หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ประมวลประวัติชีวิต

ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามาจากครอบครัวคาทอลิกไทยที่เก่าแก่ครอบครัวหนึ่งและเป็นสัตบุรุษของวัดนักบุญเปโตร นครปฐม ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย ในบทนี้จะขอกล่าวถึงชีวิตในวัยเด็กและกระแสเรียกของท่าน เพื่อจะได้เข้าใจและทราบดีขึ้นเกี่ยวกับชีวิต ความเชื่อ และการตัดสินใจของท่าน

 ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นบุตรคนแรกในจำนวน 5 คน ของยอแซฟ โปชัง และอักแนส เที่ยง กฤษบำรุง จากการตรวจสอบเอกสารของวัดนักบุญเปโตร สามพราน นครปฐม จากทะเบียนศีลแต่งงานของวัด ทราบว่า ยอแซฟ โปชัง และอักแนส เที่ยง รับศีลแต่งงานเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893 ทะเบียนศีลแต่งงานเลขที่ 186 โดยคุณพ่อจืลส์ กียู ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น จากทะเบียนศีลล้างบาปของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ทราบว่าท่านเกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1895 ได้รับศีลล้างบาปเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 โด ยคุณพ่อเรอเน แปร์รอส ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นประมุขมิสซังสยามระหว่างปี ค.ศ. 1909-1947 ทะเบียนศีลล้างบาปเลขที่ 1645 ได้รับศาสนนามว่า "เบเนดิกโต"

ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามีความผูกพันอยู่กับวัดมากพอสมควร คุณพ่อเจ้าอาวาสในเวลานั้น ได้แก่ คุณพ่อยอแซฟ แฟร์เลย์ จึงส่งท่านเข้าบ้านเณรเล็กพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้าบางช้าง ในปี ค.ศ. 1908

 ยิ่งกว่านั้น ความสัมพันธ์ที่มีต่อวัด ยังเห็นได้จากพินัยกรรมของบิดาของท่าน ซึ่งทำขึ้นโดยมีพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส เป็นพยาน นอกจากนี้ยังเห็นได้จากจดหมายของคุณพ่อเจ้าอาวาสอีกองค์หนึ่งคือ คุณพ่อเอวเยน เล็ตแชร์ ที่เขียนรายงานถึงพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส เกี่ยวกับชีวิตของโปชังที่วัดนักบุญเปโตร ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ

 5. ตามหลักสูตรการเรียนเพื่อบวชเป็นพระสงฆ์ในสมัยนั้น ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้เรียนอยู่ในบ้านเณ รบางช้างเป็นเวลา 8 ปี และต้องทำหน้าที่ครูสอนศาสนาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากนั้น จึงถูกส่งไปเรียนที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังเป็นเวลาทั้งสิ้นอีก 6 ปี จึงได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ รวมเวลาที่เรียนในบ้านเณรจนกระทั่งบวชเป็นพระสงฆ์ 18 ปี

 ชีวิตการฝึกฝนตนเองที่บ้านเณรใหญ่ที่ปีนังได้รับการเอาใจใส่จากผู้ใหญ่ของบ้านเณรเป็นอย่างดี จากรา ยงานการประชุมคณะที่ปรึกษาบ้านเณรใหญ่ที่ปีนัง คณะผู้ใหญ่ได้พิจารณาอนุมัติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1923 ให้สามเณรชุนกิมและเพื่อนสามเณรไทยของท่านอีก 4 คน ได้รับศีลบวชขั้น "ศีลโกน" สามเณรทั้ง 5 คนนี้ ได้แก่ เบเนดิกโต ชุนกิม กฤษบำรุง, เปาโล กลิ่น ผลสุวรรณ, เปโตร กิ๊น มิลลุกูล, เปโตร ถัง ลำเจริญพร และอเล็กซานเดอร์ ปลาด วิเศษรัตน์ ได้รับศีลโกนเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1923 โดยพระสังฆราชเมอแรล

 ในปีต่อมา (1924) สามเณรทั้ง 5 คนนี้ก็ได้รับอนุม้ติให้รับศีลน้อย 4 ศีลคือ ศีลเปิดประตูโบสถ์, ศีลอ่านพระคัมภีร์, ศีลขับไล่ผีปีศาจ และศีลถือเทียน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1924 พิธีดังกล่าวได้จัดให้มีขึ้นวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1924 โดยพระสังฆราชเมอแรลเช่นเดียวกัน วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1925 เณรทั้ง 5 คน ได้รับศีลบวชขั้นซุบดีอาโกโน (อุปานุสงฆ์) และวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1925 ก็ได้รับศีลบวชขั้นดีอาโกโน (อนุสงฆ์ หรือสังฆานุกร)

 นอกจากนี้ จากบันทึกรายงานการประชุมเดียวกันนี้เอง เรายังทราบด้วยว่าสังฆานุกรทั้ง 5 คน ได้ออกเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ โดยออกเดินทางจากปีนัง วันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1926 และตามที่เราทราบแล้ว สังฆานุกรทั้ง 5 คน ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1926 ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ โดยพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส

  1.ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางนกแขวก (1926-1928)

6. ภารกิจแรกที่ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับคือ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสที่วัดบางนกแขวก (จังหวัดสมุทรสงคราม) โดยเป็นผู้ช่วยคุณพ่อดือรังด์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในเวลานั้น

คุณพ่อดือรังด์และผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าเป็นผู้ให้การต้อนรับคณะสงฆ์ซาเลเซียนซึ่งเดินทางมาถึงในคืนวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1927 และอยู่ช่วยพระสงฆ์คณะนี้ในการส่งมอบงาน แนะนำงาน รวมทั้งผู้รับใช้ของพร ะเป็นเจ้าได้ช่วยสอนคำสอนแก่สามเณรซาเลเซียนจำนวน 16 คน และสอนภาษาไทยแก่บรรดาพระสงฆ์ซาเลเซียนอีกด้วย

 "สามเณรในชั้นปรัชญาปีที่ 2 เรียนคำสอนเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงทุกวัน สอนโดยคุณพ่อนิโคลาส เป็นภาษาไทยทั้งหมด ทั้งการบรรยายและการอธิบายต่างๆ สามเณรทุกคนพอใจมาก"

 ดังนั้น นอกจากการทำงานอภิบาลสัตบุรุษแล้ว ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายังได้ช่วยงานสอนภาษาไทย ขนบ ธรรมเนียมประเพณีไทย และการปกครองบรรดาพระสงฆ์และสามเณรด้วยใจกว้างขวางตลอดหนึ่งปีกว่า เมื่อเห็นว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว คุณพ่อดือรังส์และผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าก็อำลาสมาชิกซาเลเซียนและสัตบุรุษวัดบางนกแขวกหลังวันฉลองวันขึ้นปีใหม่ของปีค.ศ. 1928 แล้วมอบทุกอย่างให้เป็นมรดกแก่คณะซาเลเซียนโดยไม่เอาอะไรติดตัวไปเลย

  2. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิษณุโลก (1929-1930)

7. ความใจกว้างของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายังปรากฏให้เห็นอีก เมื่อท่านได้รับมอบหมายให้ไปช่ว ยคุณพ่อมิราแบลที่จังหวัดพิษณุโลก ในปี ค.ศ. 1929 นี้เอง ท่านได้รับมอบหมายหน้าที่ให้สอนภาษาไทยแ ก่คุณพ่อมิราแบลผู้ซึ่งเพิ่งเดินทางมาถึงประเทศไทย เวลาเดียวกันผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ายังต้องเรียนภาษ าจีนแคะและทำห น้าที่อภิบาลสัตบุรุษด้วย พระสังฆราชบรรจง อารีพรรค พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลนคร สวรรค์ ได้เป็นพยานว่า:

 "เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ คุณพ่อนิโคลาสทำงานอยู่ที่วัดเซนต์นิโคลาส พิษณุโลก ข้าพเจ้าเชื่อว่าบรรดาสัตบุรุษมีควา มเคารพนับถือในตัวคุณพ่อเป็นอย่างมาก"

 3.งานแพร่ธรรมของท่านทางภาคเหนือของประเทศไทย (1930-1937)

8. ในปี ค.ศ. 1930 คุณพ่อมิราแบลเริ่มขยายงานแพร่ธรรมของท่านไปยังภาคเหนือ ท่านขอพระสัง ฆราชแปร์รอสให้ส่งพระสงฆ์องค์หนึ่งไปแทนท่านที่พิษณุโลก และขอให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไปทำงานร่ว มกับท่านที่เชียงใหม่

 แต่งานนี้ไปเริ่มกันที่จังหวัดลำปาง คุณพ่อมิราแบลขอให้ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าประจำอยู่ที่ลำปาง ส่วนตัวท่านเองได้ขึ้นไปทางเหนือเพื่อทำงานที่เชียงใหม่ ที่ลำปาง ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าพยายามตามห าแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่ง (พวกคริสตัง) กลับเข้าคอก งานนี้เป็นงานที่ยากลำบากมาก และหวังผลยาก แต่ก็เป็นงานที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง

 "ที่ลำปาง คุณพ่อนิโคลาสพยายามตามหาแกะที่หลงทางจำนวนหนึ่งกลับเข้าคอก งานนี้เป็นงานที่ยากลำ บากแล ะมีผลยาก แต่ก็ยิ่งมีบุญมาก กลุ่มคริสตังใหญ่ 2 แห่งทางภาคเหนือนี้ นับเป็นแหล่งงานใหม่ที่เปิดให้ทำการแพร่ธรรมแล ะเชิญชวนให้บุกเบิก ให้เราภาวนาขอเจ้าของนาเถิด เพราะการที่จะเก็บเกี่ยวได้มากนั้น ย่อมสุดแต่พระองค์ท่านจะโปรด"

 คุณพ่อวิกตอร์ ลารเก ผู้ติดตามหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้กล่าวไว้ ด้วยว่า ในปี ค.ศ. 1930 นี้เอง ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้สร้างวัดน้อยหลังแรกขึ้นนี่แสดงว่างานที่ยากลำบา กและมีผ ลยากนี้ ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าไม่เคยท้อถอย และมุ่งมั่นพยายามจนบังเกิดผลขึ้นแล้ว

วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1931 คุณพ่อมิราแบลได้ขอให้พระสังฆราชแปร์รอสส่งพระสงฆ์องค์หนึ่งไป อยู่กับผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าที่ลำปาง เพื่อผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าจะได้สามารถไปช่วยงานบุกเบิกที่เชียงใ หม่กับท่านได้อย่างเต็มที่

 "ข้าพเจ้าเชื่อในขณะนี้ว่า เราจะเกิดผลสำเร็จในการทำงานชิ้นใหญ่นี้ ในสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความหวังโดยเฉพ าะอย่างยิ่ง ถ้าพระคุณเจ้าจะส่งพระสงฆ์บางองค์มาที่ลำปางกับคุณพ่อนิโคลาส เหมือนที่ข้าพเจ้าได้แสดงความปรารถนา กับพระคุณเจ้าาไปแล้ว อีกอย่างหนึ่ง จำเป็นจะต้องให้พระสงฆ์ที่มา ทำหน้าที่แทนคุณพ่อนิโคลาส เพื่อให้คุณพ่อนิโคลา สมาช่วยงานของข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะได้ให้คุณพ่อนิโคลาสทำงานที่นี่ หรือที่อื่นตามแต่สภาพแวดล้อมและความจำเป็ น"

 9. วันที่ 18 มกราคม ปีเดียวกัน (1931) คุณพ่อมิราแบลและผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าก็เข้าประจำอย ู่ในที่ดินซึ่งคุณพ่อมิราแบลได้ซื้อไว้ เป็นอันว่างานบุกเบิกที่เชียงใหม่ได้ลงหลักปักฐานแล้ว

 ตลอดระยะเวลา 2 ปีแรกที่เชียงใหม่ คุณพ่อทั้งสองได้ทำงานอย่างหนัก เดินทางอยู่ตลอดเวลา ผู้รั บใช้ของพระเป็นเจ้าพยายามติดตามงาน และหาครูคำสอนเพื่อไปสานงานต่อจากที่ท่านได้ทำไว้ตามสถาน ที่ต่างๆ อย ู่เสมอ ได้แก่: เวียงพร้าว, เชียงดาว, เวียงป่าเป้า, ลำปาง, น่าน, เชียงราย และเชียงใหม่ จนถึง ปี ค.ศ. 1936

 4. เจ้าอาวาสวัดโคราช และวัดโนนแก้ว (1937-1938)

10. ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคราช ในระหว่างนี้ ท่านได้มีโอกา สไปเทศน์เข้าเงียบให้แก่สัตบุรุษที่วัดบ้านหัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโคราชมากนัก การเข้าเงียบสิ้นสุดลงวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญยอแซฟ และมีพิธีโปรดศีลมหาสนิทอย่างสง่า ซึ่งมีคาทอลิก 74 คน ได้รับศีลนี้จากจำนวนคาทอลิกทั้งหมด 160 คน

 "คุณพ่อนิโคลาสซึ่งได้เทศน์เข้าเงียบให้กับคริสตังที่บ้านหัน ปิดท้ายด้วยการฉลองนักบุญยอแซฟ และมี พิธีโปร ดศีลมหาสนิทอย่างสง่า มีคริสตังรับศีลมหาสนิททั้งหมด 74 คน จากจำนวนคริสตังทั้งหมด 160 คน นี่เป็นเรื่องที่วิเศษอ ย่างยิ่ง"

 ที่วัดโคราชเอง งานหลักของผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้า ได้แก่ การสอนคำสอน และการตามหาลูกแกะ ที่หลงทาง ท่านให้ความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของคริสตังและอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามาร ถนำคริสตังกลับมาเข้าวัดและให้ลูกหลานได้เรียนคำสอน

 ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าสังเกตว่า สาเหตุประการหนึ่งได้แก่ ความยากจนของคริสตังที่ทำให้พวกเข าต้องแยกย้ายกันไปหากินตามที่ต่างๆ เมื่ออยู่ห่างวัด พวกเขาก็ไม่มีโอกาสได้รับศีลล้างบาป เพราะได้รับก ารเลี้ยงดูจากคนต่างศาสนา

 ดังนั้น การกลับใจจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะคนต่างศาสนาไม่ยอมให้ไปเรียนคำสอน ท่านเชื่อว่าผู้ที่ไม่ส วดภาวนา ก็ไม่ได้รับพระหรรษทานซึ่งพระเป็นเจ้าประทานให้แก่ผู้มีความไว้วางใจ

 หลังจากใช้เวลาพอสมควร ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ากล่าวว่า บัดนี้ท่านมีผู้ที่เตรียมตัวรับศีลล้างบาป หลายคน แต่ยังไม่ล้างบาปให้เพราะความเชื่อยังไม่มั่นคงเพียงพอ

 "จากภาคเหนือสุดของมิสซัง ให้เราหันมาดูทางภาคตะวันออกบ้าง คุณพ่อนิโคลาส ซึ่งเวลานี้ดูแลรับผิดชอบวัด ที่โคราช เสริมข้อคิดเห็นต่างๆ ในรายงานของท่านซึ่งข้าพเจ้าได้แปลสรุปดังนี้: พวกคริสตังส่วนมากยาก จน ด้วยเหตุนี้จึง กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ เมื่ออยู่ห่างจากวัด พวกเขาก็ขาดโอกาสที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ได้บ่อยครั้ง ทั้งยังไม่ได้ฟังการเทศน์และไม่ได้ฟังคำสอน พวกเขากลายเป็นคนเฉื่อยชาไปอย่างน่าอนาถ เมื่อพวกหญิงสาวไม่มีโอกา สได้แต่งงานกับหนุ่มคริสตัง ก็ไปอยู่กินกับคนต่างศาสนา; พวกเธอละอายไม่กล้ามาวัดสวดภาวนาหรือร่วมมิสซา; พวกลู กๆ ก็มิได้รับศีลล้างบาป และได้รับการเลี้ยงดูอย่างลูกคนต่างศาสนา คนเหล่านี้ ที่อยู่กินกันอย่างไม่ถูกต้อง กลับใจยากม าก เพราะฝ่ายคนต่างศาสนาไม่ยอมมาเรียนคำสอน บางครั้งฝ่ายหญิงก็เป็นอุปสรรคเสียเอง ผมมีผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบ าปหลายคนซึ่งเรียนคำสอนมานานแล้ว ผมยังไม่กล้าโปรดศีลล้างบาปให้ เพราะผมยังไม่ค่อยแน่ใจในความมั่นคงของพว กเขาเพียงพอ"

 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลกลุ่มคริสตัง วั ดโนนแก้วด้วย จากจดหมายที่ท่านได้เขียนถึงพระสังฆราชแปร์รอสหลายฉบับ ทั้งจากโคราชและโนนแก้ ว แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ที่ท่านมีต่องานที่รับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำ ที่ใช้ในบทภาวนาต่างๆ ของพระศาสนจักรในเวลานั้นอีกด้วย เรายังพบได้อีกว่า ผู้รับใช้ของพระเป็นเจ้ามีค วามห่วงใยต่อเพื่อนพระสงฆ์เสมอและพยายามหาทางช่วยเหลืออย่างเต็มที่ให้หลุดพ้นจากหนี้สิน รวมทั้งให้ กำลังใจอยู่เสมอๆ เท่า ที่สามารถ และจากความเป็นห่วงเป็นใยทั้งพระสงฆ์และบรรดาคริสตชนที่ท่านมีอยู่ต ลอดเวลานี้เอง ท่านก็ทำหน้าที่นี้จนกระทั่งถูกจับ ถูกกล่าวหาว่า "เป็นแนวที่ 5 ของฝรั่งเศส" ในปี ค.ศ. 1941.