โดย...คุณพ่อวรยุทร กิจบำรุง ขอบคุณข้อมูลจาก ...สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย

โอกาสฉลอง 350 ปี คณะสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส(M.E.P., Missions Etrangeres de Paris) ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นมา เพื่อสร้างพระศาสนจักรท้องถิ่น โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย เส้นทางและย่างก้าวเดินที่ยาวไกล เหมือนเป็น “คู่ขนาน” ของประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์คาทอลิกในประเทศไทยร่วมเดินมาด้วยกัน  ตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงวันนี้ความรู้สึกนึกคิดหลากหลาย สะท้อนให้เป็นชีวิตและผลงานอันยาวนานของ “เอ็มอีพี.”

คุณพ่อโรแบต์ โกสเต อายุ 81 ปี
อยู่ในประเทศไทย 54 ปี

ปัจจุบันคุณพ่อโกสเต เป็นจิตตาธิการอารามคณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี

“คณะเอ็มอีพี. ตั้งขึ้นมาเพื่อตั้งพระศาสนจักรท้องถิ่น มาถึงวันนี้หลายประเทศก็มีพระศาสนจักรของตนเอง และเข้มแข็งแล้ว ก็คิดว่า เราได้ทำหน้าที่ของเราสำเร็จแล้ว ถ้าจะต้องปิดลง ก็ไม่มีปัญหา เพราะงานที่เราได้รับมอบหมายมาสำเร็จแล้ว แต่วันนี้เรามีพระสงฆ์ส่วนใหญ่อาวุโสแล้ว ก็ยังมีงานอื่นๆ ที่จะต้องทำต่อไป”

“คณะเอ็มอีพี. ก่อตั้งขึ้นมา เพื่อทำงานอยู่กับชาวบ้าน เราถนัดทำงานกับชาวบ้าน
ในสมัยพระคุณเจ้าบาเยต์เน้นเรื่องนี้มาก และเป็นงานบุกเบิกที่ไม่ค่อยมีใครคิดทำ”  “ทุกวันนี้ พระสงฆ์เรามีเรื่องให้ต้องออกจากบ้านบ่อยๆ ไม่อยู่กับบ้าน ชาวบ้านก็ไม่อุ่นใจ แต่ถ้าวัดไหนมีคุณพ่ออยู่กับเขา ชาวบ้านอบอุ่นใจ”

คุณพ่อปาแซก  อายุ 79 ปี
อยู่ในประเทศไทย 53 ปี
ในฐานะที่เป็นสมาชิกของคณะเอ็มอีพี. คิดอย่างไร โอกาสครบ 350 ปี  “รู้สึกว่า คณะเอ็มอีพี. มีบุญนะ ได้เป็นผู้บุกเบิกงานหลายที่ หลายอย่าง เป็นคณะธรรมทูตที่พยายามแต่งตั้งพระศาสนจักรท้องถิ่น และมอบให้พระสังฆราช พระสงฆ์ท้องถิ่นทั้งหมด ไม่เอาอะไรไว้  ไม่เห็นแก่ตัว พยายามตั้งพระศาสนจักรท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์”

“พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เคยพูดว่า คณะของเรามีบุญคุณต่อ
พระศาสนจักรในประเทศไทยมาก ความจริงก็มีคณะอื่นๆ ด้วย คณะเอ็มอีพี. หากว่าจำเป็นต้องตายก็เป็นเรื่องธรรมดา มองในเรื่องอนิจจัง คณะของเราก็เป็นอนิจจัง


สักวันหนึ่งจะตายก็แล้วไป คณะเราตาย แต่ผลงานก็คงมีอยู่ต่อไป แต่ก่อนจะตายก็คงจะยังอยู่ต่อไปอีกนาน ตามกฎหมายพระศาสนจักร สมาชิกคนสุดท้ายตายไป 100 ปี…” “ถ้าตายก็ต้องตาย!”

คุณพ่อโยเซฟ  เตรบาออล อายุ 76 ปี
อยู่ในประเทศไทย 44 ปี

“เป็นโอกาสให้ระลึกถึงมิสชันนารีรุ่นแรกๆ มากกว่า พวกเขาลำบากมากแค่ไหน ดูซิ รุ่นแรก 18 คน ตายระหว่างการเดินทาง 10 คน รอดมาถึงอยุธยาได้ 8 คน”

“ผมกำลังรวบรวมรายชื่อพระสงฆ์ของคณะที่มาทำงานในสังฆมณฑลอุบลฯ ก็พบว่า หลายคนตายที่นี่ ทั้งๆ ที่มาที่อุบลฯ ได้ไม่นาน บางคนก็ต้องกลับไปพักรักษาตัวที่ฝรั่งเศส ผมคิดถึงคนเหล่านี้มากกว่า”

“พระสงฆ์ปัจจุบันก็อาวุโสกันแล้ว ผมอายุ 76 ปี ผมยังหนุ่มที่สุดอยู่ที่นี่ (หัวเราะ...)
เราก็พยายามช่วยงานเท่าที่จะทำได้ ส่วนใหญ่ก็เป็นจิตตาธิการของอาราม แม้นเกษียณก็มีอะไรทำบ้างเล็กน้อย”

คุณพ่อแบร์นาร์ด กิลแมง อายุ 80 ปี
อยู่ในประเทศไทย 53 ปี
เจ้าอาวาสวัดวารินชำราบ อุบลราชธานี


“350 ปี ก็รู้สึกดีใจที่มีคณะนี้ ทำให้เผยแพร่พระวาจากว้างขวางยิ่งขึ้น แต่ก่อนที่คณะเอ็มอีพี. จะมา ก็มี คณะเยสุอิต โดมินิกัน ฟรังซิสกันอยู่แล้ว คณะเอ็มอีพี. ก็มาช่วยเพิ่มขึ้นอีกคณะหนึ่ง”

“ผมก็ดีใจที่ได้เป็นสมาชิกในคณะนี้ และได้เป็นสมาชิกอยู่ตลอด และได้เข้ามาในประเทศไทย แล้วก็ไ ม่ได้ออกไปไหนเลย”

“เราเองก็ต้องถ่อมตัวเหมือนกัน ถ้าดูในประวัติศาสตร์พระศาสนจักร คณะก็มาเริ่มทำงานในประเทศไทย ที่อยุธยา  มีบทบาทสำคัญมาก และต่อมาไปจีน ญี่ปุ่น เกาหลี”

“ที่นี่ มีหลายคนเคยถามผมว่า คุณพ่อเป็นคณะอะไร”
“เป็นเยสุอิต?”
“คณะซาเลเซียน?”
“ผมบอกว่า คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส!”
“???....!!!”

“ดีใจอย่างหนึ่งคือ เวลานี้คณะฯ ยังทำงานตามจิตตารมณ์ดั้งเดิมของตนอยู่ คือตั้ง พระสังฆราช พระสงฆ์ สร้างบ้านเณรขึ้นที่อยุธยา”

“และที่สำคัญพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู และพระสังฆราชอื่นๆ ด้วย ได้สังเกตว่า  คณะฯ ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่สังฆม ณฑล ไม่ได้มีทรัพย์สินอะไรเป็นของตนเอง มอบให้เป็นของสังฆมณฑลทั้งหมด สังฆมณฑลจันทบุรี อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ฯลฯ ไม่มีอะไรเลยที่เป็นของคณะจริงๆ ที่เหลืออยู่ก็มีเพียงบ้านเล็กๆ เท่านั้น”

พระคุณเจ้ามีคาแอล บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์  อายุ 79 ปี
อดีตประมุขสังฆมณฑลอุบลราชธานี  ค.ศ. 1976 -2006


“สมัยที่เป็นพระสังฆราชใหม่ๆ ที่อุบลฯ ซึ่งมีคุณพ่อคณะเอ็มอีพี. และพระสงฆ์พื้นเมืองคนไทย ก็ได้เห็นการ ต้อนรับ และร่วมมืออย่างดี ซึ่งตอนแรกผมเป็นพระสงฆ์มาจากราชบุรี ก็ไม่ค่อยเคยทำงานที่นี่ ต่อมาก็ยิ่งได้เห็นคุณพ่อเหล่านี้พร้อมทั้งการอุทิศตนและความเสียสละในงานที่รับผิดชอบ รู้สึกประทับใจมากยิ่งขึ้น”

“แน่นอนว่า ตามจิตตารมณ์ของคณะเอ็มอีพี.

เขาออกไปประกาศศาสนายังประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นผลแรกของคณะเขา และคณะเขา ก็ทุ่มเทเต็มที่เพื่อประกาศข่าวดีในประเทศเอเชีย เป็นที่น่าภูมิใจว่า สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้ต้อนรับอย่างดี ทำให้อยุธยากลายเป็นศูนย์กลางการแพร่ธรรมในเอเชีย”

“เวลานี้ สมาชิกในคณะส่วนใหญ่อายุมากๆ อายุน้อยสุด 67-68 ปี มีหนุ่มๆ เพิ่มมากขึ้น สมัยก่อนผมก็เคยติ ดต่อขอสมาชิกหนุ่มๆ มาเพิ่ม แต่เขาไม่ค่อยมี สำหรับผมถือว่า มิสชันนารีเขา เป็นพลังช่วยผลักดันพระสงฆ์เราให้ทุ่มเทมากยิ่งๆ ขึ้น โดยเฉพาะกับพระสงฆ์หนุ่มๆ สมัยนี้ โดยเฉพาะเรื่องศาสนสัมพันธ์” “พระสง ฆ์ในสังฆมณฑลอุบลฯ มีกว่า 30 องค์ คณะเอ็มอีพี. มี 8 องค์ อายุ 70-80 เป็นส่วนใหญ่”

พระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ อายุ 66  ปี
ประมุขอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง

“ทุกครั้งที่พูดถึงความเชื่อของคริสตัง ที่มาของความเชื่อที่เราได้รับ  เราก็ระลึกถึงมิสชันนารี เราทุกคน วัน นี้ เราเป็นเสมือนลูกของมิสชันนารี ต้องเดินตามแบบอย่างพ่อ ทุกครั้งที่เราไปสวดในสุสานตามวัด ในหมู่บ้านและก็มีมิสชันนารีฝังไว้ในสุสานของหมู่บ้าน อยู่ท่ามกลางคริสตังของท่าน”

“มิสชันนารีเหล่านี้ เขาประกาศศาสนาแบบสุดๆ  สมัยนี้มักจะพูดว่า “ไดเรกเซลส์” ต้องเข้าหาประชาชน เห มือนอย่างที่มิสชันนารีทำ หมู่บ้านคริสตังทุกแห่ง เป็นผลมาของมิสชันนารีที่เขาได้ทำ ได้ไปเยี่ยมเยือน พูดคุยกับเขา และค่อยๆ ได้รับความสนใจมากขึ้น”“ผลงานที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือบ้านเณร ส่งพวกเราไปเรียนต่อ เช่นคุณพ่อมีเชลซึ่งท่านได้กลับไปฝรั่งเศสแล้ว และอีกหลายท่านยังอยู่ บ้านเณรแห่งนี้ได้มีจำนวนศิษย์เก่าทั้งหมด 2,000 คน ที่มาจาก 4 สังฆมณฑล และได้บวชเป็นพระสงฆ์ 150 องค์”

“นอกจากอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง บุคคลมากมายที่ท่านได้สร้าง อบรมทั้งพระสงฆ์นักบวช ฆราวาส ซึ่งได้เป็นคริสตังที่มีคุณภาพใ นทุกวันนี้”“ความเคารพรักและระลึกถึงบุญคุณต่อมิสชันนารีมีอยู่เสมอ บางแห่งมิสชันนารีบางองค์ตาย สัตบุรุษก็นำไปฝังในสุสาน ทำใ ห้คริสตังมีความมั่นใจมากขึ้น คุณพ่อเหล่านี้ ได้อยู่กับพวกเขา ทุกครั้งที่พวกเขาเข้าไปในสุสาน ส่วนใหญ่ก็จะเข้าไปสวดให้ท่าน เหมือนเป็นพ่อของพวกเขาจริงๆ”

ในฐานะที่เป็นพระอัครสังฆราช มีสังฆมณฑลอุบลฯ อุดรฯ และนครราชสีมา ก็เป็นผลงานของมิสชันนารีทั้งหมด อีสานเราทั้งหมดเดิ มอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่วันนี้กระจัดกระจายกันไป คริสตังอีสานเราต้องถามตนเองว่า เราจะรักษาความเชื่อของเราต่อไปได้อย่างไร จ ะต้องมีวิธีการอย่างไร นอกจากกลุ่มต่างๆ เช่นพลมารี และวิถีชีวิตคริสตชน น่าจะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในยุคนี้  ถ่ายทอดความเชื่อ คำสอนให้แก่ลูกหลานได้ต่อไปในยุคนี้”

คุณพ่อเอากุสติน สำราญ พันธ์วิไล
พระสงฆ์สังฆมณฑลอุบลฯ

“350 ปี ผมเองรู้สึกกตัญญูรู้คุณกับคณะเอ็มอีพี. และสำนึกเสมอ” “อยากให้พ่อที่อยู่ตามวัดต่างๆ พยายามบันทึก
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในวัดในหมู่บ้านนั้น เป็น “เวอร์ชั่น ชาวบ้าน” จะถูกไม่ถูกว่ากันอีกเรื่องนะ เพราะถ้าไม่บันทึกกันไว้ ผ่านรุ่นนี้ไปแล้ว ก็หายไปเลย เวอร์ชั่น ชาวบ้านนี้ ถ้าเราทำเวลานี้ มันยังไม่หายกลายเป็นอากาศไปหรอก”


คุณพ่อประยูร พงศ์พิษณุ์
เลขาธิการอัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง
อดีตอธิการบ้านเณรกลาง นครราชสีมา

“โดยส่วนตัวแล้ว คณะเอ็มอีพี. มีบุญคุณต่อผมเองมากเลย เมื่อ ค.ศ. 1954 ปู่ผมได้มีส่วนร่วมสร้างบ้านเณรฟาติมา ท่าแร่ และเมื่ออยู่ชั้นประถม และเข้าบ้านเณรเล็ก ก็ได้รับการอบรมจากพระสงฆ์คณะเอ็มอีพี. นี้มาตลอด คุณพ่อจั๊กแมง คุณพ่อกิลแมง และคุณพ่อโกสเต เป็นรุ่นสุดท้ายที่คุณพ่อเอ็มอีพี.อบรมและปกครอง และมีสามเณรมาจากทั้ง 4 สังฆมณฑล มารวมอยู่ด้วยกัน มีบรรยากาศอีสานจริง และเชื่อว่าเรารุ่นนั้นน่าจะมีจิตตารมณ์เอ็มอีพี.” “เมื่อมิสชันนารีแรกที่มาทำงานอยู่ 20 ปี เขาสามารถขยายสร้างวัดใหม่ได้ ถึง 20 แห่ง เพราะเขาเข้าถึงชุมชนชาวบ้านอย่างแท้จริง แม้นจะมีความยากลำบากมากกว่าสมัยนี้มากมาย สมัยก่อนเขาปกครองและอยู่กันเหมือนพ่อกับลูก” “พระคุณเจ้าบาเยต์เคยพูดว่า อยากให้พระสงฆ์พื้นเมืองเป็นเสมือนมรดกของคณะที่จะทำงานสืบต่อไป”

คณะรักกางเขน “ลูกสาวทั้งสาม”
คณะพระหฤทัยฯ และเซนต์ปอลฯ

พระคุณเจ้าลังแบรต์ เดอ ลา ม็อตต์ สมาชิกแรกเริ่มของคณะเอ็มอีพี. ผู้ก่อตั้ง คณะรักกางเขนเป็นครั้งแรก เพื่อร่วมงานและทำงานเคียงคู่ เหมือน “พ่อ-ลูก” มาตลอด  ตั้งแต่สมัยอยุธยา ค.ศ. 1672/ พ.ศ. 2215 จากหญิงสาวเพียง 5 คนเมื่อเริ่มต้น บัดนี้ ได้แยกบ้านออกเรือนกันไปมากมาย ทั้งสายตรง และลูกผสม แต่ก็ทำงานร่วมมือกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตลอด โอกาสนี้ บรรดาลูกสาวและผู้ร่วมงานกับคณะเอ็มอีพี. ต่างก็พูดถึงความรู้สึกนึกคิดต่อพ่อ จากใจลูก

ซิสเตอร์มัลลิกา วรรณชัยวงศ์ ถวายตัวมา 36 ปี
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี

“ได้เห็นจิตตารมณ์ที่มั่นคง แม้นสมาชิกน้อยลง แต่คณะเขาก็พยายามหาทุกวิถีทาง ที่จะสืบทอดงานต่า งๆ และอีกอย่างที่เห็นก็คือ เป็นคณะที่มีจิตใจกว้างมาก ที่บ้านของคณะเอ็มอีพี. มีเณร พระสงฆ์จากประเทศต่างๆ ไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส และพักอยู่ที่บ้านเขา โดยที่ทางคณะให้ทุนเรียน มีเป็นร้อยๆ คน หลายประเทศ

ในเอเชีย และแอฟริกา เวียดนาม อินเดีย เกาหลี ไทย ฯลฯ ให้ทุนแบบพอเพียง ให้โดยไม่ได้เรียกร้องที่จะเอาคืน”
“เป็นการสร้างบุคลากร เห็นได้ว่าคณะนี้  เป็นคณะที่สร้างคนและชำนาญเรื่องนี้โดยเฉพาะ” “สมัยก่อนห ลายคนบอกว่า คุณพ่อดุมาก แต่สำหรับซิสเตอร์เอง รู้สึกพบแต่คุณพ่อที่ใจดีมาก ตอนที่ไปเรียนภาษาที่ปารีส ตอนที่ได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส และเมื่อต้องทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับพระคุณเจ้าลังแบรต์ ก็ได้รับความช่วยเหลืออย่างดียิ่ง จากคุณพ่อโกสเต ท่านพยายามช่วยเหลือมาก”




ซิสเตอร์โยวานนา วนิดา ถาวร
ประธานสหพันธ์คณะรักกางเขน ไทย-ลาว
และมหาธิการิณีคณะรักกางเขนแห่งอุบลฯ สมัยที่ 2


“ซิสเตอร์ในฐานะลูกสาว คณะรักกางเขน เราถือเป็นปีพิเศษที่ระลึกถึงผู้ก่อตั้งคณะทำให้เรารู้ เข้าใจ ถึงจิตตารมณ์การรับใช้ เป็นปีที่เราจะได้กตัญญูต่อคณะเอ็มอีพี. ถือว่าเป็นเสมือน “พ่อของเรา”

“คณะเอ็มอีพี. ช่วยเหลือพวกเราทุกอย่าง ด้านการศึกษา การอบรม แนวทางนักบวช ช่วยให้เราสืบทอดเจตนารมณ์การรับใช้เป็นพิเศษ”

“งานด้านการศึกษาอบรมเยาวชน และงานสอนคำสอนกับพระสงฆ์ตามวัด แต่ให้เคารพในวัฒนธรรมของพวกเขา และช่วยหลือสตรีที่หลงผิดให้กลับใจ”

“สหพันธ์คณะรักกางเขนเราถือว่าพระคุณเจ้าลังแบรต์ เดอ ลา ม็อตต์ เป็นผู้ก่อตั้ง ที่ตังเกี๋ย เวียดนา มใต้ และมาในประเทศไทยที่อยุธยา ย้ายไปจันทบุรี ต่อมาก็ที่อุบลฯ ที่ลาว และที่ท่าแร่ สำหรับคณะรักกางเขนที่อุบลฯ นี้ คือคุณพ่อโปรดอม เป็นผู้ก่อตั้งคณะที่อุบลฯ  ค.ศ. 1889” “รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส มาชิกของคณะเราถือว่า “เป็นลูกหม้อ” ที่เป็นนักบวช คณะพื้นเมือง ถ้าพ่อเอ็มอีพี. ไม่มา เราก็คงไม่เกิด กระแสเรียกเวลานี้ก็ขึ้นๆ ลงๆ” มีสมาชิกประมาณ 130 คน

ซิสเตอร์นภาพร บุญมณีประเสริฐ ถวายตัวมา 25 ปี
รองมหาธิการิณีคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่ จังหวัดสกลนคร

ปัจจุบันซิสเตอร์มีทั้งหมดประมาณ  100 คน
“ถือว่าเป็นโอกาสพิเศษที่พวกเราจะน้อมรำลึกถึงพระคุณของคณะเอ็มอีพี.นี้ โดยเฉพาะ คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออร์ ผู้ก่อตั้งคณะรักกางเขนของเรา ที่ท่ าแร่ สกลนคร และเป็นผู้นำให้รักษาคนเจ็บป่วย” “ซิสเตอร์ของคณะออกไปเยี่ยมคนป่วยตามบ้าน แต่ต่อมา สมัยพระคุณเจ้ามีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ ได้ส่งซิสเตอร์ไปเรียนหมอโดยตรงและกลับมาเปิดเ ป็นคลินิก  เริ่มแรกก็รักษาคนที่เป็นโรคเรื้อน ต่อมาเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อโรคเรื้อนไม่มีในประเทศไทยแล้ว ก็เปลี่ยนมาช่วยรักษาคนที่เป็นโรคเอดส์หรือติดเชื้อ”“ปัจจุบันนี้เปิดคลินิกสองแห่ง คือ คลินิกเซน ต์เทเรซา เป็นของคณะ เปิดทำงาน วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ และคลินิกเซนต์ยอแซฟ เป็นของอัครสังฆมณฑลฯ เปิดทำงาน วันจันทร์ถึงวันเสาร์ ตอนนี้ก็รักษาโรคตา” “คณะเอ็มอีพี. ได้เป็นผู้นำความเชื่อมา สู่วัดท่าแร่ และขยายไปตามวัดต่างๆ  ในสังฆมณฑลของเรา ซึ่งถือว่าท่านได้ทุ่มเท เสียสละเป็นอย่างมาก เพราะสมัยก่อน  ผู้คนทางนี้ยากจนและลำบากมาก แต่ท่านก็ได้อยู่กับพวกชาวบ้าน กินอยู่เหมือ นๆ กับชาวบ้าน” “เป็นโอกาสที่เราต้องสำนึกด้วยความขอบพระคุณต่อสมาชิกของคณะนี้”




แมร์ไอรีน  ชำนาญธรรม
อธิการิณีเจ้าคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

“คณะฯ รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณของคณะเอ็มอีพี.นี้มาก ที่ได้เชิญให้คณะของเราให้มาทำงาน ที่โรงพยาบาลเซน ต์หลุยส์ตั้งแต่แรก เพื่อช่วยเหลือคนเจ็บป่วย เป็นคณะแรกที่ได้ทำและทำมาจนถึงปัจจุบันนี้ กว่า  100 ปีแล้ว

และขยายไปที่โรงพยาบาลเซนต์เมรี่  ที่นครราชสีมา โดยได้ร่วมงานกับพระศาสนจักรท้องถิ่น อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และนครราชสีมา” “อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการศึกษา นอกจากในคณะของเราแล้ว เราก็ได้ออ กไป ร่วมงานกับคุณพ่อของคณะนี้หลายๆ แห่ง ตามวัดต่างๆ ที่คุณพ่อท่านเป็นผู้บุกเบิกงาน ที่ไม่มีใครทำ โดยเฉพาะในที่ห่างไกลและยากจน” “และก็ได้ร่วมมือกับสมาชิกของคณะเอ็มอีพี. ที่จังหวัดตาก ศูนย์ของคุ ณพ่อโอลีเวียร์ ช่วยเหลือเด็กยากจน ก็ร่วมมือและสนับสนุนกิจการของเขา ทำให้ลงไปถึงคนยากจน โดยตรง”

ปัจจุบันคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร มีสมาชิก 214 คน ถือว่าเป็นคณะที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทยเวลานี้


ซิสเตอร์เชลียง เวชยันต์
มหาธิการิณีคณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แห่งกรุงเทพฯ

“คณะพระหฤทัยฯ เอง รู้สึกยินดีและรู้สึกกตัญญู รู้คุณต่อคณะเอ็มอีพี. เพราะคุณพ่อของเรา ผู้ตั้งคณะคือ คุณพ่อปีโอ ดอนท์  ก็เป็นสมาชิกของคณะเอ็มอีพี. และผู้ร่างระเบียบวินัยของคณะ จนได้รับการรับรอง อย่างเป็นทา งการคือ คุณพ่อมอรีส ยอลี ก็เป็นคณะเอ็มอีพี. คณะของเราก็มีความใกล้ชิดกับคณะเอ็มอีพี. มาตลอดจน ตั้งแต่แรก จนถึงองค์สุดท้ายเมื่อคุณพ่อยอลี ได้ย้ายไปทำหน้าที่อื่น”

“เมื่อแรกเริ่มตั้งใหม่ มีซิสเตอร์คณะรักกางเขน จากเวียดนาม 2 คน มาจากเมืองญวน ถูกเบียดเบียนก็มาอยู่ประเทศไทย ซิสเตอร์ทั้ง 2 คน ที่มาช่วยเราเริ่มต้นจากเวียดนาม ได้มาช่วยคณะของเรา ต่อมาสมาชิกคณะห มดไป คุณพ่อดอนท์ ได้มาตั้งขึ้นใหม่” “เราได้เห็นชีวิตและแบบอย่างความเสียสละ ทุ่มเท ของคุณพ่อ ร่วมมือกับ
พระศาสนจักรท้องถิ่น กับคุณพ่อตามวัด”

“จิตตารมณ์ที่เราได้สืบทอดจากคณะคือ ช่วยหญิงสาว เยาวชน สอนคำสอน ดูแลเด็กมีทั้งที่เป็นเด็กกำพร้า เด็กยากจน  มี 4 บ้าน ที่ จ.ลำปาง ที่ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง และที่โรงเรียนพระหฤทัยพัฒนเวศม์ ซึ่ง เป็นงานของคณะพระหฤทัยฯ เอง  ส่วนที่ท่าไข่ เซนต์ร็อค จ.ฉะเชิงเทรา เป็นของ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มีซิสเตอร์ไปช่วยทำงาน” ปัจจุบันในคณะมีสมาชิก 172 คน

ซิสเตอร์โยวานนา วนิดา ถาวร เป็นประธาน
1 คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
ก่อตั้ง วันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1672/พ.ศ. 2215
พระสังฆราชลังแบรต์ เดอ ลา ม็อตต์
ซิสเตอร์พเยาว์ ถาวรวงศ์ มหาธิการิณี
สมาชิก 144 คน

2 คณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี
ก่อตั้ง  ค.ศ. 1889 /พ.ศ. 2432
คุณพ่อกองส์ตอง ยัง โปรดอม
ซิสเตอร์วนิดา ถาวร มหาธิการิณี
สมาชิก 130 คน

3 คณะรักกางเขนแห่งท่าแร่
ก่อตั้ง วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1924/พ.ศ. 2467
คุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออร์ คณะเอ็มอีพี.
ซิสเตอร์โดนาต้า พีรพงศ์พิพัฒน์ มหาธิการิณี
สมาชิก 100 คน

4 คณะรักกางเขนแห่งเชียงหวาง / แห่ง สปปล.
สมาชิก 32 คน

5 คณะรักกางเขนแห่งกัมปงจาม/กัมพูชา
สมาชิก 3 คน

6 คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ
ก่อตั้ง ค.ศ. 1900/พ.ศ. 2443
คุณพ่อปีโอ ดอนท์ คณะเอ็มอีพี.
ซิสเตอร์มารีอา เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี
สมาชิก 172 คน