หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ภาค ๒  คดีแพ่ง

ตอน ๑  คดีแพ่งธรรมดา

ลักษณะ ๑ การเริ่มคดี

หมวด ๑ หนังสือฟ้องร้องเพื่อเริ่มคดีความ

Can.1501 A judge cannot adjudicate any case unless the party concerned or the promoter of justice has presented a petition in accord with the norm of the canons.

Can.1502 A person who wishes to bring another to court must present a libellus to a competent judge, which explains the object of the controversy and requests the services of the judge.

Can.1503 $1. The judge may accept an oral petition if either the petitioner is impeded from presenting a libellus or the case can be easily investigated and is of lesser importance.

$2. But in either situation the judge is to require the notary to put the act into writing, which is to be read to and approved by the petitioner; this then takes the place of and has all the legal effects of a libellus written by the petitioner.

Can.1504 A libellus which introduces a suit must:

1.express before which judge the case is being introduced, what is being petitioned and by whom the petition is being made;

2.indicate the basis for the petitioner’s right and at least in general the facts and proofs which will be used to prove what has been alleged;

3.be signed by the petitioner or procurator, adding the day, month and year, as well as the address of the petitioner or procurator or the place where they say they reside for the purpose of receiving the acts;

4.indicate the domicile or quasi-domicile of the respondent.

Can.1505 $1. After the single judge or the president of a collegiate tribunal has recognized both that the matter is within his competence and that the petitioner does not lack legitimate personal standing in court, he must accept or reject the libellus as soon as possible through a decree.

$2. A libellus can be rejected only:

1.if the judge or the tribunal is incompetent;

2.if it is undoubtedly clear that the petitioner lacks legitimate personal standing in court;

3.if the prescriptions of can.1504, nn. 1-3 have not been observed;

4.if from the libellus itself it is certainly obvious that it lacks any basis whatsoever and that it is impossible that any such basis would appear through a process.

$3. If the libellus has been rejected due to defects which can be corrected, the petitioner can properly draw up a new libellus and again present it to the same judge.

$4. A party is always free within ten available days (tempus utile) to lodge a reasoned recourse against the rejection of the libellus before the appellate tribunal or the college if it had been rejected by its president; the question of the rejection is to be resolved as quickly as possible.

Can.1506 If within a month from the presentation of the libellus the judge has not issued a decree by which he accepts or rejects the libellus in accord with the norm of can.1505, the interested party can insist that the judge fulfill his duty; but if the judge, nevertheless, remains silent for ten days after the petitioner’s insistence, the petition is considered as having been accepted.

มาตรา ๑๕๐๑ ผู้พิพากษาไม่สามารถพิจารณาคดีใดๆ ได้ เว้นไว้แต่ว่า คู่คดีที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ผดุงความยุติธรรมได้ยื่นคำร้องขึ้นสู่ศาล ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายพระศาสนจักร

มาตรา ๑๕๐๒ บุคคลผู้ที่ประสงค์จะฟ้องผู้อื่นต้องเสนอหนังสือฟ้องร้องต่อผู้พิพากษาที่มีอำนาจ ในหนังสือฟ้องนั้น ต้องอธิบายข้อขัดแย้ง และขอให้ผู้พิพากษาตัดสินความ

มาตรา ๑๕๐๓ วรรค ๑ ผู้พิพากษาอาจรับคำฟ้องด้วยวาจาได้ เมื่อโจทก์ถูกขัดขวางไม่ให้เสนอหนังสือฟ้องร้อง หรือ เมื่อเป็นคดีที่สามารถสืบสวนได้ง่าย หรือมิใช่เป็นคดีที่สำคัญ

วรรค ๒ อย่างไรก็ตาม ในทั้งสองกรณี ผู้พิพากษาจะต้องให้นายทะเบียนศาลบันทึกคำฟ้องไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  และต้องอ่านให้โจทก์ฟัง และรับรองคำฟ้องนั้น และสิ่งนี้ใช้แทนคำฟ้องที่เขียนโดยโจทก์ และมีผลทั้งหมดตามกฎหมาย

มาตรา ๑๕๐๔ หนังสือฟ้องร้องที่เริ่มคดีความ  ต้อง:
๑.ระบุว่าจะฟ้องคดีนั้นกับผู้พิพากษาคนใด ฟ้องเรื่องอะไร และใครเป็นผู้ฟ้อง

๒.ระบุพื้นฐานของสิทธิของโจทก์ และอย่างน้อยระบุข้อเท็จจริง และหลักฐานทั่วๆ ไปที่ใช้พิสูจน์เรื่องที่กล่าวหา

๓.มีโจทก์ หรืออัยการ ลงนามรับรอง พร้อมกับระบุวัน เดือน และปี เช่นเดียวกัน ที่อยู่ของโจทก์ หรือของอัยการ หรือสถานที่ที่เขาบอกว่าเขาอาศัยอยู่เพื่อรับหมายศาลด้วย

๔.ระบุภูมิลำเนา หรือกึ่งภูมิลำเนาของจำเลย

มาตรา ๑๕๐๕ วรรค ๑ เมื่อผู้พิพากษาเดี่ยว หรือประธานผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะ ได้เห็นว่าทั้งเรื่องนั้นอยู่ในอำนาจของตน และโจทก์ไม่ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายในการขึ้นศาล ผู้พิพากษานั้นต้องรับ หรือปฏิเสธหนังสือฟ้องร้องด้วยคำสั่งของตนโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้

วรรค ๒ หนังสือฟ้องร้อง สามารถถูกปฏิเสธได้ เฉพาะเมื่อ

๑.ผู้พิพากษา หรือศาลนั้นไม่มีอำนาจ

๒.เป็นที่แน่ชัดโดยไม่มีข้อสงสัยว่า โจทก์ขาดคุณสมบัติตามกฎหมายในการขึ้นศาล

๓.ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายมาตรา ๑๕๐๔ ข้อ ๑-๓

๔.เป็นที่ชัดแจ้งว่า หนังสือฟ้องร้องนั้นไม่มีมูลใดๆ และเป็นไปไม่ได้ ที่จะให้มีมูลขึ้นมาจากกระบวนการพิจารณาคดี

วรรค ๓ หากหนังสือฟ้องร้องถูกปฏิเสธเพราะข้อบกพร่องซึ่งสามารถแก้ไขได้ โจทก์ก็สามารถเขียนหนังสือฟ้องร้องใหม่ให้ถูกต้อง และยื่นต่อผู้พิพากษาคนเดิมได้อีก

วรรค ๔ คู่คดีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเสมอภายในเวลา ๑๐ วันทำงาน เพื่อเสนอคำร้องขอที่มีเหตุผลด้านการปฏิเสธหนังสือฟ้องร้องต่อศาลอุธรณ์ หรือต่อศาลที่เป็นองค์คณะ หากหนังสือฟ้องร้องนั้นได้ถูกปฏิเสธโดยประธานศาลที่เป็นองค์คณะนั้น ปัญหาเรื่องการปฏิเสธนั้นจะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้

มาตรา ๑๕๐๖ หากภายในเวลา ๑ เดือนนับจากวันยื่นหนังสือฟ้องร้อง ผู้พิพากษาไม่ออกหมายศาลว่าจะรับหรือปฏิเสธ

หนังสือฟ้องร้องนั้น ตามข้อกำหนดของกฎหมาย มาตรา ๑๕๐๕ คู่คดีที่เกี่ยวข้อง สามารถเรียกร้องให้ผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่ของตน อย่างไรก็ตาม หากผู้พิพากษายังคงเงียบเฉยอีกเป็นเวลา ๑๐ วัน หลังการเรียกร้องของคู่คดี ให้ถือว่าผู้พิพากษารับหนังสือฟ้องแล้ว

 หนังสือฟ้องร้องนั้น ตามข้อกำหนดของกฎหมาย มาตรา ๑๕๐๕ คู่คดีที่เกี่ยวข้อง สามารถเรียกร้องให้ผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่ของตน อย่างไรก็ตาม หากผู้พิพากษายังคงเงียบเฉยอีกเป็นเวลา ๑๐ วัน หลังการเรียกร้องของคู่คดี ให้ถือว่าผู้พิพากษารับหนังสือฟ้องแล้ว