หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

บท ๒ ขั้นตอนการดำเนินคดี

Can.1720 If the ordinary decides that he is to proceed by a decree without a trial:

1. he is to inform the accused about the accusation and the proofs, giving the person the opportunity of self-defense unless the accused neglects to be in court after having been duly summoned;

2. he is to consider carefully the proofs and arguments with two assessors;

3. if the offense is certainly proved and the criminal action has not been terminated, he is to issue the decree in accord with can.1342-1350, explaining the reasons in law and in fact, at least briefly.

Can.1721 $1. If the ordinary decrees that a judicial penal process is to be begun, he is to give the acts of the investigation to the promoter of justice who is to present a libellus of accusation to the judge in accord with the norms of cann.1502 and 1504.

$2. The promoter of justice constituted as such by the higher court acts as the petitioner before that tribunal.

Can.1722 To preclude scandals, to protect the freedom of witnesses and to safeguard the course of justice, having heard the promoter of justice and having cited the accused, the ordinary at any stage of the process can remove the accused from the sacred ministry or from any ecclesiastical office or function, can impose or prohibit residence in a given place or territory, or even prohibit public participation in the Most Holy Eucharist; all these measures must be revoked once the reason for them ceased; they also end by the law itself when the penal process ceases.

Can.1723 $1. When citing the accused, the judge must invite the accused to appoint an advocate in accord with the norm of can.1481, $1, within a period of time set by the judge.

$2. But if the accused does not provide for this the judge is to name an advocate before the joinder of issues (contestatio litis) who will remain in this function as long as the accused has not personally appointed an advocate.

Can.1724 $1. In any grade of the trail, renunciation of the instance can be made by the promoter of justice either at the order of or with the consent of the ordinary in light of whose deliberation the process was set in motion.

$2. For validity, the renunciation must be accepted by the accused unless such a one is declared to be absent from the trial.

Can.1725 In the discussion of the case, whether it be done in writing or orally, the accused always has the right to write or speak last either personally or through an advocate or procurator.

Can.1726 In any grade or stage of the penal trial, if it becomes clearly proven that the offense was not perpetrated by the accused, the judge must declare this in a sentence and absolve the accused, even if it is also proven that the criminal action is terminated.

Can.1727 $1.The accused can propose an appeal even though dismissed in a sentence solely because the penalty was facultative or because the judge used the power mentioned in cann.1344 and 1345.

$2. The promoter of justice can appeal whenever it appears that the reparation of scandal or the restitution of justice has not been provided sufficiently.

Can.1728 $1. With due regard for the prescriptions of the canons of this title, unless the nature of the matter is opposed, the canons on trials in general and on ordinary contentious trials must be applied in the penal trial, observing the special norms for cases which refer to the public good.

$2. The accused is not bound to confess the offense and cannot be constrained to take an oath.

มาตรา ๑๗๒๐ หากผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจตัดสินว่า ท่านต้องดำเนินการโดยออกคำสั่งนอกขบวนการพิจารณาความทางศาล

งๆ โดยให้ผู้ถูกกล่าวหานั้นมีโอกาสแก้ข้อกล่าวหา เว้นไว้แต่ว่า ผู้ถูกกล่าวหาเพิกเฉยการมาขึ้นศาลหลังจากได้รับการเรียกตัวอย่างถูกต้องแล้ว

๒.ท่านต้องพิจารณาหลักฐานพิสูจน์  และข้อโต้แย้งทุกอย่างอย่างรอบคอบกับผู้เชี่ยวชาญอีก ๒ ท่าน

๓.ถ้าความผิดถูกพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งและยังไม่หมดอายุความทางอาญา ท่านต้องออกคำสั่งตามกฎหมายมาตรา ๑๓๔๒–๑๓๕๐ โดยระบุเหตุผลตามข้อกฎหมายและตามข้อเท็จจริงอย่างน้อยอย่างสั้นๆ

มาตรา ๑๗๒๑ วรรค ๑ ถ้าผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจออกคำสั่งให้มีการดำเนินการคดีอาญาได้ ท่านต้องมอบสำนวนการสอบสวนคดีแก่ผู้ผดุงความยุติธรรม ซึ่งต้องเสนอหนังสือฟ้องแก่ผู้พิพากษาตามกฎเกณฑ์ของมาตรา ๑๕๐๒ และมาตรา ๑๕๐๔วรรค ๒ ผู้ผดุงความยุติธรรมที่ได้รับการแต่งตั้งโดยศาลลำดับที่สูงกว่า    จะทำหน้าที่เป็นโจทก์ในศาลนั้น

มาตรา ๑๗๒๒ เพื่อป้องกันการเป็นที่สะดุด เพื่อปกป้องเสรีภาพของพยานบุคคล และเพื่อพิทักษ์ความยุติธรรม หลังจากได้ฟังผู้ผดุงความยุติธรรม และได้เรียกผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ไม่ว่าในขั้นตอนใดของการพิจารณาคดี ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจสามารถห้ามผู้ถูกล่าวหาทำหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือห้ามปฏิบัติหน้าที่และตำแหน่งทางพระศาสนจักร ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจสามารถกำหนดที่อยู่หรือห้ามไม่ให้อยู่ในสถานที่หรือในเขตที่กำหนดนั้นๆ หรือแม้ห้ามร่วมพิธีอย่างเปิดเผยในพิธีบูชาขอบพระคุณ อย่างไรก็ตาม ถ้าเหตุผลนี้สิ้นสุดลง ข้อจำกัดเหล่านี้ถูกยกเลิก ข้อจำกัดเหล่านี้สิ้นสุดตามกฎหมายทันทีที่ขบวนการพิจารณาคดีทางอาญาสิ้นสุดลง

มาตรา ๑๗๒๓ วรรค ๑ เมื่อผู้พิพากษาเรียกผู้ถูกกล่าวหา ผู้พิพากษาต้องแนะผู้ถูกกล่าวหาให้แต่งตั้งทนายสำหรับตัวเองตามกฎเกณฑ์มาตรา ๑๔๘๑ วรรค ๑ แต่ต้องอยู่ภายในระยะเวลาที่ผู้พิพากษากำหนด

วรรค ๒ แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้จัดการเรื่องนี้ ผู้พิพากษาต้องแต่งตั้งทนายให้ ก่อนการกำหนดประเด็นปัญหา และทนายผู้นี้จะปฏิบัติหน้าที่ตราบเท่าที่ผู้ถูกกล่าวหายังมิได้แต่งตั้งทนายของตนขึ้น

มาตรา ๑๗๒๔ วรรค ๑ ไม่ว่าในชั้นใดของขบวนการพิจารณาคดี ผู้ผดุงความยุติธรรมสามารถบอกเลิกการฟ้องร้องไม่ว่าตามคำสั่งหรือด้วยความยินยอมของผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นผู้ได้เริ่มต้นการพิจารณาคดี

วรรค ๒ เพื่อให้มีผลตามกฎหมาย การบอกเลิกต้องได้รับการยอมรับจากผู้ถูกกล่าวหาเว้นไว้แต่ว่า  มีการประกาศว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่อยู่ในการพิจารณาคดี

มาตรา ๑๗๒๕ ในการถกคดีไม่ว่าจะทำโดยการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวาจา ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิเสมอที่จะเขียนหรือพูดเป็นคนสุดท้ายด้วยตัวเขาเอง หรือโดยผ่านทางทนาย หรือตัวแทน

มาตรา ๑๗๒๖ ไม่ว่าในชั้นใดหรือขั้นตอนใดของการพิจารณาคดีความอาญา ถ้าปรากฏชัดเจนว่าความผิดมิได้ถูกกระทำโดยผู้ถูกกล่าวหา ผู้พิพากษาต้องประกาศเรื่องนี้ในคำพิพากษา   และปล่อยผู้ถูกกล่าวหาให้พ้นผิด แม้ว่าในเวลาเดียวกันนั้นเป็นที่ชัดแจ้งว่าอายุความของการกระทำผิดทางอาญาได้สิ้นสุดลงแล้วก็ตาม

มาตรา ๑๗๒๗ วรรค ๑ ผู้ถูกกล่าวหาสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ แม้ว่ามีคำพิพากษาให้ปล่อยตัวแล้ว เพียงเพราะว่าการลงโทษเป็นแบบเลือกลงโทษหรือไม่ลงโทษก็ได้ หรือเพราะว่าผู้พิพากษาได้ใช้อำนาจตามระบุไว้ในมาตรา ๑๓๔๔ และ ๑๓๔๕

วรรค ๒ ผู้ผดุงความยุติธรรมสามารถอุทธรณ์ได้ เมื่อเขาเห็นว่าการชดเชยการเป็นที่สะดุด หรือการชดใช้ตามความยุติธรรมยังจัดให้ไม่เพียงพอ

มาตรา ๑๗๒๘ วรรค ๑ โดยคำนึงถึงข้อกำหนดของมาตราทั้งหลายของลักษณะนี้ เว้นไว้แต่ว่า ธรรมชาติของเรื่องเรียกร้องเป็นอย่างอื่น ในขบวนการพิจารณาความอาญาผู้พิพากษาต้องใช้มาตราเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่งธรรมดา และกฎเกณฑ์พิเศษที่เกี่ยวกับคดีที่เกี่ยวข้องกับความดีสาธารณะ

วรรค ๒ ผู้ถูกกล่าวหาไม่ถูกบังคับให้ยอมรับความผิด และไม่อาจถูกบังคับให้สาบาน