หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ภาค ๕  ขบวนการร้องเรียนอำนาจบริหาร และการปลด  หรือการย้ายเจ้าอาวาส

ตอน ๑  การร้องเรียนสู้คำสั่งฝ่ายบริหาร

Can.1732 What is determined concerning decrees in the canons of this section is also to be applied to all particular administrative acts which are posited in the external forum outside a trial with the exception of those issued by the Roman Pontiff or an ecumencial council.

Can.1733 $1. It is very desirable that whenever someone feels injured by a decree, there not be a contention between this person and the author of the decree but that care be taken by common counsel to find an equitable solution between them, perhaps through the use of wise persons in mediation and study so that the controversy may be avoided or solved by some suitable means.

$2. The conference of bishops can determine that in every diocese

some office or council be permanently established whose function is to find and suggest equitable solutions in accord with norms determined by the same conference; but if the conference has not done this, a bishop can establish a council or office of this kind.

$3. The office or council mentioned in $2 is to be of assistance especially at the time when revocation of a decree has been petitioned in accord with the norm of can.1734 and the time for recourse has not elapsed; but if recourse has been taken against the decree, the superior who examines the recourse is to urge the one making the recourse and the author of the decree to seek a solution of this type whenever the superior sees hope of a successful outcome.

Can.1734 $1. Before proposing recourse, a person must seek the revocation or emendation of the decree in writing from its author; when such a petition is proposed it is understood that the suspension of the execution of the decree is also being petitioned.

$2. The petition must be made within a peremptory period of ten available days (tempus utile) from legal notice of the decree.

$3. The norms of $$1 and 2 are not valid:
1.concerning recourse proposed to the bishop against decrees issued by authorities subject to him;

2.concerning recourse proposed against a decree by which hierarchic recourse is decided unless the decision has been made by the bishop;

3. concerning recourses to be proposed in accord with cann.57 and 1735.

Can.1735 If, within thirty days from the time when the petition mentioned in can.1734 has come to him, the author of the decree communicates a new decree by which he corrects the prior one or decrees that the petition must be rejected, the period for recourse runs from the notice of the new decree; but if within the thirty days he decrees nothing the period runs from the thirtieth day.

Can.1736 $1. In those matters in which hierarchic recourse suspends the execution of the decree, the petition also has the same effect as that mentioned in can.1734.

$2. In other cases, unless within ten days from the time when the petition mentioned in can.1734 has come to him, the author of the decree decrees that its execution is to be suspended, a suspension can meanwhile be petitioned from his hierarchic superior who can decree it only for grave reasons and always cautiously lest the salvation of souls be injured in some way.

$3. When the execution of the decree has been suspended in accord with $2, if recourse is proposed later, the one who must deal with the recourse in accord with can.1737, $3 is to determine whether the suspension is to be confirmed or revoked.

$4. If no recourse is proposed against the decree within the stated period, the suspension of the execution effected in the interim in accord with $$1 or 2 ceases by that very fact.

Can.1737 $1. One who claims to have been injured by a decree can make recourse for any just reason to the hierarchic superior of the one who issued the decree; the recourse can be proposed before the author of the decree, who much immediately transmit it to the competent hierarchic superior.

$2. Recourse must be proposed within a peremptory period of fifteen available days which run from the day on which the decree was published in cased mentioned in can.1734,$3 but in other cases they run in accord with the norm of can.1735.

$3. Also in cases in which recourse does not suspend execution of the decree by the law itself, and the suspension was not decreed in accord with can.1736, $2, nevertheless, the superior can order that the execution be suspended for a grave cause yet cautiously lest the salvation of souls suffer any harm.

Can.1738 The one taking recourse always has a right to use an advocate or a procurator, avoiding useless delays; and indeed an advocate ex officio is to be constituted, if the one taking recourse lacks an advocate and the superior thinks one necessary; but the superior can always command that the one taking recourse be present to be questioned.

Can.1739 The superior who examines the recourse has the power, as the case requires, not only to confirm the decree or to declare it null but also to rescind, to revoke, or, if it appears to the superior to be more expedient, to amend, subrogate or obrogate the decree.2. incompetence or a permanent infirmity of mind or body which renders a pastor incapable of performing his duties in a useful way;

มาตรา ๑๗๓๒ สิ่งที่กำหนดเกี่ยวกับคำสั่งในมาตราต่างๆ ของตอนนี้ ให้ปรับใช้กับการกระทำทั้งหมดของฝ่ายบริหารที่ประกาศออกมา นอกเหนือจากการพิจารณาคดีทางศาล โดยยกเว้นเรื่องที่ให้โดยพระสันตะปาปาเอง หรือโดยสภาสังคายนาสากล

มาตรา ๑๗๓๓ วรรค ๑ เมื่อผู้ใดรู้สึกตนได้รับความเสียหายจากคำสั่ง เป็นการปรารถนาอย่างยิ่งให้หลีกเลี่ยงการโต้แย้งระหว่างบุคคลนั้นกับผู้มีอำนาจออกคำสั่ง แต่ให้เอาใจใส่ให้บรรลุถึงการแก้ไขที่เที่ยงธรรมโดยการปรึกษาร่วมกัน อาจทำได้โดยใช้ความช่วยเหลือของผู้รอบรู้ที่เป็นคนกลางช่วยพิจารณาและศึกษาปัญหา ด้วยวิธีนี้ข้อโต้แย้งอาจได้รับการหลีกเลี่ยงหรือนำไปสู่ข้อสรุปโดยวิธีการอันเหมาะสมบางประการ

วรรค ๒ สภาพระสังฆราชสามารถกำหนดให้แต่ละสังฆมณฑล  ตั้งสำนักงานถาวร หรือตั้งสภาที่มีหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ที่ออกโดยสภาพระสังฆราช เพื่อแสวงหาและแนะนำข้อแก้ไขที่ชอบธรรม แม้ว่าสภาพระสังฆราชไม่ได้สั่ง พระสังฆราชอาจตั้งสำนักงานหรือสภาดังกล่าวได้

วรรค ๓ สำนักงานหรือสภาที่กล่าวในวรรค ๒ ต้องเอาใจใส่ในงานของตน โดยเฉพาะเมื่อมีการร้องขอให้ยกเลิกคำสั่งตามมาตรา ๑๗๓๔ และเวลากำหนดสำหรับการร้องขอยังไม่สิ้นสุด ถ้าการร้องขอเป็นการยื่นคัดค้านคำสั่ง เมื่อใดก็ตามเมื่อผู้ใหญ่มองเห็นว่ามีความหวังของทางออกที่ดี ผู้ใหญ่ผู้ที่ได้ตรวจคำร้องเรียนต้องกระตุ้นเตือนทั้งผู้ร้องเรียนและผู้ออกคำสั่งให้แสวงหาทางออกแบบนี้

มาตรา ๑๗๓๔ วรรค ๑ ก่อนการยื่นคำร้องเรียน บุคคลผู้นี้ต้องเขียนขอให้มีการถอนหรือแก้ไขคำสั่งจากผู้ออกคำสั่ง เมื่อยื่นคำขอดังกล่าวก็ถือเป็นที่เข้าใจว่าการระงับการปฏิบัติตามคำสั่งถูกขอด้วย

วรรค ๒ การร้องขอต้องกระทำภายในระยะเวลา ๑๐ วันทำการ นับจากได้รับคำสั่งตามกฎหมายแล้ว

วรรค ๓ กฎเกณฑ์ของวรรค ๑ และวรรค ๒ นำมาใช้ไม่ได้เมื่อ :

๑. เกี่ยวกับการยื่นคำร้องเรียนต่อพระสังฆราช เพื่อคัดค้านคำสั่งที่ออกโดยอำนาจที่ขึ้นกับท่าน

๒. เกี่ยวกับการยื่นคำร้องเรียนคัดค้านคำสั่ง ซึ่งโดยคำสั่งนี้คำร้องเรียนตามฐานันดรถูกตัดสินแล้ว เว้นไว้แต่ว่า คำตัดสินนั้นเป็นของพระสังฆราชเอง

๓.เกี่ยวกับการร้องเรียนตามมาตรา ๕๗ และมาตรา ๑๗๓๕

มาตรา ๑๗๓๕ ถ้าภายใน ๓๐ วัน นับจากวันที่คำร้องที่ระบุในมาตรา ๑๗๓๔ มาถึงผู้ออกคำสั่ง ผู้ออกคำสั่งแจ้งคำสั่งใหม่ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำสั่งเดิม หรือออกคำสั่งให้คำร้องขอตกไป กำหนดเวลาร้องเรียนให้นับจากวันแจ้งคำสั่งใหม่ อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ออกคำสั่งไม่ออกคำสั่งใดๆ ภายใน ๓๐ วัน กำหนดเวลาเริ่มนับจากวันที่ ๓๐

มาตรา ๑๗๓๖ วรรค ๑ ในกรณีของการร้องเรียนตามฐานันดรที่ระงับการปฏิบัติคำสั่ง คำร้องขอที่ระบุในมาตรา ๑๗๓๔ มีผลบังคับเช่นกัน

วรรค ๒ ในกรณีอื่น หากภายใน ๑๐ วันของการได้รับคำร้องตามที่ระบุในมาตรา ๑๗๓๔ ผู้ออกคำสั่งมิได้ออกคำสั่งให้ระงับการปฏิบัติ การระงับการปฏิบัติชั่วคราวสามารถขอจากผู้ใหญ่ตามฐานันดรของผู้ออกคำสั่งได้ ผู้ใหญ่ผู้นี้สามารถออกคำสั่งได้เฉพาะเมื่อมีเหตุผลหนักเท่านั้น และต้องคำนึงเสมอที่จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อความรอดของวิญญาณในทางใดๆ

วรรค ๓ เมื่อมีการระงับการปฏิบัติตามคำสั่งตามวรรค ๒ หากในภายหลังมีการร้องเรียนผู้ต้องตรวจคำร้องเรียนตามมาตรา ๑๗๓๗ วรรค ๓ ต้องกำหนดว่า จะยืนยันหรือยกเลิกการระงับนั้น

วรรค ๔ หากไม่มีการยื่นคำร้องเรียนสู้คำสั่งภายในระเวลากำหนด การระงับการปฏิบัติที่มีผลแบบชั่วคราวตามวรรค ๑ และวรรค ๒ ก็เป็นอันตกไป

มาตรา ๑๗๓๗ วรรค ๑ บุคคลใดที่รู้สึกว่าตนเองได้รับความเสียหายจากคำสั่ง สามารถทำการร้องเรียนด้วยเหตุผลที่ชอบธรรมใดๆ ต่อผู้ใหญ่ตามฐานันดรของผู้ออกคำสั่ง คำร้องเรียนนี้สามารถยื่นต่อผู้ออกคำสั่งซึ่งต้องส่งคำร้องเรียนต่อไปยังผู้ใหญ่ตามฐานนันดรผู้ทรงอำนาจโดยทันที

วรรค ๒ การร้องเรียนต้องยื่นภายในกำหนดเวลาเด็ดขาดของ ๑๕ วันทำการ ในกรณีที่ระบุตามมาตรา ๑๗๓๔ วรรค ๓ ระยะเวลากำหนดเริ่มนับจากวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ในกรณีอื่นๆ ระยะเวลากำหนดเริ่มนับตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๑๗๓๕

วรรค ๓ แม้ในบรรดากรณีซึ่งการร้องเรียนมิได้ระงับการปฏิบัติตามคำสั่ง โดยตัวกฎหมายเอง หรือในกรณีที่การระงับได้ออกเป็นคำสั่งตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๑๗๓๖ วรรค ๒ ผู้ใหญ่ด้วยเหตุผลอันหนักสามารถออกคำสั่งให้ระงับการปฏิบัติ แต่ต้องระวังเสมอไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อความรอดของวิญญาณในทางใดๆ

มาตรา ๑๗๓๘ ผู้ทำการร้องเรียนมีสิทธิ์มีทนายหรือตัวแทนได้เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าโดยไม่จำเป็น ยิ่งกว่านั้นต้องตั้งทนายทางการหากผู้ร้องไม่มีทนายและผู้ใหญ่เห็นว่าจำเป็น กระนั้นก็ดีผู้ใหญ่สามารถสั่งให้ผู้ร้องเรียนมาปรากฏตัวเพื่อให้ปากคำได้เสมอ

มาตรา ๑๗๓๙ เท่าที่กรณีเรียกร้อง อนุญาตให้ผู้ใหญ่ซึ่งตรวจสอบคำร้องเรียน ไม่เพียงแต่ยืนยันคำสั่งหรือประกาศให้คำสั่งเป็นโมฆะเท่านั้น แต่ยังสามารถยกเลิก

เพิกถอน หรือถ้าผู้ใหญ่เห็นว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า ท่านสามารถแก้ไข ออกใหม่ หรือออกคำสั่งที่ตรงกันข้าม