หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ลักษณะ ๗ การประกาศคำตัดสินของผู้พิพากษา

Can.1607 After the case has been tried in a judicial manner, if it is the principal case, it is settled by the judge by a definitive sentence; if it is an incidental

case, it is settled by an interlocutory sentence, with due regard for the prescription of can.1589, $1.

Can.1608 $1. For the pronouncement of any kind of sentence, there must be in the mind of the judge moral certitude regarding the matter to be settled by the sentence.

$2. The judge must derive this certitude from the acts and the proofs.

$3. However, the judge must evaluate the proofs conscientiously with due regard for the prescriptions of the law concerning the efficacy of certain proofs.

$4. A judge who cannot arrive at this certitude, is to pronounce that the right of the petitioner is not established, and is to dismiss the respondent as absolved, unless there is question of a case which enjoys the favor of the law, in which case the decision must be must be in favor of it.

Can.1609 $1. If the tribunal is collegiate, the presiding judge of the college is to determine on what day and at what hour the judges are to convene for their deliberation; and the meeting is to be held at the tribunal unless   a   special reason   suggestsotherwise.

$2. On the day assigned for the meeting, the judges shall individually submit in writing their conclusions on the merits of the case and the reasons, both in law and in fact, for arriving at these conclusions, which are to be appended to the acts of the case and are to be kept secret.

$3. After the invocation of the Divine Name, the conclusions of the individual judge are to be made known in the order of precedence, but beginning always with the ponens or the relator of the case, and there is to be a discussion under the leadership of the the presiding judge, especially in order to decide what is to be determined in the dispositive part of the sentence.

$4. In the discussion, however, each judge has the right to retract his or her original conclusions; on the other hand, a judge who does not wish to accede to the decision of the others, can demand that his or her conclusions be transmitted to the higher tribunal if there is an appeal.

$5. But if the judges are unwilling or unable to arrive at a sentence in the  first discussion,  the decision can be deferred to another meeting but not beyond one week unless the instruction of the case must be completed in accord with the norm of can.1600.
Can.1610$1. If there is only one judge, he himself will write the sentence.

$2. In a collegiate tribunal it is the duty of the ponens or relator to write the sentence, drawing the reasons from those which the individual judges brought out in the discussion, unless it has been previously decided by the majority of the judges which reasons are to be preferred; then the sentence is to be submitted for the approval of the individual judges.

$3. The sentence must be issued not beyond one month from the day on which the case was settled, unless, in a collegiate tribunal, the judges set a longer period of time for a serious reason.

Can.1611 A sentence must:

1. settle the controversy discussed before the tribunal with an appropriate response given to each one of the questions;

2. determine what obligations of the parties arise from the trial and how they must be fulfilled;

3. set forth the reasons, that is, the motives both in law and in fact on which the dispositive section of the sentence is based;

4. make a determination about the expenses of the suit.

Can.1612 $1. After the invocation of the Divine Name, the sentence must express in sequence who is the judge or the tribunal; who is the petitioner, the respondent, the procurator, with the names and domiciles correctly indicated; the promoter of justice and the defender of the bond, if they took part in the trial.

$2. Next, it must briefly report the facts together with the conclusions of the parties and the formulation of the doubts.

$3. Following these points is the dispositive section of the sentence preceded by the reasons on which it is based.

$4. It is to close with an indication of the day and place where it was rendered and with the signature of the judge or, if it is a collegiate tribunal, with the signatures of all the judges and the notary.Can.1613 The regulations mentioned above concerning a definitive sentence are to be adapted to an interlocutory sentence.

Can.1614 The sentence is to be published as soon as possible with an indication of the ways in which it can be challenged; it has no force before publication even if the dispositive section has been made known to the parties with the permission of the judge.

Can.1615 The publication or announcement of the sentence can be made either by giving a copy of the sentence to the parties or their procurators or by sending a copy to them in accord with the norm of can.1509.

Can.1616 $1. If in the text of the sentence either an error in calculations has crept in, or a material error has occurred in transcribing the dispositive section, or reporting the facts or the petitions of the parties, or if the points required by can.612, $4 were omitted, the sentence must be corrected or completed at the request of the parties or ex officio by the tribunal which issued the sentence; the parties, moreover, must always be heard and a decree appended at the bottom of the sentence.

$2. If any party objects, the incidental question is to be settled by decree.

Can.1617 The other pronouncements of a judge, over and above the sentence, are decrees which, if they are not merely procedural, have no force unless they express the reasons at least in a summary fashion, or refer to reasons expressed in some other act.

Can.1618 An interlocutory sentence or a decree has the force of a definitive sentence if it stops the trial, or if it puts and end to the trial or to some grade of the trial as regards at least some party in the case.

มาตรา ๑๖๐๗ หลังจากคดีได้มีการไต่สวนตามกฎหมายแล้ว ถ้าเป็นคดีหลัก ผู้พิพากษาต้องตัดสินด้วยคำตัดสินอย่างเด็ดขาด     ถ้าเป็นคดีแทรกซ้อนให้ตัดสินด้วยวาจา โดยคำนึงถึงข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๕๘๙ วรรค ๑

มาตรา ๑๖๐๘ วรรค ๑ ในการประกาศคำตัดสินใดๆ ผู้พิพากษาต้องมีความแน่ใจตามหลักจริยธรรม เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องกำหนดด้วยการตัดสิน

วรรค ๒ ผู้พิพากษาต้องเอาความแน่นอนนี้มาจากสำนวนคดี และจากหลักฐานพิสูจน์

วรรค ๓ อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาต้องประเมินหลักฐานจากมโนธรรมของตนเอง โดยคำนึงถึงข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของหลักฐานพิสูจน์บางประการ

วรรค ๔ ผู้พิพากษาซึ่งไม่มาถึงความแน่ใจเช่นนี้ ผู้พิพากษาต้องประกาศว่า สิทธิของผู้ฟ้องไม่มีอยู่ และต้องให้จำเลยพ้นจากข้อกล่าวหา เว้นไว้แต่ว่า มีปัญหาของคดีที่ได้รับการสนับสนุนจากข้อกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ต้องตัดสินเข้าข้างคดีนั้น

มาตรา ๑๖๐๙ วรรค ๑ ถ้าเป็นศาลองค์คณะ ประธานผู้พิพากษาต้องกำหนดวันและเวลาที่คณะผู้พิพากษาต้องมารวมกันเพื่อการปรึกษาหารือกัน และการประชุมต้องทำที่ศาลเท่านั้น เว้นไว้แต่ว่า มีเหตุผลพิเศษชักนำให้ทำเป็นอย่างอื่น

วรรค ๒ ในวันนัดประชุม ผู้พิพากษาแต่ละคนต้องยื่นข้อสรุปความถูกผิดของคดี และเหตุผลของตนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ซึ่งต้องผนวกเข้ากับสำนวนคดี และต้องเก็บไว้เป็นความลับ

วรรค ๓ หลังจากได้เรียกขานพระนามของพระเป็นเจ้าแล้ว ผู้พิพากษาแต่ละคนต้องให้ข้อสรุปของตนตามลำดับความสำคัญ  แต่ต้องเริ่มต้นด้วยผู้สอบคดีหรือผู้ทำสำนวนก่อนเสมอ และต้องมีการอภิปรายให้เหตุผลภายใต้การนำของประธานผู้พิพากษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องตัดสินว่าอะไรต้องถูกกำหนดในแนวทางของคำตัดสิน

วรรค ๔ อย่างไรก็ตาม ในการอภิปรายให้เหตุผล ผู้พิพากษาแต่ละคนมีสิทธิ์ถอนข้อสรุปเดิมของตน ส่วนผู้พิพากษาผู้ไม่พึงประสงค์จะเห็นด้วยกับคำตัดสินของคนอื่น สามารถเรียกร้องให้ส่งข้อสรุปของตนไปยังศาลที่สูงกว่า ถ้ามีการอุทธรณ์

วรรค ๕ แต่ถ้าคณะผู้พิพากษาไม่ประสงค์ หรือไม่สามารถทำการตัดสินในการอภิปรายให้เหตุผลในครั้งแรกได้ การ

ตัดสินสามารถเลื่อนไปในการประชุมครั้งใหม่ แต่ว่าไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ เว้นไว้แต่ว่า การสอบคดีต้องทำให้สำเร็จตามข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๖๐๐

มาตรา ๑๖๑๐ วรรค ๑ หากมีผู้พิพากษาเพียงคนเดียว ผู้พิพากษาคนนั้นจะเป็นผู้เขียนคำตัดสินเอง

วรรค ๒ ในศาลที่เป็นองค์คณะ เป็นหน้าที่ของผู้สอบคดีหรือผู้ทำสำนวนที่จะเขียนคำตัดสิน โดยคัดเลือกเหตุผลจากเหตุผลต่างๆ ที่ผู้พิพากษาแต่ละคนนำเสนอในการอภิปรายให้เหตุผล เว้นไว้แต่ว่า ผู้พิพากษาส่วนใหญ่ได้กำหนดเหตุผลที่ต้องใช้ไว้ก่อนแล้ว จากนั้นต้องมอบคำตัดสินเพื่อให้ผู้พิพากษาแต่ละคนรับรอง

วรรค ๓ ต้องส่งคำตัดสินในเวลาไม่เกิดหนึ่งเดือนนับจากวันที่ตัดสินคดี เว้นไว้แต่ว่า ในศาลที่เป็นองค์คณะ คณะผู้พิพากษากำหนดระยะเวลานานกว่า เพราะมีเหตุผลหนัก

มาตรา ๑๖๑๑ คำตัดสินต้อง:

๑. ยุติข้อพิพาทที่ได้ฟ้องร้องในศาล โดยให้คำตอบที่เหมาะสมแก่ปัญหาแต่ละข้อ

๒.กำหนดข้อบังคับบางประการใดที่เกิดขึ้นแก่คู่คดีจากการดำเนินคดี และ

กำหนดว่าข้อบังคับเหล่านี้ต้องทำให้สำเร็จได้อย่างไร

๓.ให้เหตุผลหรือเหตุจูงใจทั้งในแง่กฎหมายและในข้อเท็จจริงว่าแนวทางของคำตัดสินนี้ มีพื้นฐานบนเหตุผลหรือเหตุจูงใจประการใด

๔.กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี

มาตรา ๑๖๑๒ วรรค ๑ หลังจากได้เรียกขานพระนามของพระเป็นเจ้าแล้ว คำตัดสินต้องประกาศตามลำดับว่า ใครเป็นผู้พิพากษาหรือเป็นศาลใด ใครเป็นโจทก์ จำเลย ตัวแทน พร้อมกับระบุชื่อและภูมิลำเนาที่ถูกต้อง ผู้ผดุงความยุติธรรม และผู้ปกป้องพันธะ ถ้าหากพวกเขามีส่วนในการดำเนินคดี

วรรค ๒ ลำดับต่อไป รายงานข้อเท็จจริงโดยสังเขป พร้อมกับข้อสรุปของคู่คดีและระบุข้อปัญหา

วรรค ๓ ต่อจากนั้นเป็นแนวทางของคำตัดสินที่นำด้วยเหตุผลซึ่งเป็นพื้นฐานของคำตัดสิน

วรรค ๔ คำพิพากษาต้องจบด้วยการระบุวันเดือนปี และสถานที่ที่ทำการตัดสิน พร้อมกับลายมือชื่อของผู้พิพากษาผู้นั้น หรือถ้าเป็นศาลที่เป็นองค์คณะ ต้องมีลายมือชื่อของผู้พิพากษาทุกคน และของนายทะเบียนศาล

มาตรา ๑๖๑๓ ระเบียบที่กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวกับคำตัดสินที่เด็ดขาด และให้นำมาปรับใช้กับการตัดสินด้วยวาจา

มาตรา ๑๖๑๔ คำตัดสินต้องปิดประกาศโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ พร้อมกับระบุวิธีการคัดค้านไว้ คำตัดสินไม่มีผลบังคับแต่ประการใดก่อนการปิดประกาศ ถึงแม้ว่าผู้พิพากษาได้อนุญาตให้คู่คดีทราบถึงแนวทางของคำตัดสินแล้วก็ตาม

มาตรา ๑๖๑๕ การปิดประกาศ หรือการแจ้งให้ทราบคำตัดสิน สามารถทำได้โดยทั้งวิธีให้สำเนาคำตัดสินแก่คู่คดี หรือแก่ตัวแทนของคู่คดี หรือโดยการส่งสำเนาไปยังพวกเขา ตามข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๕๐๙

มาตรา ๑๖๑๖ วรรค ๑ หากในตันฉบับของคำตัดสินมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการคำนวณเกิดขึ้น หรือมีข้อผิดพลาดในเรื่องเนื้อหาในการคัดลอกแนวทางคำตัดสิน หรือในรายงานข้อเท็จจริง หรือในคำฟ้องร้องของคู่คดี หรือสิ่งที่กำหนดตามกฎหมายมาตรา ๑๖๑๒ วรรค ๔ ถูกละเลย ศาลที่ออกคำตัดสินนั้นต้องแก้ไข หรือทำให้คำตัดสินนั้นสมบูรณ์ โดยการร้องขอของคู่คดี หรือโดยหน้าที่ แต่ต้องฟังคู่คดีก่อนและต้องออกคำสั่งผนวกใต้คำตัดสินเสมอ

วรรค ๒ หากคู่คดีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคัดค้าน ต้องออกคำสั่งจัดการกับปัญหาแทรกซ้อนนั้น

มาตรา ๑๖๑๗ การประกาศอื่นๆ ของผู้พิพากษานอกเหนือคำตัดสิน เป็นคำสั่ง ถ้ามันไม่เป็นการปฏิบัติในกระบวนการทางศาลจริงๆ ก็ไม่มีผลบังคับ เว้นไว้แต่ว่า อย่างน้อยมันแสดงเหตุผลแบบสั้นๆ หรือเกี่ยวโยงกับเหตุผลที่แสดงออกในการกระทำอื่นๆ

มาตรา ๑๖๑๘ คำตัดสินด้วยวาจา หรือคำสั่งมีผลบังคับของคำตัดสินอย่างเด็ดขาด ถ้ามันทำให้ขบวนการพิจารณาหยุด หรือมันทำให้ขบวนการพิจารณา หรือขั้นตอนการพิจารณาจบ อย่างน้อยเกี่ยวข้องกับแม้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดี