณาเป็นไปในความรู้สึกของความไม่รักชาติบ้านเมืองอย่างหนึ่ง"

พลโท สุนทร ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า:

"ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการที่คุณพ่อนิโคลาสถูกจับครั้งแรกเพราะว่าท่านเป็นพระสงฆ์คาทอลิก เพราะเพียงแต่เป็นคาทอลิกอย่างเดียวคงถูกพิพากษาคดีไม่ได้ พยานที่บันทึกไว้ในชั้นสอบสวน และมาให้การต่อมา จะต้องมาที่ ศาลทหารกรุงเทพฯ ด้วย"

ง) ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีในคุก นับตั้งแต่มีความเกลียดชังความเชื่อคาทอลิกที่นั่น

24. พระสังฆราชแปร์รอสได้ส่งหนังสือสวดทั้งภาษาไทยและลาตินไปให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและพระสงฆ์ไทยอีก 2 องค์ รวมทั้งหนังสือนิตยสาร "สารสาสน์" แต่เจ้าหน้าที่เรือนจำได้ส่งหนังสือนิตยสารสารสาสน์ คืนกลับมาให้พระสังฆราช เพราะไม่อนุญาตให้พระสงฆ์คาทอลิกไทย 3 องค์อ่าน กรมราชทัณฑ์ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1943 แจ้งให้พระสังฆราชแปร์รอสทราบเรื่องขอระงับการเยี่ยมพระสงฆ์คาทอลิก 3 องค์ไว้ชั่วคราว และรายละเอียดของหนังสือต่างๆ ที่ส่งให้พระสงฆ์ 3 องค์ ที่ถูกคุมขังดังได้กล่าวมาแล้ว:

"ตามที่กรมราชทันท์ได้รับมอบหนังสือภาสาไทยและภาสาต่างประเทศ ที่ท่านจะนำไปมอบให้บาดหลว ง3 คน ซึ่งคุมขังหยู่ไนเรือนจำกลางบางขวาง รวม 7 เล่ม เพื่อตรวดพิจารนาตามระเบียบ เมื่อตรวดแล้ว ตกลงจะส่งมาไห้ท่านนะวัดอัสสัมชัญ และได้ตกลงไว้ว่าจะอนุญาตไห้ท่านเข้าเยี่ยมพร้อมทั้งนำหนังสือที่ผ่านการตรวดตามระเบียบแล้ว ไปมอบไห้แก่บาดหลวงทั้ง 3 คน นะ เรือนจำกลางบางขวางไนวันที่ 13 กันยายน 2486 นั้น

กรมราชทันท์ขอนมัสการมาไห้ซาบด้วยความเสียใจว่า บัดนี้ กรมราชทันท์มีเหตุขัดข้องบางประการไม่ อาดอำนวยความสดวกไห้ท่านเข้าเยี่ยมตามกำหนดที่ได้ตกลงไว้ดังกล่าวข้างต้นได้ จำเปนต้องระงับการไห้ท่านเข้าเยี่ยมไว้ชั่วคราว"

วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1944 พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึง

พันตำรวจเอก มงคล กล้ากลางสมร อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ขออนุญาตอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าเยี่ยมนักโทษบุญเกิด (ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า) ผู้ซึ่งกำลังป่วยหนักอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ เพื่อโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์แบบคาทอลิกให้

"ด้วยที่เรือนจำบางขวาง มีบาดหลวงองค์หนึ่ง ชื่อ บุณเกิด กริสบำรุง ถูกคุมขังประจำหยู่แดน 6 กำลังเจ็บหนักหยู่ด้วยอาการน่ากลัวจะสิ้นชีวิตลงไนเร็ววันนี้ ฉันรู้สึกห่วงไยไนความเปนหยู่ของบาดหลวงองค์นี้มาก จึงขอประทานอนุญาตต่อท่านเปนกรนีย์พิเสส เพื่อได้มีโอกาสไปเยี่ยมได้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้โปรดสีลสักดิ์สิทธิ์แก่เขาตามจารีตสาสนาโรมันกาทอลิกเปนการด่วน"

แต่การขอเข้าเยี่ยมของพระสังฆราชได้รับการปฏิเสธ

"ตามหนังสือของท่านลงวันที่ 6 มกราคม 2487 ขออนุญาตเข้าเยี่ยมอาการป่วยของ น.ช. บุณเกิด กริสบำรุง ซึ่งถูกคุมขังหยู่นะเรือนจำกลางบางขวาง เพื่อโปรดสีลไห้แก่ น.ช. ผู้นี้ตามจารีตสาสนาโรมันคาทอลิกนั้น

ฉันมีความเสียใจที่ขนะนี้ยังไม่อาดอนุเคราะห์ไห้ท่านเข้าเยี่ยมนักโทสผู้นี้ตามความประสงค์ของท่านได้"

25. ที่สุด วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 เจ้าหน้าที่เรือนจำได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งแจ้งว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ตายด้วยวัณโรค ก่อนตาย ท่านได้เขียนพินัยกรรมมอบสิ่งของต่างๆ ของท่านให้แก่คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ ดังนั้น พินัยกรรมของท่านและสิ่งของต่างๆ ของท่านถูกส่งมาให้กับพระสังฆราชแปร์รอส

"ฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งว่า น.ช. บาดหลวง บุณเกิด กริสบำรุง ซึ่งได้ป่วยเปนวันโรคแห่งปอด ถึงแก่ ความตายไปแล้วนั้น ก่อนตายได้ทำพินัยกัมมอบเงินกับยาฉีด น้ำกลั่น ให้กับท่าน"

พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1944 ถึงพระสังฆราชอาเดรียง ดราปิเอร์ ผู้แทนพระสันตะปาปา เล่าเกี่ยวกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าและชีวิตในคุกของท่าน:

"เราได้สูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืององค์หนึ่งในจำนวน 3 องค์ ที่ถูกตัดสินจำคุกโดยไม่มีความผิด คุณพ่อนิโ คลาสเป็นพระสงฆ์ที่มีใจร้อนรน มีความกระตือรือร้นกว่าทุกคน เป็นระยะเวลา 8 เดือน ที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคอยู่ในโรงพยาบาลของเรือนจำ ท่านได้ทำให้คนกลับใจจำนวน 68 คน และโปรดศีลล้างบาปให้คนใกล้ตาย ผู้ที่ลงโทษตัดสินจำคุกท่านอย่างอยุติธรรม คงไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลตอบแทนเช่นนี้ ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมได้เดือนละครั้งมาเป็นเวลา 1 ปีครึ่งแล้ว ต่อมาข้าพเจ้าและครอบครัวของคุณพ่อได้รับการปฏิเสธ ไม่อนุญาตให้เข้าเ ยี่ยม แต่ข้าพเจ้าสามารถติดต่อกับคุณพ่อและเพื่อนพระสงฆ์ของท่านอีก 2 องค์ในคุก โดยผ่านทางคริสตังที่นำอาหารและเงินจำนวนเล็กน้อยไปให้ท่านในแต่ละเดือน คุณพ่อไม่สามารถพบเพื่อนพระสงฆ์อีก 2 องค์ ซึ่งเป็นนักโทษเช่นเดียวกับท่าน นี่เป็นการเบียดเบียนเพื่อต่อต้านศาสนาคาทอลิก ซึ่งยังคงดำเนินต่อมาอีกอย่างรุนแรงที่สุดเป็นระยะเวลา 2 ปี"

ศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกฝังอยู่ที่วัดบางแพรก ใกล้กับเรือนจำ พระสังฆราชแปร์รอสไม่สามารถ รับศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาฝังได้ ถึงแม้จะพยายามขออนุญาตหลายครั้ง ประมาณ 2 เดือนต่อมา พระสังฆราชแปร์รอสจึงได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1944 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร ขออนุญาตขุดศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาฝังไว้ที่สุสานในอุโมงค์อาสนวิหารอัสสัมชัญ

"บาทหลวงบุญเกิด กริสบำรุง ได้ถึงความรณภาพในเรือนจำกลางบางขวาง อำเภอนนทบุรี จังหวัดพระ นคร วันที่ 12 มกราคม 2487 แล้วถูกฝังที่วัดบางแพรก มาบัดนี้จะขุดศพขึ้น เอามาฝังไว้ในอุโมงค์ใต้โบสถ์วัดอัสสัมชัญ ที่มีอนุญาตฝังศพแล้ว ฉันขออนุญาตส่งศพมาจากวัดบางแพรก อำเภอนนทบุรี มาฝังที่วัดอัสสัมชัญ อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร"

พระสังฆราชแปร์รอสได้รับอนุญาตให้ขุดศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้ ท่านได้ให้ญาติพี่น้องของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไปขุดศพมาจากวัดบางแพรก ผู้ที่ไปขุดศพคือ นางผิน น้องสะใภ้ของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ า, นายกุ้ย เพื่อนบ้าน และนายฮะเซี้ยง บุตรชายของนางผิน ทั้งหมดเดินทางไปวัดบางแพรกในตอนเช้า แต่ระหว่างทาง นายฮะเซี้ยงได้แยกตัวไปหา พระสังฆราชแปร์รอส ภายหลังเมื่อไปถึงวัดบางแพรก สมภารที่วัดได้บอกว่านางผินและนายกุ้ยได้ขุดศพไปแล้วก่อนที่นายฮะเซี้ยงจะไปถึงไม่นาน ศพของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกฝังอยู่ในดินซึ่งขุดเป็นหลุมสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีลักษณะคุดคู้ ไม่มีโลง ไม่มีอะไรห่อศพ เนื้อหนังและเส้นผมยังมีอยู่ แต่ไม่มีกลิ่น

26. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งลงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ถึงคุณพ่อเบรสซอง เล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งกล่าวถึงผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าว่า:

"เรารู้สึกเสียใจที่ต้องสูญเสียพระสงฆ์พื้นเมืองที่ดีที่สุดของเราองค์หนึ่งไป คุณพ่อนิโคลาสได้ตายในคุกซึ่งเขาต้องอยู่ในนั้นมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือฝรั่งเศสในระหว่างสงครามอินโดจีน-ไทย ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เยี่ยมเป็นระยะเวลา 1 ปี พร้อมทั้งคุณพ่ออีก 2 องค์คือ คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกตัดสินจำคุกเหมือนท่าน ทั้งหมดไม่มีความผิด หลังจากที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยม 1 ครั้งต่อเดือน ต่อมาข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธอย่างเด็ดขาดไม่อนุญาตให้เยี่ยม คุณพ่อป่วยหนัก ข้าพเจ้าต้องการไปเยี่ยมท่าน แต่โชคร้ายที่การขอความกรุณาของข้าพเจ้าได้รับการปฏิเสธอย่างเด็ดขาด ภายหลังคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ศัตรูที่จ้องทำลายศ าสนาคาทอลิกได้มีอำนาจตกต่ำในช่วงต้นเดือนนี้ หลังจากการตายของคุณพ่อที่รักของเรา ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถรับศพของคุณพ่อมาได้ คุณพ่อได้ถูกฝังไว้ที่วัดพุทธซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับเรือนจำ อีกประมาณ 2 เดือนต่อมา ข้าพเจ้าจึงสามารถจ้างคนไปขุดศพ เอาใส่โลง และนำมายังวัดอัสสัมชัญ บรรจุไว้ในสุสาน ซึ่งอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินของวัดอัสสัมชัญ ที่นั่นมีหลุมศพของเพื่อนพระสงฆ์ของท่านหลายองค์ที่ได้ตายไปก่อนแล้ว พวกเราได้สูญเสียคุณพ่อบนแผ่นดิ นนี้ แต่ข้าพเจ้ามีความหวังว่าคุณพ่อคอยช่วยเหลือพวกเราอยู่บนสวรรค์ ในเวลานี้ข้าพเจ้ากำลังดำเนินการร้องขออิสรภาพให้กับนักโทษอีก 2 คนของเราคือ คุณพ่อเอดัวรด์และคุณพ่อเฮนรี่ซึ่งถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต"

27. พระสังฆราชแปร์รอสได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่ง เป็นจดหมายร่าง ถึงทางราชการขออิสรภาพให้กับนักโทษทั้งหลาย รวมทั้งพระสงฆ์ไทยพื้นเมือง (คาทอลิก) 2 องค์ และพวกคาทอลิกอีก 8 คน ท่านได้พูดถึงผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าในจดหมายของท่านด้วยว่า:

 "พระสงฆ์ 3 องค์ ได้ถูกกล่าวหาเหมือนกัน และถึงแม้ว่าคำให้การของพยานเป็นประโยชน์ต่อพวกเขา พวกเขาได้ถูกตัดสินจำคุก องค์หนึ่ง 12 ปี อีก 2 องค์ตลอดชีวิต องค์แรกตายในคุกเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทราบว่าป่วย ข้าพเจ้าเดินทางไปที่เรือนจำและขออนุญาตพบเขา ผู้บัญชาการเรือนจำปฏิเสธอย่างเด็ดขาดสำหรับการขออนุญาตนี้หลังจาก 4 ชั่วโมงของการรอคอย เขาได้บอกกับข้าพเจ้าว่าคุณพ่อได้เสียชีวิตแล้ว และข้าพเจ้าไม่ได้พ บเขาเลย นี่เป็นวิธีการอันป่าเถื่อนที่มีอยู่จริง"

นอกจากนี้ พระสังฆราชแปร์รอสยังได้เขียนจดหมายอีกฉบับหนึ่งถึงผู้อำนวยการสมาคมเผยแพร่ความเชื่อ เล่าถึงเรื่องการเบียดเบียน และการจับกุมพระสงฆ์ไทย (คาทอลิก):

"พวกเราได้ผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานมา 6 ปีแล้ว ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1940 สงครามระหว่างประเ ทศไทย (สยาม) และอินโดจีน ทำให้เป็นการเริ่มต้นของการเบียดเบียนต่อศาสนาคาทอลิก พระสงฆ์พื้นเมือง 5 องค์ของเรา ถูกจำคุกโดยไม่มีความผิด เพราะผู้ปกครองศาสนาเป็นชาวต่างชาติ และนับถือศาสนาซึ่งเป็นศาสนาของชาวต่างชาติ พระสงฆ์องค์หนึ่งในจำนวนนี้ (คุณพ่อนิโคลาส) ได้ตายในคุกหลังจากถูกจำคุก 3 ปี เขาอยู่ในโรงพยาบาล 9 เดือน เนื่องจากป่วย เขาได้ใช้เวลาเหล่านั้นในการปลอบโยน บรรเทาใจ และสั่งสอนผู้ป่วยคนอื่นๆ เขาได้บ อกให้ข้าพเจ้าทราบว่า ในระหว่างที่เขาอยู่ในคุก เขาได้สอนคำสอนและโปรดศีลล้างบาปให้นักโทษด้วยกันที่ใกล้ตาย 68 คน"

นายเจริญได้ยืนยันถึงความจริงเรื่องนี้ด้วยคำให้การเหล่านี้:

"วันที่ท่านตาย พวกคริสตังขออนุญาตไปร่วมพิธี แต่ผู้บัญชาการเรือนจำไม่อนุญาต ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ไม่มีความเป็นธรรม มันกลั่นแกล้ง มันฆ่าตรงๆ ไม่ได้ มันฆ่าทางอ้อม"

เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า:

"เขาเอาคุณพ่อไปเช็ค ไปตรวจ แล้วก็บอกว่ามีเชื้อวัณโรค ตลอดเวลาที่อยู่ที่ศาลาแดง ข้าพเจ้าไม่เห็นท่านไอเลย อย่างนี้ไม่มีความเป็นธรรม"

คุณพ่อยัง-ปอล ลังฟังต์ พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ผู้เป็นหัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์ ได้เป็นพยานถึงความจริงหลังจากที่ได้ศึกษาเอกสารต่างๆ ทั้งหมดแล้ว:

"ปัญหาเกี่ยวกับการตายของคุณพ่อนิโคลาสคือว่า ท่านไม่ได้ถูกตัดสินประหารชีวิตให้ตาย แต่ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี ท่านตายเพราะเป็นวัณโรค แต่ทำไมท่านจึงป่วยเป็นวัณโรค ท่านไม่ได้ป่วยมาก่อนถูกจำคุกหรือ? ทำไมผู้คุมจึงส่งท่านไปอยู่ในแดนผู้ป่วยวัณโรค? ตามคำให้การของพวกพยานบอกว่า ท่านถูกส่งไปอยู่ในแดนผู้ป่วยวัณโรคเพราะท่านสอนคำสอนแก่นักโทษ คุณจำได้ว่าในเวลานั้นในประเทศไทยกำลังเกิดสงคราม บ้านเมืองไม่สงบ สุข และยารักษาโรคก็หายากมากและมีราคาแพงมาก ดังนั้น ผู้จัดการเรือนจำจึงปล่อยให้ผู้ป่วยวัณโรคตาย สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ส่งคุณพ่อนิโคลาสไปอยู่ในแดนวัณโรคก็เท่ากับตัดสินลงโทษให้ท่านตาย"

 2. ในส่วนของผู้เคราะห์ร้าย

28. ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าถูกจับที่วัดบ้านหันและถูกขังอยู่ที่เรือนจำกลางบางขวาง ผู้รับใช้ของพ ระเป็นเจ้าได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งด้วยลายมือของท่านเอง ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ถึงพระ สังฆราชแปร์รอส แจ้งว่า สิ่งต่างๆ ที่ทำให้ท่านสามารถอดทนอยู่ในคุกก็คือ การสวดภานา, สวดสายประ คำ และสวดมนต์ตามหนังสือสวดของพระสงฆ์

ก) การยอมรับตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า

ถึงแม้ว่าผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไม่ได้มีความผิดตามข้อกล่าวหา ท่านยังคงน้อมรับโทษทัณฑ์ตาม น้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า:

"แต่อนิจจา ลูกกลับถูกหาว่าขายชาติ ทรยศต่อชาติ พยานโจทย์ 3 ปาก นับว่าไร้ศีลธรรมอย่างที่สุด กล้าใส่คว ามสงฆ์ผู้ทรงศีลโดยเจตนาเช่นนี้ ถึงกระนั้นก็ดี ลูกรู้สึกว่าพระเจ้าทรงบันดาลให้เป็นไปเช่นนี้ ลูกจึงขอน้อมรับโทษทัณ ฑ์ตามน้ำพระทัยของพระ เพื่อชดเชยความผิด ความบาปของลูก และเพื่อความสันติภาพของ (สากล) โ ลกทั้งความเจริ ญแห่งประเทศชาติที่รักของลูกด้วย"

ข) ยกโทษให้กับศัตรู

"ลูกสวดเสมอขอพระเอ็นดูยกความผิดของพยานเท็จที่ปรักปรำลูกตามฉบับแห่งพระเยซูอาจารย์แห่งสากลโลก"

ค) ความรักชาติของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า

"คุณบิดาก็ทราบดีว่าลูกรักประเทศชาติจนยอมสละความสนุกสบายฝ่ายข้างโลก ได้อุตส่าห์อบรมพี่น้องชาวทั ยให้อยู่ในศีลธรรมอันดีเป็นระยะ 15 ปี ลูกได้ช่วยชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกนั้นยังเตือนคนอื่นให้รักชาติ"

นายเจริญ ราชบัวขาว ซึ่งถูกจำคุกด้วยกันกับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้ให้การในเรื่องความเป็นม รณสักขีของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าดังต่อไปนี้:

"คุณพ่อไม่บ่นต่อความทุกข์ยาก แต่ยอมรับทุกอย่างด้วยความอดทน เพื่อเห็นแก่ความเชื่อจนกระทั่งเสียชีวิต"

"ให้กำลังใจ แล้วแต่พระ เป็นน้ำพระทัยของพระ เดี๋ยวความสุขก็จะมาทีหลัง"